หมอชี้คลั่งกินคลีนอันตราย เสี่ยง"ร่างกาย"ไม่แข็งแรง

แสดงความคิดเห็น

เมนูอาหารคลีน

แพทย์จิตเวชชี้ โรคคลั่งกินคลีนยังไม่จัดอยู่ในข่ายคนเป็นโรคจิตเวชแค่ย้ำคิดย้ำทำระบุอันตรายถ้าถึงขั้นที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ในสภาวะปัจจุบันที่คนหันมานิยมกินอาหารคลีนกันมาก จะเห็นได้จากตามเพจหรือเวปไซต์ต่าง ๆ จะมีการประกาศขายเมนูอาหารคลีนกันอย่างหลากหลาย จนกลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะหมู่สังคมคนทำงาน ดารา และคนในแวดวงไฮไซ และดูท่าว่าจะติดเทรนด์คนรุ่นใหม่ที่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น

แต่ที่น่าเป็นห่วงนั่นก็คือบางรายเกิดสภาวะความเข้มงวดในการกิน โดยเฉพาะการคลั่งกินคลีน ที่บางคนคิดว่าอาหารที่ตัวเองกินจะต้องมีความสะอาดเท่านั้น จนอาการดังกล่าวกลายเป็นภาวะที่เรียกว่า “โรคคลั่งกินคลีน” โดยได้มีการสอบถามกับแพทย์ที่มีความรู้ด้านนี้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตได้มาไขปัญหา และพิษภัยของโรคดังกล่าวว่าโรคนี้เกิดจากอะไร และมีพิษภัยกับผู้ที่เป็นโรคชนิดดังกล่าวหรือไม่

โดยแพทญ์หญิงนฤมล จินพัฒนากิจ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลศรีธัญญา เปิดเผยกับ “เดลินิวส์ออนไลน์”ว่า โรคนี้เรียกว่าโรค “Orthorexia nervosa” ซึ่งถ้าถามว่ากินคลีนแค่ไหนถึงจะเป็นภาวะคลั่งกินคลีน หมอก็ต้องขอตอบว่า พฤติกรรมกินคลีน หรือการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ยังไม่ได้ถือว่าเป็นโรคตามเกณฑ์ของ DSM-5(เกณฑ์การวินิจฉัยโรคตามหลักสากลของจิตแพทย์ทั่วโลก) แต่จะเรียกว่าภาวะ Orthorexia nervosa ซึ่งคำนี้ถูกบัญญัติขึ้นโดยนายแพทย์ชาวแคนาดาชื่อ Steven Bratman ในปี 1996 ภาวะนี้พิจารณาจากเกณฑ์ A และเกณฑ์ B ดังนี้เกณฑ์ A ความย้ำคิด เน้นที่การกินอาหารเพื่อสุขภาพ ที่อธิบายได้จากทฤษฎีอาหารหรือกลุ่มของความเชื่อ ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่จะเด่นชัดที่ปัญหาด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมากในการเลือกอาหารที่มองว่าไม่ดีต่อสุขภาพ จนกระทั่งทำให้เกิดน้ำหนักลดลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม การมีสุขภาพดีในอุดมคติก็ยังคงเป็นเป้าหมายเบื้องต้น

ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำเกี่ยวกับการเข้มงวดกับการรับประทานอาหาร ซึ่งหมายรวมถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ด้วยนั้น ถูกเชื่อว่าจะทำให้มีสุขภาพที่ดี 2.ถ้าทำไม่ได้ตามกฎของการรับประทานอาหารที่วางเอาไว้ จะกลัวเป็นโรค รู้สึกว่าตัวเองแปดเปื้อน หรือรู้สึกต่อร่างกายในทางลบ อันเนื่องมาจากความกังวลและรู้สึกละอาย 3.การจำกัดอาหารเป็นเวลานาน อาจทำให้ลดจำนวนกลุ่มของอาหารลง และทำให้เกิดการล้างพิษบ่อยมากขึ้นเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์และลดสารพิษ การเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้มักทำให้น้ำหนักลดลง โดยที่ไม่ได้ต้องการลดน้ำหนัก หรือความคิดอยากลดน้ำหนักอาจถูกซ่อนอยู่ใต้ความคิดเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ

แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์ B พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำก่อให้เกิดความเสียหาย ดังต่อไปนี้ 1.ภาวะทุโภชนาการ น้ำหนักลดลงอย่างรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมจากการจำกัดอาหาร 2.มีความตึงเครียดหรือเสียหน้าที่ทางสังคม การเรียน อาชีพ ที่เป็นผลมาจากความเชื่อหรือพฤติหรรมเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ 3.การมองร่างกายในแง่บวก ความมีคุณค่าในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเอง และความพึงพอใจ ขึ้นกับพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพมากเกินไป

ส่วนถ้าเป็นภาวะนี้จะเป็นอันตรายหรือไม่นั้น แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า เป็นอันตราย ถ้าเป็นถึงขั้นที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง เกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตไม่มีความสุข อย่างไรก็ตามภาวะนี้จัดอยู่ในข่ายโรคจิตเวช หรือไม่ยังไม่ได้ถือว่าเป็นโรคตามเกณฑ์ของ DSM-5(เกณฑ์การวินิจฉัยโรคตามหลักสากลของจิตแพทย์ทั่วโลก)

เมื่อถามว่า ภาวะนี้มีความเหมือนหรือต่างกับโรค Anorexia nervosa หรือไม่ แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า ภาวะ Orthorexia nervosa ต่างจากโรค Anorexia nervosa ตรงที่โรค Anorexia nervosa จะหมกมุ่นเกี่ยวกับความผอม ส่วนภาวะ Orthorexia nervosa จะหมกมุ่นเกี่ยวกับการกินเพื่อสุขภาพ

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/regional/500626 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มิ.ย.59
วันที่โพสต์: 8/06/2559 เวลา 09:55:37 ดูภาพสไลด์โชว์ หมอชี้คลั่งกินคลีนอันตราย เสี่ยง"ร่างกาย"ไม่แข็งแรง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เมนูอาหารคลีน แพทย์จิตเวชชี้ โรคคลั่งกินคลีนยังไม่จัดอยู่ในข่ายคนเป็นโรคจิตเวชแค่ย้ำคิดย้ำทำระบุอันตรายถ้าถึงขั้นที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ในสภาวะปัจจุบันที่คนหันมานิยมกินอาหารคลีนกันมาก จะเห็นได้จากตามเพจหรือเวปไซต์ต่าง ๆ จะมีการประกาศขายเมนูอาหารคลีนกันอย่างหลากหลาย จนกลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะหมู่สังคมคนทำงาน ดารา และคนในแวดวงไฮไซ และดูท่าว่าจะติดเทรนด์คนรุ่นใหม่ที่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น แต่ที่น่าเป็นห่วงนั่นก็คือบางรายเกิดสภาวะความเข้มงวดในการกิน โดยเฉพาะการคลั่งกินคลีน ที่บางคนคิดว่าอาหารที่ตัวเองกินจะต้องมีความสะอาดเท่านั้น จนอาการดังกล่าวกลายเป็นภาวะที่เรียกว่า “โรคคลั่งกินคลีน” โดยได้มีการสอบถามกับแพทย์ที่มีความรู้ด้านนี้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตได้มาไขปัญหา และพิษภัยของโรคดังกล่าวว่าโรคนี้เกิดจากอะไร และมีพิษภัยกับผู้ที่เป็นโรคชนิดดังกล่าวหรือไม่ โดยแพทญ์หญิงนฤมล จินพัฒนากิจ นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลศรีธัญญา เปิดเผยกับ “เดลินิวส์ออนไลน์”ว่า โรคนี้เรียกว่าโรค “Orthorexia nervosa” ซึ่งถ้าถามว่ากินคลีนแค่ไหนถึงจะเป็นภาวะคลั่งกินคลีน หมอก็ต้องขอตอบว่า พฤติกรรมกินคลีน หรือการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ยังไม่ได้ถือว่าเป็นโรคตามเกณฑ์ของ DSM-5(เกณฑ์การวินิจฉัยโรคตามหลักสากลของจิตแพทย์ทั่วโลก) แต่จะเรียกว่าภาวะ Orthorexia nervosa ซึ่งคำนี้ถูกบัญญัติขึ้นโดยนายแพทย์ชาวแคนาดาชื่อ Steven Bratman ในปี 1996 ภาวะนี้พิจารณาจากเกณฑ์ A และเกณฑ์ B ดังนี้เกณฑ์ A ความย้ำคิด เน้นที่การกินอาหารเพื่อสุขภาพ ที่อธิบายได้จากทฤษฎีอาหารหรือกลุ่มของความเชื่อ ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่จะเด่นชัดที่ปัญหาด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมากในการเลือกอาหารที่มองว่าไม่ดีต่อสุขภาพ จนกระทั่งทำให้เกิดน้ำหนักลดลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม การมีสุขภาพดีในอุดมคติก็ยังคงเป็นเป้าหมายเบื้องต้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1.พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำเกี่ยวกับการเข้มงวดกับการรับประทานอาหาร ซึ่งหมายรวมถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ด้วยนั้น ถูกเชื่อว่าจะทำให้มีสุขภาพที่ดี 2.ถ้าทำไม่ได้ตามกฎของการรับประทานอาหารที่วางเอาไว้ จะกลัวเป็นโรค รู้สึกว่าตัวเองแปดเปื้อน หรือรู้สึกต่อร่างกายในทางลบ อันเนื่องมาจากความกังวลและรู้สึกละอาย 3.การจำกัดอาหารเป็นเวลานาน อาจทำให้ลดจำนวนกลุ่มของอาหารลง และทำให้เกิดการล้างพิษบ่อยมากขึ้นเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์และลดสารพิษ การเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้มักทำให้น้ำหนักลดลง โดยที่ไม่ได้ต้องการลดน้ำหนัก หรือความคิดอยากลดน้ำหนักอาจถูกซ่อนอยู่ใต้ความคิดเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์ B พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำก่อให้เกิดความเสียหาย ดังต่อไปนี้ 1.ภาวะทุโภชนาการ น้ำหนักลดลงอย่างรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมจากการจำกัดอาหาร 2.มีความตึงเครียดหรือเสียหน้าที่ทางสังคม การเรียน อาชีพ ที่เป็นผลมาจากความเชื่อหรือพฤติหรรมเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ 3.การมองร่างกายในแง่บวก ความมีคุณค่าในตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเอง และความพึงพอใจ ขึ้นกับพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพมากเกินไป ส่วนถ้าเป็นภาวะนี้จะเป็นอันตรายหรือไม่นั้น แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า เป็นอันตราย ถ้าเป็นถึงขั้นที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง เกิดโรคแทรกซ้อน ชีวิตไม่มีความสุข อย่างไรก็ตามภาวะนี้จัดอยู่ในข่ายโรคจิตเวช หรือไม่ยังไม่ได้ถือว่าเป็นโรคตามเกณฑ์ของ DSM-5(เกณฑ์การวินิจฉัยโรคตามหลักสากลของจิตแพทย์ทั่วโลก) เมื่อถามว่า ภาวะนี้มีความเหมือนหรือต่างกับโรค Anorexia nervosa หรือไม่ แพทย์หญิงนฤมล กล่าวว่า ภาวะ Orthorexia nervosa ต่างจากโรค Anorexia nervosa ตรงที่โรค Anorexia nervosa จะหมกมุ่นเกี่ยวกับความผอม ส่วนภาวะ Orthorexia nervosa จะหมกมุ่นเกี่ยวกับการกินเพื่อสุขภาพ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/regional/500626

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...