คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า 7 ล้านคน
กรมสุขภาพจิตเผยผลสำรวจล่าสุดในปี 2556 พบคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า 7 ล้านคน ขณะที่มีจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชทั่วประเทศเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ต้องมีตามมาตรฐาน โดยเร่งแก้ไขโดยให้ 3 หน่วยงานในสังกัดผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเปิดหลักสูตรระยะสั้นอบรมแพทย์ พยาบาลรวม จากการประเมินผลพบว่าผู้ป่วยโรคจิตเวชซึ่งทั่วประเทศมีเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษามากกว่าเดิมถึงเท่าตัว ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 70
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู ( MOU) กับ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.พะเยา ในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขของ ม.พะเยาให้มีคุณภาพมาตรฐาน และให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยมีมากและหลากหลายขึ้น ผลสำรวจระดับชาติ โดยกรมสุขภาพจิตล่าสุดในปี 2556 พบว่าคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ เจ็บป่วยจากโรคจิตเวช มีปัญหาสุขภาพจิต ดื่มสุราและใช้สารเสพติดเฉลี่ยร้อยละ 14 หรือประมาณ 7.16 ล้านคน ขณะที่จำนวนของบุคลากรสุขภาพจิตยังมีน้อยและขาดแคลน โดยเฉพาะ 2 วิชาชีพหลักคือ จิตแพทย์และพยาบาลจิตเวช โดยจิตแพทย์ทั้งประเทศมีเพียง 675 คน ซึ่งต่ำกว่าจำนวนที่น่าจะเป็นคือ 1,319 คน คิดตามอัตราเฉลี่ยจิตแพทย์ 2 คนต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนจำนวนพยาบาลจิตเวชปัจจุบันมีเพียง 3,422 คน ยังต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งต้องมีค่าเฉลี่ยพยาบาลจิตเวช 7.1 คนต่อประชากร 1 แสนคน และยังขาดพยาบาลจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่นอย่างมาก ปัจจุบันกรมสุขภาพจิตได้เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและการกระจายตัวให้ครอบคลุมเขตสุขภาพ 13 เขตทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเข้าถึงบริการใกล้บ้านที่สุดและทั่วถึงเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังทั่วไป โดยใช้ 2 มาตรการหลักคือ จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้แพทย์และพยาบาลทั่วไป และผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน
อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวต่อว่า ในการอบรมแพทย์ระยะสั้นได้ร่วมกับแพทยสภาจัดหลักสูตรแพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงสุขภาพจิต ใช้เวลาอบรมเพียง 1 เดือน ขณะนี้มีแพทย์ทั่วไปผ่านการอบรมและได้รับวุฒิบัตรสาขาจิตเวชแล้ว 904 คน ในปีนี้อบรมอีก 79 คน ส่วนความร่วมมือในการผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในปีนี้ได้เปิดสถาบันผลิตสาขาจิตเวชศาสตร์เพิ่มอีก 1 แห่งคือ ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งเดิมมีผลิตเพียง 2 แห่งคือ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ทั้ง 3 แห่งนี้มีความเชี่ยวชาญทั้งโรคจิตเวชในผู้ใหญ่และในเด็ก ผลิตได้ปีละ 12 คน ในส่วนของพยาบาลได้ร่วมกับสภาการพยาบาล จัดหลักสูตรอบรมพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชผู้ใหญ่ เด็กและวัยรุ่น ระยะเวลา 4 เดือน เพื่อกระจายพยาบาลจิตเวชให้มีครอบคลุมทุกตำบล ขณะนี้อบรมไปแล้ว 3,919 คน ในปี 2560 นี้จะอบรมต่อเนื่องต่อไป
จากการประเมินผลพบว่า สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรได้ดีขึ้น โดยมีจำนวนจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชทำงานเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคจิตเวชสำคัญมีโอกาสเข้าถึงบริการได้มากกว่าเดิม เช่น โรคซึมเศร้าซึ่งมีผู้ป่วยประมาณ 1.5 ล้านคน เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเป็นเกือบร้อยละ 50 โรคจิตเวชซึ่งทั่วประเทศมีเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษาได้มากกว่าเดิมถึงเท่าตัว ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 70 เด็กสมาธิสั้นเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 10 เป็นต้น เชื่อมั่นว่าผลของการพัฒนาบุคลากรจะส่งผลให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วยจิตเวชได้เข้าถึงบริการ รวมทั้งปัญหาการกำเริบซ้ำของอาการทางจิตมีแนวโน้มจะลดลงในอนาคต
สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพะเยาครั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด 4 แห่ง คือ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีความพร้อมทุกด้าน เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก คือชั้นปีที่ 4 ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งจะเป็นผลดี ทำให้เกิดการพัฒนาวิชาการ และปลูกฝังให้นักศึกษาแพทย์เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่วมจัดทำร่างหลักสูตร คาดว่าจะเริ่มจัดการเรียนภายในปี 2563
ขอบคุณ... https://goo.gl/hDFz4v (ขนาดไฟล์: 0 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิงสาวนั่งซึมเศร้า กรมสุขภาพจิตเผยผลสำรวจล่าสุดในปี 2556 พบคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศมีปัญหาสุขภาพจิตกว่า 7 ล้านคน ขณะที่มีจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชทั่วประเทศเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ต้องมีตามมาตรฐาน โดยเร่งแก้ไขโดยให้ 3 หน่วยงานในสังกัดผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเปิดหลักสูตรระยะสั้นอบรมแพทย์ พยาบาลรวม จากการประเมินผลพบว่าผู้ป่วยโรคจิตเวชซึ่งทั่วประเทศมีเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษามากกว่าเดิมถึงเท่าตัว ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 70 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู ( MOU) กับ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.พะเยา ในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการแพทย์และสาธารณสุขของ ม.พะเยาให้มีคุณภาพมาตรฐาน และให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยมีมากและหลากหลายขึ้น ผลสำรวจระดับชาติ โดยกรมสุขภาพจิตล่าสุดในปี 2556 พบว่าคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ เจ็บป่วยจากโรคจิตเวช มีปัญหาสุขภาพจิต ดื่มสุราและใช้สารเสพติดเฉลี่ยร้อยละ 14 หรือประมาณ 7.16 ล้านคน ขณะที่จำนวนของบุคลากรสุขภาพจิตยังมีน้อยและขาดแคลน โดยเฉพาะ 2 วิชาชีพหลักคือ จิตแพทย์และพยาบาลจิตเวช โดยจิตแพทย์ทั้งประเทศมีเพียง 675 คน ซึ่งต่ำกว่าจำนวนที่น่าจะเป็นคือ 1,319 คน คิดตามอัตราเฉลี่ยจิตแพทย์ 2 คนต่อประชากร 1 แสนคน ส่วนจำนวนพยาบาลจิตเวชปัจจุบันมีเพียง 3,422 คน ยังต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งต้องมีค่าเฉลี่ยพยาบาลจิตเวช 7.1 คนต่อประชากร 1 แสนคน และยังขาดพยาบาลจิตเวชสำหรับเด็กและวัยรุ่นอย่างมาก ปัจจุบันกรมสุขภาพจิตได้เร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและการกระจายตัวให้ครอบคลุมเขตสุขภาพ 13 เขตทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเข้าถึงบริการใกล้บ้านที่สุดและทั่วถึงเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังทั่วไป โดยใช้ 2 มาตรการหลักคือ จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้แพทย์และพยาบาลทั่วไป และผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวต่อว่า ในการอบรมแพทย์ระยะสั้นได้ร่วมกับแพทยสภาจัดหลักสูตรแพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงสุขภาพจิต ใช้เวลาอบรมเพียง 1 เดือน ขณะนี้มีแพทย์ทั่วไปผ่านการอบรมและได้รับวุฒิบัตรสาขาจิตเวชแล้ว 904 คน ในปีนี้อบรมอีก 79 คน ส่วนความร่วมมือในการผลิตจิตแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในปีนี้ได้เปิดสถาบันผลิตสาขาจิตเวชศาสตร์เพิ่มอีก 1 แห่งคือ ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งเดิมมีผลิตเพียง 2 แห่งคือ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ทั้ง 3 แห่งนี้มีความเชี่ยวชาญทั้งโรคจิตเวชในผู้ใหญ่และในเด็ก ผลิตได้ปีละ 12 คน ในส่วนของพยาบาลได้ร่วมกับสภาการพยาบาล จัดหลักสูตรอบรมพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชผู้ใหญ่ เด็กและวัยรุ่น ระยะเวลา 4 เดือน เพื่อกระจายพยาบาลจิตเวชให้มีครอบคลุมทุกตำบล ขณะนี้อบรมไปแล้ว 3,919 คน ในปี 2560 นี้จะอบรมต่อเนื่องต่อไป จากการประเมินผลพบว่า สามารถบรรเทาปัญหาขาดแคลนบุคลากรได้ดีขึ้น โดยมีจำนวนจิตแพทย์และพยาบาลจิตเวชทำงานเพิ่มขึ้นในพื้นที่ ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคจิตเวชสำคัญมีโอกาสเข้าถึงบริการได้มากกว่าเดิม เช่น โรคซึมเศร้าซึ่งมีผู้ป่วยประมาณ 1.5 ล้านคน เข้าถึงบริการเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเป็นเกือบร้อยละ 50 โรคจิตเวชซึ่งทั่วประเทศมีเกือบ 6 แสนคน เข้าถึงบริการรักษาได้มากกว่าเดิมถึงเท่าตัว ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 70 เด็กสมาธิสั้นเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 10 เป็นต้น เชื่อมั่นว่าผลของการพัฒนาบุคลากรจะส่งผลให้ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วยจิตเวชได้เข้าถึงบริการ รวมทั้งปัญหาการกำเริบซ้ำของอาการทางจิตมีแนวโน้มจะลดลงในอนาคต สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพะเยาครั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด 4 แห่ง คือ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีความพร้อมทุกด้าน เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก คือชั้นปีที่ 4 ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งจะเป็นผลดี ทำให้เกิดการพัฒนาวิชาการ และปลูกฝังให้นักศึกษาแพทย์เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่วมจัดทำร่างหลักสูตร คาดว่าจะเริ่มจัดการเรียนภายในปี 2563 ขอบคุณ... https://goo.gl/hDFz4v
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)