6 วิธี...ห่างหนี้นอกระบบ

แสดงความคิดเห็น

1.วางแผนการเงินล่วงหน้า คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เช่น ค่าเล่าเรียนลูก และออมเงินเผื่อยามฉุกเฉิน

2.คิดให้ดีก่อนตัดสินใจ “ก่อหนี้” ลองทบทวนดูว่าจำเป็นใช้เงินจริงๆ หรือไม่ และจะสามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้หรือไม่

3.หยุด “ใช้เงินเกินตัว” และเรียนรู้ที่จะจกบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวัน เพื่อวางแผนการใช้เงินอย่างเหมาะสมกับรายได้และความจำเป็น

4.ศึกษารายละเอียดผู้ให้กู้ดีๆ หากต้องกู้ควรดูว่า ผู้ให้กู้นั้นน่าเชื้อถือหรือไม่ มีเงื่อนไขการชำระเงินหรืออัตราดอกเบี้ยที่เข้าข่ายเป็นเงินกู้นอกระบบหรือไม่

5.เลือกกู้เงินในระบบ จะดีกว่าหากจำเป็นต้องกู้จริงๆ เพราะนอกจากจะมีหน่วยงานภาครัฐคอยดูแลแล้ว ยังระบุดอกเบี้ยในสัญญาชัดเจนและเป็นธรรมกว่า

6.ใส่ใจรายละเอียดสัญญาเงินกู้ให้มาก

- ไม่เซ็นสัญญาเงินกู้ที่ยังไม่กรอกข้อความหรือจำนวนเงินเด็ดขาด

- วงเงินกู้ที่ระบุในสัญญาต้องตรงกับความเป็นจริงและเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้เสมอ

- ควรมีสัญญาคู่ฉบับอีก 1 ฉบับเก็บไว้กับตัวเพื่อเป็นหลักฐานการกู้

- หากต้องนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกัน ควรทำสัญญาจำนวนแทนการทำสัญญาขายฝาก เพราะการขายฝาก ถ้าผู้กู้ไม่มาไถ่คืนหลักประกันภายในเวลาที่ตกลงกัน กรรมสิทธิ์จะตกไปยังเจ้าหนี้ทันที

ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

ขอบคุณ...คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 6/08/2556 เวลา 03:27:45

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

1.วางแผนการเงินล่วงหน้า คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เช่น ค่าเล่าเรียนลูก และออมเงินเผื่อยามฉุกเฉิน 2.คิดให้ดีก่อนตัดสินใจ “ก่อหนี้” ลองทบทวนดูว่าจำเป็นใช้เงินจริงๆ หรือไม่ และจะสามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้หรือไม่ 3.หยุด “ใช้เงินเกินตัว” และเรียนรู้ที่จะจกบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวัน เพื่อวางแผนการใช้เงินอย่างเหมาะสมกับรายได้และความจำเป็น 4.ศึกษารายละเอียดผู้ให้กู้ดีๆ หากต้องกู้ควรดูว่า ผู้ให้กู้นั้นน่าเชื้อถือหรือไม่ มีเงื่อนไขการชำระเงินหรืออัตราดอกเบี้ยที่เข้าข่ายเป็นเงินกู้นอกระบบหรือไม่ 5.เลือกกู้เงินในระบบ จะดีกว่าหากจำเป็นต้องกู้จริงๆ เพราะนอกจากจะมีหน่วยงานภาครัฐคอยดูแลแล้ว ยังระบุดอกเบี้ยในสัญญาชัดเจนและเป็นธรรมกว่า 6.ใส่ใจรายละเอียดสัญญาเงินกู้ให้มาก - ไม่เซ็นสัญญาเงินกู้ที่ยังไม่กรอกข้อความหรือจำนวนเงินเด็ดขาด - วงเงินกู้ที่ระบุในสัญญาต้องตรงกับความเป็นจริงและเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้เสมอ - ควรมีสัญญาคู่ฉบับอีก 1 ฉบับเก็บไว้กับตัวเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ - หากต้องนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกัน ควรทำสัญญาจำนวนแทนการทำสัญญาขายฝาก เพราะการขายฝาก ถ้าผู้กู้ไม่มาไถ่คืนหลักประกันภายในเวลาที่ตกลงกัน กรรมสิทธิ์จะตกไปยังเจ้าหนี้ทันที ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ขอบคุณ...คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...