“สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์” แชร์ปัญหาชีวิตช่วยบำบัดจิตใจ

แสดงความคิดเห็น

น.ส.สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์

หากมีคนแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา คำพูดแรกที่คนส่วนใหญ่ตอบมักจะเป็นเชิง “ฉันไม่ได้บ้า ทำไมต้องไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา” แต่ความคิดความเชื่อที่ว่านี้กำลังเปลี่ยนไป เมื่อคนเริ่มเปิดใจให้กับสองอาชีพนี้มากขึ้น

“ทุกวันนี้เทรนด์เปลี่ยนไป คนเข้าใจอะไรหลายอย่างมากขึ้น รวมถึงการมาปรึกษาปัญหาชีวิตกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งเดิมทีจะคิดว่าเมื่อป่วยทางจิตแล้วจึงมาหา ไม่บ้าก็ไม่มา แต่หลังๆ มานี้มีคนเดินเข้ามาปรึกษากับพวกเราเยอะขึ้น อาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์ที่ดีทำให้คนเข้าใจมากขึ้นว่า การมาหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยานั้นจะได้รับการเยียวยาจิตใจ” น.ส.สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวช สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และนักจิตวิทยาประจำคลินิกคลายเครียด รพ.ศิริราช อธิบายด้วยใบหน้าที่เปื้อนยิ้มอยู่ตลอดเวลา ซึ่งชวนให้รู้สึกไว้วางใจหากจะต้องเปิดเผยปัญหาชีวิตให้อาจารย์รับฟัง

อ.สร้อยสุดา ยังเล่าด้วยว่า นอกจากการเยียวยาจิตใจแล้ว การมาพบนักจิตวิทยาจะยังได้รับคำปรึกษา ได้รู้จักตัวตนมากขึ้น เพื่อดึงเอาศักยภาพของคนที่เข้ามาปรึกษาออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ การฝึกการบำบัดทางจิต รวมไปถึงการจัดการกับอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธ ความเหงา ซึ่งทุกวันนี้พบว่า คนมีปัญหาความเหงามากขึ้น ซึ่งเป็นอารมณ์โดดเดี่ยว ไม่มีใครเข้าใจเรา สับสนกับสถานการณ์ของชีวิต อาจเป็นเพราะทุกวันนี้เราเปิดเผยตัวตนมากขึ้น อย่างโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าเราต้องการคนที่เห็น ด้วยกับเรา มากดถูกใจ แต่สุดท้ายก็เกิดคำถามกลับมาว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครเข้าใจเรา ไม่มีใครรู้จักตัวตนแท้จริงของเรา เขาคบที่ตัวเราเพราะอะไร เลยเกิดความรู้สึกลังเลสับสน ตรงนี้ต้องแก้ด้วยการเพิ่มความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดและครอบครัวมากขึ้น

ตลอดการเล่าที่เต็มไปด้วย รอยยิ้มที่บ่งบอกถึงความสุขในการทำงาน เลยทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า การเป็นนักจิตวิทยาที่ต้องรับฟังปัญหาชีวิตที่หนักหนา เรื่องราวที่เครียดขึง รองรับอารมณ์ด้านลบของผู้คน ทำไมจึงยังสามารถยิ้มได้อย่างมีความสุข ซึ่ง อ.สร้อยสุดา เล่าย้อนกลับไปถึงสมัยตั้งแต่เริ่มเรียนว่า ที่เลือกเรียนด้านจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เพราะรู้สึกว่าเรื่องของจิตใจ คนเรามีหลากหลายมาก คิดว่าคงสนุกหากได้รู้จักบุคลิกอารมณ์ของคนที่หลากหลายขึ้น เพราะแต่ละคนจะมีความเปลี่ยนแปลงไปทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งเมื่อมาเรียนแล้วก็พบว่านอกจากเรียนรู้ด้านบุคลิก อารมณ์ และจิตใจคนแล้ว เรายังสามารถช่วยคนได้ทุกเพศและทุกวัยอีกด้วย… โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000102783 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 19/08/2556 เวลา 03:31:18 ดูภาพสไลด์โชว์ “สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์” แชร์ปัญหาชีวิตช่วยบำบัดจิตใจ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น.ส.สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ หากมีคนแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา คำพูดแรกที่คนส่วนใหญ่ตอบมักจะเป็นเชิง “ฉันไม่ได้บ้า ทำไมต้องไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา” แต่ความคิดความเชื่อที่ว่านี้กำลังเปลี่ยนไป เมื่อคนเริ่มเปิดใจให้กับสองอาชีพนี้มากขึ้น “ทุกวันนี้เทรนด์เปลี่ยนไป คนเข้าใจอะไรหลายอย่างมากขึ้น รวมถึงการมาปรึกษาปัญหาชีวิตกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งเดิมทีจะคิดว่าเมื่อป่วยทางจิตแล้วจึงมาหา ไม่บ้าก็ไม่มา แต่หลังๆ มานี้มีคนเดินเข้ามาปรึกษากับพวกเราเยอะขึ้น อาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์ที่ดีทำให้คนเข้าใจมากขึ้นว่า การมาหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยานั้นจะได้รับการเยียวยาจิตใจ” น.ส.สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวช สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และนักจิตวิทยาประจำคลินิกคลายเครียด รพ.ศิริราช อธิบายด้วยใบหน้าที่เปื้อนยิ้มอยู่ตลอดเวลา ซึ่งชวนให้รู้สึกไว้วางใจหากจะต้องเปิดเผยปัญหาชีวิตให้อาจารย์รับฟัง อ.สร้อยสุดา ยังเล่าด้วยว่า นอกจากการเยียวยาจิตใจแล้ว การมาพบนักจิตวิทยาจะยังได้รับคำปรึกษา ได้รู้จักตัวตนมากขึ้น เพื่อดึงเอาศักยภาพของคนที่เข้ามาปรึกษาออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ การฝึกการบำบัดทางจิต รวมไปถึงการจัดการกับอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธ ความเหงา ซึ่งทุกวันนี้พบว่า คนมีปัญหาความเหงามากขึ้น ซึ่งเป็นอารมณ์โดดเดี่ยว ไม่มีใครเข้าใจเรา สับสนกับสถานการณ์ของชีวิต อาจเป็นเพราะทุกวันนี้เราเปิดเผยตัวตนมากขึ้น อย่างโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าเราต้องการคนที่เห็น ด้วยกับเรา มากดถูกใจ แต่สุดท้ายก็เกิดคำถามกลับมาว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครเข้าใจเรา ไม่มีใครรู้จักตัวตนแท้จริงของเรา เขาคบที่ตัวเราเพราะอะไร เลยเกิดความรู้สึกลังเลสับสน ตรงนี้ต้องแก้ด้วยการเพิ่มความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดและครอบครัวมากขึ้น ตลอดการเล่าที่เต็มไปด้วย รอยยิ้มที่บ่งบอกถึงความสุขในการทำงาน เลยทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า การเป็นนักจิตวิทยาที่ต้องรับฟังปัญหาชีวิตที่หนักหนา เรื่องราวที่เครียดขึง รองรับอารมณ์ด้านลบของผู้คน ทำไมจึงยังสามารถยิ้มได้อย่างมีความสุข ซึ่ง อ.สร้อยสุดา เล่าย้อนกลับไปถึงสมัยตั้งแต่เริ่มเรียนว่า ที่เลือกเรียนด้านจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เพราะรู้สึกว่าเรื่องของจิตใจ คนเรามีหลากหลายมาก คิดว่าคงสนุกหากได้รู้จักบุคลิกอารมณ์ของคนที่หลากหลายขึ้น เพราะแต่ละคนจะมีความเปลี่ยนแปลงไปทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งเมื่อมาเรียนแล้วก็พบว่านอกจากเรียนรู้ด้านบุคลิก อารมณ์ และจิตใจคนแล้ว เรายังสามารถช่วยคนได้ทุกเพศและทุกวัยอีกด้วย… โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000102783 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...