ผู้ตรวจ พช. ลงพื้นที่ครัวเรือนเป้าหมาย ติดตามผลการดำเนินงาน

ผู้ตรวจ พช. ลงพื้นที่ครัวเรือนเป้าหมาย ติดตามผลการดำเนินงาน

ผู้ตรวจ พช. ลงพื้นที่ครัวเรือนเป้าหมาย ติดตามผลการดำเนินงาน ที่จะทำให้พี่น้องประชาชนครัวเรือนเป้าหมายสามารถ “อยู่รอด พอเพียง ได้อย่างยั่งยืน”

จังหวัดศรีสะเกษ โดย นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจ พช. ลงพื้นที่ครัวเรือนเป้าหมาย การขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ติดตามผลการดำเนินงาน ที่จะทำให้พี่น้องประชาชนครัวเรือนเป้าหมายสามารถ “อยู่รอด พอเพียง ได้อย่างยั่งยืน” เวลา 13.30 น. ณ พื้นที่ตำบลซำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วย นางสาวธนพร ขจิตเวทย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด นำคณะผู้ตรวจ นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 14 ลงพื้นที่ ตำบลซำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ Show Case ครัวเรือนเป้าหมาย การขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความก้าวหน้าการดำเนินงานในการจัดทำเมนูการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมาย 3 ระดับ ให้ “อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน” จำนวน 2 ครัวเรือน โดยมีนายสมคิด คำเสียง พัฒนาการอำเภอเมืองศรีสะเกษ นางสาววราลักษณ์ จำปาขีด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลซำ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอเมืองศรีสะเกษ ทีมพี่เลี้ยงตำบลซำ ร่วมให้การต้อนรับ และให้ข้อมูล ดังนี้ จากการดำเนินการ Re-Xray ครัวเรือนเป้าหมาย พบว่า

ครัวเรือนที่ 1 นางสาวบัวทอง แก้วเชียงทอง อายุ 74 ปี บ้านเลขที่ 17 หมู่ที่ 3 บ้านโนนเจริญ ตำบลซำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็นครัวเรือนผู้สูงอายุ อยู่ตัวคนเดียว สามีและลูกเสียชีวิต มีรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุ 700 บาท และบัตรสวัสดิแห่งรัฐ 300 บาท เป็นครัวเรือนประเภทสงเคราะห์ สภาพบ้านเป็นบ้านไม้ยกสูง ฝาบ้านเป็นไม้ไผ่สานและไม้กระดาน มีสภาพทรุดโทรม หลังคารั่ว เสาบ้านผุกร่อน ต้องใช้เสาปูนเสริมความแข็งแรงเพื่อรองรับน้ำหนักของตัวบ้าน บ้านที่อยู่อาศัยสร้างในพื้นที่ของน้องสาว บริเวณบ้านมีพื้นที่ในการเพาะปลูก พืชผัก สวนครัว

ครัวเรือนที่ 2 นายสมศรี เทพภูวงษ์ อายุ 46 ปี บ้านเลขที่ 190 หมู่ที่ 4 บ้านขะยูง ตำบลซำ ไม่มีอาชีพ เนื่องจากพิการต้องนั่งรถเข็น มีรายได้จากเบี้ยยังชีพผู้พิการและบัตรสวัสดิการ ไม่มีที่ดินทำกิน บ้านอาศัยอยู่ในที่ดินของคนอื่น (อบต.สร้างบ้านเทิดไทให้) สมาชิกในครัวเรือน จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ภรรยาและลูกชาย-ลูกสาว จำนวน 2 คน อายุ 13 ปี และอายุ 12 ปี ซึ่งอยู่ในในวัยเรียน ศึกษาอยู่โรงเรียนบ้านกุดโง้ง

การจัดทำเมนูการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายทั้ง 2 ครัวเรือน ให้ “อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน” เบื้องต้น เนื่องด้วยบริเวณบ้านมีพื้นที่ สามารถเลี้ยงไก่ และปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อลดค่าใช้จ่านในครัวเรือน ให้สามารถอยู่รอดได้อย่างพอเพียง จังหวัดศรีสะเกษ ได้สนับสนุนครัวเรือนเป้าหมายตามโครงการสร้างสังคมน่าอยู่และพัฒนาคนทุกช่วงวัยฯ 64 และโครงการขยายผลการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนฯ สนับสนุนการสาธิตอาชีพเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง 4 ตัว หัวอาหาร 1 กระสอบ ถังน้ำ 1 ถัง วิตามินสำหรับไก่ไข่ มูลค่า 1,770 บาท นอกจากนี้ครัวเรือนได้ต่อยอดกิจกรรมที่สร้างรายให้ให้ครัวเรือน เช่น เลี้ยงกบ เลี้ยงเป็ด ให้ครัวเรือนดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียง และปลูกผักเพื่อไว้บริโภคภายในครัวเรือน

นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ จากข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (อขจพ.) และปลัดกระทรวงมหาดไทย เป้าหมายสำคัญ คือ “การแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน” หรือ “การตัดเสื้อให้พอดีตัว” โดยมีกลไกการดำเนินงานตั้งแต่ ระดับนโยบายถึงระดับปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ ระดับจังหวัด ผ่านศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและ พัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด (ศจพ.จ.) ระดับอำเภอ ผ่านศูนย์อำนวยการปฏิบัติการฯ อำเภอ (ศจพ.อ.) และระดับปฏิบัติการ ผ่านทีมปฏิบัติการฯ ในระดับพื้นที่ (ทีมตำบล)

โดยมี “ทีมพี่เลี้ยง” เข้าไปรับทราบปัญหา หาทางแก้ไข จัดทำแผนร่วมกับทุกครัวเรือนยากจนเป้าหมายในทุกหมู่บ้าน/ชุมชน และสนับสนุนให้ครัวเรือนมีการวางแผน/แก้ปัญหาตรงตามสภาพปัญหาที่กำลังเผชิญ ตามแนวทางการแก้ไขปัญหาซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ มี 6 ด้าน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “6 เมนูแก้จน” ได้แก่ 1) สุขภาพ 2) ความเป็นอยู่ 3) การศึกษา 4) ด้านรายได้ และ 5) การเข้าถึงบริการภาครัฐ 6) มิติด้านอื่น ๆ ตามหลัก 4 ท คือ ทัศนคติ ทักษะ ทรัพยากร และทางออกด้วยการลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของครัวเรือนยากจนอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง และสำคัญต้องบันทึกในระบบ Logbook ทุกครั้งที่ได้ให้ความช่วยเหลือ โดยนายอำเภอเป็นขุนศึกสำคัญที่ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565

นอกจากนี้ ภายใต้การกำกับดูแลของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ และนางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มีข้อสั่งการให้มีการประชุมเลขาคณะทำงานฯ ทั้ง 6 มิติ เป็นประจำทุกเดือนเพื่อรายงานความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานในแต่ละมิติตามที่หน่วยงานแต่งตั้งคณะทำงานฯ รับผิดชอบ และกำหนดให้มีการลงพื้นที่โชว์เคสการทำงาน ในแต่ละมิติเป็นประจำทุกเดือน

ด้าน นายสมศรี เทพภูวงษ์ กล่าวว่า ถึงตนจะมีสภาพร่างกายพิการ นอกจากได้รับวัสดุสนับสนุนอาชีพ ตนยังได้รับกำลังใจจากหลายหน่วยงาน ซึ่งทำให้อยากส่งต่อและสร้างแรงบัลดาลใจให้ครัวเรือน หรือบุคคลที่เป็นครัวเรือนเปราะบางอื่น ขอบคุณทุกส่วนราชการที่ช่วยเหลือ และเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะทีมพี่เลี้ยงที่คอยมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ดังคำที่ผู้ว่าวัฒนากล่าว “คนเมืองศรี ฮักแพงแบ่งปัน สุขเสมอกันที่ศรีสะเกษ”

ต่อจากนั้น นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ และทีมพี่เลี้ยง ได้ร่วมปลูกผัก และปลูกไม้ผลบริเวณบ้านครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อให้เป็นคลังอาหาร ลดรายจ่ายในครัวเรือน

ท้ายที่สุด นายสรสาสน์ สีเพ็ง ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ได้กล่าวให้กำลังใจครัวเรือน และกล่าวเน้นย้ำว่าเป้าหมายสำคัญ คือ “การแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือน” หรือ “การตัดเสื้อให้พอดีตัว” ที่ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหา ที่จะทำให้พี่น้องประชาชนครัวเรือนเป้าหมายสามารถ “อยู่รอด พอเพียง ได้อย่างยั่งยืน”

ขอบคุณ... https://bit.ly/3IXEe9P

ที่มา: thainews.prd.go.th/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 มี.ค.65
วันที่โพสต์: 28/03/2565 เวลา 09:51:47 ดูภาพสไลด์โชว์ ผู้ตรวจ พช. ลงพื้นที่ครัวเรือนเป้าหมาย ติดตามผลการดำเนินงาน