โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
• ชนิดเส้นเลือดตีบ หรืออุดตัน
• ชนิดเส้นเลือดแตก
โรคนี้ถ้าเป็นแล้ว แม้รอดชีวิตก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้และถ้าไม่รีบรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการก็อาจช่วยให้รอดชีวิตและมีความพิการน้อยลงหรือกลับไปทำงานตามปกติ
ลักษณะอาการและอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองขึ้นอยู่กับว่าสมองส่วนใดเสียการทำงานไป เช่น
• พูดไม่ออกหรือไม่เข้าใจคำพูด หรือพูดไม่ชัดทันทีทันใด
• แขนหรือขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ชา หรือขยับไม่ได้ขึ้นมาทันทีทันใด
• ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็นฉับพลัน เห็นภาพซ้อนหรืออาการคล้ายมีม่านมาบังตา
• ปวดศีรษะรุนแรง ฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
• มึนงง เวียนศีรษะหรือเสียการทรงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งร่วมกับอาการอื่นข้างต้น
อาการเตือนเหล่านี้อาจเป็นชั่วขณะแล้วดีขึ้นเอง แต่ก็มีความสำคัญและผู้ป่วยควรจะพบแพทย์โดยด่วน ถ้าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเร็วเท่าใด อัตราการตาย ความพิการจะยิ่งน้อยลง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
หากผู้ใดมีปัจจัยเหล่านี้อยู่จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าปกติ อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ก็มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ :
• ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมากถ้าสามารถป้องกัน ไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือถ้าเป็นแล้วการลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจะสามารถลดความเสี่ยงลงได้
แนวทางปฏิบัติ ในการลดความเสี่ยงจากความดันโลหิตสูง คือ
• รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป
• ลดอาหารเค็ม
• รับประทานอาหารให้พอเหมาะ เน้นอาหารที่เป็นพืช ผัก ผลไม้
• ตรวจสุขภาพเป็นครั้งคราว
ถ้าพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาดและควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
• การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญเช่นกัน จึงควรงดสูบบุหรี่
• โรคหัวใจ มีหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาบางชนิดเพื่อลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
• โรคเบาหวาน ควรพบแพทย์และรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
• ภาวะไขมันในเลือดสูง ควรลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป และอาจต้องรับประทานยาลดไขมันร่วมด้วย ตามที่แพทย์แนะนำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันและช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
• ภาวะเครียด การที่เครียดมากเกินไปจะมีผลให้เกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าปกติ และจะทำให้เกิดอัมพาตตามมาได้
• การขาดการออกลังกาย การที่ไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทำให้อ้วนและเกิดภาวะเครียดซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมต่อการเกิดอัมพาต
สรุป คำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอัมพาต มีดังนี้
• ลดและควบคุมความดันโลหิต
• ลดโคเลสเตอรอลในเลือด
• ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน)
• ออกกำลังกายอย่างน้อย สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
• รับประทานผักและผลไม้ให้มาก
• งด ! อาหารไขมัน
• งด ! เหล้า บุหรี่และสารเสพติด
• รับประทานยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดตามคำสั่งแพทย์
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง วิธีการที่สำคัญคือ
• ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
• การรักษาในช่วงแรกเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง มิฉะนั้นผู้ป่วยบางรายแทนที่จะฟื้นตัวได้ กลับจะเกิดภาวะอัมพาตถาวรตลอดไป ผู้ป่วยอัมพาตระยะแรกจึงจำเป็นต้องอยุ่ในความดูแลของแพทย์และทีมการพยาบาลที่เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
ขอบคุณ... https://bit.ly/2W3yW8i