ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยกลัวการไปโรงเรียน

แสดงความคิดเห็น

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยกลัวการไปโรงเรียน

เปิดเทอมแล้วอย่างเป็นทางการ หลายครอบครัวอาจจะประสบปัญหาเจ้าตัวเล็กงอแง งัดสารพัดเหตุผลเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปโรงเรียน บางคนถึงกับจับไข้ ตัวร้อนกันเลยทีเดียว จากกรณีที่เกิดขึ้น นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต บอกว่า อาการเป็นไข้ต่ำ ๆ ตัวร้อน ท้องเสีย นั้นไม่ใช่เรื่องที่เด็ก ๆ จะแกล้งทำได้ แต่เกิดจากการที่เด็กมีความวิตกกังวลมากเกินไปจนส่งผลกระทบกับสุขภาพ อาการเหล่านี้เรียกว่า “โรคกลัวโรงเรียน”

ทั้งนี้โรคกลัวโรงเรียน มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กที่เพิ่งเริ่มเข้าโรงเรียนในปีแรก หรือหลังจากเปิดเทอมใหม่ เพราะช่วงระหว่างปิดเทอมนั้นเด็ก ๆ ได้อยู่ร่วมกับพ่อ แม่ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันมาตลอด นั่นคือความผูกพัน พอถึงช่วงใกล้เปิดเทอมจะมีภาวะ “กลัวการแยกจาก” “พ่อ แม่ อย่าไปกดดันลูก โดยเฉพาะช่วงกลางคืนไม่ควรไปพูดกับลูกว่าพรุ่งนี้จะไปโรงเรียนแล้วนะ อย่างนั้น อย่างนี้ เพราะจะเป็นการกดดัน เพิ่มความเครียดให้เด็ก ๆ บางคนวิตกกังวลมากจนนอนไม่หลับ ตื่นเช้ามาจะงอแง หรือ มีอาการไข้ต่ำ ๆ ท้องเสีย อาเจียนได้” อีกภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกลัวการไปโรงเรียนคือ “กลัวการถูกกลั่นแกล้ง” ทั้งจากคำพูดและการกระทำ เด็กที่ถูกกลั่นแกล้งกลัวและไม่อยากไปโรงเรียน

อย่างไรก็ตามในทางจิตเวชมองว่าทั้งตัว เด็กที่ชอบแกล้งคนอื่น และเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งถือเป็นผู้ที่มีปัญหาต้องได้รับการบำบัดทั้งสิ้น เพราะลึก ๆ แล้วคนที่แกล้งคนอื่นมักพบว่ามีปัญหาครอบครัว นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า โรคกลัวการไปโรงเรียนมักจะเป็นอยู่ในช่วง 1 เดือนแรกหลังจากที่มีการเปิดเทอม ซึ่งเป็นช่วงที่พ่อแม่ต้องใจแข็ง ไม่ว่าเด็กจะแสดงอาการอย่างไรก็ต้องให้ไปโรงเรียนให้ได้ อย่าใจอ่อนโดยการให้หยุดเรียน 2-3 วัน วันต่อไปยิ่งกังวล หรือร้ายไปกว่านั้นจะส่งผลให้อนาคตเด็กขาดเรียน หรือโดดเรียนบ่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม การพาลูกไปโรงเรียนให้ได้นั้นไม่แนะนำให้ใช้วิธีการ “หลอก” เพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่ถูกจุด ในทางตรงกันข้าม จะทำให้เด็กยิ่งมีความกังวล และขาดความไว้เนื้อเชื่อใจคนอื่น ดังนั้น ต้องพาไปให้ได้ พอส่งถึงมือครูก็อย่าพิรี้พิไร การกอด หอม ยิ่งทำให้เด็กไม่อยากแยกจาก ไม่ต้องไปอุ้มเพราะจะทำให้เด็กเกาะแน่นเป็นลูกลิง พอส่งถึงมือครูแล้วให้ตัดใจหันหลังเดินออกมาทันที “พ่อแม่ต้องพาลูกไปโรงเรียนให้ได้ แล้วปล่อยให้โรงเรียนเป็นตัวบำบัด การได้เจอเพื่อน ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ จะทำให้เด็กเลิกกลัวการไปโรงเรียนเอง เราต้องแก้ปัญหาให้ถูกจุดไม่อย่างนั้นจากเรื่องเล็กๆจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง” นพ.ยงยุทธระบุในตอนท้าย.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/398887 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 พ.ค.59
วันที่โพสต์: 24/05/2559 เวลา 09:40:51 ดูภาพสไลด์โชว์ ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยกลัวการไปโรงเรียน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยกลัวการไปโรงเรียน เปิดเทอมแล้วอย่างเป็นทางการ หลายครอบครัวอาจจะประสบปัญหาเจ้าตัวเล็กงอแง งัดสารพัดเหตุผลเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปโรงเรียน บางคนถึงกับจับไข้ ตัวร้อนกันเลยทีเดียว จากกรณีที่เกิดขึ้น นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต บอกว่า อาการเป็นไข้ต่ำ ๆ ตัวร้อน ท้องเสีย นั้นไม่ใช่เรื่องที่เด็ก ๆ จะแกล้งทำได้ แต่เกิดจากการที่เด็กมีความวิตกกังวลมากเกินไปจนส่งผลกระทบกับสุขภาพ อาการเหล่านี้เรียกว่า “โรคกลัวโรงเรียน” ทั้งนี้โรคกลัวโรงเรียน มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็กที่เพิ่งเริ่มเข้าโรงเรียนในปีแรก หรือหลังจากเปิดเทอมใหม่ เพราะช่วงระหว่างปิดเทอมนั้นเด็ก ๆ ได้อยู่ร่วมกับพ่อ แม่ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันมาตลอด นั่นคือความผูกพัน พอถึงช่วงใกล้เปิดเทอมจะมีภาวะ “กลัวการแยกจาก” “พ่อ แม่ อย่าไปกดดันลูก โดยเฉพาะช่วงกลางคืนไม่ควรไปพูดกับลูกว่าพรุ่งนี้จะไปโรงเรียนแล้วนะ อย่างนั้น อย่างนี้ เพราะจะเป็นการกดดัน เพิ่มความเครียดให้เด็ก ๆ บางคนวิตกกังวลมากจนนอนไม่หลับ ตื่นเช้ามาจะงอแง หรือ มีอาการไข้ต่ำ ๆ ท้องเสีย อาเจียนได้” อีกภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกลัวการไปโรงเรียนคือ “กลัวการถูกกลั่นแกล้ง” ทั้งจากคำพูดและการกระทำ เด็กที่ถูกกลั่นแกล้งกลัวและไม่อยากไปโรงเรียน อย่างไรก็ตามในทางจิตเวชมองว่าทั้งตัว เด็กที่ชอบแกล้งคนอื่น และเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งถือเป็นผู้ที่มีปัญหาต้องได้รับการบำบัดทั้งสิ้น เพราะลึก ๆ แล้วคนที่แกล้งคนอื่นมักพบว่ามีปัญหาครอบครัว นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า โรคกลัวการไปโรงเรียนมักจะเป็นอยู่ในช่วง 1 เดือนแรกหลังจากที่มีการเปิดเทอม ซึ่งเป็นช่วงที่พ่อแม่ต้องใจแข็ง ไม่ว่าเด็กจะแสดงอาการอย่างไรก็ต้องให้ไปโรงเรียนให้ได้ อย่าใจอ่อนโดยการให้หยุดเรียน 2-3 วัน วันต่อไปยิ่งกังวล หรือร้ายไปกว่านั้นจะส่งผลให้อนาคตเด็กขาดเรียน หรือโดดเรียนบ่อย ๆ อย่างไรก็ตาม การพาลูกไปโรงเรียนให้ได้นั้นไม่แนะนำให้ใช้วิธีการ “หลอก” เพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่ถูกจุด ในทางตรงกันข้าม จะทำให้เด็กยิ่งมีความกังวล และขาดความไว้เนื้อเชื่อใจคนอื่น ดังนั้น ต้องพาไปให้ได้ พอส่งถึงมือครูก็อย่าพิรี้พิไร การกอด หอม ยิ่งทำให้เด็กไม่อยากแยกจาก ไม่ต้องไปอุ้มเพราะจะทำให้เด็กเกาะแน่นเป็นลูกลิง พอส่งถึงมือครูแล้วให้ตัดใจหันหลังเดินออกมาทันที “พ่อแม่ต้องพาลูกไปโรงเรียนให้ได้ แล้วปล่อยให้โรงเรียนเป็นตัวบำบัด การได้เจอเพื่อน ได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ จะทำให้เด็กเลิกกลัวการไปโรงเรียนเอง เราต้องแก้ปัญหาให้ถูกจุดไม่อย่างนั้นจากเรื่องเล็กๆจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง” นพ.ยงยุทธระบุในตอนท้าย. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/398887

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...