สสค.หนุนพัฒนาคู่มือดูแลเด็กพิเศษ แก้ปัญหาภาวะบกพร่องการเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น

อาคารกรมสุขภาพจิต

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า มีเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ถึงร้อยละ 21.76 หรือประมาณ 3 ล้านคน จากประชากรเด็กไทยต่ำกว่า 18 ปีที่มีราว 16 ล้านคน ทุกๆ ปีจะมีเยาวชนอายุระหว่าง 4-17 ปี หลุดออกจากระบบการศึกษาประมาณ 3 ล้านคน หลังจากเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนหรือระบบศึกษา ก็จะกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ หรือการเป็นผู้กระทำผิด มีปัญหายาเสพติดมากกว่ากลุ่มที่ยังอยู่ในระบบการศึกษา

โลโก้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ แยกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) คือ เด็กที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมเช่น ซน ขาดสมาธิ ขาดการยับยั้งใจตนเองเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (Learning Disabilities : LD) คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่น บกพร่องการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การนับตัวเลข 2.เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึม คือ เด็กที่มีความผิดปกติของสมองที่เกิดขึ้นในวัยเด็กโดยจะแสดงอาการผิด ปกติออกมาใน 3 ด้านใหญ่ๆ ได้แก่ ความผิดปกติทางสังคมและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น, ความผิดปกติทางภาษาและการสื่อสาร และความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม 3.เด็กเรียนรู้ช้า/บกพร่องทางสติปัญญา คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยกลุ่มเด็กออทิสติก สมาธิสั้น และ 4.เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ รวม 2.1 ล้านคน ซึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ขาดแรงจูงใจในการเรียน มีปัญหาปรับตัวทางอารมณ์ แต่ไม่มีปัญหาด้านสติปัญญานั้น ถือว่าเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารจัดการเรียนรู้และให้ความช่วย เหลือแก่เด็กกลุ่มนี้ได้อย่างเหมาะสม เพราะขาดบุคลากร ขาดทักษะการประเมินค้นหาเด็กกลุ่มนี้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้กระจายอยู่ในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนสำหรับ เด็กปกติ ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม กับระดับศักยภาพที่แท้จริง และถูกประเมินผลด้วยระบบประเมินผลสำหรับเด็กปกติ ทำให้เด็กกลุ่มนี้ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนเวลาอันควร

โลโก้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พ.ญ.ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์ นักจิตเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น จากสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค. จึงร่วมกับสถาบันราชานุกูล ได้พัฒนาชุดความรู้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ขึ้น เพื่อพัฒนาครูและผู้ปกครองให้มีความรู้ในการประเมินและช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ชุดความรู้การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1.คู่มือระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 1 เล่ม 2.ชุดความรู้สำหรับครูในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 4 เล่ม และ 3.ชุดความรู้สำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 4 เล่ม โดยชุดคู่มือทั้งหมดจะแยกเนื้อหาแตกต่างกันออกไปสำหรับผู้ใช้ ทั้งแนวทางการดูแลเด็กสำหรับครูและผู้ปกครอง การรู้จักและคัดกรองกลุ่มเด็กพิเศษ แนวทางการสังเกตโรค และการช่วยเหลือเด็ก และแนวทางการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยและดูแลต่อเนื่อง การเสริมสร้างทักษะให้กับเด็กพิเศษ

ชุดความรู้การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จะทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่อง 10 แห่ง ได้แก่ ภาคกลาง ร.ร.อนุบาลสุพรรณบุรี ร.ร.สามชุกรัตนโภคาราม จ.สุพรรณบุรีภาคใต้ ร.ร.บ้านโพธิ์หวาย, ร.ร.วัดกาญจนาราม จ.สุราษฎร์ธานีภาคเหนือร.ร.วัดหนองปลิง ร.ร.อนุบาลเมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร.ร.ศรีสวัสดิ์วิทยา ร.ร.เทศบาลบูรพาพิทยาคาร จ.มหาสารคาม และ พื้นที่กรุงเทพฯร.ร.วิชูทิศ ร.ร.พิบูลประชาสรรค์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ จนสามารถสร้างเครือข่ายได้ครอบคลุมทั้งประเทศ

พ.ญ.ชดาพิมพ์ กล่าวด้วยว่า การจัดกลุ่มเด็กพิเศษนี้ จะเน้นกลุ่มเด็กที่มีปัญหาการเรียน ไม่ใช่พิการทางร่างกาย อีกทั้งเด็กส่วนใหญ่มีความพิการทางการเรียนรู้ซ้ำซ้อน เช่น สมาธิสั้นมีออทิสติกแทรกซ้อน หรือออทิสติกก็จะมีสติปัญญาบกพร่องด้วย บางทีสติปัญญาบกพร่องก็มีสมาธิบกพร่องร่วมด้วย อย่างไรก็ตามเด็กใน 4 ประเภทนี้ กลุ่มเด็กแอลดี ถือเป็นกลุ่มที่น่าห่วง เพราะยากตั้งแต่การวินิจฉัย เด็กเหมือนมีปัญหาการเรียน มีสติปัญญาดี แต่ดูเหมือนขี้เกียจไม่เอาใจใส่ ครูอาจมองข้ามไป หากครูไม่รู้ว่ามีภาวะนี้เกิดขึ้นในตัวเด็ก เด็กก็จะถูกละเลยไป

"เราจึงทำได้เพียงช่วยลดช่องแคบพัฒนาการกับความสามารถที่แท้จริงให้ลดลงเท่านั้น" คุณหมอชดาพิมพ์ กล่าวถึงเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ หรือเด็กแอลดี การวินิจฉัยอาการผิดปกติของเด็กนั้น จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยา ใช้แบบทดสอบที่ถูกต้อง ซึ่งในประเทศไทยยังมีผู้เชี่ยวชาญน้อยมาก และไม่สามารถกระจายไปทั่วประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องส่งเด็กไปวินิจฉัยที่อื่น แต่เมื่อกลับไปแล้ว โรงเรียนกลับไม่มีระบบดูแลที่ถูกต้อง ทำให้เด็กเกิดปัญหาเรื้อรังยากจนเกินเยียวยาได้

รูปแบบการสอนเด็กแอลดีจึงแตกต่างจากเด็กทั่วไป ซึ่งมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมทำและได้ผลดีคือประเมินตัวเด็ก หากพบว่าเด็กบกพร่องการเรียนรู้ด้านไหน วิชาไหน ก็จะแยกเด็กออกมาสอนเสริม แต่สิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คุณหมอชดาพิมพ์ มองว่า เด็กเรียนในห้องเรียน ก็เหมือนถูกสร้างตึกให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ฐานกลวง ไม่แน่น ดังนั้นเมื่อคัดกรองเด็กออกมาแล้ว จะต้องใช้แผนการศึกษารายบุคคล หรือ Individualized Education Plan: IEP เพื่อวางแผนการสอน

"เช่นเดียวกับการวางแผนว่าจะซ่อมให้ฐานตึกแน่นได้อย่างไร เพราะบางครั้งการชี้วัดว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่ เราจะไม่วัดด้วยข้อสอบธรรมดา อาจจะให้สอบปากเปล่า การหารายงานเพิ่มเติม หรือให้เวลาเยอะขึ้น ซึ่งถือเป็นรูปแบบทดสอบที่มีอยู่หลากหลาย" คุณหมอชดาพิมพ์ กล่าวเมื่อมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การดูแลที่เหมาะสม เด็กจะได้ใช้ศักยภาพเต็มที่ รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ได้เรียนรู้ถูกช่องทางที่เด็กถนัด ข้อดีหรือความสามารถที่เด่นของเด็กก็จะถูกดึงขึ้นมามากขึ้น

"เป็นเรื่องยากกับการทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมดไปจากประเทศไทย เพราะเรายังไม่ทราบสาเหตุว่ากลุ่มโรคนี้เกิดจากอะไร" พ.ญ.ชดาพิมพ์ กล่าว "เราทำได้แค่แนะนำให้กินดีอยู่ดี เพื่อให้ลูกร่างกายแข็งแรง เพราะโรคของกลุ่มนี้จะเกิดจากความผิดปกติของยีน โครโมโซม แต่เราไม่รู้อีกเหมือนกัน ว่าอะไรที่ทำให้ผิดปกติ เช่น ตอนตั้งครรภ์ การรับสารเคมี หรือเป็นโรคประจำตัว หรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้"

ชุดความรู้การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาครู ผู้ปกครอง และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ และที่สำคัญการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนทุกคนอย่างเท่า เทียม

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1701237

บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 29/07/2556 เวลา 03:27:33 ดูภาพสไลด์โชว์ สสค.หนุนพัฒนาคู่มือดูแลเด็กพิเศษ แก้ปัญหาภาวะบกพร่องการเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

อาคารกรมสุขภาพจิต ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า มีเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ถึงร้อยละ 21.76 หรือประมาณ 3 ล้านคน จากประชากรเด็กไทยต่ำกว่า 18 ปีที่มีราว 16 ล้านคน ทุกๆ ปีจะมีเยาวชนอายุระหว่าง 4-17 ปี หลุดออกจากระบบการศึกษาประมาณ 3 ล้านคน หลังจากเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้อยู่ในโรงเรียนหรือระบบศึกษา ก็จะกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ หรือการเป็นผู้กระทำผิด มีปัญหายาเสพติดมากกว่ากลุ่มที่ยังอยู่ในระบบการศึกษา โลโก้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ แยกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) คือ เด็กที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมเช่น ซน ขาดสมาธิ ขาดการยับยั้งใจตนเองเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (Learning Disabilities : LD) คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่น บกพร่องการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การนับตัวเลข 2.เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึม คือ เด็กที่มีความผิดปกติของสมองที่เกิดขึ้นในวัยเด็กโดยจะแสดงอาการผิด ปกติออกมาใน 3 ด้านใหญ่ๆ ได้แก่ ความผิดปกติทางสังคมและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น, ความผิดปกติทางภาษาและการสื่อสาร และความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม 3.เด็กเรียนรู้ช้า/บกพร่องทางสติปัญญา คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยกลุ่มเด็กออทิสติก สมาธิสั้น และ 4.เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ รวม 2.1 ล้านคน ซึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ขาดแรงจูงใจในการเรียน มีปัญหาปรับตัวทางอารมณ์ แต่ไม่มีปัญหาด้านสติปัญญานั้น ถือว่าเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารจัดการเรียนรู้และให้ความช่วย เหลือแก่เด็กกลุ่มนี้ได้อย่างเหมาะสม เพราะขาดบุคลากร ขาดทักษะการประเมินค้นหาเด็กกลุ่มนี้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้กระจายอยู่ในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนสำหรับ เด็กปกติ ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้รับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม กับระดับศักยภาพที่แท้จริง และถูกประเมินผลด้วยระบบประเมินผลสำหรับเด็กปกติ ทำให้เด็กกลุ่มนี้ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนเวลาอันควร โลโก้กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพ.ญ.ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์ นักจิตเวชศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น จากสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค. จึงร่วมกับสถาบันราชานุกูล ได้พัฒนาชุดความรู้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ขึ้น เพื่อพัฒนาครูและผู้ปกครองให้มีความรู้ในการประเมินและช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ชุดความรู้การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1.คู่มือระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 1 เล่ม 2.ชุดความรู้สำหรับครูในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 4 เล่ม และ 3.ชุดความรู้สำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 4 เล่ม โดยชุดคู่มือทั้งหมดจะแยกเนื้อหาแตกต่างกันออกไปสำหรับผู้ใช้ ทั้งแนวทางการดูแลเด็กสำหรับครูและผู้ปกครอง การรู้จักและคัดกรองกลุ่มเด็กพิเศษ แนวทางการสังเกตโรค และการช่วยเหลือเด็ก และแนวทางการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยและดูแลต่อเนื่อง การเสริมสร้างทักษะให้กับเด็กพิเศษ ชุดความรู้การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จะทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่อง 10 แห่ง ได้แก่ ภาคกลาง ร.ร.อนุบาลสุพรรณบุรี ร.ร.สามชุกรัตนโภคาราม จ.สุพรรณบุรีภาคใต้ ร.ร.บ้านโพธิ์หวาย, ร.ร.วัดกาญจนาราม จ.สุราษฎร์ธานีภาคเหนือร.ร.วัดหนองปลิง ร.ร.อนุบาลเมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร.ร.ศรีสวัสดิ์วิทยา ร.ร.เทศบาลบูรพาพิทยาคาร จ.มหาสารคาม และ พื้นที่กรุงเทพฯร.ร.วิชูทิศ ร.ร.พิบูลประชาสรรค์ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นๆ จนสามารถสร้างเครือข่ายได้ครอบคลุมทั้งประเทศ พ.ญ.ชดาพิมพ์ กล่าวด้วยว่า การจัดกลุ่มเด็กพิเศษนี้ จะเน้นกลุ่มเด็กที่มีปัญหาการเรียน ไม่ใช่พิการทางร่างกาย อีกทั้งเด็กส่วนใหญ่มีความพิการทางการเรียนรู้ซ้ำซ้อน เช่น สมาธิสั้นมีออทิสติกแทรกซ้อน หรือออทิสติกก็จะมีสติปัญญาบกพร่องด้วย บางทีสติปัญญาบกพร่องก็มีสมาธิบกพร่องร่วมด้วย อย่างไรก็ตามเด็กใน 4 ประเภทนี้ กลุ่มเด็กแอลดี ถือเป็นกลุ่มที่น่าห่วง เพราะยากตั้งแต่การวินิจฉัย เด็กเหมือนมีปัญหาการเรียน มีสติปัญญาดี แต่ดูเหมือนขี้เกียจไม่เอาใจใส่ ครูอาจมองข้ามไป หากครูไม่รู้ว่ามีภาวะนี้เกิดขึ้นในตัวเด็ก เด็กก็จะถูกละเลยไป "เราจึงทำได้เพียงช่วยลดช่องแคบพัฒนาการกับความสามารถที่แท้จริงให้ลดลงเท่านั้น" คุณหมอชดาพิมพ์ กล่าวถึงเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ หรือเด็กแอลดี การวินิจฉัยอาการผิดปกติของเด็กนั้น จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยา ใช้แบบทดสอบที่ถูกต้อง ซึ่งในประเทศไทยยังมีผู้เชี่ยวชาญน้อยมาก และไม่สามารถกระจายไปทั่วประเทศไทย ดังนั้นจึงต้องส่งเด็กไปวินิจฉัยที่อื่น แต่เมื่อกลับไปแล้ว โรงเรียนกลับไม่มีระบบดูแลที่ถูกต้อง ทำให้เด็กเกิดปัญหาเรื้อรังยากจนเกินเยียวยาได้ รูปแบบการสอนเด็กแอลดีจึงแตกต่างจากเด็กทั่วไป ซึ่งมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมทำและได้ผลดีคือประเมินตัวเด็ก หากพบว่าเด็กบกพร่องการเรียนรู้ด้านไหน วิชาไหน ก็จะแยกเด็กออกมาสอนเสริม แต่สิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คุณหมอชดาพิมพ์ มองว่า เด็กเรียนในห้องเรียน ก็เหมือนถูกสร้างตึกให้สูงขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ฐานกลวง ไม่แน่น ดังนั้นเมื่อคัดกรองเด็กออกมาแล้ว จะต้องใช้แผนการศึกษารายบุคคล หรือ Individualized Education Plan: IEP เพื่อวางแผนการสอน "เช่นเดียวกับการวางแผนว่าจะซ่อมให้ฐานตึกแน่นได้อย่างไร เพราะบางครั้งการชี้วัดว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นหรือไม่ เราจะไม่วัดด้วยข้อสอบธรรมดา อาจจะให้สอบปากเปล่า การหารายงานเพิ่มเติม หรือให้เวลาเยอะขึ้น ซึ่งถือเป็นรูปแบบทดสอบที่มีอยู่หลากหลาย" คุณหมอชดาพิมพ์ กล่าวเมื่อมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การดูแลที่เหมาะสม เด็กจะได้ใช้ศักยภาพเต็มที่ รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ได้เรียนรู้ถูกช่องทางที่เด็กถนัด ข้อดีหรือความสามารถที่เด่นของเด็กก็จะถูกดึงขึ้นมามากขึ้น "เป็นเรื่องยากกับการทำให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หมดไปจากประเทศไทย เพราะเรายังไม่ทราบสาเหตุว่ากลุ่มโรคนี้เกิดจากอะไร" พ.ญ.ชดาพิมพ์ กล่าว "เราทำได้แค่แนะนำให้กินดีอยู่ดี เพื่อให้ลูกร่างกายแข็งแรง เพราะโรคของกลุ่มนี้จะเกิดจากความผิดปกติของยีน โครโมโซม แต่เราไม่รู้อีกเหมือนกัน ว่าอะไรที่ทำให้ผิดปกติ เช่น ตอนตั้งครรภ์ การรับสารเคมี หรือเป็นโรคประจำตัว หรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้" ชุดความรู้การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาครู ผู้ปกครอง และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ และที่สำคัญการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนทุกคนอย่างเท่า เทียม ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/bmnd/1701237 บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...