ไทยลุ้นระทึก พายุอีก 10 ลูก จับตายันสิ้นปี อุบลฯอ่วมฝน

แสดงความคิดเห็น

เหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน

เตือน ยังเหลือพายุอีก 10 ลูกก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก เตรียมลุ้นว่าจะเข้าไทยหรือไม่ อีสานอ่วมดีเปรสชั่น อุบลฯจมหลายอำเภอ ที่อ.เดชอุดม ฝนตกหนักกระบะประสานงารถโดยสาร ตายรวดเดียว 3 ศพ บาดเจ็บสาหัส 1 ราย ′ศรีสะเกษ-ร้อยเอ็ด′ก็จมชาวบ้านต้องขนของหนีน้ำจ้าละหวั่น ปภ.เตือนรับมือภาวะน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ภาคกลาง ประสานจว.ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเตรียมรับมือน้ำเหนือไหลหลาก

เมื่อวันที่ 19 ก.ย. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าพายุดีเปรสชันได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันนี้ และจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวตอนล่างเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ของไทย ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณ จ.มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และสุรินทร์ รวมถึงภาคตะวันออก จ.สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด มีฝนเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย.

นายฉัตรชัยกล่าวถึงสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มภาคกลางบริเวณ อ.เสนา บางบาล ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นผลจากการระบายน้ำออกจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ บูรณาการวางแผนการบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำ กรณีมีปริมาณน้ำไหลผ่านจำนวนมาก และระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดเสี่ยงและจุดอ่อนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้น ตลิ่ง จัดทำแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำ และจัดเตรียมพื้นที่รองรับน้ำ โดยให้น้ำไหลลงคลองและระบายสู่พื้นที่รองรับน้ำที่จัดเตรียมไว้ ทั้งนี้ จังหวัดสามารถใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับเตรียม การป้องกันและยับยั้งผลกระทบจากภัยพิบัติ สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่สาย ด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

นายประวิทย์ แจ่มปัญญา ผอ.สำนักพยากรณ์อากาศ กล่าวว่า ตามปกติแล้วนั้น ค่าเฉลี่ยของพายุที่จะก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกจะอยู่ที่ประมาณ 26 ลูก แต่ปีนี้เกิดไปแล้วประมาณ 13 ลูก จึงคาดการณ์กันว่าจะเหลือพายุอีกประมาณ 10 ลูก ที่จะก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่อาจไม่เป็นไปตามค่าเฉลี่ย และไม่ได้หมายความว่าพายุทุกลูกจะเข้าสู่ประเทศไทย แต่จากที่คาดการณ์จากสถิติในคาบ 70 ปีจะมีพายุประมาณ 2 ลูกที่จะเข้าประเทศไทย ลูกหนึ่งอาจจะเข้าทางตอนบนของประเทศไทย เช่น อีสาน เหนือ และกลาง ในช่วงก่อนเดือนต.ค. ซึ่งก็เพิ่งมีพายุดีเปรสชันเข้า จ.อุบลราชธานี ไปเมื่อช่วงเช้าแล้ว 1 ลูก ส่วนอีก 1 ลูกอาจจะเข้าทางภาคใต้ แต่บางปีก็อาจจะมีมากกว่า 2 ลูก หรือไม่เกิดเลย โดยหากพายุก่อตัวขึ้นใกล้ประเทศไทยก็มีโอกาสเข้าบ้านเรา แต่หากก่อตัวไกลก็มีโอกาสเคลื่อนตัวไปยังทิศทางอื่น

ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ว่า ในวันนี้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) จะประชุมเรื่องการแจ้งเตือน และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ ในฐานะ กบอ.จะลงไปสำรวจและติดตามในพื้นที่ด้วยตนอง สำหรับพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือภาคเหนือตอนกลางและตอนล่าง เช่น จ.พิษณุโลก และ จ.พิจิตร โดยเฉพาะ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่สุด และอาจมีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก จึงสั่งการให้ทางจังหวัดเข้าไปเตรียมการล่วงหน้าเพื่อที่จะดูแลช่วยเหลือ ประชาชนเป็นการเร่งด่วนแล้ว ส่วนในพื้นที่ กทม.สั่งการให้ดูระบบคูคลองและการลอกท่อ เพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด

ที่ สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รศนา ปฏิมาประกร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำ สบอช. กล่าวภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยารายงานความรุนแรงของพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ ที่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง เมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา และเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ไทยบริเวณ จ.อุบลราชธานี เมื่อเช้าวันที่ 19 ก.ย. เวลา 10.00 น. มีศูนย์กลางอยู่บริเวณ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้าๆ ด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่จะเคลื่อนตัวผ่านแนว จ.อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และนครราชสีมา จากนั้นจะเริ่มอ่อนกำลังลง คาดว่าจะสลายตัวบริเวณภาคกลางในวันที่ 20 ก.ย

ที่ จ.อุบลราชธานี นายเกรียงศักดิ์ เกตุอินทร์ เวรพยากรณ์อากาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง จ.อุบลราชธานี ระบุว่า จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชันทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมมากถึง 172.6 มิลลิเมตร ที่ อ.เมืองอุบลราชธานี รองลงมาที่ อ.เดชอุดม 170 มิลลิเมตร ถนนหลายสายในตัว จ.อุบลราชธานี มีน้ำท่วมขังตามผิวจราจรสูงประมาณ 20 ซ.ม.ซึ่งสภาพอากาศยังคงเป็นเช่นนี้ไปจนถึงวันที่ 20 ก.ย. หลังจากนั้นจะเริ่มมีปริมาณฝนลดลง และพายุจะสลายตัวที่บริเวณ จ.นครราชสีมา

ขณะที่นายครรชิต คงสมของ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกล่าวว่า มีพื้นที่ 2 อำเภอคือ อ.สิรินธร และ อ.บุญฑริก เกิดน้ำท่วมใน 4 หมู่บ้าน ประมาณ 60 หลังคาเรือน โดยบ้านเรือนทั้งหมดตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มของลำน้ำและทางการได้เข้าให้การ ช่วยเหลือแล้ว

สายวันเดียวกัน ร.ต.ท.สุนทร ทองสาย พนักงานสอบสวน สภ.เดชอุดม รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถกระบะฟอร์ด สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน กข 3388 อุบลราชธานี เสียหลักพุ่งชนประสานงากับรถบัสโดยสารเดชอุดม-อุบลราชธานี ทะเบียน 10-5044 อุบลราชธานี บริเวนหลักกิโลเมตรที่ 40 บ้านโนนสุขสันต์ ต.เมืองเดช มีคนในรถกระบะเสียชีวิต 3 ราย ประกอบด้วยคนขับ คือ นายพงศธร ปรมัตถ์วรโชติ อายุ 54 ปี คนขับ และนายเสถียร สายตรง อายุ 56 ปี กับนายอรุณ เกื้อกูลเสริมพานิช อายุ 43 ปี ผู้โดยสาร ส่วนรถโดยสารคนขับคือ นายกมล วงษาเคน อายุ 50 ปี ได้รับบาดเจ็บที่ขาเล็กน้อย สอบสวนทราบว่า ระหว่างที่มีฝนตกหนักนายกมลขับรถออกจากอำเภอเดชอุดมมุ่งหน้ากลับบ้าน เมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุปรากฏว่าถนนมีน้ำขังทำให้รถเสียหลักพุ่งชนรถกระบะอย่างจังทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

จ.ศรีสะเกษ ในเขตเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมถนนหลายสายในเขต อ.กันทรลักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณถนนชิดบัญชา ต.น้ำอ้อม อ.กันทรลักษ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 50 ซ.ม. เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนจนต้องขนข้าวของหนีน้ำโกลาหล รถยนต์ของชาวบ้านที่จอดอยู่ในบ้านและตามข้างถนนจมน้ำหลายคัน

จ.พิษณุโลก น้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ทำให้ลำน้ำเข็กมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ทางจังหวัดพิษณุโลกออกประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย 5 อำเภอ คือ อ.วังทอง อ.นครไทย อ.ชาติตระการ อ.วัดโบสถ์ และ อ.เนินมะปราง ระวังน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินโคลนถล่มตลอด 24 ช.ม.

จ.พิจิตร ฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน ประชาชนหมู่ 1 ชุมชนตลาดใต้ เขตเทศบาลตำบลทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร กว่า 200 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูง 50 ซ.ม.ถึง 1 เมตร นอกจากนี้ น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ไหลบ่าเข้าทุ่งด้าน อ.สากเหล็ก วังทรายพูน ไหลทะลักลำคลองไดชุมแสง คลองบ้านบุ่ง และคลองท่าหลวง อ.เมืองพิจิตร เกิดล้นตลิ่งไหลท่วมบ้านเรือนประชาชนหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 บ้านวังอ้ายนุ้ย ต.บ้านบุ่ง อ.เมืองพิจิตร จำนวนกว่า 30 หลังคาเรือน ชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจรแทนรถ

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UWTBOalUxTkE9PQ==&sectionid= (ขนาดไฟล์: 167)

ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 20/09/2556 เวลา 04:55:47 ดูภาพสไลด์โชว์ ไทยลุ้นระทึก พายุอีก 10 ลูก จับตายันสิ้นปี อุบลฯอ่วมฝน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน เตือน ยังเหลือพายุอีก 10 ลูกก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก เตรียมลุ้นว่าจะเข้าไทยหรือไม่ อีสานอ่วมดีเปรสชั่น อุบลฯจมหลายอำเภอ ที่อ.เดชอุดม ฝนตกหนักกระบะประสานงารถโดยสาร ตายรวดเดียว 3 ศพ บาดเจ็บสาหัส 1 ราย ′ศรีสะเกษ-ร้อยเอ็ด′ก็จมชาวบ้านต้องขนของหนีน้ำจ้าละหวั่น ปภ.เตือนรับมือภาวะน้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ภาคกลาง ประสานจว.ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเตรียมรับมือน้ำเหนือไหลหลาก เมื่อวันที่ 19 ก.ย. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าพายุดีเปรสชันได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันนี้ และจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวตอนล่างเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ของไทย ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างบริเวณ จ.มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และสุรินทร์ รวมถึงภาคตะวันออก จ.สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด มีฝนเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย. นายฉัตรชัยกล่าวถึงสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มภาคกลางบริเวณ อ.เสนา บางบาล ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นผลจากการระบายน้ำออกจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ บูรณาการวางแผนการบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำ กรณีมีปริมาณน้ำไหลผ่านจำนวนมาก และระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดเสี่ยงและจุดอ่อนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้น ตลิ่ง จัดทำแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำ และจัดเตรียมพื้นที่รองรับน้ำ โดยให้น้ำไหลลงคลองและระบายสู่พื้นที่รองรับน้ำที่จัดเตรียมไว้ ทั้งนี้ จังหวัดสามารถใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับเตรียม การป้องกันและยับยั้งผลกระทบจากภัยพิบัติ สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่สาย ด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นายประวิทย์ แจ่มปัญญา ผอ.สำนักพยากรณ์อากาศ กล่าวว่า ตามปกติแล้วนั้น ค่าเฉลี่ยของพายุที่จะก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกจะอยู่ที่ประมาณ 26 ลูก แต่ปีนี้เกิดไปแล้วประมาณ 13 ลูก จึงคาดการณ์กันว่าจะเหลือพายุอีกประมาณ 10 ลูก ที่จะก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่อาจไม่เป็นไปตามค่าเฉลี่ย และไม่ได้หมายความว่าพายุทุกลูกจะเข้าสู่ประเทศไทย แต่จากที่คาดการณ์จากสถิติในคาบ 70 ปีจะมีพายุประมาณ 2 ลูกที่จะเข้าประเทศไทย ลูกหนึ่งอาจจะเข้าทางตอนบนของประเทศไทย เช่น อีสาน เหนือ และกลาง ในช่วงก่อนเดือนต.ค. ซึ่งก็เพิ่งมีพายุดีเปรสชันเข้า จ.อุบลราชธานี ไปเมื่อช่วงเช้าแล้ว 1 ลูก ส่วนอีก 1 ลูกอาจจะเข้าทางภาคใต้ แต่บางปีก็อาจจะมีมากกว่า 2 ลูก หรือไม่เกิดเลย โดยหากพายุก่อตัวขึ้นใกล้ประเทศไทยก็มีโอกาสเข้าบ้านเรา แต่หากก่อตัวไกลก็มีโอกาสเคลื่อนตัวไปยังทิศทางอื่น ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ว่า ในวันนี้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) จะประชุมเรื่องการแจ้งเตือน และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ ในฐานะ กบอ.จะลงไปสำรวจและติดตามในพื้นที่ด้วยตนอง สำหรับพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบมากที่สุด คือภาคเหนือตอนกลางและตอนล่าง เช่น จ.พิษณุโลก และ จ.พิจิตร โดยเฉพาะ อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่สุด และอาจมีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก จึงสั่งการให้ทางจังหวัดเข้าไปเตรียมการล่วงหน้าเพื่อที่จะดูแลช่วยเหลือ ประชาชนเป็นการเร่งด่วนแล้ว ส่วนในพื้นที่ กทม.สั่งการให้ดูระบบคูคลองและการลอกท่อ เพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด ที่ สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รศนา ปฏิมาประกร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการบริหารจัดการน้ำ สบอช. กล่าวภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ขณะนี้กรมอุตุนิยมวิทยารายงานความรุนแรงของพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ ที่เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง เมื่อคืนวันที่ 18 ก.ย.ที่ผ่านมา และเคลื่อนตัวผ่านประเทศลาวเข้าสู่ไทยบริเวณ จ.อุบลราชธานี เมื่อเช้าวันที่ 19 ก.ย. เวลา 10.00 น. มีศูนย์กลางอยู่บริเวณ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้าๆ ด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคกลาง มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่จะเคลื่อนตัวผ่านแนว จ.อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และนครราชสีมา จากนั้นจะเริ่มอ่อนกำลังลง คาดว่าจะสลายตัวบริเวณภาคกลางในวันที่ 20 ก.ย ที่ จ.อุบลราชธานี นายเกรียงศักดิ์ เกตุอินทร์ เวรพยากรณ์อากาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนล่าง จ.อุบลราชธานี ระบุว่า จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชันทำให้มีปริมาณน้ำฝนสะสมมากถึง 172.6 มิลลิเมตร ที่ อ.เมืองอุบลราชธานี รองลงมาที่ อ.เดชอุดม 170 มิลลิเมตร ถนนหลายสายในตัว จ.อุบลราชธานี มีน้ำท่วมขังตามผิวจราจรสูงประมาณ 20 ซ.ม.ซึ่งสภาพอากาศยังคงเป็นเช่นนี้ไปจนถึงวันที่ 20 ก.ย. หลังจากนั้นจะเริ่มมีปริมาณฝนลดลง และพายุจะสลายตัวที่บริเวณ จ.นครราชสีมา ขณะที่นายครรชิต คงสมของ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกล่าวว่า มีพื้นที่ 2 อำเภอคือ อ.สิรินธร และ อ.บุญฑริก เกิดน้ำท่วมใน 4 หมู่บ้าน ประมาณ 60 หลังคาเรือน โดยบ้านเรือนทั้งหมดตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มของลำน้ำและทางการได้เข้าให้การ ช่วยเหลือแล้ว สายวันเดียวกัน ร.ต.ท.สุนทร ทองสาย พนักงานสอบสวน สภ.เดชอุดม รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถกระบะฟอร์ด สีบรอนซ์เงิน ทะเบียน กข 3388 อุบลราชธานี เสียหลักพุ่งชนประสานงากับรถบัสโดยสารเดชอุดม-อุบลราชธานี ทะเบียน 10-5044 อุบลราชธานี บริเวนหลักกิโลเมตรที่ 40 บ้านโนนสุขสันต์ ต.เมืองเดช มีคนในรถกระบะเสียชีวิต 3 ราย ประกอบด้วยคนขับ คือ นายพงศธร ปรมัตถ์วรโชติ อายุ 54 ปี คนขับ และนายเสถียร สายตรง อายุ 56 ปี กับนายอรุณ เกื้อกูลเสริมพานิช อายุ 43 ปี ผู้โดยสาร ส่วนรถโดยสารคนขับคือ นายกมล วงษาเคน อายุ 50 ปี ได้รับบาดเจ็บที่ขาเล็กน้อย สอบสวนทราบว่า ระหว่างที่มีฝนตกหนักนายกมลขับรถออกจากอำเภอเดชอุดมมุ่งหน้ากลับบ้าน เมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุปรากฏว่าถนนมีน้ำขังทำให้รถเสียหลักพุ่งชนรถกระบะอย่างจังทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จ.ศรีสะเกษ ในเขตเทศบาลเมืองกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมถนนหลายสายในเขต อ.กันทรลักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณถนนชิดบัญชา ต.น้ำอ้อม อ.กันทรลักษ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 50 ซ.ม. เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือนจนต้องขนข้าวของหนีน้ำโกลาหล รถยนต์ของชาวบ้านที่จอดอยู่ในบ้านและตามข้างถนนจมน้ำหลายคัน จ.พิษณุโลก น้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ทำให้ลำน้ำเข็กมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ทางจังหวัดพิษณุโลกออกประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย 5 อำเภอ คือ อ.วังทอง อ.นครไทย อ.ชาติตระการ อ.วัดโบสถ์ และ อ.เนินมะปราง ระวังน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินโคลนถล่มตลอด 24 ช.ม. จ.พิจิตร ฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์เอ่อเข้าท่วมบ้านเรือน ประชาชนหมู่ 1 ชุมชนตลาดใต้ เขตเทศบาลตำบลทับคล้อ อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร กว่า 200 หลังคาเรือน ระดับน้ำสูง 50 ซ.ม.ถึง 1 เมตร นอกจากนี้ น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ที่ไหลบ่าเข้าทุ่งด้าน อ.สากเหล็ก วังทรายพูน ไหลทะลักลำคลองไดชุมแสง คลองบ้านบุ่ง และคลองท่าหลวง อ.เมืองพิจิตร เกิดล้นตลิ่งไหลท่วมบ้านเรือนประชาชนหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 บ้านวังอ้ายนุ้ย ต.บ้านบุ่ง อ.เมืองพิจิตร จำนวนกว่า 30 หลังคาเรือน ชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจรแทนรถ ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM09UWTBOalUxTkE9PQ==§ionid= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...