บำบัดเด็กออทิสติกด้วยABA
„ต้องบอกก่อนว่า ขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้ว ต่อให้อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีลักษณะหรือการแสดงออกที่เหมือนกัน เด็กออทิสติกก็เช่นกัน แต่จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเด็กออทิสติกจะมีปัญหาหลัก ๆ คือเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการและพฤติกรรม ดังนั้น การบำบัดจึงหนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเด็กเหล่านี้เมื่อได้รับการบำบัดก็มักจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น (หรือที่เรียกว่านิ่งขึ้น) ดังนั้น การบำบัดจึงควรเริ่มให้เร็วที่สุด
การบำบัดเด็กออทิสติกนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่ง Applied Behavior Analysis หรือ ABA หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านพฤติกรรมมาปรับพฤติกรรมของคนอีกทอดหนึ่ง เป็นวิธีการปรับพฤติกรรมที่คลาสสิกที่สุดและยังคงได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพมาก
สำหรับการบำบัดโดยใช้วิธี ABA นั้นได้รับการอ้างอิงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ว่าสามารถใช้ได้ผลและเด็กออทิสติกก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก สำหรับการบำบัดโดยใช้ ABA นั้น ผู้บำบัดจะใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันในการปรับพฤติกรรมเด็ก 1 คนโดยมีคอนเซปต์ง่าย ๆ นั่นคือ สิ่งเร้า การตอบสนอง การให้รางวัลเท่านั้นเอง โดยเริ่มการฝึกด้วยสิ่งง่าย ๆ และให้เด็กเลือกเอง เช่น ถามว่าวันนี้เราจะเรียน “สวัสดี” กันให้เด็กเลือกรางวัลที่อยากได้ก่อน หลังจากนั้นผู้บำบัดจะแสดงตัวอย่างให้เด็กทำตามแล้วจะให้เด็กลองทำตาม ซึ่งจะให้เด็กทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเด็กจะทำได้อย่างถูกต้องและเมื่อทำได้ถูกต้องแล้ว ผู้บำบัดจะให้รางวัลไม่ว่าจะเป็นคำชมหรือขนมที่เด็กอยากได้เมื่อตอนแรก ถ้าเด็กทำผิด พฤติกรรมที่ผิดนั้นจะถูกแทนที่ด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้วจึงให้เด็กทำซ้ำจนกว่าเด็กจะทำถูกต้อง
จุดมุ่งหมายสำคัญของการฝึกแบบ ABA นี้คือ เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (การเล่นกับคนอื่น) สอนทักษะใหม่ ๆ (การช่วยตัวเองในลักษณะต่าง ๆ หรือการฝึกการพูด) การทำซ้ำให้เด็กทำจนเป็นนิสัย (การควบคุมตนเอง) การฝึกทักษะทางสังคมและการลดพฤติกรรมอันอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นเราสามารถฝึกทักษะการพูด การช่วยตัวเอง การเข้าสังคม รวมทั้งสอดแทรกวิชาการในกรณีที่เป็นเด็กเล็กโดยใช้วิธี ABA ได้เป็นหลายร้อยวิธีการ แต่วิธีการ ABA นี้อาจใช้เวลามากคือหลายปีที่จะค่อย ๆ สอนให้เด็กมีการซึมซับ จนกระทั่งเด็กสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
นอกจากนี้แล้ว ABA ยังแตกได้เป็นอีกหลายวิธีการไม่ว่าจะเป็น Discrete Trial Training (DTT) Applied Verbal Behavior (AVB) Pivotal Response Therapy (PRT) เช่น DTT จะเน้นการฝึกทักษะ โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ๆ ยิ่งย่อยมากยิ่งดี การจะสอนให้เด็กพูดคำว่าสวัสดีกับคุณแม่นั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการสอนให้เด็กหันไปทางแม่แล้วสบตา ส่วนที่สองคือการสอนคำว่า “สวัสดี” แล้วจึงนำมารวมกัน AVB จะเน้นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารและการพูดโดยเฉพาะโดยสอนเป็นกลุ่มคำ เช่น พวกสัตว์จะมี “ปลา” “นก” “เป็ด” “หมู” “หมา” หรือการสอนทักษะการขอร้อง เช่น “ให้” “ไม่ให้” “ใช่” “ไม่ใช่” “ขอบคุณ” “ขอโทษ” เพื่อให้เด็กสามารถสื่อสารโดยใช้คำพูดแทนที่จะแสดงออกโดยใช้ท่าทาง PRT นั้นอาจจะแตกต่างจาก ABA ในแง่ที่ว่าข้อแรก PRT จะเน้นหลักการสำคัญของพัฒนาการและพฤติกรรมนั่นคือจะกระตุ้นให้เด็กสนใจได้อย่างไรจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างไร จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาอย่างถูกต้องเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้อย่างไร ข้อสองคือจะเน้นที่ตัวเด็กเป็นหลักแทนที่จะเป็นผู้บำบัดเป็นหลัก และข้อสามคือรางวัลจะแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกไม่ใช่คำชมอย่างเดียวหรือไม่ใช่การให้ขนมอย่างเดียว เช่น เมื่อเด็กเรียนรู้การขอของเล่นที่ถูกต้องผู้บำบัดจึงจะให้ของเล่น การบำบัดด้วยวิธีนี้จะสอนในขณะที่เด็กกำลังทำพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันของตัวเอง ไม่ใช่การให้นั่งอยู่กับที่ ส่วนเนื้อหาในการบำบัดนั้น ยังคงใช้เนื้อหาเดียวกับการปรับพฤติกรรมโดยใช้หลัก ABA นั่นคือภาษาการสื่อสารทักษะทางสังคมทักษะทางการศึกษาและการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ในต่างประเทศนั้นจะพบว่าผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักพฤติกรรมศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้าน ABA นั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมประเภทต่าง ๆ (ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านการกลืนเด็กที่มีปัญหาด้านการนอน) ไม่จำเพาะว่าจะนำไปปรับใช้กับเด็กออทิสติกนั้น จะต้องได้รับประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งขั้นต้นแล้วจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องขั้นต่ำระดับปริญญาโท และเรียนภาคทฤษฎีจำนวน 225 ชั่วโมงรวมถึงต้องมีประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติการเฉพาะ 1,500 ชั่วโมงก่อนด้วย
การบำบัดเด็กออทิสติกด้วยวิธีนี้ถึงแม้ว่าจะใช้เวลาต่อคนมากแต่ก็นับว่าได้ผลดี และเป็นพื้นฐานการต่อยอดไปสู่การบำบัดด้วยวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เด็กออทิสติกมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น ** สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกที่มีอายุระหว่าง 3-7 ปีและสนใจการบำบัดด้วยวิธี ABA สามารถนัดเพื่อขอคำแนะนำและได้รับการประเมินเบื้องต้นได้ที่ 0-2200-4029. อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล“
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/327820 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เด็กหญิงกำลังเป่าดอกหญ้าเล่น „ต้องบอกก่อนว่า ขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้ว ต่อให้อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีลักษณะหรือการแสดงออกที่เหมือนกัน เด็กออทิสติกก็เช่นกัน แต่จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วเด็กออทิสติกจะมีปัญหาหลัก ๆ คือเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการและพฤติกรรม ดังนั้น การบำบัดจึงหนีไม่พ้นเรื่องเหล่านี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเด็กเหล่านี้เมื่อได้รับการบำบัดก็มักจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น (หรือที่เรียกว่านิ่งขึ้น) ดังนั้น การบำบัดจึงควรเริ่มให้เร็วที่สุด การบำบัดเด็กออทิสติกนั้นมีหลากหลายวิธี ซึ่ง Applied Behavior Analysis หรือ ABA หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านพฤติกรรมมาปรับพฤติกรรมของคนอีกทอดหนึ่ง เป็นวิธีการปรับพฤติกรรมที่คลาสสิกที่สุดและยังคงได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพมาก สำหรับการบำบัดโดยใช้วิธี ABA นั้นได้รับการอ้างอิงมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ว่าสามารถใช้ได้ผลและเด็กออทิสติกก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก สำหรับการบำบัดโดยใช้ ABA นั้น ผู้บำบัดจะใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวันในการปรับพฤติกรรมเด็ก 1 คนโดยมีคอนเซปต์ง่าย ๆ นั่นคือ สิ่งเร้า การตอบสนอง การให้รางวัลเท่านั้นเอง โดยเริ่มการฝึกด้วยสิ่งง่าย ๆ และให้เด็กเลือกเอง เช่น ถามว่าวันนี้เราจะเรียน “สวัสดี” กันให้เด็กเลือกรางวัลที่อยากได้ก่อน หลังจากนั้นผู้บำบัดจะแสดงตัวอย่างให้เด็กทำตามแล้วจะให้เด็กลองทำตาม ซึ่งจะให้เด็กทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าเด็กจะทำได้อย่างถูกต้องและเมื่อทำได้ถูกต้องแล้ว ผู้บำบัดจะให้รางวัลไม่ว่าจะเป็นคำชมหรือขนมที่เด็กอยากได้เมื่อตอนแรก ถ้าเด็กทำผิด พฤติกรรมที่ผิดนั้นจะถูกแทนที่ด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้วจึงให้เด็กทำซ้ำจนกว่าเด็กจะทำถูกต้อง จุดมุ่งหมายสำคัญของการฝึกแบบ ABA นี้คือ เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์ (การเล่นกับคนอื่น) สอนทักษะใหม่ ๆ (การช่วยตัวเองในลักษณะต่าง ๆ หรือการฝึกการพูด) การทำซ้ำให้เด็กทำจนเป็นนิสัย (การควบคุมตนเอง) การฝึกทักษะทางสังคมและการลดพฤติกรรมอันอาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้นเราสามารถฝึกทักษะการพูด การช่วยตัวเอง การเข้าสังคม รวมทั้งสอดแทรกวิชาการในกรณีที่เป็นเด็กเล็กโดยใช้วิธี ABA ได้เป็นหลายร้อยวิธีการ แต่วิธีการ ABA นี้อาจใช้เวลามากคือหลายปีที่จะค่อย ๆ สอนให้เด็กมีการซึมซับ จนกระทั่งเด็กสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ABA ยังแตกได้เป็นอีกหลายวิธีการไม่ว่าจะเป็น Discrete Trial Training (DTT) Applied Verbal Behavior (AVB) Pivotal Response Therapy (PRT) เช่น DTT จะเน้นการฝึกทักษะ โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ๆ ยิ่งย่อยมากยิ่งดี การจะสอนให้เด็กพูดคำว่าสวัสดีกับคุณแม่นั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการสอนให้เด็กหันไปทางแม่แล้วสบตา ส่วนที่สองคือการสอนคำว่า “สวัสดี” แล้วจึงนำมารวมกัน AVB จะเน้นเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารและการพูดโดยเฉพาะโดยสอนเป็นกลุ่มคำ เช่น พวกสัตว์จะมี “ปลา” “นก” “เป็ด” “หมู” “หมา” หรือการสอนทักษะการขอร้อง เช่น “ให้” “ไม่ให้” “ใช่” “ไม่ใช่” “ขอบคุณ” “ขอโทษ” เพื่อให้เด็กสามารถสื่อสารโดยใช้คำพูดแทนที่จะแสดงออกโดยใช้ท่าทาง PRT นั้นอาจจะแตกต่างจาก ABA ในแง่ที่ว่าข้อแรก PRT จะเน้นหลักการสำคัญของพัฒนาการและพฤติกรรมนั่นคือจะกระตุ้นให้เด็กสนใจได้อย่างไรจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างไร จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาอย่างถูกต้องเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้อย่างไร ข้อสองคือจะเน้นที่ตัวเด็กเป็นหลักแทนที่จะเป็นผู้บำบัดเป็นหลัก และข้อสามคือรางวัลจะแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกไม่ใช่คำชมอย่างเดียวหรือไม่ใช่การให้ขนมอย่างเดียว เช่น เมื่อเด็กเรียนรู้การขอของเล่นที่ถูกต้องผู้บำบัดจึงจะให้ของเล่น การบำบัดด้วยวิธีนี้จะสอนในขณะที่เด็กกำลังทำพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันของตัวเอง ไม่ใช่การให้นั่งอยู่กับที่ ส่วนเนื้อหาในการบำบัดนั้น ยังคงใช้เนื้อหาเดียวกับการปรับพฤติกรรมโดยใช้หลัก ABA นั่นคือภาษาการสื่อสารทักษะทางสังคมทักษะทางการศึกษาและการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ในต่างประเทศนั้นจะพบว่าผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักพฤติกรรมศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้าน ABA นั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมประเภทต่าง ๆ (ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่มีปัญหาด้านการกลืนเด็กที่มีปัญหาด้านการนอน) ไม่จำเพาะว่าจะนำไปปรับใช้กับเด็กออทิสติกนั้น จะต้องได้รับประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งขั้นต้นแล้วจะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องขั้นต่ำระดับปริญญาโท และเรียนภาคทฤษฎีจำนวน 225 ชั่วโมงรวมถึงต้องมีประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติการเฉพาะ 1,500 ชั่วโมงก่อนด้วย การบำบัดเด็กออทิสติกด้วยวิธีนี้ถึงแม้ว่าจะใช้เวลาต่อคนมากแต่ก็นับว่าได้ผลดี และเป็นพื้นฐานการต่อยอดไปสู่การบำบัดด้วยวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยให้เด็กออทิสติกมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น ** สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเป็นออทิสติกที่มีอายุระหว่าง 3-7 ปีและสนใจการบำบัดด้วยวิธี ABA สามารถนัดเพื่อขอคำแนะนำและได้รับการประเมินเบื้องต้นได้ที่ 0-2200-4029. อาจารย์ ดร.ปรียาสิริ วิฑูรชาติ ศูนย์นโยบายและการจัดการสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/327820
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)