'ปากเบี้ยว' ใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก
โรคปากเบี้ยวหมายถึงอะไร : โรคปากเบี้ยว (Bell’s PALSY) เป็นภาวะที่มีอาการอักเสบของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก มุมปากตก ขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้ หลับตาได้ไม่สนิท เลิกคิ้ว ยักคิ้วไม่ได้ น้ำลายไหลออกมุมปาก ซึ่งเกิดจากการ ซึ่งโรคนี้ถูกค้นพบโดยศัลยแพทย์ชาวสกอต ชื่อ CHARLE BELL จึงเรียกโรคนี้ว่า BELL’S PALSY (เบลล์ พัลซี) โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่มีโอกาสพบมากขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน
หน้าที่ของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 : เส้นประสาทสมองมีทั้งหมด 12 คู่ ทำหน้าที่รับความรู้สึกและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ซึ่งเส้นประสาทสมองแต่ละคู่ ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป สำหรับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เรียกว่า FACIAL NERVE ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าทั้ง 2 ด้าน ซ้ายและขวา การยิ้ม ยิงฟัน หลับตา ลืมตา ยักคิ้ว การรับรสอาหาร ควบคุมการได้ยิน การหลั่งน้ำตา การหลั่งน้ำลาย
สาเหตุการเกิดโรคปากเบี้ยว : การบาดเจ็บหรือการอักเสบของเส้นประสาทคู่ที่ 7 (FACIAL NERVE) มักจะเป็นผลตามมาหลังจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักพบบ่อย คือ เริม งูสวัด ที่เกิดบริเวณใบหน้า ในหู สำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอภูมิคุ้มกันต่ำ พักผ่อนน้อย มีความเครียด การสูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์มาก ติดเชื้อเอชไอวี จะเป็นเหตุให้การติดเชื้อไวรัสต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเริม งูสวัด เมื่อเส้นประสาทมีการอักเสบ จะทำให้เส้นประสาทมีการบวมจนเกิดการกดทับ และขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้รบกวนการทำงานของเส้นประสาท ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิดตาและยิ้มได้ เช่น ถ้ามีการอักเสบเส้นประสาทคู่ที่ 7 ด้านซ้าย จะทำให้ใบหน้าซีกซ้ายผิดปกติ ไม่สามารถยักคิ้วได้ ปิดตาได้ไม่สนิท ปากเบี้ยวด้านซ้าย
โรคปากเบี้ยว (BELL’S PALSY) มีอันตรายเพียงใด : โรคเบลล์ พัลซี เป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ฟื้นตัวได้ ภายใน 1-3 เดือน โดยไม่ต้องรักษา และส่วนใหญ่จะหายสนิท มีเพียงส่วนน้อยที่ยังหลงเหลืออาการปากเบี้ยวให้เห็น สำหรับผู้ป่วยที่อายุมาก เกิน 60 ปี ฟื้นตัวได้ช้ากว่าผู้ที่อายุน้อยและพบว่าผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่ง จะมีอาการเครียด และไม่ค่อยเข้าสังคม หลังจากที่มีอาการปากเบี้ยว
อาการของโรคปากเบี้ยว (BELL’S PALSY) : โดยมากจะพบว่าผู้ป่วยมีอาการใบหน้าเบี้ยวปากเบี้ยวอย่างฉับพลัน อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปากเบี้ยว มุมปากตก เวลายิ้มหรือยิงฟันจะเห็นได้ชัด เวลาดื่มน้ำ น้ำจะไหลจากมุมปากข้างที่เป็น เคี้ยวแล้วน้ำลายไหล เนื่องจากปิดปากไม่สนิท เวลาหลับตาเปลือกตาปิดไม่สนิท เวลาลืมตาเปลือกตาตกลง ถ้าหากล้างหน้า จะแสบตา เนื่องจากสบู่เข้าตา จากการที่เปลือกตาปิดไม่สนิท การยักคิ้วไม่ได้ เลิกคิ้วไม่ได้ มีอาการในข้างเดียวกับปาก และตา ที่มีอาการผิดปกติ บางรายอาจสูญเสียการรับรสหรือมีอาการหูอื้อร่วมด้วย
แพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยโรคปากเบี้ยวได้อย่างไร - การทดสอบเส้นประสาทคู่ที่ 7 (FACIAL NERVE) โดยการให้ผู้ป่วย ยิ้ม ยิงฟัน ยักคิ้ว หลับตาให้สนิท หากผิดปกติ จะพบว่า ขณะยิ้ม ยิงฟัน ปากจะเบี้ยว ยักคิ้วไม่ได้ ปิดเปลือกตาไม่สนิท จะมีความผิดปกติในซีกเดียวกันทั้งหมด - การส่องตรวจหูเพื่อหารอยโรค ดูว่ามีการติดเชื้อไวรัสหรือไม่ - การทดสอบกำลังของกล้ามเนื้อแขน และขา หากอยู่ในระดับปกติ จะเป็นการยืนยันว่าไม่ได้เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติในสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น เนื่องจากอัมพาตที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการปากเบี้ยว คล้ายคลึงกับโรคเบลล์ พัลซี แต่แตกต่างกันตรงที่มักมีอาการอ่อนแรงของแขน ขา ร่วมด้วย ผู้ที่มีอาการปากเบี้ยวควรไปพบแพทย์เพื่อหา สาเหตุของโรคให้แน่ชัด
การรักษาโรคปากเบี้ยว (BELL’S PALSY) เมื่อแพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยจนแน่ใจแล้วว่า ผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) หรือไม่ได้เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมองอื่นๆ ที่ทำให้เป็นอัมพาตครึ่งซีก แต่เป็นโรคปากเบี้ยว (BELL’S PALSY) การรักษา มีดังนี้
- การรักษาด้วยยา เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท โดยการให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ คือเพรดนิโซโลน (PREDNISOLON) ในช่วงแรกแพทย์จะให้รับประทานยาวันละหลายเม็ด แล้วค่อยๆ ลดขนาดลงจนหยุดยาภายใน 7-14 วัน ยาช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นแต่ควรให้ภายใน 2-3วัน หลังเกิดอาการ ยานี้มีผลข้างเคียง ควรรับประทานตามคำแนะนำ ของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง ไม่ปรับขนาดยาเอง หรือซื้อยาเอง
- การใช้ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir, valacyclovir
- กายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก ฟื้นตัวได้ช้า แพทย์อาจพิจารณาให้ทำกายภาพบำบัด กระตุ้นไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
- การดูแลดวงตา เนื่องจากโรคนี้การปิดตาไม่สนิท ทำให้ตาแห้ง และมีแผลที่กระจกตาได้ จึงควรใช้น้ำตาเทียมระหว่างวันและใช้ eye shieldปิดตาในช่วงกลางคืน
มีโอกาสหายขาดจากโรคปากเบี้ยวหรือไม่
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มักหายเองและหายขาดได้ ภายใน 1-3 เดือน และมีเพียงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ยังหลงเหลืออาการ ไม่หายขาด
- ซึ่งผู้ที่ไม่หายขาด มักเป็นผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ผู้ที่มีกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงมากไม่สามารถขยับได้เลย ผู้ที่มีอาการดีขึ้นช้า 4 เดือน แล้วยังไม่เริ่มดีขึ้น
- สำหรับผู้ที่มีอาการดีขึ้นเร็ว ภายใน 2-3 สัปดาห์ มักจะหายขาด
ไม่อยากเป็นโรคปากเบี้ยว (Bell‘s Palsy) ต้องทำอย่างไร : เราสามารถป้องกันโรคปากเบี้ยวได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคที่ดี ช่วยลดโอกาสของการติดเชื้อไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆ ด้วยการรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การผ่อนคลายความเครียด การพักผ่อนที่พอเพียง ไม่หักโหมทำงาน ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคปากเบี้ยวได้ด้วย
เมื่อมีอาการปากเบี้ยว ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้ชัดเจน และการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ 1 – 2 วันแรก จะช่วยให้อาการดีขึ้นเร็วและเพิ่มโอกาสของการหายขาดจากโรค : พญ.นภาศรี ชัยสินอนันต์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประสาทวิทยาและหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพญาไท1
ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150708/209309.html (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คอลัมน์ ดูแลสุขภาพ โรคปากเบี้ยวหมายถึงอะไร : โรคปากเบี้ยว (Bell’s PALSY) เป็นภาวะที่มีอาการอักเสบของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก มุมปากตก ขยับใบหน้าซีกนั้นไม่ได้ หลับตาได้ไม่สนิท เลิกคิ้ว ยักคิ้วไม่ได้ น้ำลายไหลออกมุมปาก ซึ่งเกิดจากการ ซึ่งโรคนี้ถูกค้นพบโดยศัลยแพทย์ชาวสกอต ชื่อ CHARLE BELL จึงเรียกโรคนี้ว่า BELL’S PALSY (เบลล์ พัลซี) โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่มีโอกาสพบมากขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน หน้าที่ของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 : เส้นประสาทสมองมีทั้งหมด 12 คู่ ทำหน้าที่รับความรู้สึกและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ซึ่งเส้นประสาทสมองแต่ละคู่ ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป สำหรับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 เรียกว่า FACIAL NERVE ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าทั้ง 2 ด้าน ซ้ายและขวา การยิ้ม ยิงฟัน หลับตา ลืมตา ยักคิ้ว การรับรสอาหาร ควบคุมการได้ยิน การหลั่งน้ำตา การหลั่งน้ำลาย สาเหตุการเกิดโรคปากเบี้ยว : การบาดเจ็บหรือการอักเสบของเส้นประสาทคู่ที่ 7 (FACIAL NERVE) มักจะเป็นผลตามมาหลังจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักพบบ่อย คือ เริม งูสวัด ที่เกิดบริเวณใบหน้า ในหู สำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอภูมิคุ้มกันต่ำ พักผ่อนน้อย มีความเครียด การสูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์มาก ติดเชื้อเอชไอวี จะเป็นเหตุให้การติดเชื้อไวรัสต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเริม งูสวัด เมื่อเส้นประสาทมีการอักเสบ จะทำให้เส้นประสาทมีการบวมจนเกิดการกดทับ และขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้รบกวนการทำงานของเส้นประสาท ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิดตาและยิ้มได้ เช่น ถ้ามีการอักเสบเส้นประสาทคู่ที่ 7 ด้านซ้าย จะทำให้ใบหน้าซีกซ้ายผิดปกติ ไม่สามารถยักคิ้วได้ ปิดตาได้ไม่สนิท ปากเบี้ยวด้านซ้าย โรคปากเบี้ยว (BELL’S PALSY) มีอันตรายเพียงใด : โรคเบลล์ พัลซี เป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ฟื้นตัวได้ ภายใน 1-3 เดือน โดยไม่ต้องรักษา และส่วนใหญ่จะหายสนิท มีเพียงส่วนน้อยที่ยังหลงเหลืออาการปากเบี้ยวให้เห็น สำหรับผู้ป่วยที่อายุมาก เกิน 60 ปี ฟื้นตัวได้ช้ากว่าผู้ที่อายุน้อยและพบว่าผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่ง จะมีอาการเครียด และไม่ค่อยเข้าสังคม หลังจากที่มีอาการปากเบี้ยว อาการของโรคปากเบี้ยว (BELL’S PALSY) : โดยมากจะพบว่าผู้ป่วยมีอาการใบหน้าเบี้ยวปากเบี้ยวอย่างฉับพลัน อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปากเบี้ยว มุมปากตก เวลายิ้มหรือยิงฟันจะเห็นได้ชัด เวลาดื่มน้ำ น้ำจะไหลจากมุมปากข้างที่เป็น เคี้ยวแล้วน้ำลายไหล เนื่องจากปิดปากไม่สนิท เวลาหลับตาเปลือกตาปิดไม่สนิท เวลาลืมตาเปลือกตาตกลง ถ้าหากล้างหน้า จะแสบตา เนื่องจากสบู่เข้าตา จากการที่เปลือกตาปิดไม่สนิท การยักคิ้วไม่ได้ เลิกคิ้วไม่ได้ มีอาการในข้างเดียวกับปาก และตา ที่มีอาการผิดปกติ บางรายอาจสูญเสียการรับรสหรือมีอาการหูอื้อร่วมด้วย แพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยโรคปากเบี้ยวได้อย่างไร - การทดสอบเส้นประสาทคู่ที่ 7 (FACIAL NERVE) โดยการให้ผู้ป่วย ยิ้ม ยิงฟัน ยักคิ้ว หลับตาให้สนิท หากผิดปกติ จะพบว่า ขณะยิ้ม ยิงฟัน ปากจะเบี้ยว ยักคิ้วไม่ได้ ปิดเปลือกตาไม่สนิท จะมีความผิดปกติในซีกเดียวกันทั้งหมด - การส่องตรวจหูเพื่อหารอยโรค ดูว่ามีการติดเชื้อไวรัสหรือไม่ - การทดสอบกำลังของกล้ามเนื้อแขน และขา หากอยู่ในระดับปกติ จะเป็นการยืนยันว่าไม่ได้เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติในสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น เนื่องจากอัมพาตที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการปากเบี้ยว คล้ายคลึงกับโรคเบลล์ พัลซี แต่แตกต่างกันตรงที่มักมีอาการอ่อนแรงของแขน ขา ร่วมด้วย ผู้ที่มีอาการปากเบี้ยวควรไปพบแพทย์เพื่อหา สาเหตุของโรคให้แน่ชัด การรักษาโรคปากเบี้ยว (BELL’S PALSY) เมื่อแพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยจนแน่ใจแล้วว่า ผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง (STROKE) หรือไม่ได้เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมองอื่นๆ ที่ทำให้เป็นอัมพาตครึ่งซีก แต่เป็นโรคปากเบี้ยว (BELL’S PALSY) การรักษา มีดังนี้ - การรักษาด้วยยา เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท โดยการให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ คือเพรดนิโซโลน (PREDNISOLON) ในช่วงแรกแพทย์จะให้รับประทานยาวันละหลายเม็ด แล้วค่อยๆ ลดขนาดลงจนหยุดยาภายใน 7-14 วัน ยาช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นแต่ควรให้ภายใน 2-3วัน หลังเกิดอาการ ยานี้มีผลข้างเคียง ควรรับประทานตามคำแนะนำ ของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง ไม่ปรับขนาดยาเอง หรือซื้อยาเอง - การใช้ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir, valacyclovir - กายภาพบำบัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก ฟื้นตัวได้ช้า แพทย์อาจพิจารณาให้ทำกายภาพบำบัด กระตุ้นไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า - การดูแลดวงตา เนื่องจากโรคนี้การปิดตาไม่สนิท ทำให้ตาแห้ง และมีแผลที่กระจกตาได้ จึงควรใช้น้ำตาเทียมระหว่างวันและใช้ eye shieldปิดตาในช่วงกลางคืน มีโอกาสหายขาดจากโรคปากเบี้ยวหรือไม่ - ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ มักหายเองและหายขาดได้ ภายใน 1-3 เดือน และมีเพียงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ยังหลงเหลืออาการ ไม่หายขาด - ซึ่งผู้ที่ไม่หายขาด มักเป็นผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี ผู้ที่มีกล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงมากไม่สามารถขยับได้เลย ผู้ที่มีอาการดีขึ้นช้า 4 เดือน แล้วยังไม่เริ่มดีขึ้น - สำหรับผู้ที่มีอาการดีขึ้นเร็ว ภายใน 2-3 สัปดาห์ มักจะหายขาด ไม่อยากเป็นโรคปากเบี้ยว (Bell‘s Palsy) ต้องทำอย่างไร : เราสามารถป้องกันโรคปากเบี้ยวได้โดยการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคที่ดี ช่วยลดโอกาสของการติดเชื้อไวรัสและเชื้อโรคอื่นๆ ด้วยการรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การผ่อนคลายความเครียด การพักผ่อนที่พอเพียง ไม่หักโหมทำงาน ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคปากเบี้ยวได้ด้วย เมื่อมีอาการปากเบี้ยว ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคให้ชัดเจน และการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ 1 – 2 วันแรก จะช่วยให้อาการดีขึ้นเร็วและเพิ่มโอกาสของการหายขาดจากโรค : พญ.นภาศรี ชัยสินอนันต์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประสาทวิทยาและหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพญาไท1 ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20150708/209309.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)