บัณฑิตเกษตรบางพระ เลี้ยงกวางรูซ่า-เลี้ยงม้าขี่ช่วยบำบัดเด็กพิเศษ ที่อำเภอพุนพิน

แสดงความคิดเห็น

กิจกรรมอาชาบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ

หนุ่มน้อยราฆพ นวลใย ตั้งปณิธานว่า หลังเรียนจบมัธยม จะเรียนทางด้านการเกษตร แต่ต้องคิดอยู่นานว่าจะเรียนต่อที่ไหนดี เช่นที่เกษตรไสใหญ่ แม่โจ้ และบางพระ แต่สุดท้ายเขาเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ เหตุผลนั้นได้รับคำอธิบายว่า หากเลือกเรียนที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย(มทร.ศรีวิชัย) วิทยาเขตทุ่งใหญ่หรือไสใหญ่ เขาบอกว่าใกล้บ้านเกินไป โอกาสที่จะพบปะเพื่อนฝูงที่แปลกและแตกต่างออกไปมีน้อย ครั้นจะเรียนที่แม่โจ้ก็ต้องเดินทางไกล ทางเลือกสุดท้ายคือที่บางพระราฆพหรือติน เรียนจบทางด้านสัตวบาลเมื่อปี 2549 ขณะที่เข้าเรียนใหม่ๆ เขาก็เหมือนนักศึกษาทั่วไป ที่ไม่อยากลำบาก ตากแดดกรำฝน เขาตั้งใจว่า หลังเรียนจบจะทำงานในบริษัทชื่อดัง หรือไม่ก็สอบเข้าทำงานราชการ จินตนาการเขามีตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน จนอยู่ชั้นปีที่ 2 ครั้นขึ้นสู่ปีที่ 3 แนวคิดเขาเปลี่ยนไป

พื้นฐานทางครอบครัวคุณติน พ่อเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มีที่ดินมากกว่า 50 ไร่ เขามีพี่น้อง 3 คนไม่มีใครใช้ประโยชน์จากที่ดินจึงต้องลงมือทำเอง หลังเรียนจบ คุณตินทำกิจกรรมการเกษตรอยู่บ้านเกิด คือเลขที่ 10 หมู่ 3 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130 คนเริ่มรู้จักกิจกรรมที่เกษตรกรหนุ่มรายนี้ทำมากขึ้นเรื่อยๆในนาม "ชมทัศน์ฟาร์ม"

"ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องมาทำกิจการส่วนตัว ที่ไปเรียนหนังสือ เรียนจบจะหางานราชการ งานบริษัท ที่บ้านมีที่ดินกว่า 50 ไร่ นอกจากนี้มีที่สวน ที่นาจำนวนหนึ่ง ไปเรียนตอนแรกไม่คิดทำ พอดีพ่ออายุมาก ไม่มีคนทำ ผมเลยบอกว่าผมเรียนจบผมจะมาอยู่บ้าน ดูแลให้พ่อ พี่น้องมี 3 คน ตอนนั้นเขายังเรียนอยู่ครับ ที่บริเวณนี้ 50 ไร่ พ่อเป็นข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ตอนเรียนผมทฤษฏีไม่ค่อยชำนาญ ปฏิบัติใช้ได้ เรียน 4 ปี ผมอยู่ปี 3 มีความคิดกลับมาอยู่บ้าน ไม่ได้สมัครงาน เจอหนังสือการเลี้ยงกวาง คุยกับแม่ ลงไปหาข้อมูลเพิ่ม มาทำงานเลย ตอนแรกตั้งใจเลี้ยงวัวขุน แต่ช่วงปี 2550 ราคาวัวไม่ดี เจอกวาง แฟนเป็นคนราชบุรี ไปราชบุรีบ่อย เจอฟาร์มกวาง ได้ข้อมูลดี คนเลี้ยงน้อย ความต้องการมากตัดสินใจเลี้ยงกวาง ครั้งแรกลงทุน 5 แสนบาท ทั้งรั้วและพันธุ์ เงินกู้ธกส. อีกส่วนหนึ่งพ่อแม่ให้" บัณฑิตหนุ่มเล่าถึงจุดเริ่มต้น

นายราฆพ นวลใย  เจ้าของ "ชมทัศน์ฟาร์ม"

คุณตินเลี้ยงกวางพันธุ์รูซ่า ซึ่งเดิมเป็นของอินโดนีเซีย แต่ออสเตรเลียเขานำไปปรับปรุงพันธุ์ จุดเด่นของกวางพันธุ์รูซ่าคือปรับตัวได้ในสภาพอากาศอย่างไทย "ผมเลี้ยงเอาเขา เนื้อก็ได้ จะได้ทั้งเขาและเนื้อ กวางรูซ่าโตเต็มที่ ตัวผู้น้ำหนัก 100 กิโลกรัม อายุ 4 ปี ตัวเมียน้ำหนัก 60-70 กิโลกรัม เขาตัดได้ทุกปี ตัดจากตัวผู้ได้น้ำหนัก 1.5 กิโลกรัมต่อตัว ขายให้สหกรณ์ กิโลกรัมละ 6,000 บาท กวางออกลูกปีละตัว ท้อง 8 เดือน เนื้อได้ล้วนๆ 30 กิโลกรัม ไม่รวมกระดูกและอย่างอื่น ขายราคาไม่เท่ากัน แล้วแต่ชิ้นเนื้อ มีตั้งแต่กิโลกรัมละ 300-1,500 บาท รวมมูลค่าต่อตัว เฉพาะเนื้อหมื่นบาทเศษ...ตอนนี้ของผมมี 50 ตัว ผมเคยมีมากถึง 100 ตัว น้ำท่วมตายไปเกือบ 20 ตัว มาปีนี้ คนที่สนใจหันมาเลี้ยง เขามาซื้อแต่ก็หยุดขาย เมืองไทยคนเลี้ยงกวางโดยสังกัดสหกรณ์ 90-100 ราย จำนวนกว่า 2,000-3,000 ตัว ที่ตั้งสหกรณ์ อยู่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน"คุณตินเล่าถึงการเลี้ยงกวาง

มีโอกาสขยาย ท้องถิ่นสนใจ ถามคุณตินว่า มีโอกาสขยายงานเลี้ยงกวางให้มากๆ ไหม "มีครับ ท้องถิ่นสนใจ แต่มีข้อจำกัดเพราะทุนสูง พันธุ์ ตาข่ายม้วนละ 2 หมื่นบาท ต้องมีบริเวณให้ คนที่อยากเลี้ยงเพื่อสวยงาม 2 ตัว ไม่มีคอกจัดการตัดเขาไม่ได้...จริงๆ แล้วต้องเลี้ยง 5 แม่ขึ้นไป...โรงเรือนไม่ต้องยกพื้นสูง มีของผมยกพื้นสูง ที่ยกเพราะว่าน้ำท่วม จริงๆ มีเพิงหมาแหงนธรรมดาก็ได้ ค่าพันธุ์ตัวละ 8,000 บาท อายุ 1 ปี การผสมพันธุ์มีผสมเทียมแต่ผมไม่มีผสมเทียม ผมใส่พ่อพันธุ์ 2 ตัวแยก 2 ฝูง มีแม่อยู่ประมาณ 30 แม่ แบ่งเป็น 2 ฝูง ใช้พ่อพันธุ์สลับกันระหว่างฝูงที่ 1 และ 2 ป้องกันการผสมเลือดชิด จัดการดีๆพ่อแม่พันธุ์อยู่ได้ 10 ปี"คุณตินบอก

เจ้าของฟาร์มกวางเล่าว่า กวางตัดเขาอยู่ได้ 10 ปี หากตัวไหนเขาเล็กไม่ได้ขนาดไม่คุ้ม ก็นำไปเป็นกวางเนื้ออาหารหลักคือหญ้า มีอาหารเสริมคือกากปาล์ม หรือเนื้อในปาล์ม ซื้อมาจากโรงงาน กิโลกรัมละ 7 บาท อย่างอื่นไม่มี ช่วงแรกมีมันเส้น เมื่อมันเส้นไม่มีไม่ใช้ วัตถุดิบหาในท้องถิ่น หากเป็นอิสานก็อีกอย่างหนึ่ง

ตอนนี้คุณตินใช้กากปาล์มผสมกับอาหารสำเร็จรูปของวัวขุน ให้กินไม่เกินครึ่งกิโลกรัมต่อตัวต่อวัน หญ้าวันหนึ่ง กินประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัว งานป้องกันโรค...เจ้าของทำวัคซีน 2 ชนิด คือ โรคปากเท้าเปื่อยและโรคคอบวม ทำวัคซีนปีละ 2 ครั้ง เจ้าของยืนยันว่า โดยรวมกวางมีกำไร ตั้งแต่เลี้ยงมาขายไปร่วม 50 ตัวๆละ 8 พันบาท-หมื่นบาท หากวางท้อง 1.8 หมื่นบาทต่อตัว เขาปีที่แล้วขายได้ราว 20 กิโลกรัม จากตัวผู้ 10 ตัว...ตัวเมียไม่มีเขา

สนใจเลี้ยงต้องศึกษา ถามว่า...คนสนใจเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม จำนวนไม่มากนัก ทำได้ไหม คุณตินตอบว่า" ได้...แต่ต้องจัดการเรื่องรั้ว ทำคอกก่อน คนมาซื้อ ผมแนะนำซื้ออุปกรณ์ให้ ความยาวรั้ว 100 เมตร ความสูง 1.90 เมตร ม้วนละ 1.8 หมื่นบาท รั้วใช้อย่างอื่นแทนไม่แนะนำ รั้วไฟฟ้าไม่แนะนำ รั้วลวดหนามมีปัญหา เขาตกใจจะพุ่งอย่างเดียวไม่กลัว...ปัญหาเรื่องขโมยที่บ้านไม่มีเป็นญาติพี่น้องกันหมด คนดูแลมีม้าและกวางดูแล 3 คน...จะเลี้ยงปล่อยทุ่งแบบโคนมไม่มี ไปเที่ยวต้อนแบบแพะไม่มี ที่สุราษฎร์มีฟาร์มกวางหลายฟาร์ม... เขตฝนชุกการรักษาสุขภาพสัตว์ เขาปรับสภาพได้เพราะว่าเป็นสัตว์ป่า ที่ยกพื้นโรงเรือนเพราะฝนมากจนท่วมกวางตาย เงินหายไปขาดทุน... เลี้ยง 3-4 ตัว ตัดเขาได้แต่ต้องมีโรงเรือน แต่ไม่ค่อยเห็นทำเพราะว่าต้องสร้างโรงหนีบตัดเขาสร้างราคา 3-4 หมื่นบาท โรงหนีบเป็นช่างของสหกรณ์"

เจ้าของอธิบายว่า การตัดเขานั้น กวางผลัดเขาเดือนกรกฎาคม จากนั้นจึงงอกไปตัดได้ราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เขากวางอ่อนนำไปเป็นอาหารเสริม แปรรูปเป็นแค๊ปซูล ส่วนหนึ่งเอาไปดองสุรา"...จะขยายเพิ่ม ผมสร้างเครือข่ายจะทยอยพันธุ์ออกไป ตอนนี้ต้องรีบเพิ่ม พื้นที่เลี้ยงไม่ต้องมาก 2-3 ไร่ก็เลี้ยงได้"บัณฑิตหนุ่มจากเกษตรบางพระให้ข้อมูล ทดลองเลี้ยงม้า แต่สร้างประโยชน์ใหญ่หลวง ในชมทัศน์ฟาร์ม มีม้าสวยๆ ล้วนแล้วแต่สุขภาพแข็งแรงอยู่กว่า 10 ตัว เดิมทีเจ้าของเลี้ยงเพราะชอบเป็นการส่วนตัว ไม่นึกว่าจะทำประโยชน์ในวงกว้าง

เจ้าของชมทัศน์ฟาร์มพูดถึงงานเลี้ยงม้าว่า "ผมเริ่มเลี้ยงด้วยใจรัก มีกว่า 10 ตัว ตอนแรกเลี้ยงไว้ขี่เล่น ซื้อมา 2-3 ตัว เริ่มชอบผมซื้อลูกผสมม้าไทยมา ไม่ได้คิดว่าจะให้ขี่ ผมไปออกบู๊ทที่อำเภอพุนพิน เขามีงานที่อำเภอเกี่ยวกับกวาง มีหมอมาถามว่า...มีอะไรบ้าง...ผมบอกมีสัตว์เกือบทุกชนิดยังขาดช้าง...ม้าวัวควายมีครบ...เขาถามว่าม้าขี่ได้ไหม...ผมบอกว่าขี่ได้... เขาบอกว่าเป็นหมออยู่จิตเวชเด็ก มีเด็กออทิสติกหรือเด็กพิเศษที่ต้องการการดูแลจากพ่อแม่และแพทย์เป็นพิเศษ เพื่อช่วยกันส่งเสริมพัฒนาการให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง และสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ...หมอพยายามหาม้าให้ขี่ในภาคใต้ ปกติต้องรอปิดเทอมแล้วพาไปขี่ที่พัทยา จังหวัดชลบุรี อยู่ไกลมาก ผมไม่หวงให้ขี่ได้ เขามาผมก็พาขี่ ผมยังไม่มีความรู้เรื่องเด็กออทิสติก แฟนผมโทร.ไปหาเพื่อน ดูในเน็ตว่าทำอย่างไรบ้าง จากนั้นผมให้ขี่ เขาให้เงินเป็นค่าตอบแทน ผมไม่รับ เพราะเห็นใจ แต่ปรากฏว่าเขาเกรงใจไม่กล้ามาขี่ ... เขาบอกให้เก็บเงิน ผมมาดูว่าเขาเก็บเท่าไหร่ ดูแล้วเขาเก็บครั้งละ 800-1,000 บาท ดูแล้วแพงไป ผมคิด 500 บาท ในจำนวน 500 บาท ให้ค่าคนจูงม้า คนประคองเด็ก ที่เหลือซื้ออาหารให้ม้า ให้เขาเลี้ยงตัวเองได้"

เจ้าของชมทัศน์ฟาร์มบอกว่า ตนเองไม่ตั้งใจทำอย่างนี้ แต่ก็มีคนมาขี่ เด็กออทิสติกมาขี่ไม่เกิน 3 ครั้งต่ออาทิตย์ ที่นี่มาตามใบนัด ใครว่างวันจันทร์มาวันจันทร์ ที่มาประจำรวม 20 คน เด็กออทิสติกขี่ในพื้นที่จำกัดให้...ให้มีพัฒนาก่อน เพราะเด็กมาครั้งแรกไม่ยอมขึ้นม้า โวยวาย บางคนสมาธิสั้นมาก บางคนก้าวร้าวก็เอาลง ม้า 1 ตัวมีคนประคองเด็ก 1 คนมีคนจูงอีก 1 คน

ถามว่า เด็กมาขี่ม้าดีขึ้นไหม "พัฒนาการ...ผมฟังจากผู้ปรกครอง บางคนมาครั้งแรกโวยวาย ไม่ยอม แต่ลองให้นั่งแล้วดีขึ้น บางคนก่อนขี่ม้า นั่งรถไม่นิ่ง พอมาขี่ม้านั่งรถนิ่งขึ้น มีเด็กอยู่คนหนึ่ง กลัวขนเงาะขนตุ๊กตา เขาจะไม่จับเลย แม่พามาขี่ม้า ...ม้ามีขนแรกๆไม่เอาเลย พยายามให้เขาลูบม้า นั่งบนหลังม้าแต่ยังไม่พาเดิน อีกสองวันมาใหม่ ทีนี้วันที่สองวิ่งเข้าหาม้าจะขึ้นให้ได้ แม่เขาบอกว่าเอาเงาะให้จับเริ่มกล้าขึ้น เมื่อก่อนหยิบสองนิ้วยังไม่กล้าเลย พอมาขี่ม้าเริ่มหยิบได้ ขี่ได้ 5-6 ครั้งหยิบได้ ของที่มีขน เงาะจับได้หมดไม่กลัว เขาดีใจลูกมีพัฒนาการขึ้น"

กิจกรรมขี่ม้าของชมทัศน์ฟาร์ม เริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2556 นอกจากกิจกรรมขี่ม้าสำหรับเด็กพิเศษแล้ว ยังมีกิจกรรมขี่ม้าของเด็กปกติทั่วไป แต่ก็แยกกันเพื่อให้การฝึกมีสมาธิ กิจกรรมที่เขาคนนี้ทำอยู่ นอกจากที่แนะนำมาแล้ว ยังมีสวนมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุกอย่างให้ผลผลิตหมดแล้ว

ชมทัศน์ฟาร์ม เลี้ยงกวางพันธุ์รูซ่า

สัตว์เลี้ยงอย่างอื่นก็มีเป็ด ไก่ ไก่งวง ชะมด พึงพอใจในกิจกรรมที่ทำ คุณตินเรียนจบเมื่อปี 2549 เขาเริ่มทำกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่เรียนจบจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ทำมีความก้าวหน้ามาก ทั้งๆที่เวลายังไม่ถึง 10 ปี บัณฑิตหนุ่มคนนี้ คงสร้างสิ่งที่มีคุณค่าแก่ตนเองและเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นอีกนาน เพราะนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น

ถามว่า...พึงพอใจในงานที่ทำไหม "อาชีพเกษตร ผมมองว่าผมอยู่ได้สบาย ทุกอย่างเลี้ยงตัวเองได้ไม่มีขาดทุน อย่างกวางได้ผลผลิตคือเขา ทุกปี ทางด้านพืชก็จำหน่ายได้ ตอนนี้พ่ออายุมากแล้ว พ่อเห็นกิจกรรมที่ทำได้พ่อชอบ...แฟนผมเป็นคนราชบุรี เรียนจบจากที่เดียวกันก็ช่วยกันทำงานที่ฟาร์ม"คุณตินบอก

ผู้อ่านท่านใดสนใจกิจกรรมอย่างที่คุณตินทำ ควรศึกษาให้ถ่องแท้ก่อน เหมือนอย่างที่คุณตินทำนั่นแหละ สิ่งหนึ่งที่รับประกันว่า เกษตรกรรายนี้มีที่ระบายผลผลิตคือสหกรณ์กวาง ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยสามชิกอย่างต่อเนื่อง สนใจงานกิจกรรมอย่างนี้ ถามได้ที่คุณราฆพ นวลใย ตามที่อยู่ หรือโทร.086-6824025,084-9335925

ล้อมกรอบต่อท้าย กวางรูซ่า (Javan Rusa) เป็นกวางขนาดกลาง ขนบนลำตัวสั้นอยู่ในวงค์เดียวกับกวางป่าไทย ปลายหางมีลักษณะเป็นพู่เล็กน้อย มีแอ่งน้ำตาทั้งสองข้าง ฤดูผสมพันธุ์แอ่งจะเปิดกว้างชัดเจน ประสาทหู ตา จมูกไวมาก มีเขาเฉพาะตัวผู้ ผลัดเขาทุกปีในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน ชอบนอนแช่ปลักโคลน มีเขาสามกิ่ง ความยาวจากจมูกถึงโคนหางประมาณ 1.5 เมตร ความสูงช่วงไหล่ 70-75 เซนติเมตร ใบหูยาว 12-15 เซนติเมตร

หางยาวประมาณ 20 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 25 - 30 กิโลกรัม นิสัยชอบออกหากินเป็นฝูงตามป่าโปร่ง ในเวลาใกล้พลบค่ำ ตัวผู้ตัวหนึ่งจะมีตัวเมียหลายตัว บางครั้งมีมากถึง 25 - 30 ตัว กวางรูซ่าที่เลี้ยงกัน ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ สามารถปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงได้ดี

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1471936847 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ส.ค.59
วันที่โพสต์: 24/08/2559 เวลา 11:25:42 ดูภาพสไลด์โชว์ บัณฑิตเกษตรบางพระ เลี้ยงกวางรูซ่า-เลี้ยงม้าขี่ช่วยบำบัดเด็กพิเศษ ที่อำเภอพุนพิน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กิจกรรมอาชาบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ หนุ่มน้อยราฆพ นวลใย ตั้งปณิธานว่า หลังเรียนจบมัธยม จะเรียนทางด้านการเกษตร แต่ต้องคิดอยู่นานว่าจะเรียนต่อที่ไหนดี เช่นที่เกษตรไสใหญ่ แม่โจ้ และบางพระ แต่สุดท้ายเขาเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ เหตุผลนั้นได้รับคำอธิบายว่า หากเลือกเรียนที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย(มทร.ศรีวิชัย) วิทยาเขตทุ่งใหญ่หรือไสใหญ่ เขาบอกว่าใกล้บ้านเกินไป โอกาสที่จะพบปะเพื่อนฝูงที่แปลกและแตกต่างออกไปมีน้อย ครั้นจะเรียนที่แม่โจ้ก็ต้องเดินทางไกล ทางเลือกสุดท้ายคือที่บางพระราฆพหรือติน เรียนจบทางด้านสัตวบาลเมื่อปี 2549 ขณะที่เข้าเรียนใหม่ๆ เขาก็เหมือนนักศึกษาทั่วไป ที่ไม่อยากลำบาก ตากแดดกรำฝน เขาตั้งใจว่า หลังเรียนจบจะทำงานในบริษัทชื่อดัง หรือไม่ก็สอบเข้าทำงานราชการ จินตนาการเขามีตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน จนอยู่ชั้นปีที่ 2 ครั้นขึ้นสู่ปีที่ 3 แนวคิดเขาเปลี่ยนไป พื้นฐานทางครอบครัวคุณติน พ่อเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มีที่ดินมากกว่า 50 ไร่ เขามีพี่น้อง 3 คนไม่มีใครใช้ประโยชน์จากที่ดินจึงต้องลงมือทำเอง หลังเรียนจบ คุณตินทำกิจกรรมการเกษตรอยู่บ้านเกิด คือเลขที่ 10 หมู่ 3 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130 คนเริ่มรู้จักกิจกรรมที่เกษตรกรหนุ่มรายนี้ทำมากขึ้นเรื่อยๆในนาม "ชมทัศน์ฟาร์ม" "ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องมาทำกิจการส่วนตัว ที่ไปเรียนหนังสือ เรียนจบจะหางานราชการ งานบริษัท ที่บ้านมีที่ดินกว่า 50 ไร่ นอกจากนี้มีที่สวน ที่นาจำนวนหนึ่ง ไปเรียนตอนแรกไม่คิดทำ พอดีพ่ออายุมาก ไม่มีคนทำ ผมเลยบอกว่าผมเรียนจบผมจะมาอยู่บ้าน ดูแลให้พ่อ พี่น้องมี 3 คน ตอนนั้นเขายังเรียนอยู่ครับ ที่บริเวณนี้ 50 ไร่ พ่อเป็นข้าราชการกรมส่งเสริมการเกษตร ตอนเรียนผมทฤษฏีไม่ค่อยชำนาญ ปฏิบัติใช้ได้ เรียน 4 ปี ผมอยู่ปี 3 มีความคิดกลับมาอยู่บ้าน ไม่ได้สมัครงาน เจอหนังสือการเลี้ยงกวาง คุยกับแม่ ลงไปหาข้อมูลเพิ่ม มาทำงานเลย ตอนแรกตั้งใจเลี้ยงวัวขุน แต่ช่วงปี 2550 ราคาวัวไม่ดี เจอกวาง แฟนเป็นคนราชบุรี ไปราชบุรีบ่อย เจอฟาร์มกวาง ได้ข้อมูลดี คนเลี้ยงน้อย ความต้องการมากตัดสินใจเลี้ยงกวาง ครั้งแรกลงทุน 5 แสนบาท ทั้งรั้วและพันธุ์ เงินกู้ธกส. อีกส่วนหนึ่งพ่อแม่ให้" บัณฑิตหนุ่มเล่าถึงจุดเริ่มต้น นายราฆพ นวลใย เจ้าของ "ชมทัศน์ฟาร์ม" คุณตินเลี้ยงกวางพันธุ์รูซ่า ซึ่งเดิมเป็นของอินโดนีเซีย แต่ออสเตรเลียเขานำไปปรับปรุงพันธุ์ จุดเด่นของกวางพันธุ์รูซ่าคือปรับตัวได้ในสภาพอากาศอย่างไทย "ผมเลี้ยงเอาเขา เนื้อก็ได้ จะได้ทั้งเขาและเนื้อ กวางรูซ่าโตเต็มที่ ตัวผู้น้ำหนัก 100 กิโลกรัม อายุ 4 ปี ตัวเมียน้ำหนัก 60-70 กิโลกรัม เขาตัดได้ทุกปี ตัดจากตัวผู้ได้น้ำหนัก 1.5 กิโลกรัมต่อตัว ขายให้สหกรณ์ กิโลกรัมละ 6,000 บาท กวางออกลูกปีละตัว ท้อง 8 เดือน เนื้อได้ล้วนๆ 30 กิโลกรัม ไม่รวมกระดูกและอย่างอื่น ขายราคาไม่เท่ากัน แล้วแต่ชิ้นเนื้อ มีตั้งแต่กิโลกรัมละ 300-1,500 บาท รวมมูลค่าต่อตัว เฉพาะเนื้อหมื่นบาทเศษ...ตอนนี้ของผมมี 50 ตัว ผมเคยมีมากถึง 100 ตัว น้ำท่วมตายไปเกือบ 20 ตัว มาปีนี้ คนที่สนใจหันมาเลี้ยง เขามาซื้อแต่ก็หยุดขาย เมืองไทยคนเลี้ยงกวางโดยสังกัดสหกรณ์ 90-100 ราย จำนวนกว่า 2,000-3,000 ตัว ที่ตั้งสหกรณ์ อยู่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน"คุณตินเล่าถึงการเลี้ยงกวาง มีโอกาสขยาย ท้องถิ่นสนใจ ถามคุณตินว่า มีโอกาสขยายงานเลี้ยงกวางให้มากๆ ไหม "มีครับ ท้องถิ่นสนใจ แต่มีข้อจำกัดเพราะทุนสูง พันธุ์ ตาข่ายม้วนละ 2 หมื่นบาท ต้องมีบริเวณให้ คนที่อยากเลี้ยงเพื่อสวยงาม 2 ตัว ไม่มีคอกจัดการตัดเขาไม่ได้...จริงๆ แล้วต้องเลี้ยง 5 แม่ขึ้นไป...โรงเรือนไม่ต้องยกพื้นสูง มีของผมยกพื้นสูง ที่ยกเพราะว่าน้ำท่วม จริงๆ มีเพิงหมาแหงนธรรมดาก็ได้ ค่าพันธุ์ตัวละ 8,000 บาท อายุ 1 ปี การผสมพันธุ์มีผสมเทียมแต่ผมไม่มีผสมเทียม ผมใส่พ่อพันธุ์ 2 ตัวแยก 2 ฝูง มีแม่อยู่ประมาณ 30 แม่ แบ่งเป็น 2 ฝูง ใช้พ่อพันธุ์สลับกันระหว่างฝูงที่ 1 และ 2 ป้องกันการผสมเลือดชิด จัดการดีๆพ่อแม่พันธุ์อยู่ได้ 10 ปี"คุณตินบอก เจ้าของฟาร์มกวางเล่าว่า กวางตัดเขาอยู่ได้ 10 ปี หากตัวไหนเขาเล็กไม่ได้ขนาดไม่คุ้ม ก็นำไปเป็นกวางเนื้ออาหารหลักคือหญ้า มีอาหารเสริมคือกากปาล์ม หรือเนื้อในปาล์ม ซื้อมาจากโรงงาน กิโลกรัมละ 7 บาท อย่างอื่นไม่มี ช่วงแรกมีมันเส้น เมื่อมันเส้นไม่มีไม่ใช้ วัตถุดิบหาในท้องถิ่น หากเป็นอิสานก็อีกอย่างหนึ่ง ตอนนี้คุณตินใช้กากปาล์มผสมกับอาหารสำเร็จรูปของวัวขุน ให้กินไม่เกินครึ่งกิโลกรัมต่อตัวต่อวัน หญ้าวันหนึ่ง กินประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักตัว งานป้องกันโรค...เจ้าของทำวัคซีน 2 ชนิด คือ โรคปากเท้าเปื่อยและโรคคอบวม ทำวัคซีนปีละ 2 ครั้ง เจ้าของยืนยันว่า โดยรวมกวางมีกำไร ตั้งแต่เลี้ยงมาขายไปร่วม 50 ตัวๆละ 8 พันบาท-หมื่นบาท หากวางท้อง 1.8 หมื่นบาทต่อตัว เขาปีที่แล้วขายได้ราว 20 กิโลกรัม จากตัวผู้ 10 ตัว...ตัวเมียไม่มีเขา สนใจเลี้ยงต้องศึกษา ถามว่า...คนสนใจเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม จำนวนไม่มากนัก ทำได้ไหม คุณตินตอบว่า" ได้...แต่ต้องจัดการเรื่องรั้ว ทำคอกก่อน คนมาซื้อ ผมแนะนำซื้ออุปกรณ์ให้ ความยาวรั้ว 100 เมตร ความสูง 1.90 เมตร ม้วนละ 1.8 หมื่นบาท รั้วใช้อย่างอื่นแทนไม่แนะนำ รั้วไฟฟ้าไม่แนะนำ รั้วลวดหนามมีปัญหา เขาตกใจจะพุ่งอย่างเดียวไม่กลัว...ปัญหาเรื่องขโมยที่บ้านไม่มีเป็นญาติพี่น้องกันหมด คนดูแลมีม้าและกวางดูแล 3 คน...จะเลี้ยงปล่อยทุ่งแบบโคนมไม่มี ไปเที่ยวต้อนแบบแพะไม่มี ที่สุราษฎร์มีฟาร์มกวางหลายฟาร์ม... เขตฝนชุกการรักษาสุขภาพสัตว์ เขาปรับสภาพได้เพราะว่าเป็นสัตว์ป่า ที่ยกพื้นโรงเรือนเพราะฝนมากจนท่วมกวางตาย เงินหายไปขาดทุน... เลี้ยง 3-4 ตัว ตัดเขาได้แต่ต้องมีโรงเรือน แต่ไม่ค่อยเห็นทำเพราะว่าต้องสร้างโรงหนีบตัดเขาสร้างราคา 3-4 หมื่นบาท โรงหนีบเป็นช่างของสหกรณ์" เจ้าของอธิบายว่า การตัดเขานั้น กวางผลัดเขาเดือนกรกฎาคม จากนั้นจึงงอกไปตัดได้ราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เขากวางอ่อนนำไปเป็นอาหารเสริม แปรรูปเป็นแค๊ปซูล ส่วนหนึ่งเอาไปดองสุรา"...จะขยายเพิ่ม ผมสร้างเครือข่ายจะทยอยพันธุ์ออกไป ตอนนี้ต้องรีบเพิ่ม พื้นที่เลี้ยงไม่ต้องมาก 2-3 ไร่ก็เลี้ยงได้"บัณฑิตหนุ่มจากเกษตรบางพระให้ข้อมูล ทดลองเลี้ยงม้า แต่สร้างประโยชน์ใหญ่หลวง ในชมทัศน์ฟาร์ม มีม้าสวยๆ ล้วนแล้วแต่สุขภาพแข็งแรงอยู่กว่า 10 ตัว เดิมทีเจ้าของเลี้ยงเพราะชอบเป็นการส่วนตัว ไม่นึกว่าจะทำประโยชน์ในวงกว้าง เจ้าของชมทัศน์ฟาร์มพูดถึงงานเลี้ยงม้าว่า "ผมเริ่มเลี้ยงด้วยใจรัก มีกว่า 10 ตัว ตอนแรกเลี้ยงไว้ขี่เล่น ซื้อมา 2-3 ตัว เริ่มชอบผมซื้อลูกผสมม้าไทยมา ไม่ได้คิดว่าจะให้ขี่ ผมไปออกบู๊ทที่อำเภอพุนพิน เขามีงานที่อำเภอเกี่ยวกับกวาง มีหมอมาถามว่า...มีอะไรบ้าง...ผมบอกมีสัตว์เกือบทุกชนิดยังขาดช้าง...ม้าวัวควายมีครบ...เขาถามว่าม้าขี่ได้ไหม...ผมบอกว่าขี่ได้... เขาบอกว่าเป็นหมออยู่จิตเวชเด็ก มีเด็กออทิสติกหรือเด็กพิเศษที่ต้องการการดูแลจากพ่อแม่และแพทย์เป็นพิเศษ เพื่อช่วยกันส่งเสริมพัฒนาการให้เขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่ง และสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ...หมอพยายามหาม้าให้ขี่ในภาคใต้ ปกติต้องรอปิดเทอมแล้วพาไปขี่ที่พัทยา จังหวัดชลบุรี อยู่ไกลมาก ผมไม่หวงให้ขี่ได้ เขามาผมก็พาขี่ ผมยังไม่มีความรู้เรื่องเด็กออทิสติก แฟนผมโทร.ไปหาเพื่อน ดูในเน็ตว่าทำอย่างไรบ้าง จากนั้นผมให้ขี่ เขาให้เงินเป็นค่าตอบแทน ผมไม่รับ เพราะเห็นใจ แต่ปรากฏว่าเขาเกรงใจไม่กล้ามาขี่ ... เขาบอกให้เก็บเงิน ผมมาดูว่าเขาเก็บเท่าไหร่ ดูแล้วเขาเก็บครั้งละ 800-1,000 บาท ดูแล้วแพงไป ผมคิด 500 บาท ในจำนวน 500 บาท ให้ค่าคนจูงม้า คนประคองเด็ก ที่เหลือซื้ออาหารให้ม้า ให้เขาเลี้ยงตัวเองได้" เจ้าของชมทัศน์ฟาร์มบอกว่า ตนเองไม่ตั้งใจทำอย่างนี้ แต่ก็มีคนมาขี่ เด็กออทิสติกมาขี่ไม่เกิน 3 ครั้งต่ออาทิตย์ ที่นี่มาตามใบนัด ใครว่างวันจันทร์มาวันจันทร์ ที่มาประจำรวม 20 คน เด็กออทิสติกขี่ในพื้นที่จำกัดให้...ให้มีพัฒนาก่อน เพราะเด็กมาครั้งแรกไม่ยอมขึ้นม้า โวยวาย บางคนสมาธิสั้นมาก บางคนก้าวร้าวก็เอาลง ม้า 1 ตัวมีคนประคองเด็ก 1 คนมีคนจูงอีก 1 คน ถามว่า เด็กมาขี่ม้าดีขึ้นไหม "พัฒนาการ...ผมฟังจากผู้ปรกครอง บางคนมาครั้งแรกโวยวาย ไม่ยอม แต่ลองให้นั่งแล้วดีขึ้น บางคนก่อนขี่ม้า นั่งรถไม่นิ่ง พอมาขี่ม้านั่งรถนิ่งขึ้น มีเด็กอยู่คนหนึ่ง กลัวขนเงาะขนตุ๊กตา เขาจะไม่จับเลย แม่พามาขี่ม้า ...ม้ามีขนแรกๆไม่เอาเลย พยายามให้เขาลูบม้า

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...