ระวังภัยเงียบจากการนอน...อาจก่อสารพัดโรค
“การนอนหลับ” คือ การพักผ่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าคนเรานอนเพียงแค่เพื่อการพักผ่อน หลังจากทำงานมาเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ด้วยเหตุนี้จึงมีคนหลายคนนอนกลางวันหลังจากอ่อนเพลียจากการทำงานช่วงเช้า โดยไม่รู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในช่วงกลางคืน บางคนเข้าใจผิดว่ายิ่งนอนมากยิ่งดี ซึ่งอันที่จริงการนอนมากเกินไปอาจมีผลเสีย ปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่มารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลแล้วพบว่ามีปัญหาความผิดปกติในการนอนร่วมด้วย ซึ่งอาการของการนอนหลับผิดปกติ (Sleep Disorders) เหล่านี้พบมากขึ้นเรื่อยๆ และกำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เพราะถือเป็นภัยเงียบที่เป็นต้นเหตุสำคัญทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคอ้วน เป็นต้น
โรคที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนหลับไม่เต็มที่ซึ่งพบได้บ่อย เช่น นอนกรน และหากสังเกตอย่างใกล้ชิดจะพบว่าผู้ที่กรนจะหยุดกรนไปชั่วขณะหนึ่ง ช่วงนั้นเองที่มีการหยุดหายใจเกิดขึ้น และเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงถึงระดับหนึ่งจากการหยุดหายใจ ร่างกายจะมีกลไกตอบสนองภาวะนี้ โดยจะทำให้การหลับของคนที่กรนและหยุดหายใจนั้นถูกขัดขวางทำให้ตื่นขึ้น โดยจะมีอาการเหมือนสะดุ้งเฮือก หรืออาการเหมือนสำลักน้ำลายตนเอง แล้วก็กลับมาเริ่มหยุดหายใจใหม่
นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่น ตื่นไปเข้าห้องน้ำกลางดึก ปวดศีรษะตอนเช้า ความจำลดลง ถ้าไม่รักษาภาวะดังกล่าวอาจมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ทำให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ง่วงนอนในขณะขับรถจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ และยังอาจส่งผลต่อคนรอบข้าง
นอกจากนั้นจะมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะพบภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับร่วมได้กับ เป็นโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตในปอดสูง โรคหลอดเลือดในสมอง ถ้าไม่รักษาภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับก็อาจจะส่งผลทำให้โรคบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูงคุมด้วยยาได้ไม่ดี
อาการกรน และหยุดหายใจในขณะหลับพบได้บ่อยในคนอ้วน พบได้ในทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยพบบ่อยในผู้ชาย คนที่มีอายุมากขึ้นมีความเสี่ยงมากขึ้นในการมีภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยมักมีปัญหานอนกรนจากหลายสาเหตุได้ ดังนั้นการแก้ไขหรือรักษา จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนเป็นลำดับแรกแล้วจึงหาสาเหตุที่ ทำให้เกิดโรค แล้วพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป คนที่มีอาการต่างๆ ที่กล่าวมา สามารถรับการตรวจโดยเครื่อง Sleep Lab หากพบมีอัตราการหยุดหายใจมากระดับหนึ่งอาจมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องเป่าลม ในทางเดินหายใจส่วนบน (continuous positive airway pressure) หรือ CPAP เพื่อเปิดทางเดินหายใจ ช่วยลดอาการหยุดหายใจในขณะหลับ และอาการกรน
การง่วงนอนตอนกลางวัน อาจเป็นได้จากหลายสาเหตุ เนื่องจากการนอนหลับที่มีคุณภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาแค่จำนวน 6-8 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับระดับความลึกของการนอนหลับ เพื่อให้ร่างกายและสมองได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และเวลาเข้านอน-ตื่นนอนที่เหมาะสม ไม่ควรนอนดึก หรือตื่นสายจนเกินไป สาเหตุของการง่วงนอน เกิดได้จากระยะเวลาในการนอนไม่เพียงพอ ทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนจำนวนมาก ต้องอดหลับอดนอนหลายคืนติดต่อกันบ่อยๆ
มีการศึกษาพบว่าในคนที่อดนอนจะใช้เวลานานในการคิดมากกว่าคนที่นอนอย่างเพียงพอ รวมทั้งในคนที่อดนอนจะมีโอกาสทำงานผิดพลาดมากกว่าคนที่นอนหลับอย่างเพียงพอ นอกจากนั้นแล้วยังมีผลต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิดง่ายขึ้น มีบางภาวะเกิดจากความผิดปกติของสมอง มีผลทำให้ง่วงนอน ผิดปกติ หรืออาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ Narcolepsy โดยคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ถ้าได้งีบจะรู้สึกสดชื่นขึ้น แต่ไม่นานก็มักจะมีอาการง่วงอีก
บางคนอาจมีอาการคอพับ เข่าทรุดหรือความตึงตัว ของกล้ามเนื้อลดลงทันทีทันใด ทำให้อ่อนแรงฉับพลันชั่วขณะหนึ่ง อาการพวกนี้มักถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่น อารมณ์ขบขัน ส่วน Idiopathic hypersomnia เป็นคนไข้ที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ถึงแม้จะนอนหลับในช่วงกลางคืนเป็นระยะเวลาที่นานพอ และหลับได้ลึกเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งอาการเหล่านี้ควรต้องพบแพทย์เพื่อได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง
อาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท เกิดได้จากปัจจัยที่เข้ามากระตุ้นต่างๆ เช่น การนอนมากเกินไปในคืนก่อนหน้า การนอนกลางวันมากเกินไป การนอนไม่หลับที่เกิดจากความเครียด บางคนคิดว่าตนเองนอนไม่หลับแต่จริงๆ แล้วนอนหลับ อันนี้เราจะทราบเมื่อผู้ป่วยในกลุ่มนี้มาทำการศึกษาการนอนหลับโดยการตรวจวัด คลื่นไฟฟ้าสมองแล้ว พบว่าจริงๆ แล้วคนไข้นอนหลับในขณะที่ตนเองรู้สึกว่ายังไม่หลับ การรักษาโดยการใช้ยาหรือไม่ใช้ยาขึ้นอยู่กับอาการและดุลพินิจของแพทย์ : นพ.จักริน ลบล้ำเลิศ อายุรแพทย์สมอง และระบบประสาท
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150507/205844.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
“การนอนหลับ” คือ การพักผ่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าคนเรานอนเพียงแค่เพื่อการพักผ่อน หลังจากทำงานมาเหน็ดเหนื่อยทั้งวัน ด้วยเหตุนี้จึงมีคนหลายคนนอนกลางวันหลังจากอ่อนเพลียจากการทำงานช่วงเช้า โดยไม่รู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับในช่วงกลางคืน บางคนเข้าใจผิดว่ายิ่งนอนมากยิ่งดี ซึ่งอันที่จริงการนอนมากเกินไปอาจมีผลเสีย ปัจจุบันในประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากที่มารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลแล้วพบว่ามีปัญหาความผิดปกติในการนอนร่วมด้วย ซึ่งอาการของการนอนหลับผิดปกติ (Sleep Disorders) เหล่านี้พบมากขึ้นเรื่อยๆ และกำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เพราะถือเป็นภัยเงียบที่เป็นต้นเหตุสำคัญทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ อาทิ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคอ้วน เป็นต้น ภัยเงียบจากการนอน โรคที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนหลับไม่เต็มที่ซึ่งพบได้บ่อย เช่น นอนกรน และหากสังเกตอย่างใกล้ชิดจะพบว่าผู้ที่กรนจะหยุดกรนไปชั่วขณะหนึ่ง ช่วงนั้นเองที่มีการหยุดหายใจเกิดขึ้น และเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงถึงระดับหนึ่งจากการหยุดหายใจ ร่างกายจะมีกลไกตอบสนองภาวะนี้ โดยจะทำให้การหลับของคนที่กรนและหยุดหายใจนั้นถูกขัดขวางทำให้ตื่นขึ้น โดยจะมีอาการเหมือนสะดุ้งเฮือก หรืออาการเหมือนสำลักน้ำลายตนเอง แล้วก็กลับมาเริ่มหยุดหายใจใหม่ นอกจากนั้นยังอาจมีอาการอื่นๆ เช่น ตื่นไปเข้าห้องน้ำกลางดึก ปวดศีรษะตอนเช้า ความจำลดลง ถ้าไม่รักษาภาวะดังกล่าวอาจมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ทำให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ง่วงนอนในขณะขับรถจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ และยังอาจส่งผลต่อคนรอบข้าง นอกจากนั้นจะมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะพบภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับร่วมได้กับ เป็นโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตในปอดสูง โรคหลอดเลือดในสมอง ถ้าไม่รักษาภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับก็อาจจะส่งผลทำให้โรคบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูงคุมด้วยยาได้ไม่ดี อาการกรน และหยุดหายใจในขณะหลับพบได้บ่อยในคนอ้วน พบได้ในทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยพบบ่อยในผู้ชาย คนที่มีอายุมากขึ้นมีความเสี่ยงมากขึ้นในการมีภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยมักมีปัญหานอนกรนจากหลายสาเหตุได้ ดังนั้นการแก้ไขหรือรักษา จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนเป็นลำดับแรกแล้วจึงหาสาเหตุที่ ทำให้เกิดโรค แล้วพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป คนที่มีอาการต่างๆ ที่กล่าวมา สามารถรับการตรวจโดยเครื่อง Sleep Lab หากพบมีอัตราการหยุดหายใจมากระดับหนึ่งอาจมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องเป่าลม ในทางเดินหายใจส่วนบน (continuous positive airway pressure) หรือ CPAP เพื่อเปิดทางเดินหายใจ ช่วยลดอาการหยุดหายใจในขณะหลับ และอาการกรน การง่วงนอนตอนกลางวัน อาจเป็นได้จากหลายสาเหตุ เนื่องจากการนอนหลับที่มีคุณภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาแค่จำนวน 6-8 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับระดับความลึกของการนอนหลับ เพื่อให้ร่างกายและสมองได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และเวลาเข้านอน-ตื่นนอนที่เหมาะสม ไม่ควรนอนดึก หรือตื่นสายจนเกินไป สาเหตุของการง่วงนอน เกิดได้จากระยะเวลาในการนอนไม่เพียงพอ ทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนจำนวนมาก ต้องอดหลับอดนอนหลายคืนติดต่อกันบ่อยๆ มีการศึกษาพบว่าในคนที่อดนอนจะใช้เวลานานในการคิดมากกว่าคนที่นอนอย่างเพียงพอ รวมทั้งในคนที่อดนอนจะมีโอกาสทำงานผิดพลาดมากกว่าคนที่นอนหลับอย่างเพียงพอ นอกจากนั้นแล้วยังมีผลต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิดง่ายขึ้น มีบางภาวะเกิดจากความผิดปกติของสมอง มีผลทำให้ง่วงนอน ผิดปกติ หรืออาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ Narcolepsy โดยคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ถ้าได้งีบจะรู้สึกสดชื่นขึ้น แต่ไม่นานก็มักจะมีอาการง่วงอีก บางคนอาจมีอาการคอพับ เข่าทรุดหรือความตึงตัว ของกล้ามเนื้อลดลงทันทีทันใด ทำให้อ่อนแรงฉับพลันชั่วขณะหนึ่ง อาการพวกนี้มักถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ต่างๆ เช่น อารมณ์ขบขัน ส่วน Idiopathic hypersomnia เป็นคนไข้ที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ถึงแม้จะนอนหลับในช่วงกลางคืนเป็นระยะเวลาที่นานพอ และหลับได้ลึกเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งอาการเหล่านี้ควรต้องพบแพทย์เพื่อได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง อาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท เกิดได้จากปัจจัยที่เข้ามากระตุ้นต่างๆ เช่น การนอนมากเกินไปในคืนก่อนหน้า การนอนกลางวันมากเกินไป การนอนไม่หลับที่เกิดจากความเครียด บางคนคิดว่าตนเองนอนไม่หลับแต่จริงๆ แล้วนอนหลับ อันนี้เราจะทราบเมื่อผู้ป่วยในกลุ่มนี้มาทำการศึกษาการนอนหลับโดยการตรวจวัด คลื่นไฟฟ้าสมองแล้ว พบว่าจริงๆ แล้วคนไข้นอนหลับในขณะที่ตนเองรู้สึกว่ายังไม่หลับ การรักษาโดยการใช้ยาหรือไม่ใช้ยาขึ้นอยู่กับอาการและดุลพินิจของแพทย์ : นพ.จักริน ลบล้ำเลิศ อายุรแพทย์สมอง และระบบประสาท ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150507/205844.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)