มาทำความรู้จัก ‘โรคโปลิโอ’ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

มาทำความรู้จัก ‘โรคโปลิโอ’ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันโปลิโอโลก การกวาดล้างโรคโปลิโอช่วยปกป้องเด็กกว่า 11 ล้านคนทั่วโลกจากความพิการและการเสียชีวิตในวัยเยาว์ ความพยายามตลอด 26 ปีที่ผ่านมาทำให้เด็กๆ รุ่นนี้ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่โดยไม่ต้องเกรงกลัวต่อโรคโปลิโอ นอกจากนี้ ยังถือเป็นการให้เกียรติแก่ นักวิทยาศาสตร์(virologist)ชาวอเมริกัน ชื่อ Jonas Edward Salk ซึ่งได้พัฒนาวัคซีน โปลิโอสำเร็จเป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1955 หลังจากใช้เวลาทุ่มเทศึกษาถึง 7 ปี โดยก่อนที่จะมีการค้นพบวัคซีน ในสมัยนั้นเป็นช่วงเวลาที่ประชากรทั่วทั้งโลกมีความตื่นตระหนก และกลัวกับปรากฏการของโรคนี้ เพราะทำให้มีการเสียชีวิตและพิการเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ชาวอเมริกันมีความหลาดกลัวอย่างมาก พร้อมกับเปรียบโรคโปลิโอเป็นความเลวร้ายรองมาจากระเบิดปรมาณู

ทั้งนี้ โรคโปลิโอ (Polio) หรือ Poliomyelitis เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อลีบ หรือเป็นอัมพาต สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสโปลิโอ ในอดีต โปลิโอเป็นโรคที่มีการระบาดเป็นวงกว้างในหลายๆ ประเทศ จึงทำให้เกิดการตื่นตัวและวางแผนรับมือร่วมกันเพื่อกำจัดโรคนี้ให้หมดไป ซึ่งวิธีควบคุมการระบาดที่ดีที่สุดก็คือการให้วัคซีน โดยควรเริ่มให้ตั้งแต่เด็กเพื่อลดโอกาสในการเกิดความพิการทางร่างกาย ที่จะทำให้สูญเสียโอกาสทางด้านอื่นๆ ในอนาคต

มาทำความรู้จัก ‘โรคโปลิโอ’ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

สาเหตุของโรคโปลิโอ

โรคโปลิโอเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ลงไปยังลำไส้ ผ่านไปยังกระแสเลือด โดยปกติผู้ป่วยได้รับเชื้อจะไม่มีอาการหรืออาจมีไข้ แต่ในบางรายที่เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วลามไปยังไขสันหลังและสมอง จะเกิดการทำลายเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปกติ เป็นอัมพาต และอาจพิการหรือเสียชีวิตได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโปลิโอ

เป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยผ่านสัมผัสเชื้อของผู้ป่วยทางอุจจาระ ทางการหายใจ และการรับประทาน และแม้ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ แต่ก็ยังสามารถแพร่เชื้อได้ ดังนั้น จึงควรได้รับวัคซีนโปลิโอตั้งแต่เด็ก ระมัดระวังและรักษาความสะอาดทุกครั้งที่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด พื้นที่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาด

ขอบคุณข้อมูลจาก : จับฉ่าย และ Raksa

ขอบคุณ... https://bit.ly/3mcCYan (ขนาดไฟล์: 195)

ที่มา: samyan-mitrtown.com/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ต.ค.64
วันที่โพสต์: 26/10/2564 เวลา 10:52:06 ดูภาพสไลด์โชว์ มาทำความรู้จัก ‘โรคโปลิโอ’ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม