โรงเรียนสอนภาษามือเปิดโลกใบใหม่ให้คนหูหนวกเขมร

แสดงความคิดเห็น

โรงเรียนสอนภาษามือเปิดโลกใบใหม่ให้คนหูหนวกเขมร

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2556 นักเรียนหูหนวกกำลังฝึกงานในร้านตัดผม ในกรุงพนมเปญ กัมพูชาเริ่มมีภาษามือเป็นของตัวเองในช่วงปลายทศวรรษ 1990 โดยบาทหลวงชาวอเมริกันที่เริ่มต้นพัฒนาภาษามือเวอร์ชั่นเขมรด้วยความช่วย เหลือจากนักภาษาศาสตร์และนักวิจัย.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.

เอเอฟพี - ร้านทำผมแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา เมื่อคุณเดินเข้าไปกลับพบแต่ความเงียบไร้เสียงพูดคุยอย่างที่ควรจะเป็น เพราะร้านทำผมแห่งนี้ ช่างทำผมทุกคนเป็นคนหูหนวก ช่างทำผมเหล่านี้เรียนจบเพียงแค่หลักสูตรการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หูหนวกในกัมพูชา ประเทศที่คนที่มีปัญหาการได้ยินส่วนใหญ่ไม่เคยมีโอกาสได้เรียนรู้ภาษามือ

"ผมไม่ได้ติดต่อพูดคุยกับคนนอกครอบครัว มันเหมือนกับติดอยู่ในคุก ผมติดอยู่ในนั้น ไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่มีเงิน ไม่มีความรู้" เอือน ดารง ช่างตัดผมฝึกหัด อายุ 27 ปี อธิบายด้วยภาษามือเขมร

กัมพูชาเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีภาษามือของตัวเอง จนกระทั่งช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นผลมาจากการทำงานของ ชาร์ลี ดิตต์มายเออร์ บาทหลวงชาวอเมริกัน ที่ริเริ่มพัฒนาภาษามือในแบบฉบับของกัมพูชาด้วยความช่วยเหลือจากนัก ภาษาศาสตร์และนักวิจัยต่างชาติ หลังจากดิตต์มายเออร์เดินทางมาทำหน้าที่ในกัมพูชาเมื่อ 13 ปีก่อน

ชา ร์ลี ดิตต์มายเออร์ (ซ้าย) ใช้ภาษามือสื่อสารกับนักเรียนหูหนวกชาวกัมพูชา ในห้องเรียน ในกรุงพนมเปญ.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy. "คนที่มาเรียนกับเราอายุมีทั้งอายุ 25 ปี 30 ปี 35 ปี พวกเขาไม่เคยเรียนหนังสือในโรงเรียนมาก่อนเลยในชีวิต ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีภาษา" ดิตต์มายเออร์ กล่าว

โครงการพัฒนาคนหูหนวก (DDP) ของดิตต์มายเออร์ เป็นหนึ่งใน 2 โครงการ ที่ให้การศึกษาแก่ผู้มีปัญหาการได้ยินในกัมพูชา โดยอีกโครงการหนึ่งนั้นเป็นโครงการสำหรับเด็ก

นักเรียนหูหนวกประมาณ 30 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป จะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี ที่ศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ โดยจะเรียนเกี่ยวกับภาษามือ การเขียน อ่าน และทักษะชีวิตอื่นๆ และในปีที่ 3 จะเป็นช่วงของการฝึกงานเช่น ที่ร้านทำผม ที่นักเรียนจะได้รับคำแนะนำด้วยภาษามือเกี่ยวกับวิธีตัดผม โกนหนวด และทำความสะอาดหู

บรรยากาศการสอนภาษามือภายในห้องเรียน ที่ศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy. คนหูหนวกจำนวนมากใช้ชีวิตทำงานอยู่ในทุ่งนาหรือเลี้ยงสัตว์ ไม่มีใครสอนคนเหล่านี้ถึงวิธีการใช้ภาษามือ "ผมอยู่เพียงลำพัง มันเป็นชีวิตที่น่าเศร้า ผมไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้เลย ไม่สามารถที่จะพูดคุยกับครอบครัวของตัวเองได้" ดารง ที่ครั้งหนึ่งเคยคิดว่าตัวเองเป็นคนหูหนวกเพียงคนเดียวในโลก กล่าว

ดารง เกิดมาในครอบครัวเกษตรกร ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ดารงเป็นเพียงคนเดียวที่ไม่ได้เรียนหนังสือ

"ผมถูกทิ้งให้อยู่บ้าน เลี้ยงวัว ตกปลา และทำงานในสวน ขณะที่พวกเขาออกไปเรียนวิธีอ่านเขียน" ดารงกล่าว

ส่วนนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียนคนหูหนวกแห่งเดียวกันนี้ ก็มีประสบการณ์ชีวิตที่เลวร้าย เช่น นักเรียนคู่หนึ่งถูกช่วยออกมาจากศูนย์บำบัดแห่งหนึ่งของประเทศ ที่ดิตต์มายเออร์ อธิบายว่า ไม่มีทักษะทางสังคมใดๆ ไม่รู้แม้กระทั่ง วิธีอาบน้ำ

"เรากำลังพยายามที่จะให้พวกเขาเปิดรับความคิดใหม่ๆ หลังจากนั้นพวกเขาก็จะเริ่มพัฒนาภาษามือ เรามีหน้าที่บันทึกภาษามือเหล่านั้น เราวาดมัน ตรวจสอบ และใส่ลงไปในหนังสือและพจนานุกรม" ดิตต์มายเออร์กล่าว

"เมื่อพวกเขาเริ่มต้องการที่จะพูดคุยในประเด็นใหม่ พวกเขาก็จะพัฒนารูปแบบภาษามือใหม่ๆ ขึ้นมา ภาษามือพวกนี้ไม่ควรมาจากคนที่ฟังพูดได้ แต่มันควรมาจากคนหูหนวกด้วยกัน และเมื่อนั้น ชีวิตพวกเขาก็จะเปิดกว้างออกไป ภาษามือของพวกเขาก็เติบโตขยายตามไปด้วย โลกของพวกเขาก็จะกว้างขึ้นอีก"

นักเรียนหูหนวกเหล่านี้จะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรภายในศูนย์ 2 ปี ที่ประกอบไปด้วยการเรียนภาษามือ เขียน อ่าน และทักษะชีวิตต่างๆ ก่อนออกไปฝึกงานอีก 1 ปี.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.

นักเรียนหูหนวกเหล่านี้จะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรภายในศูนย์ 2 ปี ที่ประกอบไปด้วยการเรียนภาษามือ เขียน อ่าน และทักษะชีวิตต่างๆ ก่อนออกไปฝึกงานอีก 1 ปี.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy.

ทั่วทั้งประเทศคาดว่ามีคนหูหนวกมากกว่า 5,000 คน และแค่เพียงเศษเสี้ยวเท่านั้นที่ได้เรียนภาษามือ และสำหรับผู้ที่รู้ภาษามือ ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป

"ฉันสามารถสื่อสารได้แล้วในตอนนี้ ผู้คนเลิกที่จะเพิกเฉยหรือเลือกปฏิบัติกับฉัน ไม่เหมือนเวลาที่อยู่บ้านหรือที่หมู่บ้าน" เค็ง นัธ นักเรียนอายุ 23 ปี กล่าว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในกัมพูชาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากที่อื่น ซึ่งผู้อำนวยการด้านสิทธิผู้พิการ ของฮิวแมนไรท์วอช กล่าวว่า ในทั่วโลก เด็กและคนหนุ่มสาวที่หูหนวกมักไม่ได้รับการศึกษา รวมทั้งภาษามือ แต่ภาษามือนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนหูหนวกเพื่อที่จะสามารถสื่อ สารแสดงออกและเรียนรู้

สมาพันธ์คนหูหนวกโลก (WDF) ได้รณรงค์การเข้าถึงการศึกษาที่ดียิ่งขึ้นสำหรับคนหูหนวกกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดครูผู้ฝึกสอนภาษามือที่ได้รับ การฝึกอบรมมาอย่างดี และในหลายๆ ประเทศ คุณภาพการศึกษาสำหรับคนหูหนวกยังอยู่ในระดับต่ำ และอัตราการไม่รู้หนังสืออยู่ในระดับสูง

สิ่งแรกที่นักเรียนต้องทำเมื่อเข้ามายังศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ คือ เลือกชื่อภาษามือของตัวเองอันเป็นก้าวสำคัญในการทิ้งชีวิตโดดเดี่ยวไว้เบื้องหลัง

"ผมได้พบกับคนหูหนวกมากมายที่นี่ และตอนนี้เราเป็นเพื่อนกัน ผมไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไปแล้ว" ดารง กล่าว

ขอบคุณ... http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000003904 (ขนาดไฟล์: 185)

( ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ม.ค.57 )

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 12/01/2557 เวลา 02:21:57 ดูภาพสไลด์โชว์ โรงเรียนสอนภาษามือเปิดโลกใบใหม่ให้คนหูหนวกเขมร

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โรงเรียนสอนภาษามือเปิดโลกใบใหม่ให้คนหูหนวกเขมร ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2556 นักเรียนหูหนวกกำลังฝึกงานในร้านตัดผม ในกรุงพนมเปญ กัมพูชาเริ่มมีภาษามือเป็นของตัวเองในช่วงปลายทศวรรษ 1990 โดยบาทหลวงชาวอเมริกันที่เริ่มต้นพัฒนาภาษามือเวอร์ชั่นเขมรด้วยความช่วย เหลือจากนักภาษาศาสตร์และนักวิจัย.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy. เอเอฟพี - ร้านทำผมแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา เมื่อคุณเดินเข้าไปกลับพบแต่ความเงียบไร้เสียงพูดคุยอย่างที่ควรจะเป็น เพราะร้านทำผมแห่งนี้ ช่างทำผมทุกคนเป็นคนหูหนวก ช่างทำผมเหล่านี้เรียนจบเพียงแค่หลักสูตรการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หูหนวกในกัมพูชา ประเทศที่คนที่มีปัญหาการได้ยินส่วนใหญ่ไม่เคยมีโอกาสได้เรียนรู้ภาษามือ "ผมไม่ได้ติดต่อพูดคุยกับคนนอกครอบครัว มันเหมือนกับติดอยู่ในคุก ผมติดอยู่ในนั้น ไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่มีเงิน ไม่มีความรู้" เอือน ดารง ช่างตัดผมฝึกหัด อายุ 27 ปี อธิบายด้วยภาษามือเขมร กัมพูชาเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ไม่มีภาษามือของตัวเอง จนกระทั่งช่วงปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นผลมาจากการทำงานของ ชาร์ลี ดิตต์มายเออร์ บาทหลวงชาวอเมริกัน ที่ริเริ่มพัฒนาภาษามือในแบบฉบับของกัมพูชาด้วยความช่วยเหลือจากนัก ภาษาศาสตร์และนักวิจัยต่างชาติ หลังจากดิตต์มายเออร์เดินทางมาทำหน้าที่ในกัมพูชาเมื่อ 13 ปีก่อน ชา ร์ลี ดิตต์มายเออร์ (ซ้าย) ใช้ภาษามือสื่อสารกับนักเรียนหูหนวกชาวกัมพูชา ในห้องเรียน ในกรุงพนมเปญ.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy. "คนที่มาเรียนกับเราอายุมีทั้งอายุ 25 ปี 30 ปี 35 ปี พวกเขาไม่เคยเรียนหนังสือในโรงเรียนมาก่อนเลยในชีวิต ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีภาษา" ดิตต์มายเออร์ กล่าว โครงการพัฒนาคนหูหนวก (DDP) ของดิตต์มายเออร์ เป็นหนึ่งใน 2 โครงการ ที่ให้การศึกษาแก่ผู้มีปัญหาการได้ยินในกัมพูชา โดยอีกโครงการหนึ่งนั้นเป็นโครงการสำหรับเด็ก นักเรียนหูหนวกประมาณ 30 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป จะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรเป็นเวลา 2 ปี ที่ศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ โดยจะเรียนเกี่ยวกับภาษามือ การเขียน อ่าน และทักษะชีวิตอื่นๆ และในปีที่ 3 จะเป็นช่วงของการฝึกงานเช่น ที่ร้านทำผม ที่นักเรียนจะได้รับคำแนะนำด้วยภาษามือเกี่ยวกับวิธีตัดผม โกนหนวด และทำความสะอาดหู บรรยากาศการสอนภาษามือภายในห้องเรียน ที่ศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy. คนหูหนวกจำนวนมากใช้ชีวิตทำงานอยู่ในทุ่งนาหรือเลี้ยงสัตว์ ไม่มีใครสอนคนเหล่านี้ถึงวิธีการใช้ภาษามือ "ผมอยู่เพียงลำพัง มันเป็นชีวิตที่น่าเศร้า ผมไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้เลย ไม่สามารถที่จะพูดคุยกับครอบครัวของตัวเองได้" ดารง ที่ครั้งหนึ่งเคยคิดว่าตัวเองเป็นคนหูหนวกเพียงคนเดียวในโลก กล่าว ดารง เกิดมาในครอบครัวเกษตรกร ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 8 คน ดารงเป็นเพียงคนเดียวที่ไม่ได้เรียนหนังสือ "ผมถูกทิ้งให้อยู่บ้าน เลี้ยงวัว ตกปลา และทำงานในสวน ขณะที่พวกเขาออกไปเรียนวิธีอ่านเขียน" ดารงกล่าว ส่วนนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียนคนหูหนวกแห่งเดียวกันนี้ ก็มีประสบการณ์ชีวิตที่เลวร้าย เช่น นักเรียนคู่หนึ่งถูกช่วยออกมาจากศูนย์บำบัดแห่งหนึ่งของประเทศ ที่ดิตต์มายเออร์ อธิบายว่า ไม่มีทักษะทางสังคมใดๆ ไม่รู้แม้กระทั่ง วิธีอาบน้ำ "เรากำลังพยายามที่จะให้พวกเขาเปิดรับความคิดใหม่ๆ หลังจากนั้นพวกเขาก็จะเริ่มพัฒนาภาษามือ เรามีหน้าที่บันทึกภาษามือเหล่านั้น เราวาดมัน ตรวจสอบ และใส่ลงไปในหนังสือและพจนานุกรม" ดิตต์มายเออร์กล่าว "เมื่อพวกเขาเริ่มต้องการที่จะพูดคุยในประเด็นใหม่ พวกเขาก็จะพัฒนารูปแบบภาษามือใหม่ๆ ขึ้นมา ภาษามือพวกนี้ไม่ควรมาจากคนที่ฟังพูดได้ แต่มันควรมาจากคนหูหนวกด้วยกัน และเมื่อนั้น ชีวิตพวกเขาก็จะเปิดกว้างออกไป ภาษามือของพวกเขาก็เติบโตขยายตามไปด้วย โลกของพวกเขาก็จะกว้างขึ้นอีก" นักเรียนหูหนวกเหล่านี้จะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรภายในศูนย์ 2 ปี ที่ประกอบไปด้วยการเรียนภาษามือ เขียน อ่าน และทักษะชีวิตต่างๆ ก่อนออกไปฝึกงานอีก 1 ปี.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy. นักเรียนหูหนวกเหล่านี้จะใช้เวลาเรียนตามหลักสูตรภายในศูนย์ 2 ปี ที่ประกอบไปด้วยการเรียนภาษามือ เขียน อ่าน และทักษะชีวิตต่างๆ ก่อนออกไปฝึกงานอีก 1 ปี.--Agence France-Presse/Tang Chhin Sothy. ทั่วทั้งประเทศคาดว่ามีคนหูหนวกมากกว่า 5,000 คน และแค่เพียงเศษเสี้ยวเท่านั้นที่ได้เรียนภาษามือ และสำหรับผู้ที่รู้ภาษามือ ชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป "ฉันสามารถสื่อสารได้แล้วในตอนนี้ ผู้คนเลิกที่จะเพิกเฉยหรือเลือกปฏิบัติกับฉัน ไม่เหมือนเวลาที่อยู่บ้านหรือที่หมู่บ้าน" เค็ง นัธ นักเรียนอายุ 23 ปี กล่าว อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในกัมพูชาก็ไม่ได้แตกต่างไปจากที่อื่น ซึ่งผู้อำนวยการด้านสิทธิผู้พิการ ของฮิวแมนไรท์วอช กล่าวว่า ในทั่วโลก เด็กและคนหนุ่มสาวที่หูหนวกมักไม่ได้รับการศึกษา รวมทั้งภาษามือ แต่ภาษามือนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนหูหนวกเพื่อที่จะสามารถสื่อ สารแสดงออกและเรียนรู้ สมาพันธ์คนหูหนวกโลก (WDF) ได้รณรงค์การเข้าถึงการศึกษาที่ดียิ่งขึ้นสำหรับคนหูหนวกกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดครูผู้ฝึกสอนภาษามือที่ได้รับ การฝึกอบรมมาอย่างดี และในหลายๆ ประเทศ คุณภาพการศึกษาสำหรับคนหูหนวกยังอยู่ในระดับต่ำ และอัตราการไม่รู้หนังสืออยู่ในระดับสูง สิ่งแรกที่นักเรียนต้องทำเมื่อเข้ามายังศูนย์ DDP ในกรุงพนมเปญ คือ เลือกชื่อภาษามือของตัวเองอันเป็นก้าวสำคัญในการทิ้งชีวิตโดดเดี่ยวไว้เบื้องหลัง "ผมได้พบกับคนหูหนวกมากมายที่นี่ และตอนนี้เราเป็นเพื่อนกัน ผมไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไปแล้ว" ดารง กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000003904 ( ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 ม.ค.57 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...