ตั้งงบจิตเวช 49 ล้านบาท แยกจากงบรายหัวบัตรทอง ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังชุมชน

แสดงความคิดเห็น

แพทย์ตรวจชีพจรคนไข้

สปสช. ตั้งงบจิตเวชแยกจากงบเหมาจ่ายรายหัวในปีงบประมาณ 59 จำนวน 49 ล้านบาท เน้นดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 8,300 คน ให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องตามมาตรฐานของกรมสุขภาพจิตโดยใช้กลไกชุมชนร่วมกับ รพ.สต. ทั้งรับยาต่อเนื่อง ติดตามกรณีขาดยา ดูแลสุขภาพจิต ประเมินผู้ป่วย ความรุนแรงของอาการและปรับทัศนคติในชุมชนเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อย่างปกติ

นพ.ชูชัย ศรชำนิ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากสถิติที่กรมสุขภาพจิตดำเนินการ พบว่า มีผู้รับบริการผู้ป่วยใหม่ของ รพ.รัฐ ด้วยโรคจิตเวชเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 ซึ่งภาวะคุกคามต่อสุขภาพจิตคนไทยมีทั้งจากสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงปัญหาการเข้าถึงบริการดูแลรักษาต่อเนื่องและการส่งเสริมสุขภาพจิตในระดับชุมชน ทั้งนี้ คนไทยป่วยด้วยโรคจิตเวชที่สำคัญคือ จิตเภทโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวลโรคจิตเวชอันเนื่องมาจากสารเสพติดและโรคอารมณ์แปรปรวน

ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2559 นี้ รัฐบาลจึงได้ตั้งงบเพื่อการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนแยกออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว 49 ล้านบาท ซึ่งเดิมนั้นงบการรักษาผู้ป่วยจิตเวชจะรวมอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัว แต่ในปี 2559 นี้ จะเป็นครั้งแรกที่มีการแยกออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวและเน้นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ สนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน เพื่อลดอาการกำเริบหรือกลับมาเป็นซ้ำ กลุ่มเป็นหมายคือผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน 8,300 คน กำหนดเป้าหมายระดับอำเภอโดยใช้ข้อมูลฐานทะเบียนผู้ป่วยโรคจิตเวชเรื้อรังสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ เน้นการให้บริการผู้ป่วยโรคจิตเภทเป็นหลัก แต่ให้บริการผู้ป่วยโรคจิตอื่น ๆ พร้อมกันไปในกิจกรรมชุมชน สำหรับการจ่ายให้สถานพยาบาลนั้น จ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์ เฉลี่ยคนละ 6,000 บาท/ปี แบ่งเป็น 1,000 บาท/คน/ปี ให้สถานพยาบาลแม่ข่าย เช่น รพ.จิตเวช หรือ รพ. ที่เคยรักษาผู้ป่วยจิตเวช สำหรับการติดตามการรักษา และอีก 5,000บาท/คน/ปีให้สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิแลชะชุมชนเพื่อการดูแลต่อเนื่องในชุมชน

ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า ในการบริหารจัดการนั้น กรมสุขภาพจิตและภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดมาตรฐานการให้บริการให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ตลอดจนการกำกับติดตาม พัฒนาคุณภาพบริการ และบูรณาการในระดับพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเริ่มจากผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาใน รพ. และสามารถออกจาก รพ. เพื่อใช้ชีวิตปกติได้ โดยได้รับยาต่อเนื่อง มีสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ เช่น โรงพยาบาลชุมชน รพ.สต. สนับสนุน/ให้คำปรึกษา ติดตามและประเมินผล ซึ่งเมื่อกลับมาอยู่ในชุมชนแล้ว ก็จะใช้กลไกของชุมชนในการดูแล ซึ่งมีทั้ง อปท. อสม. กองทุนสุขภาพตำบล และเครือข่ายภาคประชาสังคมต่างๆเข้าร่วม

“การดูแลรักษาและบริการโรคจิตเวชเรื้อรังต่อเนื่องในชุมชน และสุขภาพจิตชุมชน โดยมีกิจกรรม เช่น ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง และติดตามผู้ป่วยกรณีขาดนัด หรือขาดยา ให้บริการสุขภาพจิตศึกษา ส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนร่วมดูแลผู้ป่วย รพ.สต. ที่มีพยาบาลเวชปฏิบัติ หรือแพทย์ฉีดยาหรือให้ยาได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางไปรับบริการที่สถานพยาบาล ประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วย เช่น การใช้แบบประเมินสมรรถภาพคนพิการทางจิตใจ ประเมินความรุนแรงของอาการ อาการแทรกซ้อน สิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงต่อการกำเริบ และปรับทัศนคติในชุมชนเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อย่างปกติ ก็จะทำให้ประชาชนคนไทยรวมทั้งผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมีหลักประกันด้านสุขภาพและกลับมามีชีวิตปกติสุขได้” นพ.ชูชัย กล่าว

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000139202 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ธ.ค.58
วันที่โพสต์: 29/12/2558 เวลา 11:02:00 ดูภาพสไลด์โชว์ ตั้งงบจิตเวช 49 ล้านบาท แยกจากงบรายหัวบัตรทอง ดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังชุมชน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แพทย์ตรวจชีพจรคนไข้ สปสช. ตั้งงบจิตเวชแยกจากงบเหมาจ่ายรายหัวในปีงบประมาณ 59 จำนวน 49 ล้านบาท เน้นดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 8,300 คน ให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องตามมาตรฐานของกรมสุขภาพจิตโดยใช้กลไกชุมชนร่วมกับ รพ.สต. ทั้งรับยาต่อเนื่อง ติดตามกรณีขาดยา ดูแลสุขภาพจิต ประเมินผู้ป่วย ความรุนแรงของอาการและปรับทัศนคติในชุมชนเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อย่างปกติ นพ.ชูชัย ศรชำนิ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากสถิติที่กรมสุขภาพจิตดำเนินการ พบว่า มีผู้รับบริการผู้ป่วยใหม่ของ รพ.รัฐ ด้วยโรคจิตเวชเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 ซึ่งภาวะคุกคามต่อสุขภาพจิตคนไทยมีทั้งจากสภาพแวดล้อม และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงปัญหาการเข้าถึงบริการดูแลรักษาต่อเนื่องและการส่งเสริมสุขภาพจิตในระดับชุมชน ทั้งนี้ คนไทยป่วยด้วยโรคจิตเวชที่สำคัญคือ จิตเภทโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวลโรคจิตเวชอันเนื่องมาจากสารเสพติดและโรคอารมณ์แปรปรวน ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2559 นี้ รัฐบาลจึงได้ตั้งงบเพื่อการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนแยกออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว 49 ล้านบาท ซึ่งเดิมนั้นงบการรักษาผู้ป่วยจิตเวชจะรวมอยู่ในงบเหมาจ่ายรายหัว แต่ในปี 2559 นี้ จะเป็นครั้งแรกที่มีการแยกออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวและเน้นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ สนับสนุนให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน เพื่อลดอาการกำเริบหรือกลับมาเป็นซ้ำ กลุ่มเป็นหมายคือผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน 8,300 คน กำหนดเป้าหมายระดับอำเภอโดยใช้ข้อมูลฐานทะเบียนผู้ป่วยโรคจิตเวชเรื้อรังสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ เน้นการให้บริการผู้ป่วยโรคจิตเภทเป็นหลัก แต่ให้บริการผู้ป่วยโรคจิตอื่น ๆ พร้อมกันไปในกิจกรรมชุมชน สำหรับการจ่ายให้สถานพยาบาลนั้น จ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์ เฉลี่ยคนละ 6,000 บาท/ปี แบ่งเป็น 1,000 บาท/คน/ปี ให้สถานพยาบาลแม่ข่าย เช่น รพ.จิตเวช หรือ รพ. ที่เคยรักษาผู้ป่วยจิตเวช สำหรับการติดตามการรักษา และอีก 5,000บาท/คน/ปีให้สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิแลชะชุมชนเพื่อการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า ในการบริหารจัดการนั้น กรมสุขภาพจิตและภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดมาตรฐานการให้บริการให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ตลอดจนการกำกับติดตาม พัฒนาคุณภาพบริการ และบูรณาการในระดับพื้นที่ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเริ่มจากผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับการรักษาใน รพ. และสามารถออกจาก รพ. เพื่อใช้ชีวิตปกติได้ โดยได้รับยาต่อเนื่อง มีสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ เช่น โรงพยาบาลชุมชน รพ.สต. สนับสนุน/ให้คำปรึกษา ติดตามและประเมินผล ซึ่งเมื่อกลับมาอยู่ในชุมชนแล้ว ก็จะใช้กลไกของชุมชนในการดูแล ซึ่งมีทั้ง อปท. อสม. กองทุนสุขภาพตำบล และเครือข่ายภาคประชาสังคมต่างๆเข้าร่วม “การดูแลรักษาและบริการโรคจิตเวชเรื้อรังต่อเนื่องในชุมชน และสุขภาพจิตชุมชน โดยมีกิจกรรม เช่น ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง และติดตามผู้ป่วยกรณีขาดนัด หรือขาดยา ให้บริการสุขภาพจิตศึกษา ส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนร่วมดูแลผู้ป่วย รพ.สต. ที่มีพยาบาลเวชปฏิบัติ หรือแพทย์ฉีดยาหรือให้ยาได้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางไปรับบริการที่สถานพยาบาล ประเมินสมรรถภาพของผู้ป่วย เช่น การใช้แบบประเมินสมรรถภาพคนพิการทางจิตใจ ประเมินความรุนแรงของอาการ อาการแทรกซ้อน สิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงต่อการกำเริบ และปรับทัศนคติในชุมชนเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อย่างปกติ ก็จะทำให้ประชาชนคนไทยรวมทั้งผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตมีหลักประกันด้านสุขภาพและกลับมามีชีวิตปกติสุขได้” นพ.ชูชัย กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000139202

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...