ยาช่วยคนตาพิการ รู้จักเวลาเช้า-ค่ำ
มีผู้ผลิตยาซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาปรับตัวให้รู้จักเวลานอนกลางคืน ตื่นกลางวันได้ เช่นเดียวกับผู้ที่มีดวงตาปกติ บริษัทผลิตยาแวนด้า ฟาร์มาซี ของอเมริกา เป็นเจ้าหนึ่งที่ผลิตยานี้ขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาที่ไม่รู้ว่า ตอนไหนกลางวันหรือกลางคืน เพราะไม่เห็นแสงที่จะปรับนาฬิกาชีวภาพของตนเองให้เข้ากับโลกภายนอกได้
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ได้อธิบายว่า ยาแบบนี้จะต้องกินทุกวันและในเวลาเดียวกันด้วย เพื่อที่จะได้ให้คนพิการสามารถปรับตัวให้เข้ากับเวลาค่ำเช้าตามธรรมชาติได้ ในการทดลองยานี้ครั้งแรกกับคนพิการซึ่งมองไม่เห็นอะไรเลยจำนวน 104 ราย ปรากฏว่าคนพิการจำนวน 8 ราย ในจำนวนทั้งหมด 40 ราย สามารถรักษาเวลานอนได้เหมือนอย่างผู้ที่มีดวงตาปกติ แต่ในหมู่คนพิการซึ่งให้กินยาหลอก เพื่อเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่ามีอยู่รายเดียวในจำนวนทั้งหมด 38 ราย ที่รู้ตัวว่าเช้าและค่ำ
อย่างไรก็ตาม ยาขนานนี้ยังมีราคาสูงมาก ค่ายาของคนพิการคนหนึ่งอาจจะเกือบปีละ 2 แสนบาท ดังนั้น คนพิการหลายรายจึงอยากให้ใช้การรักษาด้วยการให้เมลาโทนินเสริมมากกว่า เพราะว่าเสียค่ายาเพียงปีละ 2 ถึง 3 พันบาทเท่านั้น
คนพิการที่เลือกการรักษาด้วยเมลาโทนิน จะต้องกินยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ก่อนเวลานอนสัก 3 ถึง 5 ชั่วโมง และจะต้องปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด แพทย์กล่าวว่า อาจจะกินเวลานานหลายเดือนกว่าที่นาฬิกาชีวภาพของร่างกายจะปรับเวลาให้เข้ากับวันละ 24 ชั่วโมงได้.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/522224 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คนพิการทางสายตา มีผู้ผลิตยาซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาปรับตัวให้รู้จักเวลานอนกลางคืน ตื่นกลางวันได้ เช่นเดียวกับผู้ที่มีดวงตาปกติ บริษัทผลิตยาแวนด้า ฟาร์มาซี ของอเมริกา เป็นเจ้าหนึ่งที่ผลิตยานี้ขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาที่ไม่รู้ว่า ตอนไหนกลางวันหรือกลางคืน เพราะไม่เห็นแสงที่จะปรับนาฬิกาชีวภาพของตนเองให้เข้ากับโลกภายนอกได้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ได้อธิบายว่า ยาแบบนี้จะต้องกินทุกวันและในเวลาเดียวกันด้วย เพื่อที่จะได้ให้คนพิการสามารถปรับตัวให้เข้ากับเวลาค่ำเช้าตามธรรมชาติได้ ในการทดลองยานี้ครั้งแรกกับคนพิการซึ่งมองไม่เห็นอะไรเลยจำนวน 104 ราย ปรากฏว่าคนพิการจำนวน 8 ราย ในจำนวนทั้งหมด 40 ราย สามารถรักษาเวลานอนได้เหมือนอย่างผู้ที่มีดวงตาปกติ แต่ในหมู่คนพิการซึ่งให้กินยาหลอก เพื่อเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่ามีอยู่รายเดียวในจำนวนทั้งหมด 38 ราย ที่รู้ตัวว่าเช้าและค่ำ อย่างไรก็ตาม ยาขนานนี้ยังมีราคาสูงมาก ค่ายาของคนพิการคนหนึ่งอาจจะเกือบปีละ 2 แสนบาท ดังนั้น คนพิการหลายรายจึงอยากให้ใช้การรักษาด้วยการให้เมลาโทนินเสริมมากกว่า เพราะว่าเสียค่ายาเพียงปีละ 2 ถึง 3 พันบาทเท่านั้น คนพิการที่เลือกการรักษาด้วยเมลาโทนิน จะต้องกินยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ก่อนเวลานอนสัก 3 ถึง 5 ชั่วโมง และจะต้องปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด แพทย์กล่าวว่า อาจจะกินเวลานานหลายเดือนกว่าที่นาฬิกาชีวภาพของร่างกายจะปรับเวลาให้เข้ากับวันละ 24 ชั่วโมงได้. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/522224
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)