การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวชจะเป็นสุขได้อย่างไร

แสดงความคิดเห็น

การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวชจะเป็นสุขได้อย่างไร

โดย นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์

เป็นที่ทราบกันดีว่า การไม่เจ็บป่วยเป็นโรคนั้นถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ มนุษย์เราจึงไม่มีใครอยากเจ็บป่วย แต่ก็เป็นสัจธรรมของชีวิต ที่ว่า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วหนีไม่พ้นที่ต้องประสบกับการ เกิด แก่ เจ็บ และตาย ไปในที่สุด มนุษย์เราไม่อยากเจ็บป่วยก็เนื่องจากการเจ็บป่วยนั้นก่อให้เกิดความทุกข์โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวชจะมีความทุกข์ และทำให้ญาติหรือผู้ดูแลก็เกิดความทุกข์ร่วมด้วยเช่นกัน จึงเกิดคำถามว่า แล้วการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวชจะเป็นสุขได้อย่างไร

มนุษย์เราแต่ละคนจะประกอบด้วยสองส่วนใหญ่ๆ คือ ร่างกาย และจิตใจ การเจ็บป่วยทางร่างกายหรือโรคทางจิตเวชที่เกิดจากโรคทางร่างกายก็ต้องให้แพทย์ทางกายรักษา การเจ็บป่วยทางจิตใจเราเรียกว่าการเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งมีหลากหลายชนิด หมายถึง ความผิดปกติทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม อันมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการทำงานของจิตใจ กระบวนการทางชีววิทยาหรือการพัฒนาการ ผู้ป่วยจิตเวชจะเกิดความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย หรือเกิดความบกพร่องต่อการทำกิจกรรมทางสังคม การดำรงชีวิตประจำวันการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมสำคัญอื่นๆ

ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลไปล่วงหน้า ใจสั่น หงุดหงิดง่าย มือเท้าเย็น เหงื่อออกตามปลายมือปลายเท้า นอนไม่หลับ ซึ่งจะรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงานของผู้ป่วย

โรคซึมเศร้า จะมีอาการเบื่อหน่ายต่องานที่เคยชอบทำ สมาธิไม่ดีทำให้หลงลืมง่าย คิดแต่เรื่องร้ายๆ นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ บางรายตื่นเช้ากว่าปกติมาก เช่น ตื่นนอนตี 3 ตี 4 แล้วหลับต่อไม่ได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องตื่นเช้าเช่นนี้ ไม่ใคร่อยากได้อยากมีเหมือนแต่ก่อน ท้อแท้ บางรายร้องไห้ง่ายจนกระทั่งเบื่อชีวิต อยากทำร้ายตนเอง บางรายกลับมีอาการนอนมาก ตื่นมาเพื่อกินข้าวแล้วก็จะหลับต่อเพราะไม่อยากรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ติดต่อกันเป็นอาทิตย์ๆ กินข้าวไม่ได้ทำให้ผอมลง บางรายกลับมีอาการกินมากทำให้อ้วนขึ้น บางคนก็ว่าจิตตก ขาดกำลังใจ ท้องผูก ความรู้สึกทางเพศลดลง บางรายกลับมีความรู้สึกทางเพศมากขึ้น การเคลื่อนไหวช้าลง บางรายหงุดหงิดเห็นอะไรก็ขวางหูขวางตาใครพูดอะไรก็ฟังดูไม่ถูกหูด่าให้ร่ำไป

โรคอารมณ์สองขั้ว อารมณ์ขั้วสูงหรือฟุ้งพล่าน กับอารมณ์ขั้วต่ำหรืออารมณ์เศร้าอารมณ์ขั้วสูงหรือฟุ้งพล่านจะมีอารมณ์ครึกครื้นมีความสุขมากเกินไปอย่างมาก นอนหลับ 2-3 ชั่วโมง แต่กลับมีแรงจะทำโน่นนี่มากมาย ในสมองมีความคิดแล่นเร็วมาก มีโครงการใหญ่ๆ มากมายที่อยากทำในสมอง พูดมากกว่าปกติ หยุดไม่ค่อยได้ ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยมาก ซื้อของที่ไม่จำเป็น และไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ ซื้อแล้วก็แจกชาวบ้านไปทั่ว มีความคิดว่าตนเองวิเศษพิเศษมากกว่าผู้อื่น ห้ามใครทักท้วงหรือขัดใจ ถ้าใครขัดใจจะไม่พอใจ เกรี้ยวกราดมากทำให้เกิดการทะเลาะกัน บางครั้งใช้กำลังในการตัดสินปัญหา ส่วน อารมณ์ขั้วต่ำหรืออารมณ์เศร้า ซึ่งเหมือนกับอาการอารมณ์เศร้าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่อารมณ์เศร้าในโรคอารมณ์สองขั้วมีโอกาสทำร้ายตัวเองสูงกว่าโดยโรคอารมณ์สองขั้วนี้อาจมีอาการของโรคจิตร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

ความผิดปกติด้านความคิด เช่น โรคจิตเภท โรคจิตเภท มีอาการรับรู้ผิดปกติ โดยมีอาการหูแว่ว หมายถึง ได้ยินคนพูดคุยกันโดยผู้ป่วยไม่เห็นคนพูด เพราะความจริงแล้วไม่มีคนพูด ซึ่งเสียงคนพูดคุยกันนั้นผู้ป่วยจะได้ยินชัดเจนจนผู้ป่วยแยกไม่ออกว่าเป็นเสียงแว่วที่ผู้ป่วยได้ยินไปเอง ในบางครั้งจึงพบเห็นผู้ป่วยพูดคุยคนเดียวเหมือนพูดโต้ตอบกับใครก็ไม่รู้ หรือบางทีก็ตะโกนทะเลาะกับเสียงหูแว่วที่ได้ยิน บางครั้งเสียงหูแว่วสั่งให้ผู้ป่วยไปทำร้ายผู้คน ถ้าผู้ป่วยที่เชื่อเสียงสั่งและแยกไม่ออกว่าเป็นหูแว่วก็จะทำตามเสียงที่สั่ง ผู้ป่วยบางรายมีอาการหลงผิดที่มีความเชื่อผิดๆ และฝังแน่น เช่น หลงผิดระแวงว่าจะมีคนมาทำร้าย ก็จะพกอาวุธเพื่อป้องกันตัวเอง หรือเกิดอาการคลุ้มคลั่งไปทำร้ายคนที่ผู้ป่วยเกิดหลงผิดว่าผู้นั้นจะมาทำร้ายได้ ซึ่งโรคจิตเภทเป็นโรคจิตที่รุนแรงเรื้อรัง และพบมากที่สุดในผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตซึ่งถ้าสามารถวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่เริ่มแรกที่ป่วยแล้วรีบรักษาจะมีโอกาสหายขาดได้ : ข้อมูลจาก น.พ.ธีระ ลีลานันทกิจ รองประธานมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปภัมถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/2236099

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย25ส.ค.58
วันที่โพสต์: 25/08/2558 เวลา 12:05:23 ดูภาพสไลด์โชว์ การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวชจะเป็นสุขได้อย่างไร

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวชจะเป็นสุขได้อย่างไร โดย นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การไม่เจ็บป่วยเป็นโรคนั้นถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ มนุษย์เราจึงไม่มีใครอยากเจ็บป่วย แต่ก็เป็นสัจธรรมของชีวิต ที่ว่า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วหนีไม่พ้นที่ต้องประสบกับการ เกิด แก่ เจ็บ และตาย ไปในที่สุด มนุษย์เราไม่อยากเจ็บป่วยก็เนื่องจากการเจ็บป่วยนั้นก่อให้เกิดความทุกข์โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวชจะมีความทุกข์ และทำให้ญาติหรือผู้ดูแลก็เกิดความทุกข์ร่วมด้วยเช่นกัน จึงเกิดคำถามว่า แล้วการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวชจะเป็นสุขได้อย่างไร มนุษย์เราแต่ละคนจะประกอบด้วยสองส่วนใหญ่ๆ คือ ร่างกาย และจิตใจ การเจ็บป่วยทางร่างกายหรือโรคทางจิตเวชที่เกิดจากโรคทางร่างกายก็ต้องให้แพทย์ทางกายรักษา การเจ็บป่วยทางจิตใจเราเรียกว่าการเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งมีหลากหลายชนิด หมายถึง ความผิดปกติทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม อันมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการทำงานของจิตใจ กระบวนการทางชีววิทยาหรือการพัฒนาการ ผู้ป่วยจิตเวชจะเกิดความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย หรือเกิดความบกพร่องต่อการทำกิจกรรมทางสังคม การดำรงชีวิตประจำวันการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมสำคัญอื่นๆ ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ผู้ป่วยจะมีอาการวิตกกังวลไปล่วงหน้า ใจสั่น หงุดหงิดง่าย มือเท้าเย็น เหงื่อออกตามปลายมือปลายเท้า นอนไม่หลับ ซึ่งจะรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงานของผู้ป่วย โรคซึมเศร้า จะมีอาการเบื่อหน่ายต่องานที่เคยชอบทำ สมาธิไม่ดีทำให้หลงลืมง่าย คิดแต่เรื่องร้ายๆ นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ บางรายตื่นเช้ากว่าปกติมาก เช่น ตื่นนอนตี 3 ตี 4 แล้วหลับต่อไม่ได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องตื่นเช้าเช่นนี้ ไม่ใคร่อยากได้อยากมีเหมือนแต่ก่อน ท้อแท้ บางรายร้องไห้ง่ายจนกระทั่งเบื่อชีวิต อยากทำร้ายตนเอง บางรายกลับมีอาการนอนมาก ตื่นมาเพื่อกินข้าวแล้วก็จะหลับต่อเพราะไม่อยากรับรู้ต่อสิ่งต่างๆ ติดต่อกันเป็นอาทิตย์ๆ กินข้าวไม่ได้ทำให้ผอมลง บางรายกลับมีอาการกินมากทำให้อ้วนขึ้น บางคนก็ว่าจิตตก ขาดกำลังใจ ท้องผูก ความรู้สึกทางเพศลดลง บางรายกลับมีความรู้สึกทางเพศมากขึ้น การเคลื่อนไหวช้าลง บางรายหงุดหงิดเห็นอะไรก็ขวางหูขวางตาใครพูดอะไรก็ฟังดูไม่ถูกหูด่าให้ร่ำไป โรคอารมณ์สองขั้ว อารมณ์ขั้วสูงหรือฟุ้งพล่าน กับอารมณ์ขั้วต่ำหรืออารมณ์เศร้าอารมณ์ขั้วสูงหรือฟุ้งพล่านจะมีอารมณ์ครึกครื้นมีความสุขมากเกินไปอย่างมาก นอนหลับ 2-3 ชั่วโมง แต่กลับมีแรงจะทำโน่นนี่มากมาย ในสมองมีความคิดแล่นเร็วมาก มีโครงการใหญ่ๆ มากมายที่อยากทำในสมอง พูดมากกว่าปกติ หยุดไม่ค่อยได้ ใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยมาก ซื้อของที่ไม่จำเป็น และไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ ซื้อแล้วก็แจกชาวบ้านไปทั่ว มีความคิดว่าตนเองวิเศษพิเศษมากกว่าผู้อื่น ห้ามใครทักท้วงหรือขัดใจ ถ้าใครขัดใจจะไม่พอใจ เกรี้ยวกราดมากทำให้เกิดการทะเลาะกัน บางครั้งใช้กำลังในการตัดสินปัญหา ส่วน อารมณ์ขั้วต่ำหรืออารมณ์เศร้า ซึ่งเหมือนกับอาการอารมณ์เศร้าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่อารมณ์เศร้าในโรคอารมณ์สองขั้วมีโอกาสทำร้ายตัวเองสูงกว่าโดยโรคอารมณ์สองขั้วนี้อาจมีอาการของโรคจิตร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ความผิดปกติด้านความคิด เช่น โรคจิตเภท โรคจิตเภท มีอาการรับรู้ผิดปกติ โดยมีอาการหูแว่ว หมายถึง ได้ยินคนพูดคุยกันโดยผู้ป่วยไม่เห็นคนพูด เพราะความจริงแล้วไม่มีคนพูด ซึ่งเสียงคนพูดคุยกันนั้นผู้ป่วยจะได้ยินชัดเจนจนผู้ป่วยแยกไม่ออกว่าเป็นเสียงแว่วที่ผู้ป่วยได้ยินไปเอง ในบางครั้งจึงพบเห็นผู้ป่วยพูดคุยคนเดียวเหมือนพูดโต้ตอบกับใครก็ไม่รู้ หรือบางทีก็ตะโกนทะเลาะกับเสียงหูแว่วที่ได้ยิน บางครั้งเสียงหูแว่วสั่งให้ผู้ป่วยไปทำร้ายผู้คน ถ้าผู้ป่วยที่เชื่อเสียงสั่งและแยกไม่ออกว่าเป็นหูแว่วก็จะทำตามเสียงที่สั่ง ผู้ป่วยบางรายมีอาการหลงผิดที่มีความเชื่อผิดๆ และฝังแน่น เช่น หลงผิดระแวงว่าจะมีคนมาทำร้าย ก็จะพกอาวุธเพื่อป้องกันตัวเอง หรือเกิดอาการคลุ้มคลั่งไปทำร้ายคนที่ผู้ป่วยเกิดหลงผิดว่าผู้นั้นจะมาทำร้ายได้ ซึ่งโรคจิตเภทเป็นโรคจิตที่รุนแรงเรื้อรัง และพบมากที่สุดในผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตซึ่งถ้าสามารถวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่เริ่มแรกที่ป่วยแล้วรีบรักษาจะมีโอกาสหายขาดได้ : ข้อมูลจาก น.พ.ธีระ ลีลานันทกิจ รองประธานมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปภัมถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/2236099

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...