การรักษาด้วยคีเลชั่นคืออะไร รักษาเส้นเลือดหัวใจตีบได้หรือไม่

แสดงความคิดเห็น

สื่อทางการแพทย์การทำงานของหัวใจมนุษย์

การรักษาคีเลชั่น (chelation) เป็นการรักษาทางเลือกนอกแบบ ที่พิสูจน์ชัดเจน คือ การขจัดโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากร่างกาย โดยเปลี่ยนทำให้ละลายน้ำได้ ขับออกทางไตและตับ โดยมีประวัติตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อรักษาผู้ถูกก๊าซพิษที่มีสารหนู (arsenic) ออก

หลังจากนั้นมียาคีเลชั่นหลายชนิดเพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากการสะสมของธาตุเหล็ก (ในโรคเลือดกรรมพันธุ์ธาลัสซีเมีย) ปรอท ตะกั่ว ยูเรเนียม พลูโตเนียม ในเวลาต่อมา มีผู้ผันแปรเจตนาเดิมมาใช้ในการรักษาโรคหัวใจที่มีเส้นเลือดตีบ แม้กระทั่งโรคออทิสติก โดยอ้างว่าโรคออทิสติกเกิดจากสารปรอทที่ปนเปื้อนในวัคซีน (thiomerosal) ซึ่งไม่เป็นความจริง...ในสหรัฐฯมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาทางเลือกใหม่ เลยจัดตั้งให้มีหน่วยงานและสถาบันของรัฐการแพทย์ทางเลือก ทำหน้าที่ในการค้นหาหลักฐานข้อมูลความเป็นจริงว่ามีประโยชน์ประสิทธิภาพดีจริงหรือไม่ และมีข้อเสียที่ต้องระวังหรือไม่ รวมทั้งถ้าพิสูจน์ไม่ได้ตามที่กล่าวอ้าง ก็จะประกาศทั่วกัน

EDTA ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาทางเลือกใหม่เป็นกรดอะมิโน ซึ่งสามารถจับกับตะกั่ว, แมกนีเซียม, สังกะสี, แคลเซียม, ทองแดง โดยการใช้ EDTA หวังว่าจะไปจับกับแคลเซียมที่คล้ายเป็นตะกรัน ในหลอดเลือดที่ตีบ เช่น ในหัวใจ ในสมอง โดยเชื่อว่ามีกลไกทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำก่อน จะได้ไปดึงแคลเซียมที่เกาะอยู่ตามเส้นเลือดออก โดยที่ความเชื่อนี้ไม่มีการพิสูจน์ทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ใดๆ

นอกจากนั้นยังเชื่ออีกว่าเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระและยังลดการสะสมของธาตุเหล็กในตัว ทำให้เส้นเลือดขยายตัวยืดตัวได้ดี และอื่นๆอีกมากมาย รายงานที่ผ่านมาของการให้ EDTA คีเลชั่น เป็นการรายงานที่ไม่รัดกุมดีพอ ประกอบกับคนไข้รู้สึกดีขึ้นกระชุ่มกระชวยเองจากจิตใจ การศึกษาที่มีระเบียบรัดกุม ในผู้ป่วยเส้นเลือดตีบที่ขาปี 1994 ในวารสารหลอดเลือด (Circulation) ไม่พบว่าก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ

การศึกษา ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์ของสหรัฐฯ (JAMA) 2002 คนไข้มีเส้นเลือดหัวใจตีบ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 ราย โดยกลุ่มแรกให้การรักษา ด้วย EDTA คีเลชั่น และอีกกลุ่มให้ยาหลอกสัปดาห์ละ 2 ครั้งไปนาน 15 สัปดาห์ และต่อด้วยเดือนละครั้งไปนานอีก 3 เดือน รวม 33 ครั้ง ปรากฏว่าไม่มีผลแตกต่างกัน

ในสหรัฐฯเองมีการใช้ EDTA คีเลชั่น โดยไม่ได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐฯ และในเดือนแรกต้องทำคีเลชั่นตั้งแต่ 5-30 ครั้ง โดยเดือนต่อมาทำเดือนละครั้ง ตัวสาร EDTA ก็ไม่ได้ถูกรับรองให้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคของเส้นเลือด มีคนทำคีเลชั่นเฉลี่ยประมาณ 111,000 รายต่อปี ในช่วงปี 2002 ถึง 2007

ทั้งนี้ ทั่วในสหรัฐฯหรือในประเทศยุโรป บริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบในการเบิกจ่าย รวมทั้งไม่รับผิดชอบถ้าเกิดผลแทรกซ้อนจากการทำคีเลชั่น ผลแทรกซ้อนที่พบได้มีตั้งแต่เกิดไตวาย มีการกดการทำงานของไขกระดูก ความดันเลือดตกจนถึงช็อก มีลมบ้าหมู เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจหรือมีปฏิกิริยาแพ้จนไม่หายใจ

สำหรับเหตุการณ์เสียชีวิตจาก EDTA คีเลชั่นที่ทำให้ระดับแคลเซียมต่ำ มีตัวอย่างผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯ รัฐเท็กซัส เพนซิลเวเนีย และโอเรกอน ระหว่างปี 2003-2005 (Mortality and Morbidity Weekly Report 2006) มีเด็กชายอายุ 5 ขวบ ในเดือนสิงหาคม 2005 เป็นโรคออทิสติกและ ได้รับการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น โดยแท้ที่จริงแล้ว โรคนี้ไม่ได้เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการสะสมของปรอทเลย หลังได้คีเลชั่น เด็กหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด จากการที่ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลจากคีเลชั่น

ในเดือนสิงหาคม 2003 สตรีอายุ 53 ปี ซึ่งไม่ได้มีโรคเส้นเลือดหัวใจหรือโรคอื่นๆ ได้รับการคีเลชั่นจากคลินิกบำบัดธรรมชาติ เพื่อขจัดโลหะหนักในร่างกาย โดยความเชื่อว่าจะทำให้สุขภาพดีขึ้น หลังทำการบำบัดได้ประมาณ 10-15 นาที ไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งผลการชันสูตรพบว่า เกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติ อันเป็นผลจากการที่แคลเซียมต่ำจากการให้คีเลชั่น และระดับต่ำลงถึง 3.8 มก.เดซิลิตร (ค่าปกติ 4.5-5.3) แม้ว่าจะได้รับการฉีดแคลเซียมระหว่างนำส่งโรงพยาบาล และขณะทำการปั๊มหัวใจช่วยชีวิตที่ห้องฉุกเฉินก็ตาม

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 เด็กหญิงวัย 2 ขวบ ได้รับการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น เนื่องจากตรวจพบว่าน่าจะมีตะกั่วสะสมในตัวจนเกิดโลหิตจาง หลังจากได้คีเลชั่น เด็กหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุดจากแคลเซียมต่ำ...ไม่ใช่แต่เพียงสมาคมโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกาทั้งสองสมาคมเท่านั้นที่ไม่ยอมรับวิธีการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) สหรัฐฯ สมาคมแพทย์สหรัฐฯ สถาบันสุขภาพ หัวใจ ปอดและเลือดต่างก็ไม่เห็นด้วยกับการรักษาคีเลชั่นที่ไม่ได้ถูกรับรองเช่นนี้

สื่อทางการแพทย์แสดงภาพเม็ดเลือดแดง

ถึงกระนั้นก็ตาม เนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลายในสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม 2002 สถาบันสุขภาพสหรัฐฯ โดยศูนย์การรักษาทางเลือกและ สถาบันโรคหัวใจ ปอด และเลือด ได้ประกาศทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้วยการรักษา EDTA คีเลชั่นในโรคหัวใจขาดเลือด ในผู้ป่วยที่อายุ 50 ปีขึ้นไปและเคยมีหัวใจวาย ทั้งนี้ โดยที่มีสถาบันหรือโรงพยาบาลในการศึกษานี้ทั่วประเทศ การศึกษาดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม 2003 และเสร็จสิ้นในปี 2010 ผลการศึกษาที่เริ่มทยอยรายงานตั้งแต่ปี 2013 จนปัจจุบัน มีคนอยู่ในการศึกษาท้ายสุดจำนวน 1,708 ราย พบว่าได้ผลเฉพาะในคนที่มีเบาหวานและมีโรคหัวใจเท่านั้น

โดยกลุ่มนี้จะมีอยู่ประมาณหนึ่งในสาม โดยที่ลดความเสี่ยงลงได้ 40% จากการมรณะจากโรคหัวใจ จากการเกิดอัมพฤกษ์ และลดการเกิดซ้ำของหัวใจล้มเหลวได้ 52% และลดการมรณะจากเหตุใดๆได้ 43% ทั้งนี้ การให้ร่วมกับวิตามินขนาดสูงและเกลือแร่จะได้ผลดีขึ้น

อย่างไรก็ดี กระบวนการในการให้ ไม่ว่าจะเป็นคีเลชั่นจริง หรือหลอกซึ่งต้องมีการให้สารละลายทางเส้นเลือดมีผลแทรกซ้อนข้างเคียง โดย 16% ที่ได้จริงและ 15% ที่ได้หลอก ต้องหยุดให้กลางคัน และรุนแรง 2 ราย ในแต่ละกลุ่ม (รวม 4 ราย) 1 รายในแต่ละกลุ่มเสียชีวิต อาการข้างเคียงที่เกิดได้มีตั้งแต่แสบร้อนบริเวณที่ให้ทางเส้นเลือด ไข้ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ที่รุนแรงขึ้นคือ หัวใจวาย ช็อก แคลเซียมต่ำ หัวใจหยุดเต้น ไตวาย

ทั้งนี้ ย้ำจากการศึกษานี้ที่มีผู้เชี่ยวชาญเฝ้าดูแลอย่างรัดกุม การทำคีเลชั่น ต้องระมัดระวังสูงสุด ถึงตายได้ถ้าการทำไม่มีความชำนาญไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะแก้ไขผลแทรกซ้อนวิกฤติ ขณะทำ หรือหลังทำ และคนที่เป็นเบาหวานเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ โดยอธิบายกลไกไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/563621 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 17 ม.ค.59
วันที่โพสต์: 20/01/2559 เวลา 11:18:07 ดูภาพสไลด์โชว์ การรักษาด้วยคีเลชั่นคืออะไร รักษาเส้นเลือดหัวใจตีบได้หรือไม่

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สื่อทางการแพทย์การทำงานของหัวใจมนุษย์ การรักษาคีเลชั่น (chelation) เป็นการรักษาทางเลือกนอกแบบ ที่พิสูจน์ชัดเจน คือ การขจัดโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากร่างกาย โดยเปลี่ยนทำให้ละลายน้ำได้ ขับออกทางไตและตับ โดยมีประวัติตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อรักษาผู้ถูกก๊าซพิษที่มีสารหนู (arsenic) ออก หลังจากนั้นมียาคีเลชั่นหลายชนิดเพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากการสะสมของธาตุเหล็ก (ในโรคเลือดกรรมพันธุ์ธาลัสซีเมีย) ปรอท ตะกั่ว ยูเรเนียม พลูโตเนียม ในเวลาต่อมา มีผู้ผันแปรเจตนาเดิมมาใช้ในการรักษาโรคหัวใจที่มีเส้นเลือดตีบ แม้กระทั่งโรคออทิสติก โดยอ้างว่าโรคออทิสติกเกิดจากสารปรอทที่ปนเปื้อนในวัคซีน (thiomerosal) ซึ่งไม่เป็นความจริง...ในสหรัฐฯมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาทางเลือกใหม่ เลยจัดตั้งให้มีหน่วยงานและสถาบันของรัฐการแพทย์ทางเลือก ทำหน้าที่ในการค้นหาหลักฐานข้อมูลความเป็นจริงว่ามีประโยชน์ประสิทธิภาพดีจริงหรือไม่ และมีข้อเสียที่ต้องระวังหรือไม่ รวมทั้งถ้าพิสูจน์ไม่ได้ตามที่กล่าวอ้าง ก็จะประกาศทั่วกัน EDTA ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาทางเลือกใหม่เป็นกรดอะมิโน ซึ่งสามารถจับกับตะกั่ว, แมกนีเซียม, สังกะสี, แคลเซียม, ทองแดง โดยการใช้ EDTA หวังว่าจะไปจับกับแคลเซียมที่คล้ายเป็นตะกรัน ในหลอดเลือดที่ตีบ เช่น ในหัวใจ ในสมอง โดยเชื่อว่ามีกลไกทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำก่อน จะได้ไปดึงแคลเซียมที่เกาะอยู่ตามเส้นเลือดออก โดยที่ความเชื่อนี้ไม่มีการพิสูจน์ทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ใดๆ นอกจากนั้นยังเชื่ออีกว่าเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระและยังลดการสะสมของธาตุเหล็กในตัว ทำให้เส้นเลือดขยายตัวยืดตัวได้ดี และอื่นๆอีกมากมาย รายงานที่ผ่านมาของการให้ EDTA คีเลชั่น เป็นการรายงานที่ไม่รัดกุมดีพอ ประกอบกับคนไข้รู้สึกดีขึ้นกระชุ่มกระชวยเองจากจิตใจ การศึกษาที่มีระเบียบรัดกุม ในผู้ป่วยเส้นเลือดตีบที่ขาปี 1994 ในวารสารหลอดเลือด (Circulation) ไม่พบว่าก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ การศึกษา ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์ของสหรัฐฯ (JAMA) 2002 คนไข้มีเส้นเลือดหัวใจตีบ 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 ราย โดยกลุ่มแรกให้การรักษา ด้วย EDTA คีเลชั่น และอีกกลุ่มให้ยาหลอกสัปดาห์ละ 2 ครั้งไปนาน 15 สัปดาห์ และต่อด้วยเดือนละครั้งไปนานอีก 3 เดือน รวม 33 ครั้ง ปรากฏว่าไม่มีผลแตกต่างกัน ในสหรัฐฯเองมีการใช้ EDTA คีเลชั่น โดยไม่ได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐฯ และในเดือนแรกต้องทำคีเลชั่นตั้งแต่ 5-30 ครั้ง โดยเดือนต่อมาทำเดือนละครั้ง ตัวสาร EDTA ก็ไม่ได้ถูกรับรองให้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคของเส้นเลือด มีคนทำคีเลชั่นเฉลี่ยประมาณ 111,000 รายต่อปี ในช่วงปี 2002 ถึง 2007 ทั้งนี้ ทั่วในสหรัฐฯหรือในประเทศยุโรป บริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบในการเบิกจ่าย รวมทั้งไม่รับผิดชอบถ้าเกิดผลแทรกซ้อนจากการทำคีเลชั่น ผลแทรกซ้อนที่พบได้มีตั้งแต่เกิดไตวาย มีการกดการทำงานของไขกระดูก ความดันเลือดตกจนถึงช็อก มีลมบ้าหมู เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจหรือมีปฏิกิริยาแพ้จนไม่หายใจ สำหรับเหตุการณ์เสียชีวิตจาก EDTA คีเลชั่นที่ทำให้ระดับแคลเซียมต่ำ มีตัวอย่างผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯ รัฐเท็กซัส เพนซิลเวเนีย และโอเรกอน ระหว่างปี 2003-2005 (Mortality and Morbidity Weekly Report 2006) มีเด็กชายอายุ 5 ขวบ ในเดือนสิงหาคม 2005 เป็นโรคออทิสติกและ ได้รับการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น โดยแท้ที่จริงแล้ว โรคนี้ไม่ได้เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการสะสมของปรอทเลย หลังได้คีเลชั่น เด็กหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด จากการที่ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลจากคีเลชั่น ในเดือนสิงหาคม 2003 สตรีอายุ 53 ปี ซึ่งไม่ได้มีโรคเส้นเลือดหัวใจหรือโรคอื่นๆ ได้รับการคีเลชั่นจากคลินิกบำบัดธรรมชาติ เพื่อขจัดโลหะหนักในร่างกาย โดยความเชื่อว่าจะทำให้สุขภาพดีขึ้น หลังทำการบำบัดได้ประมาณ 10-15 นาที ไม่รู้สึกตัวและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งผลการชันสูตรพบว่า เกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติ อันเป็นผลจากการที่แคลเซียมต่ำจากการให้คีเลชั่น และระดับต่ำลงถึง 3.8 มก.เดซิลิตร (ค่าปกติ 4.5-5.3) แม้ว่าจะได้รับการฉีดแคลเซียมระหว่างนำส่งโรงพยาบาล และขณะทำการปั๊มหัวใจช่วยชีวิตที่ห้องฉุกเฉินก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 เด็กหญิงวัย 2 ขวบ ได้รับการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น เนื่องจากตรวจพบว่าน่าจะมีตะกั่วสะสมในตัวจนเกิดโลหิตจาง หลังจากได้คีเลชั่น เด็กหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุดจากแคลเซียมต่ำ...ไม่ใช่แต่เพียงสมาคมโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกาทั้งสองสมาคมเท่านั้นที่ไม่ยอมรับวิธีการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) สหรัฐฯ สมาคมแพทย์สหรัฐฯ สถาบันสุขภาพ หัวใจ ปอดและเลือดต่างก็ไม่เห็นด้วยกับการรักษาคีเลชั่นที่ไม่ได้ถูกรับรองเช่นนี้ สื่อทางการแพทย์แสดงภาพเม็ดเลือดแดง ถึงกระนั้นก็ตาม เนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลายในสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม 2002 สถาบันสุขภาพสหรัฐฯ โดยศูนย์การรักษาทางเลือกและ สถาบันโรคหัวใจ ปอด และเลือด ได้ประกาศทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้วยการรักษา EDTA คีเลชั่นในโรคหัวใจขาดเลือด ในผู้ป่วยที่อายุ 50 ปีขึ้นไปและเคยมีหัวใจวาย ทั้งนี้ โดยที่มีสถาบันหรือโรงพยาบาลในการศึกษานี้ทั่วประเทศ การศึกษาดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม 2003 และเสร็จสิ้นในปี 2010 ผลการศึกษาที่เริ่มทยอยรายงานตั้งแต่ปี 2013 จนปัจจุบัน มีคนอยู่ในการศึกษาท้ายสุดจำนวน 1,708 ราย พบว่าได้ผลเฉพาะในคนที่มีเบาหวานและมีโรคหัวใจเท่านั้น โดยกลุ่มนี้จะมีอยู่ประมาณหนึ่งในสาม โดยที่ลดความเสี่ยงลงได้ 40% จากการมรณะจากโรคหัวใจ จากการเกิดอัมพฤกษ์ และลดการเกิดซ้ำของหัวใจล้มเหลวได้ 52% และลดการมรณะจากเหตุใดๆได้ 43% ทั้งนี้ การให้ร่วมกับวิตามินขนาดสูงและเกลือแร่จะได้ผลดีขึ้น อย่างไรก็ดี กระบวนการในการให้ ไม่ว่าจะเป็นคีเลชั่นจริง หรือหลอกซึ่งต้องมีการให้สารละลายทางเส้นเลือดมีผลแทรกซ้อนข้างเคียง โดย 16% ที่ได้จริงและ 15% ที่ได้หลอก ต้องหยุดให้กลางคัน และรุนแรง 2 ราย ในแต่ละกลุ่ม (รวม 4 ราย) 1 รายในแต่ละกลุ่มเสียชีวิต อาการข้างเคียงที่เกิดได้มีตั้งแต่แสบร้อนบริเวณที่ให้ทางเส้นเลือด ไข้ ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ที่รุนแรงขึ้นคือ หัวใจวาย ช็อก แคลเซียมต่ำ หัวใจหยุดเต้น ไตวาย ทั้งนี้ ย้ำจากการศึกษานี้ที่มีผู้เชี่ยวชาญเฝ้าดูแลอย่างรัดกุม การทำคีเลชั่น ต้องระมัดระวังสูงสุด ถึงตายได้ถ้าการทำไม่มีความชำนาญไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะแก้ไขผลแทรกซ้อนวิกฤติ ขณะทำ หรือหลังทำ และคนที่เป็นเบาหวานเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ โดยอธิบายกลไกไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/563621

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...