สมองเสื่อม-ซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพจิตผู้สูงวัย
โดย...พวงชมพู ประเสริฐ : ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ มีความเสื่อมถอยของระบบการทำงานและอวัยวะต่างๆ ทำให้มีแนวโน้มในการเกิดความผิดปกติและเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งอาการเจ็บป่วยและความเสื่อมถอยของร่างกายอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต จากการสำรวจของหลายสถาบันสุขภาพทั่วโลก สะท้อนข้อมูลที่ใกล้เคียงกันว่า ปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคทางจิตเวชที่สำคัญในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้า ไม่นับรวมโรคหรือภาวะผิดปกติทางสุขภาพจิตอื่นที่เป็นต่อเนื่องเรื้อรังมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
นพ.ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต ที่ 11 กรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลว่า โรคสมองเสื่อมพบโอกาสเกิดสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น พบประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ที่มีอายุ 65-75 ปี และสูงถึงร้อยละ 40-50 ในผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นโรคสมองเสื่อม แบบอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) จะพบสูงถึง 70% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด รองลงมาคือ โรคสมองเสื่อมจากอุบัติเหตุของเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ประมาณ 15-20%
“ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ มักมีอาการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยๆ เริ่มต้นที่การสูญเสียความจำในเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นก่อน เช่น รับประทานอาหารอะไรไปบ้างในมื้อเช้า ถามคำถามเดิมซ้ำๆ วางของทิ้งไว้แล้วลืม ขณะที่ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตยังดีอยู่มาก ต่อจากนั้นอาการจะปรากฏชัดมากขึ้น ตามความเสื่อมของเซลล์สมองที่พบมากขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดภาวะสับสน หงุดหงิดง่าย อาจมีพฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว หากเป็นรุนแรงอาจมีอาการหวาดระแวง หลงผิดหรือหูแว่วประสาทหลอนได้” นพ.ธิติพันธ์กล่าว
ส่วน การรักษาโรคสมองเสื่อม เป็นประเด็นที่มีความหวังมากขึ้นเรื่อยๆ แนวทางการรักษาด้วยยามี 2 แบบ คือ 1.การรักษาที่ต้นเหตุ โดยการได้รับยาต้านสมองเสื่อม ได้แก่ โดเนเพซิล (donepezil), กาแลนทามีน (galantamine), ไรวาสติกมีน ( rivastigmine) หรือ เมแมนทีน (memantine) ซึ่งในปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยยาในกลุ่มนี้สูงมาก และ 2.การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น อาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หลงผิด หวาดระแวงหรือหูแว่วประสาทหลอน ก็จะได้รับยารักษาอาการ นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแล้ว ยังจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางจิตสังคมด้วย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมการกระตุ้นและฟื้นฟูการทำงานของสมอง โปรแกรมการเตรียมพร้อมผู้ดูแลในการจัดการอาการผู้ป่วยสมองเสื่อม เป็นต้น
สำหรับ โรคซึมเศร้า นพ.ธิติพันธ์ บอกว่า สามารถพบได้สูงถึง 25-50% ของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุในกลุ่มเสี่ยง คือ มีโรคประจำตัวในกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไต ไม่มีหรือสูญเสียคู่สมรส ระดับฐานะไม่ดี และขาดแหล่งประคับประคองทางสังคม เช่น ต้องใช้ชีวิตเพียงลำพัง ไม่มีเพื่อนสนิท เป็นต้น อาการของโรคซึมเศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้รู้สึกไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า กระสับกระส่ายไม่เป็นสุข หรือไม่รู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมที่เคยชอบ สมาธิความจำแย่ลง อ่อนเพลีย รูปแบบการรับประทานอาหารและการนอนเปลี่ยนไป หากมีอาการรุนแรงจะมีความคิดด้านลบมาก รู้สึกไร้ค่าสิ้นหวังและมีความคิดฆ่าตัวตายได้
ทั้งนี้ เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงตั้งแต่ 9 เดือน- 2 ปี โดยใช้ยาต้านเศร้าเป็นยาหลัก เช่น เซอร์ทราลีน (sertraline), ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) เป็นต้น ร่วมกับการให้คำปรึกษา เน้นเรื่องปรับกระบวนความคิดให้เป็นบวก (Cognitive Behavior Therapy: CBT) และการปรับสัมพันธภาพกับบุคคลใกล้ชิดให้ดีขึ้น (Interpersonal Therapy: IPT)
“การปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุเพื่อให้ห่างไกล 2 โรคนี้ จะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่พอเหมาะ ปรับอารมณ์และความเครียดอย่างเหมาะสม ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเป็นการส่งเสริมการทำงานของสมอง ปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง รวมไปถึงยับยั้งการเสื่อมของเซลล์สมอง ถือเป็นวัคซีนในการป้องกันโรคทั้งสองนี้ได้เป็นอย่างดี
ส่วนผู้ดูแลควรจะกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติตามศักยภาพ อย่าใช้คำว่า สูงอายุมาเป็นข้อจำกัดในชีวิตของพวกท่าน พยายามพูดคุยสื่อสารในทางบวก และจัดกิจกรรมครอบครัวเพื่อให้ผู้สูงวัยได้มีโอกาสฟื้นฟูสมองและกระชับสัมพันธภาพกับลูกหลานมากขึ้น” นพ.ธิติพันธ์ ให้คำแนะนำ
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150420/204905.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต ที่ 11 กรมสุขภาพจิต โดย...พวงชมพู ประเสริฐ : ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ มีความเสื่อมถอยของระบบการทำงานและอวัยวะต่างๆ ทำให้มีแนวโน้มในการเกิดความผิดปกติและเจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งอาการเจ็บป่วยและความเสื่อมถอยของร่างกายอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต จากการสำรวจของหลายสถาบันสุขภาพทั่วโลก สะท้อนข้อมูลที่ใกล้เคียงกันว่า ปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคทางจิตเวชที่สำคัญในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้า ไม่นับรวมโรคหรือภาวะผิดปกติทางสุขภาพจิตอื่นที่เป็นต่อเนื่องเรื้อรังมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว นพ.ธิติพันธ์ ธานีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิต ที่ 11 กรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลว่า โรคสมองเสื่อมพบโอกาสเกิดสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น พบประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ที่มีอายุ 65-75 ปี และสูงถึงร้อยละ 40-50 ในผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะเป็นโรคสมองเสื่อม แบบอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) จะพบสูงถึง 70% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด รองลงมาคือ โรคสมองเสื่อมจากอุบัติเหตุของเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก ประมาณ 15-20% “ผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ มักมีอาการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยๆ เริ่มต้นที่การสูญเสียความจำในเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นก่อน เช่น รับประทานอาหารอะไรไปบ้างในมื้อเช้า ถามคำถามเดิมซ้ำๆ วางของทิ้งไว้แล้วลืม ขณะที่ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตยังดีอยู่มาก ต่อจากนั้นอาการจะปรากฏชัดมากขึ้น ตามความเสื่อมของเซลล์สมองที่พบมากขึ้นเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดภาวะสับสน หงุดหงิดง่าย อาจมีพฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว หากเป็นรุนแรงอาจมีอาการหวาดระแวง หลงผิดหรือหูแว่วประสาทหลอนได้” นพ.ธิติพันธ์กล่าว ส่วน การรักษาโรคสมองเสื่อม เป็นประเด็นที่มีความหวังมากขึ้นเรื่อยๆ แนวทางการรักษาด้วยยามี 2 แบบ คือ 1.การรักษาที่ต้นเหตุ โดยการได้รับยาต้านสมองเสื่อม ได้แก่ โดเนเพซิล (donepezil), กาแลนทามีน (galantamine), ไรวาสติกมีน ( rivastigmine) หรือ เมแมนทีน (memantine) ซึ่งในปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยยาในกลุ่มนี้สูงมาก และ 2.การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น อาการนอนไม่หลับ ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หลงผิด หวาดระแวงหรือหูแว่วประสาทหลอน ก็จะได้รับยารักษาอาการ นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแล้ว ยังจำเป็นต้องได้รับการดูแลทางจิตสังคมด้วย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมการกระตุ้นและฟื้นฟูการทำงานของสมอง โปรแกรมการเตรียมพร้อมผู้ดูแลในการจัดการอาการผู้ป่วยสมองเสื่อม เป็นต้น สำหรับ โรคซึมเศร้า นพ.ธิติพันธ์ บอกว่า สามารถพบได้สูงถึง 25-50% ของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุในกลุ่มเสี่ยง คือ มีโรคประจำตัวในกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไต ไม่มีหรือสูญเสียคู่สมรส ระดับฐานะไม่ดี และขาดแหล่งประคับประคองทางสังคม เช่น ต้องใช้ชีวิตเพียงลำพัง ไม่มีเพื่อนสนิท เป็นต้น อาการของโรคซึมเศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้รู้สึกไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า กระสับกระส่ายไม่เป็นสุข หรือไม่รู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมที่เคยชอบ สมาธิความจำแย่ลง อ่อนเพลีย รูปแบบการรับประทานอาหารและการนอนเปลี่ยนไป หากมีอาการรุนแรงจะมีความคิดด้านลบมาก รู้สึกไร้ค่าสิ้นหวังและมีความคิดฆ่าตัวตายได้ ทั้งนี้ เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงตั้งแต่ 9 เดือน- 2 ปี โดยใช้ยาต้านเศร้าเป็นยาหลัก เช่น เซอร์ทราลีน (sertraline), ฟลูออกซิทีน (fluoxetine) เป็นต้น ร่วมกับการให้คำปรึกษา เน้นเรื่องปรับกระบวนความคิดให้เป็นบวก (Cognitive Behavior Therapy: CBT) และการปรับสัมพันธภาพกับบุคคลใกล้ชิดให้ดีขึ้น (Interpersonal Therapy: IPT) “การปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุเพื่อให้ห่างไกล 2 โรคนี้ จะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่พอเหมาะ ปรับอารมณ์และความเครียดอย่างเหมาะสม ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเป็นการส่งเสริมการทำงานของสมอง ปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง รวมไปถึงยับยั้งการเสื่อมของเซลล์สมอง ถือเป็นวัคซีนในการป้องกันโรคทั้งสองนี้ได้เป็นอย่างดี ส่วนผู้ดูแลควรจะกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติตามศักยภาพ อย่าใช้คำว่า สูงอายุมาเป็นข้อจำกัดในชีวิตของพวกท่าน พยายามพูดคุยสื่อสารในทางบวก และจัดกิจกรรมครอบครัวเพื่อให้ผู้สูงวัยได้มีโอกาสฟื้นฟูสมองและกระชับสัมพันธภาพกับลูกหลานมากขึ้น” นพ.ธิติพันธ์ ให้คำแนะนำ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150420/204905.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)