พลังการเดินมวลมหาประชาชน (ยัง)ไม่ชนะยิ่งลักษณ์..แต่'เอาอยู่'สุขภาพ

แสดงความคิดเห็น

ทั้งเดินใกล้เดินไกล นั่งอยู่กับที่ และยุทธศาสตร์การแสดงออกอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมวลมหาประชาชนได้ออกมาแสดงพลังครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อต่อต้านระบอบทักษิณและขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปประเทศไทยนั้น วันนี้อาจจะยังไม่สามารถเอาชนะรัฐบาลได้อย่างเด็ดขาดก็ตาม แต่การเดินขบวนทุกครั้งนั้นก็มีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ นั่นคือ เอาชนะสุขภาพได้โดยผลการศึกษาของนักวิจัย มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ที่ทำการศึกษาผู้ใหญ่จำนวน 9,306 คน พบว่าการเดิน 2,000 สเต็ปช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี และการเดินระยะไกลในทุกวันๆ ตลอดทั้งปีจะสามารถลดอาการหัวใจวายและความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 8% โดยการเดินด้วยฝีเท้าปานกลางต่อวัน 20 นาทีจะเทียบเท่ากับการออกกำลังกาย และหากเดิน 40 นาทีต่อวันสามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ถึง 20% และผู้ที่ทำกิจกรรมมากๆ จะมีความเสี่ยงที่ต่ำในการเกิดโรค

การเดินด้วยความเร็วปานกลาง 20 นาที เทียบเท่าได้กับการออกกำลังกาย จากการศึกษาในวารสารการแพทย์แลนเซต กล่าวว่า ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากการเดิน 2000 ก้าว มากกว่าการทำกิจกรรมปกติ โดยเฉพาะหากเดิน 4,000 ก้าว ในเวลา 40 นาที เพิ่มเติมจากการเดินในชีวิตประจำวัน ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของ ดร.โทมัส เยตส์ ของหน่วยวิจัยโรคเบาหวานของมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ที่กล่าวว่า "การเดิน 4,000 ก้าวต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยประมาณร้อยละ 16-20% ซึ่งเทียบเท่ากับการใช้ยา แต่การใช้ยาก็มีผลข้างเคียงและช่วยเพียงแค่ลดคอเลสเตอรอลเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามการเดินให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า" ดร.โทมัส เยตส์ เผย

จากผลการวิจัยครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เพียงเปลี่ยนระดับการออกกำลังกาย แค่เพิ่มกิจกรรมทางกายเข้าไปก็สามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่สำคัญการจะออกกำลังให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ก็ต้องอยู่ที่ระดับ น้ำหนักตัว และการเลือกกิจกรรมที่จะทำ

โดยผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และจากข้อมูลของโปรแกรมป้องกันรักษาโรคพบว่า ประชากรทั่วโลกมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ดร.ริชาร์ด เอลเลียต นักวิจัยและการสื่อสารโรคเบาหวานขององค์กรการกุศลแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า การศึกษานี้จะเพิ่มความสำคัญว่า การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและ โรคหัวใจ ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงง่ายๆ แค่การเดินในแต่ละวันเพิ่มขึ้น 20 นาทีก็ส่งผลเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

จูลี วอร์ด พยาบาลอาวุโสแผนกโรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจประเทศอังกฤษ กล่าวว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก และจะช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะพวกเขามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากกว่าคนปกติทั่วไป

"เราทุกคนควรมีการตั้งเป้าหมายสำหรับเวลาเพียง 150 นาทีของแต่ละสัปดาห์ ในการออกกำลังกายระดับปานกลาง แค่กิจกรรมที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น หายใจหนักขึ้น และทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ถ้าทำ 150 นาทีแล้วรู้สึกหนักเกินไป ก็สามารถแบ่งเวลาการออกกำลังกายหรือเดินด้วยความเร็วปานกลางในช่วงพักกลาง วันประมาณ 20 นาทีตามความพอใจ" จูลี่ วอร์ด กล่าว

ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การเดินถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน การเดิน 1 ชั่วโมง จะเทียบเท่าการเผาผลาญการกินข้าว 1 มื้อ 1 จานที่ไม่มีไขมันมาก ดังนั้นการเดินครึ่งชั่วโมง เท่ากับผลาญข้าวครึ่งจาน ทำให้ไม่อ้วน แต่การเดินเร็วให้เหนื่อยจะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อ ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ปอดทำงานดีขึ้น และยังช่วยทำให้การทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินลดลงนั้น พบว่าการออกกำลังกายหรือการเดินอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้อินซูลินทำงานดีขึ้น ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้ดีขึ้น ลดอาการหลอดเลือดแข็งตัว อันหมายถึงสามารถควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้นนั่นเอง

ในบ้านเรามีการเดินม็อบแสดงพลังต่อต้านรัฐบาล อย่างต่ำก็ 2 กิโลเมตร ก็ช่วยเรื่องการเผาผลาญพลังงาน หากต้องการลดโรคขอแนะนำว่าควรเดินเร็วๆ ก้าวเท้าถี่ๆ แกว่งแขนแรงๆ เพราะการเดินเร็วจะเป็นการกระตุ้นร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดให้ทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าภาวะปกติในชีวิต ประจำวัน เป็นเสมือนการฝึกให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง

สิ่งสำคัญก็คือเดินแล้วต้องรู้สึกเหนื่อย ไม่ใช่เดินช้าๆ นอกจากความรู้สึกเหนื่อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งคือความต่อเนื่องของการเดิน ไม่ใช่เดินๆ หยุดๆ ควรเดินต่อเนื่องนาน 30 นาที หรือการเดินขึ้นบันไดทุกวัน วันละ 3 ชั้น เดินขึ้นจากชั้น 1 ถึงชั้น 4 ลงจากชั้น 4 ถึงชั้น 1 แต่ในผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลามากนัก อาจแบ่งเดินเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงละประมาณ 10-15 นาทีก็อาจกระทำได้เช่นกัน

สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ควรเริ่มจากน้อยๆ ก่อน เช่น เดิน 5 นาที และค่อยๆ เพิ่มเวลาให้มากขึ้น ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียได้ถ้าร่างกายไม่พร้อมออกกำลังกาย ส่วนการเป่านกหวีดนั้นไม่ได้ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น แต่ข้อควรระวังอย่างยิ่งหากได้รับเสียงดังของนกหวีดเป็นเวลานานๆ อาจทำให้หูตึง คือ อาการหูหนวก ผู้ที่ไปชุมชุมควรสวมเครื่องป้องกันอันตรายจากเสียงที่ได้ยิน อย่างน้อย ประโยชน์ข้างเคียงจากการเดินขบวนครั้ง นี้ ก็ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ร่างกาย. ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1810008

www.ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57

ที่มา: www.ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 7/01/2557 เวลา 04:41:30

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทั้งเดินใกล้เดินไกล นั่งอยู่กับที่ และยุทธศาสตร์การแสดงออกอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมวลมหาประชาชนได้ออกมาแสดงพลังครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อต่อต้านระบอบทักษิณและขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปประเทศไทยนั้น วันนี้อาจจะยังไม่สามารถเอาชนะรัฐบาลได้อย่างเด็ดขาดก็ตาม แต่การเดินขบวนทุกครั้งนั้นก็มีอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ นั่นคือ เอาชนะสุขภาพได้โดยผลการศึกษาของนักวิจัย มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ที่ทำการศึกษาผู้ใหญ่จำนวน 9,306 คน พบว่าการเดิน 2,000 สเต็ปช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี และการเดินระยะไกลในทุกวันๆ ตลอดทั้งปีจะสามารถลดอาการหัวใจวายและความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 8% โดยการเดินด้วยฝีเท้าปานกลางต่อวัน 20 นาทีจะเทียบเท่ากับการออกกำลังกาย และหากเดิน 40 นาทีต่อวันสามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ถึง 20% และผู้ที่ทำกิจกรรมมากๆ จะมีความเสี่ยงที่ต่ำในการเกิดโรค การเดินด้วยความเร็วปานกลาง 20 นาที เทียบเท่าได้กับการออกกำลังกาย จากการศึกษาในวารสารการแพทย์แลนเซต กล่าวว่า ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากการเดิน 2000 ก้าว มากกว่าการทำกิจกรรมปกติ โดยเฉพาะหากเดิน 4,000 ก้าว ในเวลา 40 นาที เพิ่มเติมจากการเดินในชีวิตประจำวัน ซึ่งตรงกับผลการศึกษาของ ดร.โทมัส เยตส์ ของหน่วยวิจัยโรคเบาหวานของมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ที่กล่าวว่า "การเดิน 4,000 ก้าวต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยประมาณร้อยละ 16-20% ซึ่งเทียบเท่ากับการใช้ยา แต่การใช้ยาก็มีผลข้างเคียงและช่วยเพียงแค่ลดคอเลสเตอรอลเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามการเดินให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า" ดร.โทมัส เยตส์ เผย จากผลการวิจัยครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เพียงเปลี่ยนระดับการออกกำลังกาย แค่เพิ่มกิจกรรมทางกายเข้าไปก็สามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่สำคัญการจะออกกำลังให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ก็ต้องอยู่ที่ระดับ น้ำหนักตัว และการเลือกกิจกรรมที่จะทำ โดยผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และจากข้อมูลของโปรแกรมป้องกันรักษาโรคพบว่า ประชากรทั่วโลกมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ดร.ริชาร์ด เอลเลียต นักวิจัยและการสื่อสารโรคเบาหวานขององค์กรการกุศลแห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า การศึกษานี้จะเพิ่มความสำคัญว่า การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและ โรคหัวใจ ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงง่ายๆ แค่การเดินในแต่ละวันเพิ่มขึ้น 20 นาทีก็ส่งผลเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ จูลี วอร์ด พยาบาลอาวุโสแผนกโรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจประเทศอังกฤษ กล่าวว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก และจะช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะพวกเขามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมากกว่าคนปกติทั่วไป "เราทุกคนควรมีการตั้งเป้าหมายสำหรับเวลาเพียง 150 นาทีของแต่ละสัปดาห์ ในการออกกำลังกายระดับปานกลาง แค่กิจกรรมที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น หายใจหนักขึ้น และทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ถ้าทำ 150 นาทีแล้วรู้สึกหนักเกินไป ก็สามารถแบ่งเวลาการออกกำลังกายหรือเดินด้วยความเร็วปานกลางในช่วงพักกลาง วันประมาณ 20 นาทีตามความพอใจ" จูลี่ วอร์ด กล่าว ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การเดินถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน การเดิน 1 ชั่วโมง จะเทียบเท่าการเผาผลาญการกินข้าว 1 มื้อ 1 จานที่ไม่มีไขมันมาก ดังนั้นการเดินครึ่งชั่วโมง เท่ากับผลาญข้าวครึ่งจาน ทำให้ไม่อ้วน แต่การเดินเร็วให้เหนื่อยจะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อ ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น ปอดทำงานดีขึ้น และยังช่วยทำให้การทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินลดลงนั้น พบว่าการออกกำลังกายหรือการเดินอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้อินซูลินทำงานดีขึ้น ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้ดีขึ้น ลดอาการหลอดเลือดแข็งตัว อันหมายถึงสามารถควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้นนั่นเอง ในบ้านเรามีการเดินม็อบแสดงพลังต่อต้านรัฐบาล อย่างต่ำก็ 2 กิโลเมตร ก็ช่วยเรื่องการเผาผลาญพลังงาน หากต้องการลดโรคขอแนะนำว่าควรเดินเร็วๆ ก้าวเท้าถี่ๆ แกว่งแขนแรงๆ เพราะการเดินเร็วจะเป็นการกระตุ้นร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดให้ทำงานเพิ่มมากขึ้นกว่าภาวะปกติในชีวิต ประจำวัน เป็นเสมือนการฝึกให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง สิ่งสำคัญก็คือเดินแล้วต้องรู้สึกเหนื่อย ไม่ใช่เดินช้าๆ นอกจากความรู้สึกเหนื่อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งคือความต่อเนื่องของการเดิน ไม่ใช่เดินๆ หยุดๆ ควรเดินต่อเนื่องนาน 30 นาที หรือการเดินขึ้นบันไดทุกวัน วันละ 3 ชั้น เดินขึ้นจากชั้น 1 ถึงชั้น 4 ลงจากชั้น 4 ถึงชั้น 1 แต่ในผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลามากนัก อาจแบ่งเดินเป็น 2 ช่วงเวลา ช่วงละประมาณ 10-15 นาทีก็อาจกระทำได้เช่นกัน สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ควรเริ่มจากน้อยๆ ก่อน เช่น เดิน 5 นาที และค่อยๆ เพิ่มเวลาให้มากขึ้น ค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียได้ถ้าร่างกายไม่พร้อมออกกำลังกาย ส่วนการเป่านกหวีดนั้นไม่ได้ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น แต่ข้อควรระวังอย่างยิ่งหากได้รับเสียงดังของนกหวีดเป็นเวลานานๆ อาจทำให้หูตึง คือ อาการหูหนวก ผู้ที่ไปชุมชุมควรสวมเครื่องป้องกันอันตรายจากเสียงที่ได้ยิน อย่างน้อย ประโยชน์ข้างเคียงจากการเดินขบวนครั้ง นี้ ก็ยังส่งผลดีต่อสุขภาพ ร่างกาย. ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1810008 www.ryt9.com ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...