โครงการไบโอดีเซลมรดกของพ่อสู่ชุมชน จ.ยะลา

โครงการไบโอดีเซลมรดกของพ่อสู่ชุมชน จ.ยะลา

โครงการพลังงานทดแทน ไบโอดีเซล ในพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งเริ่มต้นในปี 2528 โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานทุนวิจัยเริ่มต้น 900,000 บาท ปัจจุบันมีการขยายพระราชดำริสู่ชุมชน สนับสนุนให้มีการผลิตในชุมชนที่ใช้กับเครื่องยนต์ทางการเกษตร

วิสาหกิจชุมชน ยะลาไบโอดีเซล ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 10 ปี โดยน้อมนำหลักการของพระองค์ มาต่อยอดสร้างงาน สร้างอาชีพ เป็นความภาคภูมิใจของวิสาหกิจชุมชน ยะลาไบโอดีเซล ที่จะบอกกับทุกคนว่า นี้คือมรดกของพ่อ ที่มอบไว้ให้

นายยศพลพัฒน บุนนาค ประธานวิสาหกิจชุมชนยะลา ไบโอดีเซล กล่าวว่า “หลังจากได้เข้าไปเรียนรู้การผลิตไบโอดีเซล ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ. นราธิวาส และพบว่าวัตถุดิบที่มีศักยภาพ สามารถผลิตไบโอดีเซสในประเทศไทยได้นั้น มีทั้งน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และพืชน้ำมัน โดยนำมาผสมกับเมทานอล หรือเอทานอล จะได้เมทิลเอสเทอร์หรือเอทิลเอสเทอร์ นั้นคือไบโอดีเซล การส่งเสริมไบโอดีเซล ชุมชน ต้องทำการศึกษาก่อนว่า ในพื้นที่นั้น มีพืชน้ำมันชนิดใด หรือถ้ามีน้ำมันพืชที่ใช้แล้วก็สามารถทำได้ทุกที่ สำหรับที่วิสาหกิจชุมชนยะลาได้ทำ การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว โดยการณณรงค์ให้ประชาชน ลดการใช้น้ำมันในการทอดซ้ำ และได้ร่วมมือกับ แบกอเดช (นายกอเดช ถนอมพันธ์ ) ผู้พิการ ที่อยากสนับสนุนให้คนพิการในพื้นที่มีรายได้ โดยการรับซื้อน้ำมันที่ใช้แล้ว จึงรวมกลุ่มคนพิการในชุมชนต่างๆใกล้เคียง ออกรับซื้อน้ำมันที่ใช้แล้วตามครัวเรือน ร้านค้า พร้อมตั้งจุดรับซื้อน้ำมันที่ใช้แล้ว ในชุมชนของแต่ละคน เพื่อรวบรวมนำมาขายให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไบโอดีเซลยะลา นอกจากการนั้นหลังจากการขายน้ำมันที่ใช้แล้ว ยังรับน้ำมันไบโอดีเซล หรือ น้ำมัน B 100 ที่ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนกลับไปจำหน่ายในชุมชนเพิ่มรายได้ อีกทางหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนยะลาไบโอดีเซล นอกจากนำมัน B100 ที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลทางการเกษตรแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์นำมันเครื่องที่ใช้กับโซ่เลื่อยยนต์, น้ำมันที่ใช้กับโต๊ะเลื่อย และน้ำยาเคลือบเงาล้อรถยนต์ ทางกลุ่มวิสาหกิจยะลาไบโอดีเซล มีความต้องการน้ำมันพืชที่ใช้แล้วนำเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตจำนวนมาก ปริมาณที่กลุ่มได้รับซื้อหรือได้จากการบริจาคยังมีจำนวนน้อย คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนน้ำมันที่ใช้แล้วทั้งจังหวัด สำหรับเรื่องการทำตลาดนี้ทางกลุ่มไม่มีความกังวล สิ่งที่กังวลคือเรื่องของวัตถุดิบมากกว่า รายได้บางส่วนในการขายผลิตภัณฑ์ จะถูกนำเข้ามูลนิธิ ภูมิพลังปันน้ำใจไบโอดีเซล ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำไปช่วยในงานสาธารณประโยชน์ ช่วยเหลือผู้พิการและเป็นทุนการศึกษา”

“ในส่วนเครือข่ายเรามีสมาชิก 2 พันกว่าคนที่นำน้ำมันใช้แล้วมาส่งและรับไบโอดีเซลกลับไปจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับสมาชิกของกลุ่มที่สวนใหญ่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์เป็นคนพิการ ตอนนี้เราทำงานเพื่อให้ความรู้และเปลี่ยนทัศนะคติเรื่องการใช้น้ำมันทอดซ้ำ น้ำมันที่ทอดแล้วนำไปทิ้งว่า น้ำมันเก่าสามารถนำมาผลิตไบโอดีเซลได้ เป็นการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม ส่วนโครงการที่เราทำกับวัด เราเรียกว่า น้ำมันบุญ นำมันที่เหลือใช้จากการทำอาหารนำมาทอดผ้าป่าที่วัด หรือนำมาให้เรา ทำให้วัดมีรายได้ น้ำมันจากศาลเจ้าที่จังหวัดสงขลาที่นำมาให้เรา เรารวบรวมน้ำมันเหล่านี้มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต และแบ่งรายได้จากการขายน้ำมันไบโอดีเซลส่วนนี้เข้ามูลนิธิ เพื่อนำไปใช้ในเรื่องสาธารณะประโยชน์และยังนำรายได้ส่วนหนึ่งกลับไปทำบุญที่วัดและศาลเจ้า”

นอกจากการผลิตไบโอดีเซล เพื่อจำหน่ายแล้ว ทางศูนย์ยังเปิดให้เป็นศูนย์เรีนรู้เรื่องการผลิตไบโอดีเซลและได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในการฝึกหลักสูตรระยะสั้นให้กับนักศึกษา นอกจากความรู้ที่ได้รับแล้วและยังทำให้นักศึกษาที่มาฝึกงานยังมีรายได้อีกด้วยจาการเก็บรวบรวมน้ำมันที่ใช้แล้วในครัวเรือนของตนเองมาขายให้กับทางศูนย์

นายกอเดช ถนอมพันธ์ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนไบโอดีเซลยะลา กล่าวถึงการประสานงานในกลุ่มคนพิการที่เป็นสมาชิกว่า “ในระยะแรกทางกลุ่มรับซื้อน้ำมันพืชที่ใช้แล้วได้จำนวนน้อย และแจ้งทางกลุ่มว่าเราต้องประชาสัมพันธ์เรื่องนี้ให้ทราบในทุกชุมชน และประสานงานกับทางประธานกลุ่ม ให้ช่วยประสานงานกับ อสม.ประชาสัมพันธ์เรื่องโทษของการใช้น้ำมันที่ทอดซ้ำที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง และถ้าทิ้งก็จะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และเรื่องของการรับซื้อน้ำมันพืชที่ใช้แล้วทำให้เกิดการรับรู้อย่างแพร่หลายไปถึงจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส การตระเวนออกไปรับซื้อน้ำมันพืชที่ใช้แล้วจะได้ผลมากกว่าการรอให้คนนำมาขาย “

ทางวิสาหกิจไปโอดีเซล ได้ร่วมมือกับทาง อสม.และผู้นำชุมชน ทางอสม.ได้รณรงค์ให้ความรู้เรื่องโทษของการใช้น้ำมันที่ใช้แล้ว และจัดจั้งศูนย์กลางในการนำมันมันพืชที่ใช้แล้วมาทิ้ง โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการเป็นจุดรับทิ้งน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว

ร.ต.ต.วัชรินทร์ ตันฑเตมีย์ ประธานโครงการพัฒนาชุมชนเชิงนิเวศน์ บ้านห้วยเงาะ-เกาะวิหาร-บ้านชมพู่ กล่าวว่า "โครงการน้ำมันบุญ เป็นโครงการที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน เมื่อชาวบ้านน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาทิ้งรวมกัน ทางวิสาหกิจไบโอดีเซลจังหวัดยะลามาเก็บไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล และมอบเงินให้วัด ทำให้เกิดรายได้เข้าวัด สามารถนำรายได้จากโครงการนี้ช่วยค่าใช้จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ของวัด ชาวบ้านได้ทำบุญผ่านโครงการนี้ และในโอกาสต่อไปอาจมีการจัดบุคคลากรเข้าไปจัดเก็บน้ำมันที่ใช้แล้วตามบ้านประชาชน แต่วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ"

นายยศพลพัฒน บุนนาค ประธานวิสาหกิจชุมชนยะลา ไบโอดีเซล กล่าวปิดท้ายว่า “โครงการไบโอดีเซลมรดกของพ่อ ที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มอบไว้ให้เป็นมรดกแก่ประชาชน ทีมงานได้นำหนึ่งในสี่พันกว่าโครงการที่เป็นมรดกที่พระองค์มอบไว้ให้นำมาปฏิบัติ ทำให้สามารถสร้างงาน และเป็นเสาหลักให้กับผู้อื่นได้อีกหลายพันคน โครงการทำไบโอดีเซลนั้นไม่ยาก แต่ถ้าเราไม่มีพ่อเราคิดเองไม่ได้ พ่อคิดให้เราก่อนเป็นต้นแบบ พระองค์ท่านทำทุกอย่างเพื่อเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินทั้งนั้น ต่อราษฎร์อย่างเรา ไม่มีอะไรที่เราเชื่อพ่อแล้วจะทำให้ชีวิตเราแย่ลง ชาวบ้านจะเรียกไบโอดีเซลที่เราผลิตว่า น้ำมันในหลวง พระองค์อยู่ในใจเราตลอดเวลา”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :รายการมองมุมบวก ปี2564 ออกอากาศทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ เวลา 12.45-13.10 น.ทาง ททบ.5

ขอบคุณ... https://siamrath.co.th/n/209826

ที่มา: siamrath.co.th /มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 ม.ค.64
วันที่โพสต์: 7/01/2564 เวลา 12:50:48 ดูภาพสไลด์โชว์ โครงการไบโอดีเซลมรดกของพ่อสู่ชุมชน จ.ยะลา