รู้ให้ได้ ไล่ให้ทัน ปรากฏการณ์"ฟ้าผ่า"…ทำให้หูหนวก ตาบอดได้

แสดงความคิดเห็น

เหตุการณ์ฟ้าผ่า

ข่าวสามีภรรยาชาวไทยต้องจบชีวิตลงถูกเพราะฟ้าผ่าใส่ร่าง ขณะท่องเที่ยวแกรนด์แคนยอน สร้างความสะเทือนใจแก่ผู้รับรู้ข่าวสารอย่างมาก มีการตั้งคำถามว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้มีโอกาสเกิดขึ้นในไทยมากน้อยแค่ไหน แม้ว่าจะทราบกันว่า "ฟ้าผ่า" เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าในอากาศ ประจุไฟฟ้าเหล่านั้นปลดปล่อยออกจาก "เมฆฝนฟ้าคะนอง" หรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า เมฆ "คิวมูโลนิมบัส" (Cumulonimbus)

เมฆ ฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นก้อนเมฆขนาดใหญ่มหึมา บริเวณฐานเมฆ (ขอบล่าง) สูงจากพื้นดินราว 2 กิโลเมตร ส่วนยอดเมฆ (ขอบบน) อาจสูงได้ถึง 20 กิโลเมตร ภายในก้อนเมฆมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า การผ่า ของ "ฟ้าผ่า" มีอย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่ 1.ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ จะเกิดมากที่สุด เมฆจะเปล่งแสงกะพริบที่คนไทยเราเรียกว่า "ฟ้าแลบ" นั่นเอง 2.ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่ง 3.ฟ้าผ่าจากเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุออกจากก้อนเมฆ เรียกว่า "ฟ้าผ่าแบบลบ" (Negative Lightning) อันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนพื้น เพราะจะผ่าลงบริเวณ "ใต้เงา" ของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก และ 4.ฟ้า ผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกจากก้อนเมฆจึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก (Positive Loghtning) ผ่าได้ไกลจากก้อนเมฆได้ถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ แม้ท้องฟ้าเหนือศีรษะของเราจะดูปลอดโปร่ง แต่อาจถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้ หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปในระยะ 30 กิโลเมตร อันเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ" เป็นฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดนั่นเอง

สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน และช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม จะเกิดฝนตกค่อนข้างหนัก เมฆที่ทำให้เกิดฝนตกหนักช่วงเวลาดังกล่าวจะเรียกว่า "เมฆฝนฟ้าคะนอง" มักจะมีฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่าระหว่างเกิดฝนตก สำหรับพื้นที่ในเมือง แม้มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดฟ้าผ่า เพราะตึกสูงเยอะแยะไปหมด แต่พฤติกรรมหลายอย่างของผู้คนในปัจจุบันกลับเพิ่มความเสี่ยง เช่น การว่ายน้ำในสระกลางแจ้งขณะฝนตก ฟ้าคะนอง เพราะน้ำเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด แม้ว่าฟ้าจะไม่ผ่าลงมาในสระโดยตรง หากผ่าลงใส่พื้นที่ข้างเคียง ผู้ที่ว่ายน้ำอยู่ในสระมีโอกาสได้รับอันตรายค่อนข้างสูงเช่นกัน รวมไปถึงสระว่ายน้ำในร่ม ก็ไม่ควรใช้ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง

"ในต่างประเทศเคยเกิดเหตุคนเสียชีวิตจากฟ้าผ่าขณะว่ายน้ำในร่มมาแล้ว ประเทศไทยยังไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก หลายครั้งหลายที่ยังคงประพฤติตัวท่ามกลางความเสี่ยงเช่นนี้ มีให้เห็นอยู่เสมอ"

อาจารย์สธนติวเข้มอีกว่า สมัยก่อนเรามักจะห้ามไม่ให้ใส่เครื่องประดับโลหะในที่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจถูกฟ้าผ่า แต่สมัยนี้ เรามีโทรศัพท์มือถือกันแทบทุกคน ในโทรศัพท์มือถือนั้นมีโลหะเกือบทุกชนิดอยู่ในเครื่องเดียว เป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างดีมาก ยิ่งเมื่อเปิดเครื่องอยู่ในที่เสี่ยง คือ กลางที่โล่งแจ้ง ทั้งโลหะและสัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง โอกาสถูกฟ้าผ่าลงมายิ่งมีมากขึ้น แนะนำว่า ถ้าอยู่ที่เสี่ยงควรปิดโทรศัพท์มือถือ

"สำหรับผู้ที่อยู่ในรถแม้จะ วิ่งอยู่ในที่โล่ง เปรียบเหมือนอยู่ในกล่องโลหะ กล่องโลหะจะช่วยห่อหุ้มเราไม่ให้ถูกฟ้าผ่า ถ้าอยู่ในที่โล่ง ไม่มีที่หลบ แต่มีรถ แนะนำให้เข้าไปอยู่ในรถจะปลอดภัยกว่า" อาจารย์สธนกล่าว

ลอง ฟังความรู้จาก นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กันบ้าง ได้แจกแจงข้อมูลตัวเลขการเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บรุนแรงจากฟ้าผ่าในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตในช่วงระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 46 ราย เป็นข้อมูลผู้ป่วยที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลจำนวน 33 แห่งเท่านั้น เชื่อว่ายังมีผู้ถูกฟ้าผ่าที่เสียชีวิตและส่วนหนึ่งที่บาดเจ็บไม่รุนแรงไม่ ได้มาโรงพยาบาลอีกจำนวนมาก

แนวทางการป้องกันอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า มีดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ขณะฝนตกฟ้าคะนอง หรือสวมใส่อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า หากจำเป็นต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งควรนั่งหมอบ ย่อตัวให้ต่ำและชิดกับพื้นให้มากที่สุด แต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา เพราะฟ้าผ่าลงที่สูง 2.ห้ามอยู่ใกล้หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำ ไฟฟ้า เช่น เครื่องมือการเกษตร โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์สาธารณะ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วนประกอบที่เป็นแผ่นโลหะ สายอากาศและแบตเตอรี่ที่เป็นตัวล่อไฟฟ้า 3.ควรหลบในอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้า แต่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ เปิดคอมพิวเตอร์ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออยู่ใกล้ประตู หน้าต่างที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะขณะฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องไฟฟ้าทุกชนิด เพราะกระแสไฟจากฟ้าผ่าอาจไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสื่อไฟฟ้าต่างๆ ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้

"การช่วยเหลือผู้ถูกฟ้าผ่าต้องช่วยอย่างรวดเร็ว สามารถขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 เบื้องต้น ถ้าผู้ถูกฟ้าผ่าไม่หายใจ หัวใจหยุดเต้น ให้ช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกในตำแหน่งตรงกลาง ประมาณ 100 ครั้งต่อนาที ลึกลงไปอย่างน้อย 2 นิ้ว จนกว่าหัวใจจะเต้น คลำชีพจรได้ หากใครต้องการรู้มากกว่านี้ สอบถามได้ที่ฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข 1422 หรือศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร.0-2590-3333"

ด้าน นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี แจกแจงว่า มีผู้ที่ถูกฟ้าผ่าประมาณ 1/3 หรือร้อยละ 30 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนที่รอดจะมีความพิการถาวรจากการถูกทำลายระบบประสาท เช่น อัมพาต ตาบอด และหูหนวกเป็นต้น

"ไฟฟ้าจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์ กระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ ที่อุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส ความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000-1/1,000 วินาที ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท"

หมออดิศักดิ์ทิ้งท้ายว่า ฟ้าผ่าเกิดขึ้นทุกวัน กว่าวันละ 8 ล้านครั้งทั่วโลก บาดเจ็บและเสียชีวิตกว่า 1,500-5,000 คนต่อปี ในสหรัฐมีคนเสียชีวิตจากฟ้าผ่ากว่า 200 คนต่อปี ส่วนประเทศไทยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 17 ปี เสียชีวิตด้วยสาเหตุดังกล่าว 20 คนต่อปี และส่วนใหญ่เป็นเด็ก 10-15 ปี แต่หากยึดกรรมวิธีตามที่บอก จะช่วยให้หลีกพ้นจาก "สายฟ้า"

ขอบคุณ ... http://www.prachachat.net/news_detail.phpnewsid=1375245873

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ก.ค.56

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 1/08/2556 เวลา 03:21:09 ดูภาพสไลด์โชว์ รู้ให้ได้ ไล่ให้ทัน ปรากฏการณ์"ฟ้าผ่า"…ทำให้หูหนวก ตาบอดได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหตุการณ์ฟ้าผ่า ข่าวสามีภรรยาชาวไทยต้องจบชีวิตลงถูกเพราะฟ้าผ่าใส่ร่าง ขณะท่องเที่ยวแกรนด์แคนยอน สร้างความสะเทือนใจแก่ผู้รับรู้ข่าวสารอย่างมาก มีการตั้งคำถามว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้มีโอกาสเกิดขึ้นในไทยมากน้อยแค่ไหน แม้ว่าจะทราบกันว่า "ฟ้าผ่า" เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าในอากาศ ประจุไฟฟ้าเหล่านั้นปลดปล่อยออกจาก "เมฆฝนฟ้าคะนอง" หรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า เมฆ "คิวมูโลนิมบัส" (Cumulonimbus) เมฆ ฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นก้อนเมฆขนาดใหญ่มหึมา บริเวณฐานเมฆ (ขอบล่าง) สูงจากพื้นดินราว 2 กิโลเมตร ส่วนยอดเมฆ (ขอบบน) อาจสูงได้ถึง 20 กิโลเมตร ภายในก้อนเมฆมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า การผ่า ของ "ฟ้าผ่า" มีอย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่ 1.ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ จะเกิดมากที่สุด เมฆจะเปล่งแสงกะพริบที่คนไทยเราเรียกว่า "ฟ้าแลบ" นั่นเอง 2.ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่ง 3.ฟ้าผ่าจากเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุออกจากก้อนเมฆ เรียกว่า "ฟ้าผ่าแบบลบ" (Negative Lightning) อันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนพื้น เพราะจะผ่าลงบริเวณ "ใต้เงา" ของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก และ 4.ฟ้า ผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกจากก้อนเมฆจึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก (Positive Loghtning) ผ่าได้ไกลจากก้อนเมฆได้ถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือ แม้ท้องฟ้าเหนือศีรษะของเราจะดูปลอดโปร่ง แต่อาจถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้ หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปในระยะ 30 กิโลเมตร อันเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ" เป็นฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิดนั่นเอง สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ประเทศไทยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน และช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม จะเกิดฝนตกค่อนข้างหนัก เมฆที่ทำให้เกิดฝนตกหนักช่วงเวลาดังกล่าวจะเรียกว่า "เมฆฝนฟ้าคะนอง" มักจะมีฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่าระหว่างเกิดฝนตก สำหรับพื้นที่ในเมือง แม้มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดฟ้าผ่า เพราะตึกสูงเยอะแยะไปหมด แต่พฤติกรรมหลายอย่างของผู้คนในปัจจุบันกลับเพิ่มความเสี่ยง เช่น การว่ายน้ำในสระกลางแจ้งขณะฝนตก ฟ้าคะนอง เพราะน้ำเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด แม้ว่าฟ้าจะไม่ผ่าลงมาในสระโดยตรง หากผ่าลงใส่พื้นที่ข้างเคียง ผู้ที่ว่ายน้ำอยู่ในสระมีโอกาสได้รับอันตรายค่อนข้างสูงเช่นกัน รวมไปถึงสระว่ายน้ำในร่ม ก็ไม่ควรใช้ขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง "ในต่างประเทศเคยเกิดเหตุคนเสียชีวิตจากฟ้าผ่าขณะว่ายน้ำในร่มมาแล้ว ประเทศไทยยังไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก หลายครั้งหลายที่ยังคงประพฤติตัวท่ามกลางความเสี่ยงเช่นนี้ มีให้เห็นอยู่เสมอ" อาจารย์สธนติวเข้มอีกว่า สมัยก่อนเรามักจะห้ามไม่ให้ใส่เครื่องประดับโลหะในที่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง เพราะอาจถูกฟ้าผ่า แต่สมัยนี้ เรามีโทรศัพท์มือถือกันแทบทุกคน ในโทรศัพท์มือถือนั้นมีโลหะเกือบทุกชนิดอยู่ในเครื่องเดียว เป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างดีมาก ยิ่งเมื่อเปิดเครื่องอยู่ในที่เสี่ยง คือ กลางที่โล่งแจ้ง ทั้งโลหะและสัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง โอกาสถูกฟ้าผ่าลงมายิ่งมีมากขึ้น แนะนำว่า ถ้าอยู่ที่เสี่ยงควรปิดโทรศัพท์มือถือ "สำหรับผู้ที่อยู่ในรถแม้จะ วิ่งอยู่ในที่โล่ง เปรียบเหมือนอยู่ในกล่องโลหะ กล่องโลหะจะช่วยห่อหุ้มเราไม่ให้ถูกฟ้าผ่า ถ้าอยู่ในที่โล่ง ไม่มีที่หลบ แต่มีรถ แนะนำให้เข้าไปอยู่ในรถจะปลอดภัยกว่า" อาจารย์สธนกล่าว ลอง ฟังความรู้จาก นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กันบ้าง ได้แจกแจงข้อมูลตัวเลขการเฝ้าระวังผู้บาดเจ็บรุนแรงจากฟ้าผ่าในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตในช่วงระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 46 ราย เป็นข้อมูลผู้ป่วยที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลจำนวน 33 แห่งเท่านั้น เชื่อว่ายังมีผู้ถูกฟ้าผ่าที่เสียชีวิตและส่วนหนึ่งที่บาดเจ็บไม่รุนแรงไม่ ได้มาโรงพยาบาลอีกจำนวนมาก แนวทางการป้องกันอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า มีดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ขณะฝนตกฟ้าคะนอง หรือสวมใส่อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า หากจำเป็นต้องอยู่ในที่โล่งแจ้งควรนั่งหมอบ ย่อตัวให้ต่ำและชิดกับพื้นให้มากที่สุด แต่ไม่ควรนอนราบกับพื้น รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา เพราะฟ้าผ่าลงที่สูง 2.ห้ามอยู่ใกล้หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำ ไฟฟ้า เช่น เครื่องมือการเกษตร โทรศัพท์มือถือ และโทรศัพท์สาธารณะ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วนประกอบที่เป็นแผ่นโลหะ สายอากาศและแบตเตอรี่ที่เป็นตัวล่อไฟฟ้า 3.ควรหลบในอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้า แต่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ เปิดคอมพิวเตอร์ ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรืออยู่ใกล้ประตู หน้าต่างที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะขณะฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องไฟฟ้าทุกชนิด เพราะกระแสไฟจากฟ้าผ่าอาจไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสื่อไฟฟ้าต่างๆ ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ "การช่วยเหลือผู้ถูกฟ้าผ่าต้องช่วยอย่างรวดเร็ว สามารถขอความช่วยเหลือจากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 เบื้องต้น ถ้าผู้ถูกฟ้าผ่าไม่หายใจ หัวใจหยุดเต้น ให้ช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกในตำแหน่งตรงกลาง ประมาณ 100 ครั้งต่อนาที ลึกลงไปอย่างน้อย 2 นิ้ว จนกว่าหัวใจจะเต้น คลำชีพจรได้ หากใครต้องการรู้มากกว่านี้ สอบถามได้ที่ฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข 1422 หรือศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร.0-2590-3333" ด้าน นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี แจกแจงว่า มีผู้ที่ถูกฟ้าผ่าประมาณ 1/3 หรือร้อยละ 30 เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนที่รอดจะมีความพิการถาวรจากการถูกทำลายระบบประสาท เช่น อัมพาต ตาบอด และหูหนวกเป็นต้น "ไฟฟ้าจากฟ้าผ่า มีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 100 ล้านโวลต์ กระแสไฟฟ้าประมาณ 25-250 กิโลแอมแปร์ ที่อุณหภูมิประมาณ 15,000 องศาเซลเซียส ความเร็วประมาณ 1/10 ของความเร็วแสง สามารถวิ่งผ่านร่างกายด้วยเวลาเพียง 1/10,000-1/1,000 วินาที ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจและการทำงานของระบบประสาท" หมออดิศักดิ์ทิ้งท้ายว่า ฟ้าผ่าเกิดขึ้นทุกวัน กว่าวันละ 8 ล้านครั้งทั่วโลก บาดเจ็บและเสียชีวิตกว่า 1,500-5,000 คนต่อปี ในสหรัฐมีคนเสียชีวิตจากฟ้าผ่ากว่า 200 คนต่อปี ส่วนประเทศไทยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 17 ปี เสียชีวิตด้วยสาเหตุดังกล่าว 20 คนต่อปี และส่วนใหญ่เป็นเด็ก 10-15 ปี แต่หากยึดกรรมวิธีตามที่บอก จะช่วยให้หลีกพ้นจาก "สายฟ้า" ขอบคุณ ... http://www.prachachat.net/news_detail.phpnewsid=1375245873 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...