โต้รวบอำนาจบอร์ดบริการสุขภาพ สธ.วอนรอช่วงเปลี่ยนผ่าน
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การปฏิรูปการทำงานในส่วนของภูมิภาคเป็นแบบเครือข่ายบริการแบบไร้รอยต่อ หรือเขตบริการสุขภาพที่แบ่งเป็น 12 เขต ดำเนินการต่อได้แม้จะมีการยุบสภาโดยใช้อำนาจของปลัดสธ.ในการบริหารจัดการภายใน ซึ่งการโจมตีว่านโยบายนี้เป็นการรวบอำนาจโดย สธ.นั้น อาจเป็นเพราะขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสธ. และร.พ.ต่างๆ อยู่ในสังกัด สธ. จึงจำเป็นต้องให้ผู้บริหารสธ.เป็นประธานคณะกรรมการบริหารเขตบริการสุขภาพ (บอร์ดเขตบริการสุขภาพ) แต่ในอนาคตจะเป็นสหการก็ได้ เพราะมีการตราไว้ในพ.ร.บ.องค์กรมหาชนอิสระ ซึ่งหมายความว่าเป็นกิจการของหลายๆ ฝ่าย มาร่วมลงขันงบประมาณ เป็นการกระจายอำนาจแบบถ่วง โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาสหการเครือข่ายบริการ ซึ่งจะเป็นการกระจายอำนาจที่อาจจะมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนประชาชนมาร่วม เป็นบอร์ด
"ตอนนี้ถูกมองว่านโยบายนี้เป็นการรวบอำนาจโดยสธ. เป็นเพราะมีผู้ตรวจสธ.ไปนั่งหัวโต๊ะ เป็นประธานบอร์ดเขตบริการสุขภาพ จึงถูกกล่าวหา แต่นี่ก็เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เพิ่งตั้งไข่ ต้องมีกระบวนการในการทำงานต่อไป โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เห็นชอบในหลักการแล้ว" นพ.วชิระกล่าว และว่า การบริหารระดับเขตบริการสุขภาพที่มีการวางระบบไว้ควรมี 3 บอร์ดเล็ก ภายใต้ 1 บอร์ดใหญ่
ตอนนี้บอร์ดใหญ่ที่เป็นสหการยังไม่เกิด บอร์ดเล็กคือ 1.บอร์ดของสปสช. ควบคุมงบประมาณ ส่วนกลไกการจ่าย งบฯ ในระบบเขต โดยจะได้จากงบฯ ปกติ และ 3 กองทุนสุขภาพ ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ 2.บอร์ดของสธ. เรียกว่าบอร์ดผู้ให้บริการหรือเขตบริการสุขภาพ และ 3.บอร์ดผู้ออกกฎและคุมกฎ ซึ่งจะเป็นกลไกเชื่อมกับสธ.
ที่มา : ข่าวสด ฉบับวันที่ 7 ม.ค. 2557 (กรอบบ่าย)
ขอบคุณ... http://www.hfocus.org/content/2014/01/5965 (ขนาดไฟล์: 167)
hfocus.org ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การปฏิรูปการทำงานในส่วนของภูมิภาคเป็นแบบเครือข่ายบริการแบบไร้รอยต่อ หรือเขตบริการสุขภาพที่แบ่งเป็น 12 เขต ดำเนินการต่อได้แม้จะมีการยุบสภาโดยใช้อำนาจของปลัดสธ.ในการบริหารจัดการภายใน ซึ่งการโจมตีว่านโยบายนี้เป็นการรวบอำนาจโดย สธ.นั้น อาจเป็นเพราะขณะนี้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสธ. และร.พ.ต่างๆ อยู่ในสังกัด สธ. จึงจำเป็นต้องให้ผู้บริหารสธ.เป็นประธานคณะกรรมการบริหารเขตบริการสุขภาพ (บอร์ดเขตบริการสุขภาพ) แต่ในอนาคตจะเป็นสหการก็ได้ เพราะมีการตราไว้ในพ.ร.บ.องค์กรมหาชนอิสระ ซึ่งหมายความว่าเป็นกิจการของหลายๆ ฝ่าย มาร่วมลงขันงบประมาณ เป็นการกระจายอำนาจแบบถ่วง โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาสหการเครือข่ายบริการ ซึ่งจะเป็นการกระจายอำนาจที่อาจจะมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นตัวแทนประชาชนมาร่วม เป็นบอร์ด "ตอนนี้ถูกมองว่านโยบายนี้เป็นการรวบอำนาจโดยสธ. เป็นเพราะมีผู้ตรวจสธ.ไปนั่งหัวโต๊ะ เป็นประธานบอร์ดเขตบริการสุขภาพ จึงถูกกล่าวหา แต่นี่ก็เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เพิ่งตั้งไข่ ต้องมีกระบวนการในการทำงานต่อไป โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เห็นชอบในหลักการแล้ว" นพ.วชิระกล่าว และว่า การบริหารระดับเขตบริการสุขภาพที่มีการวางระบบไว้ควรมี 3 บอร์ดเล็ก ภายใต้ 1 บอร์ดใหญ่ ตอนนี้บอร์ดใหญ่ที่เป็นสหการยังไม่เกิด บอร์ดเล็กคือ 1.บอร์ดของสปสช. ควบคุมงบประมาณ ส่วนกลไกการจ่าย งบฯ ในระบบเขต โดยจะได้จากงบฯ ปกติ และ 3 กองทุนสุขภาพ ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ 2.บอร์ดของสธ. เรียกว่าบอร์ดผู้ให้บริการหรือเขตบริการสุขภาพ และ 3.บอร์ดผู้ออกกฎและคุมกฎ ซึ่งจะเป็นกลไกเชื่อมกับสธ. ที่มา : ข่าวสด ฉบับวันที่ 7 ม.ค. 2557 (กรอบบ่าย) ขอบคุณ... http://www.hfocus.org/content/2014/01/5965 hfocus.org ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)