ชง ป.ป.ช.ชุดใหญ่เปิดปมทุจริตซื้อรถเมล์ NGV

แสดงความคิดเห็น

รถเมล์ NGV

อนุ ป.ป.ช.ชงชุดใหญ่พิจารณา TOR รถเมล์ NGV ส่อทุจริต หมกความเห็น ป.ป.ช.ไม่เผยแพร่ต่อสาธารณะ แสดงความไม่โปร่งใสเร่งรีบเปิดประมูล ห่วงเป็นต้นแบบประมูลโครงการ 2 ล้านล้านฉบับโกงเบ็ดเสร็จ “อู่ต่อรถเอกชน” แฉสุดเอื้อประโยชน์เอกชน

นายไพโรจน์ วงศ์วิภานันน์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวังโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า หลังจากมีการประกาศร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลงเว็บไซต์ อนุกรรมการ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขที่กำหนดพร้อมแสดงความคิดเห็นในหลาย ประเด็นที่เห็นว่าเข้าข่ายไม่เป็นธรรมในการเสนอราคาและคุณสมบัติที่อาจกระทบ ความปลอดภัยในการให้บริการ โดยได้ส่งความเห็นและข้อเสนอแนะไปยังคณะกรรมการร่าง TOR แต่ไม่มีการปรับปรุงเงื่อนไขอีกทั้งไม่มีการนำความเห็นดังกล่าวเผยแพร่เพื่อ ให้สังคมได้รับทราบอีกด้วย

ทั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า ขสมก.มีพฤติกรรมไม่โปร่งใสและเร่งรีบในการดำเนินโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ซึ่งภายในสัปดาห์หน้าจะเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสของโครงการเข้าสู่ที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะต่อไป รวมถึงตีความข้อกฎหมาย ป.ป.ช.เรื่องราคากลางและวิธีคิดราคากลางโครงการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งแม้จะเน้น เรื่องงานก่อสร้างแต่การจัดซื้อรถเมล์สามารถเปิดเผยและกำหนดที่มาราคากลาง อย่างละเอียดได้เพราะไม่ได้นำเข้ารถสำเร็จรูป ซึ่งราคากลางที่ ขสมก.ไม่มีรายละเอียดที่มาของราคาขัดเจตนาและวัตถุประสงค์ของระเบียบการ กำหนดราคากลางของ ป.ป.ช.

ชายวัยกลางคนกำลังหอบเงินจำนวนมาก โดยการประกาศร่างทีโออาร์รถเมล์ NGV ครั้งที่ 3 แสดงถึงความเร่งรีบเพื่อเปิดประมูลทั้งที่มีข้อท้วงติงมากมายไม่ได้รับการชี้แจงและแก้ไข ซึ่ง ขสมก.ควรแสดงความจริงใจด้วยการจัดประชุมหรือเปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็น ครั้งใหญ่เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ขณะที่การดึงองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้ามาร่วมตรวจสอบก็ไม่ได้ลงรายละเอียดเชิงลึก และจะทำให้โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลายเป็นต้นแบบของการทุจริตที่ยากต่อการตรวจสอบ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจะใช้เป็นโครงการนำร่องของโครงการใน พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมาก

“ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการว่า ถ้าอยากได้โครงการนี้ต้องจ่าย ซึ่งไม่อยากกล่าวหาแต่ไม่อยากให้มีการโกงกันมากจนเกินไป ซึ่งหลายข้อเสนอแนะจะทำให้ประหยัดงบลง เช่น ให้มีขนาดรถทั้ง 10 เมตร และ 12 เมตร เพราะรถ 10 เมตรราคาจะถูกกว่ารถ 12 เมตรหลายแสนบาทต่อคัน หรือทยอยประมูลทีละสัญญาจากที่กำหนดประมูลพร้อมกันทั้ง 8 สัญญา ทำให้ฮั้วราคายาก เป็นต้น “นายไพโรจน์กล่าว

ด้านนายอรุณ ลีธนาโชค ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ธนบุรี บัส บอดี้ จำกัด กล่าวว่า ร่างเงื่อนไขการจัดซื้อรถเมล์ NGV ที่ ขสมก.ประกาศผ่านเว็บไซต์ ขสมก.และเว็บไซต์กรมบัญชีกลางครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 กันยายน-3 ตุลาคมยังมีปัญหาหลายข้อ เช่น คุณลักษณะของรถโดยสารข้อ 3.2.1 ระบุว่าภาชนะต้องบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดได้ไม่น้อยกว่า 900 ลิตร ดังนั้น พื้นห้องโดยสารจะต้องอยู่สูงจากผิวถนนประมาณ 70 ซม. และสูงกว่าฟุตปาธ 50 ซม. ซึ่งกรณีที่มีทางลาดสำหรับรถคนพิการ (Wheelchair) ทางลาดต้องมีความชันไม่เกินกว่า 1 ต่อ 8 พื้นที่ไม่พอติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซต้องไปติดบนหลังคาแทนเพราะรูปแบบของตัว ถังรถต้องเป็น LOW FLOOR ไม่มีบันไดขั้นที่ 2 ซึ่งขัดแย้งกับข้อกำหนด 10.2.2 ที่ให้ติดตั้งถังก๊าซใต้ท้องรถ ถือเป็นความเลินเล่อ สะเพร่า และไม่ใส่ใจในการกำหนด TOR

รถเมล์ NGV

ส่วนการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของโครงแชสซีส์ ข้อ 2.3 ไม่รัดกุมเปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้ยื่นเสนอราคาที่มีโรงงานประกอบแชสซีส์ทำการดัดแปลงแชสซีส์รถบรรทุกมาเป็นแชสซีส์รถโดยสารเฉพาะกิจสำหรับ โครงการนี้ได้ โดยอ้างอิงการออกแบบให้เป็นแชสซีส์รถโดยสารและมีมาตรฐานตามที่กรมการขนส่ง ทางบก (ขบ.) กำหนดและจะต้องได้รับอนุญาตหรือความเห็นชอบให้เป็นแชสซีส์รถโดยสารจาก ขบ. ซึ่งมีตัวอย่างในการนำเอาแชสซีส์สองเพลาใช้แล้วจากต่างประเทศ (เชียงกง) มาตัดต่อดัดแปลงเพิ่มเพลาอีกเส้นเป็นแชสซีส์สามเพลา เพื่อใช้ประกอบตัวถังรถยนต์โดยสารสองชั้น ซึ่งรายละเอียดเรื่องความแข็งแรงและปลอดภัยของแชสซีส์นั้นลำพัง ขบ.คงทำเองไม่ได้ ต้องอาศัยสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น สวทช.ที่มีซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย และต้องยอมรับว่าข้อกำหนดมาตรฐานของ ขบ.ค่อนข้างล้าสมัย ควรกำหนดเงื่อนไขว่าต้องเป็นแชสซีส์รถยนต์โดยสารเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) ที่เคยมีผลงานใช้มาแล้วทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ จะเหมาะสมและเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการใช้บริการในอนาคตของคนกรุงเทพฯ

ขอบคุณ http://paidoo.net/article/17502121.html

(ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56 )

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 13/10/2556 เวลา 01:21:09 ดูภาพสไลด์โชว์ ชง ป.ป.ช.ชุดใหญ่เปิดปมทุจริตซื้อรถเมล์ NGV

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รถเมล์ NGV อนุ ป.ป.ช.ชงชุดใหญ่พิจารณา TOR รถเมล์ NGV ส่อทุจริต หมกความเห็น ป.ป.ช.ไม่เผยแพร่ต่อสาธารณะ แสดงความไม่โปร่งใสเร่งรีบเปิดประมูล ห่วงเป็นต้นแบบประมูลโครงการ 2 ล้านล้านฉบับโกงเบ็ดเสร็จ “อู่ต่อรถเอกชน” แฉสุดเอื้อประโยชน์เอกชน นายไพโรจน์ วงศ์วิภานันน์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชุดศึกษาเฝ้าระวังโครงการจัดซื้อรถโดยสารใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,162.2 ล้านบาท ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า หลังจากมีการประกาศร่างเอกสารประกวดราคา (TOR) โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลงเว็บไซต์ อนุกรรมการ ป.ป.ช.ได้ตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขที่กำหนดพร้อมแสดงความคิดเห็นในหลาย ประเด็นที่เห็นว่าเข้าข่ายไม่เป็นธรรมในการเสนอราคาและคุณสมบัติที่อาจกระทบ ความปลอดภัยในการให้บริการ โดยได้ส่งความเห็นและข้อเสนอแนะไปยังคณะกรรมการร่าง TOR แต่ไม่มีการปรับปรุงเงื่อนไขอีกทั้งไม่มีการนำความเห็นดังกล่าวเผยแพร่เพื่อ ให้สังคมได้รับทราบอีกด้วย ทั้งนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า ขสมก.มีพฤติกรรมไม่โปร่งใสและเร่งรีบในการดำเนินโครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ซึ่งภายในสัปดาห์หน้าจะเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสของโครงการเข้าสู่ที่ประชุม ป.ป.ช.ชุดใหญ่พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะต่อไป รวมถึงตีความข้อกฎหมาย ป.ป.ช.เรื่องราคากลางและวิธีคิดราคากลางโครงการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งแม้จะเน้น เรื่องงานก่อสร้างแต่การจัดซื้อรถเมล์สามารถเปิดเผยและกำหนดที่มาราคากลาง อย่างละเอียดได้เพราะไม่ได้นำเข้ารถสำเร็จรูป ซึ่งราคากลางที่ ขสมก.ไม่มีรายละเอียดที่มาของราคาขัดเจตนาและวัตถุประสงค์ของระเบียบการ กำหนดราคากลางของ ป.ป.ช. ชายวัยกลางคนกำลังหอบเงินจำนวนมาก โดยการประกาศร่างทีโออาร์รถเมล์ NGV ครั้งที่ 3 แสดงถึงความเร่งรีบเพื่อเปิดประมูลทั้งที่มีข้อท้วงติงมากมายไม่ได้รับการชี้แจงและแก้ไข ซึ่ง ขสมก.ควรแสดงความจริงใจด้วยการจัดประชุมหรือเปิดเวทีให้แสดงความคิดเห็น ครั้งใหญ่เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ขณะที่การดึงองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้ามาร่วมตรวจสอบก็ไม่ได้ลงรายละเอียดเชิงลึก และจะทำให้โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV ลายเป็นต้นแบบของการทุจริตที่ยากต่อการตรวจสอบ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจะใช้เป็นโครงการนำร่องของโครงการใน พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท ก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมาก “ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการว่า ถ้าอยากได้โครงการนี้ต้องจ่าย ซึ่งไม่อยากกล่าวหาแต่ไม่อยากให้มีการโกงกันมากจนเกินไป ซึ่งหลายข้อเสนอแนะจะทำให้ประหยัดงบลง เช่น ให้มีขนาดรถทั้ง 10 เมตร และ 12 เมตร เพราะรถ 10 เมตรราคาจะถูกกว่ารถ 12 เมตรหลายแสนบาทต่อคัน หรือทยอยประมูลทีละสัญญาจากที่กำหนดประมูลพร้อมกันทั้ง 8 สัญญา ทำให้ฮั้วราคายาก เป็นต้น “นายไพโรจน์กล่าว ด้านนายอรุณ ลีธนาโชค ผู้จัดการโรงงาน บริษัท ธนบุรี บัส บอดี้ จำกัด กล่าวว่า ร่างเงื่อนไขการจัดซื้อรถเมล์ NGV ที่ ขสมก.ประกาศผ่านเว็บไซต์ ขสมก.และเว็บไซต์กรมบัญชีกลางครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 30 กันยายน-3 ตุลาคมยังมีปัญหาหลายข้อ เช่น คุณลักษณะของรถโดยสารข้อ 3.2.1 ระบุว่าภาชนะต้องบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดได้ไม่น้อยกว่า 900 ลิตร ดังนั้น พื้นห้องโดยสารจะต้องอยู่สูงจากผิวถนนประมาณ 70 ซม. และสูงกว่าฟุตปาธ 50 ซม. ซึ่งกรณีที่มีทางลาดสำหรับรถคนพิการ (Wheelchair) ทางลาดต้องมีความชันไม่เกินกว่า 1 ต่อ 8 พื้นที่ไม่พอติดตั้งภาชนะบรรจุก๊าซต้องไปติดบนหลังคาแทนเพราะรูปแบบของตัว ถังรถต้องเป็น LOW FLOOR ไม่มีบันไดขั้นที่ 2 ซึ่งขัดแย้งกับข้อกำหนด 10.2.2 ที่ให้ติดตั้งถังก๊าซใต้ท้องรถ ถือเป็นความเลินเล่อ สะเพร่า และไม่ใส่ใจในการกำหนด TOR รถเมล์ NGV ส่วนการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของโครงแชสซีส์ ข้อ 2.3 ไม่รัดกุมเปิดช่องเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้ยื่นเสนอราคาที่มีโรงงานประกอบแชสซีส์ทำการดัดแปลงแชสซีส์รถบรรทุกมาเป็นแชสซีส์รถโดยสารเฉพาะกิจสำหรับ โครงการนี้ได้ โดยอ้างอิงการออกแบบให้เป็นแชสซีส์รถโดยสารและมีมาตรฐานตามที่กรมการขนส่ง ทางบก (ขบ.) กำหนดและจะต้องได้รับอนุญาตหรือความเห็นชอบให้เป็นแชสซีส์รถโดยสารจาก ขบ. ซึ่งมีตัวอย่างในการนำเอาแชสซีส์สองเพลาใช้แล้วจากต่างประเทศ (เชียงกง) มาตัดต่อดัดแปลงเพิ่มเพลาอีกเส้นเป็นแชสซีส์สามเพลา เพื่อใช้ประกอบตัวถังรถยนต์โดยสารสองชั้น ซึ่งรายละเอียดเรื่องความแข็งแรงและปลอดภัยของแชสซีส์นั้นลำพัง ขบ.คงทำเองไม่ได้ ต้องอาศัยสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น สวทช.ที่มีซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย และต้องยอมรับว่าข้อกำหนดมาตรฐานของ ขบ.ค่อนข้างล้าสมัย ควรกำหนดเงื่อนไขว่าต้องเป็นแชสซีส์รถยนต์โดยสารเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ (CNG) ที่เคยมีผลงานใช้มาแล้วทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ จะเหมาะสมและเป็นหลักประกันความปลอดภัยในการใช้บริการในอนาคตของคนกรุงเทพฯ ขอบคุณ … http://paidoo.net/article/17502121.html (ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...