ลูกน้อยพูดช้า (ตอนที่1)

แสดงความคิดเห็น

เด็กเล็ก

การพูดช้าของลูกน้อยโดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สาเหตุที่เด็กพูดช้ามีอยู่หลายปัจจัยด้วยกันปัจจัยแรกเป็นเรื่องพันธุกรรมจากครอบครัว เช่น มีญาติในตระกูลพูดช้า ส่วนปัจจัยอื่นๆได้แก่ การได้ยินบกพร่อง หรือสมองของเด็กที่จะประมวลข้อมูลทำงานผิดปกติ โดยปกติเมื่อได้ยินเสียงได้ยินคนพูดกัน เด็กจะค่อยๆซึมซับเข้าใจ พูดตามได้โดยอัตโนมัติ สำหรับการได้ยินผิดปกติมีตั้งแต่หูหนวกรุนแรงทั้งสองข้าง ซึ่งมักจะสังเกตได้ง่าย ไปจนถึงการได้ยินบกพร่องเพียงบางส่วนแต่หูไม่ได้หนวกสนิท เด็กกลุ่มนี้ก็อาจมีพัฒนาการทางภาษาได้บ้างแต่ล่าช้ากว่าวัย บางคนพูดได้แต่ไม่ค่อยชัด หากเด็กมีการได้ยินบกพร่องเพียงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งปกติ จะไม่มีผลต่อพัฒนาการทางภาษา

นอกเหนือจากเรื่องการได้ยินก็เป็นเรื่องของการประมวลผลในสมอง มีผลงานวิจัยกล่าวว่า สมองในขณะที่กำลังพัฒนาของเด็กมีส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาษา มีหลายส่วนที่ทำงานไปพร้อมๆ กัน หากบางส่วนทำงานหรือพัฒนาได้ไม่ดี จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กบางคนอาจจะคลอดก่อนกำหนด บางคนขาดออกซิเจนหรือมีโรคทางสมองอื่นๆ ที่มีผลให้สมองทำงานผิดปกติ

จากข้อมูลต่างประเทศในปัจจุบันพบเด็กที่พูดช้าและพัฒนาการล่าช้าในช่วง 5–6 ปีแรกของชีวิต ประมาณ 5–15% แต่ผลการสำรวจในประเทศไทยจะสูงกว่าต่างประเทศ คือพบประมาณ 20%ใกล้เคียงกับข้อมูลในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก เพราะภาษาเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเด็กกับสภาพแวดล้อม พ่อแม่ในสังคมที่กำลังพัฒนามักมีเวลาพูดคุยและส่งเสริมพัฒนาการกับเด็กน้อยจึงทำให้พบปัญหาพูดช้ามากกว่าสังคมที่พัฒนาแล้ว

วิธีการสังเกตว่าลูกพูดช้าผิดปกติ คือ เด็กยังไม่พูดในขณะที่ถึงวัยที่ควรจะพูด หรือมีพัฒนาการทางภาษาน้อยกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน ตามปกติแล้วเด็กจะเริ่มพูดคำแรกประมาณ 1 ขวบ หรือขวบกว่าๆจนถึงประมาณสองขวบ ผลการวิจัยได้ระบุว่าถ้าเด็กอายุขวบครึ่งยังไม่พูด ควรเริ่มสังเกตอย่างใกล้ชิดว่าเด็กเข้าใจ สิ่งที่คนอื่นพูดหรือไม่ หากความเข้าใจน้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน ก็ไม่ควรรอจนถึง 2 ขวบ หรือถ้ายังไม่พูดและไม่มีการใช้ภาษากาย เช่น การมองหน้าสบตา การใช้นิ้วชี้บอกแทนคำพูด มาช่วยสื่อสาร อาจสงสัยได้ว่ามีลักษณะเบี่ยงเบนในกลุ่มออทิสติก สำหรับเด็กที่พูดช้าเพียงอย่างเดียว แต่มีความเข้าใจภาษาเหมือนเด็กวัยเดียวกัน และไม่มีความบกพร่องของภาษาท่าทาง ภาษาชาวบ้านเรียกอาการนี้ว่า ปากหนัก ซึ่งส่วนมากจะไม่มีความผิดปกติใดๆ รุนแรง และมักพูดได้เป็นปกติในที่สุด

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือพ่อแม่มักพาเด็กพูดช้ามาปรึกษาหมอตอนอายุ 2–4 ขวบไปแล้ว เนื่องจากคิดว่า เดี๋ยวเด็กคงพูดได้เอง ซึ่งทำให้เด็กขาดโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตเด็กหลายคนแม้จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ แต่อาจจะยังคงมีภาษาล่าช้ากว่าเพื่อนจนถึงวัยเรียน ดังนั้นเมื่อคุณครูหรือพ่อแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะพูดช้า แนะนำว่าควรให้การดูแลโดยไม่ต้องรอการตรวจวินิจฉัยโรคที่นานจนเกินไป เพราะการบำบัดช่วยเหลือในระยะเริ่มแรกจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า รวมทั้งแนวทางการช่วยเหลือมักคล้ายกันไม่ ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด

รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนิชราเรืองดรากานนท์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/501455 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 29 พ.ค.58
วันที่โพสต์: 3/06/2558 เวลา 11:19:23 ดูภาพสไลด์โชว์ ลูกน้อยพูดช้า (ตอนที่1)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เด็กเล็ก การพูดช้าของลูกน้อยโดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สาเหตุที่เด็กพูดช้ามีอยู่หลายปัจจัยด้วยกันปัจจัยแรกเป็นเรื่องพันธุกรรมจากครอบครัว เช่น มีญาติในตระกูลพูดช้า ส่วนปัจจัยอื่นๆได้แก่ การได้ยินบกพร่อง หรือสมองของเด็กที่จะประมวลข้อมูลทำงานผิดปกติ โดยปกติเมื่อได้ยินเสียงได้ยินคนพูดกัน เด็กจะค่อยๆซึมซับเข้าใจ พูดตามได้โดยอัตโนมัติ สำหรับการได้ยินผิดปกติมีตั้งแต่หูหนวกรุนแรงทั้งสองข้าง ซึ่งมักจะสังเกตได้ง่าย ไปจนถึงการได้ยินบกพร่องเพียงบางส่วนแต่หูไม่ได้หนวกสนิท เด็กกลุ่มนี้ก็อาจมีพัฒนาการทางภาษาได้บ้างแต่ล่าช้ากว่าวัย บางคนพูดได้แต่ไม่ค่อยชัด หากเด็กมีการได้ยินบกพร่องเพียงข้างเดียว อีกข้างหนึ่งปกติ จะไม่มีผลต่อพัฒนาการทางภาษา นอกเหนือจากเรื่องการได้ยินก็เป็นเรื่องของการประมวลผลในสมอง มีผลงานวิจัยกล่าวว่า สมองในขณะที่กำลังพัฒนาของเด็กมีส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาษา มีหลายส่วนที่ทำงานไปพร้อมๆ กัน หากบางส่วนทำงานหรือพัฒนาได้ไม่ดี จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กบางคนอาจจะคลอดก่อนกำหนด บางคนขาดออกซิเจนหรือมีโรคทางสมองอื่นๆ ที่มีผลให้สมองทำงานผิดปกติ จากข้อมูลต่างประเทศในปัจจุบันพบเด็กที่พูดช้าและพัฒนาการล่าช้าในช่วง 5–6 ปีแรกของชีวิต ประมาณ 5–15% แต่ผลการสำรวจในประเทศไทยจะสูงกว่าต่างประเทศ คือพบประมาณ 20%ใกล้เคียงกับข้อมูลในประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก เพราะภาษาเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเด็กกับสภาพแวดล้อม พ่อแม่ในสังคมที่กำลังพัฒนามักมีเวลาพูดคุยและส่งเสริมพัฒนาการกับเด็กน้อยจึงทำให้พบปัญหาพูดช้ามากกว่าสังคมที่พัฒนาแล้ว วิธีการสังเกตว่าลูกพูดช้าผิดปกติ คือ เด็กยังไม่พูดในขณะที่ถึงวัยที่ควรจะพูด หรือมีพัฒนาการทางภาษาน้อยกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน ตามปกติแล้วเด็กจะเริ่มพูดคำแรกประมาณ 1 ขวบ หรือขวบกว่าๆจนถึงประมาณสองขวบ ผลการวิจัยได้ระบุว่าถ้าเด็กอายุขวบครึ่งยังไม่พูด ควรเริ่มสังเกตอย่างใกล้ชิดว่าเด็กเข้าใจ สิ่งที่คนอื่นพูดหรือไม่ หากความเข้าใจน้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน ก็ไม่ควรรอจนถึง 2 ขวบ หรือถ้ายังไม่พูดและไม่มีการใช้ภาษากาย เช่น การมองหน้าสบตา การใช้นิ้วชี้บอกแทนคำพูด มาช่วยสื่อสาร อาจสงสัยได้ว่ามีลักษณะเบี่ยงเบนในกลุ่มออทิสติก สำหรับเด็กที่พูดช้าเพียงอย่างเดียว แต่มีความเข้าใจภาษาเหมือนเด็กวัยเดียวกัน และไม่มีความบกพร่องของภาษาท่าทาง ภาษาชาวบ้านเรียกอาการนี้ว่า ปากหนัก ซึ่งส่วนมากจะไม่มีความผิดปกติใดๆ รุนแรง และมักพูดได้เป็นปกติในที่สุด สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือพ่อแม่มักพาเด็กพูดช้ามาปรึกษาหมอตอนอายุ 2–4 ขวบไปแล้ว เนื่องจากคิดว่า เดี๋ยวเด็กคงพูดได้เอง ซึ่งทำให้เด็กขาดโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตเด็กหลายคนแม้จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ แต่อาจจะยังคงมีภาษาล่าช้ากว่าเพื่อนจนถึงวัยเรียน ดังนั้นเมื่อคุณครูหรือพ่อแม่สงสัยว่าลูกมีภาวะพูดช้า แนะนำว่าควรให้การดูแลโดยไม่ต้องรอการตรวจวินิจฉัยโรคที่นานจนเกินไป เพราะการบำบัดช่วยเหลือในระยะเริ่มแรกจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า รวมทั้งแนวทางการช่วยเหลือมักคล้ายกันไม่ ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนิชราเรืองดรากานนท์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/501455

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...