คนไทยพิการเกือบ 2 ล.คน 80% มาจากโรคเรื้อรัง-อุบัติเหตุ-ผู้สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

ไทยมีคนพิการเกือบ 2 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่ม สธ.เผยร้อยละ 80 เกิดจากโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุจราจร และการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ เร่งวางมาตรการรับมือ พร้อมพัฒนาระบบบริการเพื่อช่วยคนพิการให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ รวมถึงจัดระบบส่งต่อในเครือข่ายบริการ และส่งทีมฟื้นฟูดูแลถึงบ้าน

วันที่ 14 ก.ค. ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุขนาด 5 ชั้น รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก วงเงิน 255 ล้านบาท ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับสูงด้านอุบัติเหตุ หัวใจ และมะเร็ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ว่า จากการสำรวจของ สธ. ทั่ว ประเทศมีคนพิการประมาณ 1.9 ล้านคน ขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อรับการช่วยเหลือแล้ว 1.3 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 73 เกือบครึ่งเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย คาดว่าจำนวนผู้พิการจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจาก 1.โรคเรื้อรัง คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต 2.อุบัติเหตุจราจร และ 3.การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังประจำตัว จะมีความพิการร่วมด้วย จึงต้องวางแผนรับมือและเร่งป้องกัน โดยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ลดการป่วยโรคเรื้อรัง และป้องกันปัญหาแทรกซ้อนในผู้ที่ป่วยแล้วให้ได้มากที่สุด

นพ.ประดิษฐ์ กล่าวอีกว่า การช่วยเหลือคนพิการ สธ.ได้มอบให้ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบบริการ โดยขณะนี้ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กิจกรรมฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 จาก 13 รายการ เป็น 26 รายการ ผลักดันให้สิทธิประโยชน์อุปกรณ์ช่วยคนพิการ 3 กองทุนสุขภาพให้เท่าเทียมกัน และจัดงบประมาณสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่ 3 กองทุนไม่สามารถสนับสนุนได้ ปีละ 56 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้จัดไปแล้ว 2,475 ชิ้น อาทิ แขนขาเทียม รถนั่งคนพิการ เบ้าอ่อนขาเทียมช่วยผู้ป่วยเบาหวาน อุปกรณ์ทางการมองเห็นสำหรับคนพิการสายตาเลือนราง สื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิการ เป็นต้น

“นอกจากนี้ ยังเพิ่มเครือข่ายบริการแขนขาเทียม อุปกรณ์มูลค่าสูง ไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้นรวม 113 แห่ง เพื่อให้คนพิการซึ่งกว่าร้อยละ 80 อยู่ในชนบท ได้เข้าถึงบริการที่ใกล้บ้าน และพัฒนาศักยภาพการผลิตให้สามารถดูแลคนพิการที่มีปัญหาแทรกซ้อนเพื่อไม่ต้อง เดินทางมารับบริการที่ส่วนกลาง เช่น รพ.ราชบุรี รพ.พุทธชินราชพิษณุโลก รพ.ศรีนครินทร์ขอนแก่น รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี รพ.สงขลานครินทร์ พัฒนาระบบส่งต่อดูแลคนพิการใน 12 เขตบริการ จัดระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยถึงบ้าน โดยทีมสหวิชาชีพทั้งแผนปัจจุบันควบคู่การดูแลแบบแพทย์แผนไทย และพัฒนาระบบการฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนต้นแบบใน 4 จังหวัด เพื่อขยายผลใช้ทั่วประเทศ” รมว.สาธารณสุข กล่าว

ด้าน นพ.ประเสริฐ ขันเงิน ผอ.รพ.พุทธชินราช กล่าวว่า รพ.พุทธชินราช ได้เปิดให้บริการงานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู ตั้งแต่ปี 2524 เริ่มจากการผลิตอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้ค้ำยันรักแร้ ต่อมาในปี 2529 เริ่มให้บริการผลิตขาเทียม ปัจจุบันสามารถให้บริการกายอุปกรณ์ทดแทนอวัยวะส่วนที่ขาดให้ผู้พิการแบบครบ วงจร และได้พัฒนาและผลิตขาเทียมกันน้ำให้ผู้พิการ ช่วยให้ผู้พิการซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร สามารถทำงานในไร่นาได้ และได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นระดับประเทศ ปัจจุบันได้พัฒนาเครือข่ายการบริการด้านกายอุปกรณ์ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ตอนล่าง 8 จังหวัด ได้แก่ ขาเทียม แขนเทียม โลหะดามขา พลาสติกดามขา รองเท้าคนพิการ รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งซ่อมรถเข็นนั่งคนพิการ และเข่าเทียม ไม้เท้าค้ำยัน แต่ละปีให้บริการผู้ป่วยปีละประมาณ 400 ราย สำหรับศูนย์ผลิตและวิจัยกายอุปกรณ์ ต.ปากโทก นี้ สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิต วิจัย และพัฒนากายอุปกรณ์ ให้มีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมสากล ขนาดเหมาะกับคนไทยมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000085955 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ค.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 15/07/2556 เวลา 02:47:56

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ไทยมีคนพิการเกือบ 2 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่ม สธ.เผยร้อยละ 80 เกิดจากโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุจราจร และการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ เร่งวางมาตรการรับมือ พร้อมพัฒนาระบบบริการเพื่อช่วยคนพิการให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ รวมถึงจัดระบบส่งต่อในเครือข่ายบริการ และส่งทีมฟื้นฟูดูแลถึงบ้าน วันที่ 14 ก.ค. ที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุขนาด 5 ชั้น รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก วงเงิน 255 ล้านบาท ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับสูงด้านอุบัติเหตุ หัวใจ และมะเร็ง ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ว่า จากการสำรวจของ สธ. ทั่ว ประเทศมีคนพิการประมาณ 1.9 ล้านคน ขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อรับการช่วยเหลือแล้ว 1.3 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 73 เกือบครึ่งเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย คาดว่าจำนวนผู้พิการจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และกลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ โดยร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจาก 1.โรคเรื้อรัง คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต 2.อุบัติเหตุจราจร และ 3.การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังประจำตัว จะมีความพิการร่วมด้วย จึงต้องวางแผนรับมือและเร่งป้องกัน โดยลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ ลดการป่วยโรคเรื้อรัง และป้องกันปัญหาแทรกซ้อนในผู้ที่ป่วยแล้วให้ได้มากที่สุด นพ.ประดิษฐ์ กล่าวอีกว่า การช่วยเหลือคนพิการ สธ.ได้มอบให้ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบบริการ โดยขณะนี้ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์กิจกรรมฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 จาก 13 รายการ เป็น 26 รายการ ผลักดันให้สิทธิประโยชน์อุปกรณ์ช่วยคนพิการ 3 กองทุนสุขภาพให้เท่าเทียมกัน และจัดงบประมาณสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่ 3 กองทุนไม่สามารถสนับสนุนได้ ปีละ 56 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้จัดไปแล้ว 2,475 ชิ้น อาทิ แขนขาเทียม รถนั่งคนพิการ เบ้าอ่อนขาเทียมช่วยผู้ป่วยเบาหวาน อุปกรณ์ทางการมองเห็นสำหรับคนพิการสายตาเลือนราง สื่อส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิการ เป็นต้น “นอกจากนี้ ยังเพิ่มเครือข่ายบริการแขนขาเทียม อุปกรณ์มูลค่าสูง ไปสู่ภูมิภาคให้มากขึ้นรวม 113 แห่ง เพื่อให้คนพิการซึ่งกว่าร้อยละ 80 อยู่ในชนบท ได้เข้าถึงบริการที่ใกล้บ้าน และพัฒนาศักยภาพการผลิตให้สามารถดูแลคนพิการที่มีปัญหาแทรกซ้อนเพื่อไม่ต้อง เดินทางมารับบริการที่ส่วนกลาง เช่น รพ.ราชบุรี รพ.พุทธชินราชพิษณุโลก รพ.ศรีนครินทร์ขอนแก่น รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี รพ.สงขลานครินทร์ พัฒนาระบบส่งต่อดูแลคนพิการใน 12 เขตบริการ จัดระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยถึงบ้าน โดยทีมสหวิชาชีพทั้งแผนปัจจุบันควบคู่การดูแลแบบแพทย์แผนไทย และพัฒนาระบบการฟื้นฟูคนพิการโดยชุมชนต้นแบบใน 4 จังหวัด เพื่อขยายผลใช้ทั่วประเทศ” รมว.สาธารณสุข กล่าว ด้าน นพ.ประเสริฐ ขันเงิน ผอ.รพ.พุทธชินราช กล่าวว่า รพ.พุทธชินราช ได้เปิดให้บริการงานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู ตั้งแต่ปี 2524 เริ่มจากการผลิตอุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน เช่น ไม้ค้ำยันรักแร้ ต่อมาในปี 2529 เริ่มให้บริการผลิตขาเทียม ปัจจุบันสามารถให้บริการกายอุปกรณ์ทดแทนอวัยวะส่วนที่ขาดให้ผู้พิการแบบครบ วงจร และได้พัฒนาและผลิตขาเทียมกันน้ำให้ผู้พิการ ช่วยให้ผู้พิการซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร สามารถทำงานในไร่นาได้ และได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นระดับประเทศ ปัจจุบันได้พัฒนาเครือข่ายการบริการด้านกายอุปกรณ์ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ตอนล่าง 8 จังหวัด ได้แก่ ขาเทียม แขนเทียม โลหะดามขา พลาสติกดามขา รองเท้าคนพิการ รองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งซ่อมรถเข็นนั่งคนพิการ และเข่าเทียม ไม้เท้าค้ำยัน แต่ละปีให้บริการผู้ป่วยปีละประมาณ 400 ราย สำหรับศูนย์ผลิตและวิจัยกายอุปกรณ์ ต.ปากโทก นี้ สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิต วิจัย และพัฒนากายอุปกรณ์ ให้มีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมสากล ขนาดเหมาะกับคนไทยมีจำนวนเพียงพอในการให้บริการทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000085955 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...