ต้นแบบศูนย์การเรียนนอกระบบในเขตเมือง

ต้นแบบศูนย์การเรียนนอกระบบในเขตเมือง

#กศนเด็กพิเศษในเขตเมือง

#ต้นแบบศูนย์การเรียนนอกระบบในเขตเมือง

กรุงเทพมหานคร มีเด็กพิเศษ และคนพิการจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6และไม่ได้ศึกษาต่อจนอายุเกินวัยที่”โรงเรียนในระบบจะรับเข้าไปเรียนได้”หรือโรงเรียนหลายแห่งแจ้งว่า “ไม่มีครูเฉพาะด้าน”ในการจัดการเรียนการสอน จากข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่าในปี 2564 มีคนพิการทั่วประเทศกว่า 60,000 คน ไม่มีวุฒิทางการศึกษา คือไม่ได้เรียนในระบบใดเลย ถ้าเทียบสถิติคนพิการ ทั้งประเทศ กว่า 2 ล้านคน มีคนพิการใน กรุงเทพจำนวนกว่า 1 แสนคน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 5 ถ้าเทียบแบบประมาณการ จะมีคนพิการในกรุงเทพกว่า3,000คนที่ยังไม่เคยได้เรียน และอีกหลายพันคน จบเพียงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จึงนับเป็นความท้าทายนโยบาย”Education for All การศึกษาไทยที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” และจากประสบการณ์การทำงานของโครงการ พบว่า ”ต้นทุนค่าใช้จ่ายรายหัวของผู้เรียน น้อยกว่า ผู้เรียน ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ”ซึ่งเครือข่ายคงต้องช่วยกันเสนอ “อนุบัญญัติการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย”เพื่อรองรับการทำงานและการจัดสรรงบประมาณ

มูลนิธิออทิสติกไทย และสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย)ร่วมกับ สำนักงาน กศน โดย”ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยใน 5 เขต ได้แก่ บางกอกน้อย ตลิ่งชัน บางเขน จตุจักร และมีนบุรี ทดลองจัด”ศูนย์การเรียนนอกระบบโดยชุมชนะเขตเมือง” มีศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มเป้าหมายพิเศษ สำนักงาน กศน ทำงานร่วมกับ มูลนิธิออทิสติกไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกกรุงเทพมหานคร สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย และมูลนิธิร่มไทร จัดตั้งศูนย์การเรียนนอกระบบ แบบพบกลุ่มเต็มเวลา ณ ที่ทำการองค์กรดังกล่าวจัดเป็นแนว”ศูนย์การเรียนชุมชน” มีกิจกรรมบูรณาการวิชาการ งานอาชีพทักษะชีวิต ทักษะด้านดิจิตอล อิงตามหลักสูตรฐานสมรรถนะที่โครงการพัฒนาขึ้น มีพื้นที่ให้บริการ 5 เขต จำนวนผู้เรียนศูนย์ละ 5 คน ครูผู้สอนที่ผ่านการอบรมในโครงการ 1 คน หรือสัดส่วน 1:5 ตามมาตรฐานที่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ “กคศ”กำหนด

จากการทดลองทำงานในช่วง 5เดือนที่ผ่านมา มีกิจกรรมพบกลุ่มทั้งแบบ Online และOffline มีการจัดสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีฐานการเรียนรู้แบบเวียนฐานตามมาตราการด้านสุขภาพเต็มรูปแบบ มีการจัดประชุมคณะทำงานแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การประชุมกับผู้ปกครอง การให้คำปรึกษาแนะนำ และมีทีมวิชาการนิเทศติดตามผ่านระบบ True Vroom และ Zoom อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งใช้ Application ในการติดตามการเรียนรู้ และการรายงานผล ร่วมกับอีก 11 แห่งทั่วประเทศ และที่สำคัญเป็นความร่วมมือที่ดีระหว่างหน่วยงานระดับพื้นที่ ซึ่งสามารถนำไปขยายผลให้ครบทั้ง50เขตได้

นับเป็น ศูนย์กศน ต้นแบบ สำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ อีกแห่ง ที่กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับมูลนิธิออทิสติกไทยสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) และองค์กรภาคเอกชน โดยการสนับสนุนจาก”กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ”

ขอบคุณ มูลนิธิออทิสติกไทย มูลนิธร่มไทร สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก กรุงเทพมหานคร สมาคมผู้ปกครองบุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย และศูนย์การศึกษานอกระะบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานครและเขตทุกท่าน

ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย 17 พ.ย.2564

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
วันที่โพสต์: 17/11/2564 เวลา 11:25:49 ดูภาพสไลด์โชว์ ต้นแบบศูนย์การเรียนนอกระบบในเขตเมือง