เร่งผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอด หลังพบตกค้าง 7 หมื่นคน

แสดงความคิดเห็น

ตรวจอาการปัญหาด้านดวงตา

สธ.เผยคนไทยตาบอดจากต้อกระจก 70% เร่งผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดที่ตกค้างอยู่ 70,000 ราย เร่งค้นหาและเข้าสู่ระบบขึ้นทะเบียน และรอผ่าตัดภายใน 30 วัน ผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนผ่าไปแล้ว 35,000 ราย

เมื่อวันที่ (29 พ.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการขจัดปัญหาตาบอดจากต้อกระจก ตามโครงการสาธารณสุขรวมใจ มอบโลกสดใส เทิดไท้องค์ราชัน เพื่อขจัดปัญหาตาบอดจากต้อกระจกให้หมดไปภายในปี 2560 ว่า ปัญหาต้อกระจกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยตาบอด จากการสำรวจในปี 2556 พบว่า คนไทยตาบอดร้อยละ 0.59 สาเหตุจากต้อกระจกสูงถึงร้อยละ 70 ประเทศไทยมีศักยภาพในการผ่าตัดต้อกระจกถึงปีละกว่า 2 แสนราย ส่วนใหญ่ไม่ใช่ตาต้อกระจกชนิดบอด แต่ยังพบปัญหาผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดบางส่วนประมาณ 70,000 ราย เข้าไม่ถึงบริการ เนื่องจากไม่รู้ว่าปล่อยไว้ตาจะบอดถาวร กลัวการรักษาไม่มีค่ารักษาเดินทางลำบากขาดแคลนทรัพยากรสาธารณสุขในบางพื้นที่

นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า สธ.เร่งแก้ไขปัญหาตาบอดจากต้อกระจก โดยกำหนดให้โรคตาทางเป็น 1 ใน 10 สาขา ที่ต้องเร่งพัฒนาให้โรงพยาบาลมีศักยภาพในการรักษา และในปี 2558 จัดทำโครงการ “สาธารณสุขรวมใจ มอบโลกสดใส เทิดไท้องค์ราชัน” ตั้งเป้าขจัดปัญหาตาบอดจากต้อกระจกให้หมดไปภายในปี 2560 โดยเพิ่มการผ่าตัดผู้ป่วยตาต้อกระจกชนิดบอดให้ได้ร้อยละ 36 ของการผ่าตัดทั้งหมด เป็นความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มุ่งเน้นการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน ในช่วงเวลา 3 เดือนนี้เน้นกลุ่มผู้สูงอายุที่ตาบอดจากต้อกระจกและจัดให้เข้าสู่ระบบการรักษาผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดทุกสิทธิ์ โดยขึ้นทะเบียนและรอผ่าตัดภายใน 30 วัน หากพื้นที่ใดมีผู้ป่วยจำนวนมากจะมีทีมเสริมมาช่วยและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกสังกัด

ทั้งนี้ การผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมเป็นการผ่าตัดที่ได้ผลดี สามารถป้องกันตาบอดถาวรจากต้อกระจกที่สุกมากได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามองเห็นและมีความสุข ขอให้ประชาชนที่มีอาการสายตาพร่ามัวอย่างต่อเนื่อง มองไม่เห็น อาจเห็นแสงเป็นประกาย รบกวนการมองเห็นในที่มีแสงจ้า เช่น แสงจากไฟหน้ารถตอนช่วงกลางคืนให้รีบมาพบแพทย์ทันทีที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ร่วมกับหน่วยงาน ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการผ่าตัดตาต้อกระจกชนิดบอดตั้งเป้าผ่าตัด 60,000 ราย ซึ่งกรมการแพทย์ได้จัดอบรมบุคลากรทุกระดับ วางแผนและประสานงานตรวจคัดกรองและผ่าตัด รวมทั้งยังสนับสนุนทีมผ่าตัดและเครื่องมือแพทย์ในพื้นที่ขาดแคลนด้วย ผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน ตั้งแต่ตุลาคม 2557 ถึงมีนาคม 2558 รวมทั้งหมด 35,732 ราย โดยเป็นผู้ป่วยสิทธิ์สปสช. 25,732 ราย สิทธิ์ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และโรงพยาบาลเอกชน 10,000 ราย คาดว่าจะผ่าตัดได้ผลตามเป้าหรือเกินเป้าจากความร่วมมือของทุกฝ่าย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000061237 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ค.58
วันที่โพสต์: 2/06/2558 เวลา 11:13:52 ดูภาพสไลด์โชว์ เร่งผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอด หลังพบตกค้าง 7 หมื่นคน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ตรวจอาการปัญหาด้านดวงตา สธ.เผยคนไทยตาบอดจากต้อกระจก 70% เร่งผ่าตัดผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดที่ตกค้างอยู่ 70,000 ราย เร่งค้นหาและเข้าสู่ระบบขึ้นทะเบียน และรอผ่าตัดภายใน 30 วัน ผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนผ่าไปแล้ว 35,000 ราย เมื่อวันที่ (29 พ.ค.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการขจัดปัญหาตาบอดจากต้อกระจก ตามโครงการสาธารณสุขรวมใจ มอบโลกสดใส เทิดไท้องค์ราชัน เพื่อขจัดปัญหาตาบอดจากต้อกระจกให้หมดไปภายในปี 2560 ว่า ปัญหาต้อกระจกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยตาบอด จากการสำรวจในปี 2556 พบว่า คนไทยตาบอดร้อยละ 0.59 สาเหตุจากต้อกระจกสูงถึงร้อยละ 70 ประเทศไทยมีศักยภาพในการผ่าตัดต้อกระจกถึงปีละกว่า 2 แสนราย ส่วนใหญ่ไม่ใช่ตาต้อกระจกชนิดบอด แต่ยังพบปัญหาผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดบางส่วนประมาณ 70,000 ราย เข้าไม่ถึงบริการ เนื่องจากไม่รู้ว่าปล่อยไว้ตาจะบอดถาวร กลัวการรักษาไม่มีค่ารักษาเดินทางลำบากขาดแคลนทรัพยากรสาธารณสุขในบางพื้นที่ นพ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า สธ.เร่งแก้ไขปัญหาตาบอดจากต้อกระจก โดยกำหนดให้โรคตาทางเป็น 1 ใน 10 สาขา ที่ต้องเร่งพัฒนาให้โรงพยาบาลมีศักยภาพในการรักษา และในปี 2558 จัดทำโครงการ “สาธารณสุขรวมใจ มอบโลกสดใส เทิดไท้องค์ราชัน” ตั้งเป้าขจัดปัญหาตาบอดจากต้อกระจกให้หมดไปภายในปี 2560 โดยเพิ่มการผ่าตัดผู้ป่วยตาต้อกระจกชนิดบอดให้ได้ร้อยละ 36 ของการผ่าตัดทั้งหมด เป็นความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มุ่งเน้นการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน ในช่วงเวลา 3 เดือนนี้เน้นกลุ่มผู้สูงอายุที่ตาบอดจากต้อกระจกและจัดให้เข้าสู่ระบบการรักษาผู้ป่วยต้อกระจกชนิดบอดทุกสิทธิ์ โดยขึ้นทะเบียนและรอผ่าตัดภายใน 30 วัน หากพื้นที่ใดมีผู้ป่วยจำนวนมากจะมีทีมเสริมมาช่วยและประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกสังกัด ทั้งนี้ การผ่าตัดต้อกระจกและใส่เลนส์แก้วตาเทียมเป็นการผ่าตัดที่ได้ผลดี สามารถป้องกันตาบอดถาวรจากต้อกระจกที่สุกมากได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามองเห็นและมีความสุข ขอให้ประชาชนที่มีอาการสายตาพร่ามัวอย่างต่อเนื่อง มองไม่เห็น อาจเห็นแสงเป็นประกาย รบกวนการมองเห็นในที่มีแสงจ้า เช่น แสงจากไฟหน้ารถตอนช่วงกลางคืนให้รีบมาพบแพทย์ทันทีที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์ร่วมกับหน่วยงาน ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการผ่าตัดตาต้อกระจกชนิดบอดตั้งเป้าผ่าตัด 60,000 ราย ซึ่งกรมการแพทย์ได้จัดอบรมบุคลากรทุกระดับ วางแผนและประสานงานตรวจคัดกรองและผ่าตัด รวมทั้งยังสนับสนุนทีมผ่าตัดและเครื่องมือแพทย์ในพื้นที่ขาดแคลนด้วย ผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน ตั้งแต่ตุลาคม 2557 ถึงมีนาคม 2558 รวมทั้งหมด 35,732 ราย โดยเป็นผู้ป่วยสิทธิ์สปสช. 25,732 ราย สิทธิ์ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และโรงพยาบาลเอกชน 10,000 ราย คาดว่าจะผ่าตัดได้ผลตามเป้าหรือเกินเป้าจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000061237

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...