11 พ.ย.วันคนพิการแห่งชาติ รู้หรือไม่ คนพิการได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

11 พ.ย.วันคนพิการแห่งชาติ รู้หรือไม่ คนพิการได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กำหนดให้วันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพ.ย. ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 11 พ.ย.66 เป็น “วันคนพิการแห่งชาติ”

เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญและความช่วยเหลือ เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพ และคุณค่าของคนพิการ

คนพิการ

หมายถึง คนที่มีความผิดปกติหรือมีความบกพร่องทางร่างกายทั้งทางจิตใจและสติปัญญา

ความพิการแบ่งออกเป็น 7 ประเภท

พิการทางการเห็น

พิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย

พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย

พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม

พิการทางสติปัญญา

พิการทางการเรียนรู้

พิการทางการออทิสติก

บัตรประจำตัวคนพิการ

คือ บัตรที่กำหนดสิทธิ สวัสดิการ และความช่วยเหลือจากรัฐ ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ให้มีขีดความสามารถที่พร้อมปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

เอกสารประกอบการยื่นคำขอทำบัตรคนพิการ

บัตรประจำตัวประชาชนคนพิการ 1 ฉบับ

สำเนาทะเบียนบ้านคนพิการ 1 ฉบับ

บัตรประจำตัวประชาชนผู้ดูแลคนพิการ 1ฉบับ

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ดูแลคนพิการ 1ฉบับ

รูปถ่าย 1 นิ้ว (ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน) 2 รูป

เอกสารรับรองความพิการโดยประกอบวิชาชีพเวชกรรมของสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานพยาบาลเอกชนที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนด เว้นแต่กรณีสภาพความพิการ

11 พ.ย.วันคนพิการแห่งชาติ รู้หรือไม่ คนพิการได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

บัตรคนพิการ ทำที่ไหนได้บ้าง

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน (หน่วยให้บริการร่วมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

โรงพยาบาลศิริราช

โรงพยาบาลรามาธิบดี

สถาบันราชานุกูล

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

จังหวัดอื่น ๆ

ติดต่อได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ที่ศาลากลางจังหวัด หรือที่ อบต./เทศบาล

สิทธิคนพิการควรได้รับ

คนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถขอใช้สิทธิสวัสดิการและความช่วยจากรัฐ ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จะได้รับความช่วยเหลือด้านการแพทย์ การฟื้นฟูสมรรถภาพ, ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล, ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยเหลือ และสื่อเสริมสร้างพัฒนาการเพื่อปรับสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น

การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์

คนพิการจะได้รับการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์, ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล, ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ ปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา รวมทั้งการเรียนรู้หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น

11 พ.ย.วันคนพิการแห่งชาติ รู้หรือไม่ คนพิการได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางการศึกษา

คนพิการสามารถศึกษาได้ตามความเหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะ หรือการศึกษานอกระบบ หน่วยงานจะรับผิดชอบเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการต่าง ๆ และความช่วยเหลือทางการศึกษา พร้อมให้การสนับสนุนตามความจำเป็นและเหมาะสมอย่างทั่วถึง

การส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ

คนพิการจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ มีบริการที่ได้รับมาตรฐาน การคุ้มครองแรงงาน รวมถึงได้รับการส่งเสริมการทำอาชีพอิสระ บริการสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่น ๆ เพื่อการทำงานของคนพิการ และการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ หรือสถานศึกษาเอกชน

การคุ้มครองสิทธิคนพิการทางสังคมและสวัสดิการ

คนพิการจะได้รับสวัสดิการอย่างทั่วถึง เช่น การช่วยเหลือทางกฎหมาย, การจัดให้มีผู้ช่วยคนพิการ, การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้แก่คนพิการ, การช่วยเหลือคนพิการที่ไม่มีผู้ดูแล และการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ

การบริการทางการแพทย์และสาธารณะสุข การเข้าร่วมประชุม สัมมนา ฝึกอบรมรวมทั้งเป็นผู้บรรยาย รวมทั้งล่ามภาษามือ แจ้งรับบริการได้ที่สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย อบต. พมจ. สำนักงานเขต ศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน กรุงเทพฯ หรือหน่วยงานที่ประกาศกำหนด

การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก

คนพิการสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ เพื่อไม่ให้สภาพแวดล้อมเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมทางสังคม

บริการให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ซึ่งคนพิการที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย สามารถกู้ยืมเงินทุนเพื่อลงทุนหรือขยายกิจการได้ จากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รายละไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย

การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ

คนพิการจะได้รับบริการปรับสภาพแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัย เพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำรงชีวิตและปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การปรับปรุงห้องน้ำ โดยประยุกต์ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นที่คนพิการอาศัยอยู่เป็นหลัก ในอัตราเหมาจ่ายรายละไม่เกิน 20,000 บาทตามที่กฎหมายกำหนด

การขจัดความไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ / การเลือกปฏิบัติ

กำหนดห้ามหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชนหรือบุคคลที่เลือกปฏิบัติ แบบไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ที่ทำให้คนพิการต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ด้วยเหตุผลคือความพิการ ด้านกฎหมายนั้นกำหนดให้คนพิการที่ได้รับความเสียหายจากการเลือกปฏิบัติสามารถเรียกร้องสิทธิต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติให้มีคำสั่งเพิกถอนการกระทำหรือห้ามมิให้กระทำการนั้นได้

การลดหย่อนภาษีเงินได้

คนพิการสามารถขอลดหย่อนภาษีเงินได้ โดยแจ้งกับหน่วยงานของกรมสรรพากรที่ไปเสียภาษี สำหรับผู้ดูแลที่เลี้ยงดูคู่สมรส ลูก หรือพ่อแม่ที่พิการหรือทุพพลภาพ สามารถนำไปใช้ลดหย่อนแบบเหมาได้คนละ 60,000 บาทต่อปี

ถ้าผู้พิการหรือทุพพลภาพที่ดูแลอยู่ไม่มีคู่สมรส ลูก หรือพ่อแม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้แบบเหมา 60,000 บาทต่อเพียงคนเดียว ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้และมีความพิการด้วย สามารถลดหย่อนภาษีคู่สมรสได้ 60,000 บาท และลดหย่อนผู้พิการได้อีก 60,000 บาท รวมเป็นเงินลดหย่อนทั้งสิ้น 120,000 บาท

นอกจากนี้สิทธิที่คนพิการจะได้รับยังรวมถึงการสนับสนุนผู้ช่วยคนพิการ และลดหย่อนค่าโดยสารขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการอีกด้วย

ที่มา : กระทรวงแรงงาน

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ขอบคุณ... https://www.thaipbs.or.th/news/content/333764

ที่มา: thaipbs.or.th/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 พ.ย. 66
วันที่โพสต์: 13/11/2566 เวลา 13:47:06 ดูภาพสไลด์โชว์ 11 พ.ย.วันคนพิการแห่งชาติ รู้หรือไม่ คนพิการได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง