กัญจนา ศิลปอาชา...กับวันสบายใต้ดวงตา “แม่” ของลูกที่ต้องนั่งรถเข็น

แสดงความคิดเห็น

กัญจนา ศิลปอาชา หรือ “คุณนา” กำลังเข็นรถเข็นให้ น้องแคท บุตรบุญธรรม กัญจนา ศิลปอาชา หรือ “คุณนา” เราคุ้นเคยกับเธออย่างดีในฐานะนักการเมืองสาวบุคลิกหวาน แต่เฉียบขาดในที เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี ๒๕๔๒-๒๕๔๔ เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี หลายสมัย เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปัจจุบัน และตำแหน่งอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงเป็นประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

วันนี้เราพักเรื่องงาน เปลี่ยนมาพูดคุยเรื่องราวสบาย ๆ ที่หลายคนไม่เคยรู้เกี่ยวกับเธอ เช่น เรื่องลูก เรื่องท่องเที่ยว เรื่องสัตว์ จากสายตามุ่งมั่นจริงจังคู่เดิม กลับกลายเป็นความอ่อนโยนและดูอ่อนไหวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะช่วงที่บทสนทนาวนเวียนพาเธอเข้าใกล้นิยามของคำว่า “แม่”

ปกติคุณนาชอบท่องเที่ยวแนวไหน และชอบที่ใดเป็นพิเศษ - ส่วนมากนาจะเลือกไปเที่ยวที่ที่สามารถพาลูกไปด้วยได้ เนื่องจากน้องแคท ลูกของนาต้องนั่งรถเข็น ทำให้เดินทางลำบาก จึงเลือกไปสถานที่ท่องเที่ยวที่รถเข้าถึง และไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มาก เช่น ทะเลแถวชะอำ หัวหิน ทั้ง ๆ ที่ตัวนาเองไม่ชอบทะเล เพราะไม่ชอบแดด ร้อน รู้สึกเหนียว และว่ายน้ำไม่เก่ง แต่คิดว่าเป็นสถานที่ที่สะดวกที่สุดในการทำกิจกรรมกับลูก นาจะชอบพาลูกไปนั่งตรงชายหาดให้คลื่นตี เหมือนให้ธรรมชาติบำบัด

แต่จริง ๆ แล้วนาเป็นคนชอบกิจกรรม Soft Adventure มีกิจกรรมอยู่ ๒ อย่างที่อยากไปลองมาก แต่ยังไม่มีโอกาสเสียที คือ อยากไปเล่น Treetop Adventure โหนจากยอดไม้ต้นหนึ่งไปต้นหนึ่ง มี ทั้งที่เชียงใหม่ หรือใกล้ ๆ ที่สวนสัตว์เขาเขียว ชลบุรี และขับรถเอทีวี ทั้ง ๒ อย่างนี้คือเป้าหมายต่อไป นาคงต้องรีบหน่อย เพราะร่างกายเริ่มไม่เอื้อ มีปัญหาตรงสะโพกขวา

กัญจนา ศิลปอาชา ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย คุณนาดูแลน้องแคทมานานหรือยัง - นาดูแลน้องมาตั้งแต่ ๓ ขวบ ตอนนี้น้องอายุ ๑๘ ขวบ แล้ว วันแรกที่เจอน้อง คือวันที่น้องลงข่าวหน้า ๑ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ เป็นเด็กเล็กที่ถูกทารุณอย่างรุนแรงที่สุด สภาพยับเยิน หนังกำพร้าหลุดทั้งแผ่นหลัง โดนมีดกรีด บุหรี่จี้ ใช้ดัมเบลทุบ หัวกระแทกพื้น ทั้งที่จริงน้องแคทเกิดมาเป็นเด็กปกติทุกประการ แต่โดนพ่อเลี้ยงกระทำตั้งแต่น้องอายุได้ ๒ ขวบครึ่ง จนถึง ๓ ขวบ

วันแรกที่เป็นข่าว นาชวนคุณแม่ไปดู แล้วพาลูกไปรักษาที่โรงพยาบาลอยู่ ๒ เดือน จนถึงวันที่หมอบอกว่าอยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์แล้ว นาจึงคิดว่าจะเอาลูกไปไว้ที่ไหนดี เพราะยังไม่ได้บอกคุณพ่อ จึงตัดสินใจพาไปฝากแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ที่เสถียรธรรมสถาน เพราะแม่ชีมีบ้านสายสัมพันธ์ ที่ดูแลทั้งแม่และเด็กที่มีปัญหา แล้วจ้างยายน้องแคทมาเลี้ยงหลานตัวเอง ตั้งแต่วันที่น้องอยู่โรงพยาบาลจนมาที่เสถียรธรรมสถาน นาหิ้วปิ่นโตไปหาลูกทุกวัน อยู่กับเขาตั้งแต่เย็นถึงห้าทุ่ม ไม่ขาดแม้แต่วันเดียว ทำอยู่ปีกว่า จนสบโอกาสที่คุณพ่อจะสร้างบ้านให้น้องชายและน้องสาว จึงขอให้พ่อสร้างห้องให้น้องแคทด้วย พ่อก็แสนใจดียินดีสร้างห้องให้น้อง และปรับทางเดินในบ้านให้เป็นทางลาดทั้งหมด แล้วรับน้องเข้ามาอยู่ตั้งแต่บัดนั้น

น้องแคทเป็นแรงบันดาลใจให้คุณนาตั้งมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยหรือเปล่า -ไม่ใช่ค่ะ ที่จริงมูลนิธิฯ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ สมัยที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ หรือกีฬาคนพิการโซนอาเซียน หรือเดี๋ยวนี้เรียกอาเซียนพาราเกมส์ ตอนนั้นหน่วยงานที่จัดงานยังไม่มีความพร้อม ซึ่งเหลือเวลาอีก ๘ เดือนจะถึงการแข่งขัน ทุกคนกังวล เพราะถือว่าเป็นภาพลักษณ์ของประเทศ จึงเดินทางมาขอให้คุณพ่อช่วยเป็นพ่องาน ร่วมระดมทุกสรรพกำลัง จนงานประสบความสำเร็จ การแข่งขันกีฬาครั้งนั้นทำให้คนเข้าใจคนพิการมากขึ้น มองว่าเขามีความสามารถ ขอเพียงแต่มีโอกาสและมีพื้นที่ให้แสดงออก

พอเสร็จงานกีฬามีเงินเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง และอยากทำอะไรให้คนพิการต่อเนื่อง จึงจัดตั้งมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยขึ้น โดยมีตัวเองเป็นประธาน มีหน่วยงานคนพิการ คนพิการเอง และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบเป็นคณะกรรมการ ดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพของคนพิการในทุกมิติ ทั้งการศึกษา กีฬา อาชีพ นันทนาการ เป็นตัวเชื่อมส่งความทุกข์ร้อนของคนพิการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และถ้าวันหนึ่งไม่มีมูลนิธิฯ ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกอยู่ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามหลักการที่มูลนิธิฯ ตั้งไว้

ในด้านมิติการการท่องเที่ยวล่ะคะ มูลนิธิฯ มีบทบาทอย่างไร – ทางมูลนิธิฯ จะประสานกับ ททท. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาตลอดว่า หากมีการจัดโครงการหรือกิจกรรมใด ให้คำนึงถึงการเข้าถึงของคนพิการทั้งเรื่องแหล่งท่องเที่ยว บริการ และสวัสดิภาพ เป็นพิเศษ อย่าละเลย นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ www.tddf.or.th ที่มีห้องกระทู้ให้คนพิการเข้ามาร้องเรียน บอกข่าวเล่าเรื่อง ว่าประสบปัญหาหรือได้รับความไม่สะดวกตรงไหนบ้าง ทางเราจะเป็นคนประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้

นอกจากนี้ทราบว่าคุณนาชอบไปเชียงใหม่ เพื่อไปนั่งมองหลินปิง - (หัวเราะ) นาติดตามหลินปิงมาตั้งแต่แรกเกิด ตัวเท่าลูกหนู ตอนนี้น้ำหนัก ๑๐๔ กิโลกรัมแล้ว และอายุครบ ๔ ปีไปเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม รักมาก หลินปิงทำให้นารักสัตว์ทุกชนิด ช้าง หมา แมว รักหมด แต่ข่าวจะออกเฉพาะหลินปิง นาชอบมองลึกลงไปในตาของพวกเขา ทำให้เรารู้สึกว่าเขาเองคือเพื่อน คือลูก คือญาติ และมีสิทธิ์อยู่ร่วมโลกใบนี้เหมือนกับพวกเรา มนุษย์เราเองไม่ได้เป็นเจ้าของทุกอย่างของโลก

กัญจนา ศิลปอาชา เข้าเที่ยวชมหมีแพนด้า 'หลินปิง' เพื่อให้อาหารที่เชียงใหม่ เราอาจช่วยอะไรได้ไม่มาก แต่มีอะไรทำได้ก็ทำ เช่น การบริจาคเงินเข้ากองทุนที่ช่วยเหลือหมา ซึ่งเงินร่อยหรอลงทุกที พยายามบอกกับอธิบดีกรมปศุสัตว์ให้สร้างศูนย์พักพิงสุนัข เพราะทางจังหวัดเองเขารับไม่ไหวแล้ว และร่วมผลักดันให้ไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ เพื่อลงโทษผู้ที่กระทำทารุณต่อสัตว์ เมืองนอกเขามีแล้ว แต่บ้านเราใครฆ่าหมาข้างถนนไม่มีความผิด เหมือนเขาไม่มีตัวตน ตอนนี้ทราบว่า พ.ร.บ. ผ่านวาระที่ ๒ แล้ว อยากให้ พ.ร.บ. ผ่านวาระ ๓ และประกาศใช้เสียที สัตว์ต่าง ๆ จะได้ไม่ถูกทารุณกรรมเหมือนปัจจุบัน

ส่วนที่หลินปิงจะอยู่ไทยหรือไปจีนนั้น นาอยากให้ทุกฝ่ายมองสวัสดิภาพและความสุขของแพนด้าเป็นหลัก อย่าเอาความต้องการของคนเป็นที่ตั้ง แต่ยังแอบกังวลอยู่บ้างว่าที่จีนแผ่นดินไหวบ่อย แล้วเขาค่อนข้างตกใจง่าย แต่ถ้าต้องกลับจีนก็ไม่อยากให้เขาไปตอนอายุมาก เพราะช่วงที่เหมาะสม คือ ๒ ขวบ ตอนนี้หลินปิง ๔ ขวบแล้ว ถ้าช้ากว่านี้จะปรับตัวลำบาก หลินปิงทำหน้าที่ทูตสันถวไมตรีมายาวนานแล้ว อยากให้เขามีความสุขในที่ทางที่เหมาะสมกับชีวิตที่เหลือของเขา

ในขณะที่เราพยายามแยกพูดคุยเรื่องส่วนตัวในวันสบาย ๆ ของเธอ แต่ก็ดูเหมือนว่ากิจกรรมยามว่างเหล่านั้น จะเป็นกิจกรรมเพื่อคนอื่น ๆ รวมถึงสัตว์ร่วมโลกก่อนตัวเองเสียส่วนใหญ่ จนทำให้เราเชื่อได้ในดวงตาคู่นั้นว่า แม้จะไม่ใช่ผู้ให้กำเนิด แต่ความรู้สึกเป็นแม่นั้นเกิดขึ้นได้จริง ๆ และมันเกิดขึ้นอย่างงดงามในหัวใจของหญิงเก่งที่ชื่อกัญจนา ศิลปอาชา

หมายเหตุโค้ทคำพูด : “พ่อก็แสนใจดียินดีสร้างห้องให้น้อง และปรับทางเดินในบ้านให้เป็นทางลาดทั้งหมด แล้วรับน้องเข้ามาอยู่ตั้งแต่บัดนั้น”

จริยา ชูช่วย...เรื่อง ชคัทพล ใจน้อม...ภาพ

ที่มา: คนดังช่างเที่ยว ฉบับมิถุนายน ๕๖/ไฟล์ khondang jun 2013/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๘ มิ.ย. ๕๖
วันที่โพสต์: 1/07/2556 เวลา 06:18:30 ดูภาพสไลด์โชว์ กัญจนา ศิลปอาชา...กับวันสบายใต้ดวงตา “แม่” ของลูกที่ต้องนั่งรถเข็น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กัญจนา ศิลปอาชา หรือ “คุณนา” กำลังเข็นรถเข็นให้ น้องแคท บุตรบุญธรรม กัญจนา ศิลปอาชา หรือ “คุณนา” เราคุ้นเคยกับเธออย่างดีในฐานะนักการเมืองสาวบุคลิกหวาน แต่เฉียบขาดในที เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี ๒๕๔๒-๒๕๔๔ เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี หลายสมัย เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ในปัจจุบัน และตำแหน่งอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงเป็นประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย วันนี้เราพักเรื่องงาน เปลี่ยนมาพูดคุยเรื่องราวสบาย ๆ ที่หลายคนไม่เคยรู้เกี่ยวกับเธอ เช่น เรื่องลูก เรื่องท่องเที่ยว เรื่องสัตว์ จากสายตามุ่งมั่นจริงจังคู่เดิม กลับกลายเป็นความอ่อนโยนและดูอ่อนไหวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะช่วงที่บทสนทนาวนเวียนพาเธอเข้าใกล้นิยามของคำว่า “แม่” ปกติคุณนาชอบท่องเที่ยวแนวไหน และชอบที่ใดเป็นพิเศษ - ส่วนมากนาจะเลือกไปเที่ยวที่ที่สามารถพาลูกไปด้วยได้ เนื่องจากน้องแคท ลูกของนาต้องนั่งรถเข็น ทำให้เดินทางลำบาก จึงเลือกไปสถานที่ท่องเที่ยวที่รถเข้าถึง และไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มาก เช่น ทะเลแถวชะอำ หัวหิน ทั้ง ๆ ที่ตัวนาเองไม่ชอบทะเล เพราะไม่ชอบแดด ร้อน รู้สึกเหนียว และว่ายน้ำไม่เก่ง แต่คิดว่าเป็นสถานที่ที่สะดวกที่สุดในการทำกิจกรรมกับลูก นาจะชอบพาลูกไปนั่งตรงชายหาดให้คลื่นตี เหมือนให้ธรรมชาติบำบัด แต่จริง ๆ แล้วนาเป็นคนชอบกิจกรรม Soft Adventure มีกิจกรรมอยู่ ๒ อย่างที่อยากไปลองมาก แต่ยังไม่มีโอกาสเสียที คือ อยากไปเล่น Treetop Adventure โหนจากยอดไม้ต้นหนึ่งไปต้นหนึ่ง มี ทั้งที่เชียงใหม่ หรือใกล้ ๆ ที่สวนสัตว์เขาเขียว ชลบุรี และขับรถเอทีวี ทั้ง ๒ อย่างนี้คือเป้าหมายต่อไป นาคงต้องรีบหน่อย เพราะร่างกายเริ่มไม่เอื้อ มีปัญหาตรงสะโพกขวา กัญจนา ศิลปอาชา ประธานมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย คุณนาดูแลน้องแคทมานานหรือยัง - นาดูแลน้องมาตั้งแต่ ๓ ขวบ ตอนนี้น้องอายุ ๑๘ ขวบ แล้ว วันแรกที่เจอน้อง คือวันที่น้องลงข่าวหน้า ๑ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ เป็นเด็กเล็กที่ถูกทารุณอย่างรุนแรงที่สุด สภาพยับเยิน หนังกำพร้าหลุดทั้งแผ่นหลัง โดนมีดกรีด บุหรี่จี้ ใช้ดัมเบลทุบ หัวกระแทกพื้น ทั้งที่จริงน้องแคทเกิดมาเป็นเด็กปกติทุกประการ แต่โดนพ่อเลี้ยงกระทำตั้งแต่น้องอายุได้ ๒ ขวบครึ่ง จนถึง ๓ ขวบ วันแรกที่เป็นข่าว นาชวนคุณแม่ไปดู แล้วพาลูกไปรักษาที่โรงพยาบาลอยู่ ๒ เดือน จนถึงวันที่หมอบอกว่าอยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์แล้ว นาจึงคิดว่าจะเอาลูกไปไว้ที่ไหนดี เพราะยังไม่ได้บอกคุณพ่อ จึงตัดสินใจพาไปฝากแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ที่เสถียรธรรมสถาน เพราะแม่ชีมีบ้านสายสัมพันธ์ ที่ดูแลทั้งแม่และเด็กที่มีปัญหา แล้วจ้างยายน้องแคทมาเลี้ยงหลานตัวเอง ตั้งแต่วันที่น้องอยู่โรงพยาบาลจนมาที่เสถียรธรรมสถาน นาหิ้วปิ่นโตไปหาลูกทุกวัน อยู่กับเขาตั้งแต่เย็นถึงห้าทุ่ม ไม่ขาดแม้แต่วันเดียว ทำอยู่ปีกว่า จนสบโอกาสที่คุณพ่อจะสร้างบ้านให้น้องชายและน้องสาว จึงขอให้พ่อสร้างห้องให้น้องแคทด้วย พ่อก็แสนใจดียินดีสร้างห้องให้น้อง และปรับทางเดินในบ้านให้เป็นทางลาดทั้งหมด แล้วรับน้องเข้ามาอยู่ตั้งแต่บัดนั้น น้องแคทเป็นแรงบันดาลใจให้คุณนาตั้งมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยหรือเปล่า -ไม่ใช่ค่ะ ที่จริงมูลนิธิฯ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ สมัยที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเฟสปิกเกมส์ หรือกีฬาคนพิการโซนอาเซียน หรือเดี๋ยวนี้เรียกอาเซียนพาราเกมส์ ตอนนั้นหน่วยงานที่จัดงานยังไม่มีความพร้อม ซึ่งเหลือเวลาอีก ๘ เดือนจะถึงการแข่งขัน ทุกคนกังวล เพราะถือว่าเป็นภาพลักษณ์ของประเทศ จึงเดินทางมาขอให้คุณพ่อช่วยเป็นพ่องาน ร่วมระดมทุกสรรพกำลัง จนงานประสบความสำเร็จ การแข่งขันกีฬาครั้งนั้นทำให้คนเข้าใจคนพิการมากขึ้น มองว่าเขามีความสามารถ ขอเพียงแต่มีโอกาสและมีพื้นที่ให้แสดงออก พอเสร็จงานกีฬามีเงินเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง และอยากทำอะไรให้คนพิการต่อเนื่อง จึงจัดตั้งมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทยขึ้น โดยมีตัวเองเป็นประธาน มีหน่วยงานคนพิการ คนพิการเอง และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประกอบเป็นคณะกรรมการ ดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพของคนพิการในทุกมิติ ทั้งการศึกษา กีฬา อาชีพ นันทนาการ เป็นตัวเชื่อมส่งความทุกข์ร้อนของคนพิการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และถ้าวันหนึ่งไม่มีมูลนิธิฯ ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกอยู่ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามหลักการที่มูลนิธิฯ ตั้งไว้ ในด้านมิติการการท่องเที่ยวล่ะคะ มูลนิธิฯ มีบทบาทอย่างไร – ทางมูลนิธิฯ จะประสานกับ ททท. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาตลอดว่า หากมีการจัดโครงการหรือกิจกรรมใด ให้คำนึงถึงการเข้าถึงของคนพิการทั้งเรื่องแหล่งท่องเที่ยว บริการ และสวัสดิภาพ เป็นพิเศษ อย่าละเลย นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ www.tddf.or.th ที่มีห้องกระทู้ให้คนพิการเข้ามาร้องเรียน บอกข่าวเล่าเรื่อง ว่าประสบปัญหาหรือได้รับความไม่สะดวกตรงไหนบ้าง ทางเราจะเป็นคนประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ นอกจากนี้ทราบว่าคุณนาชอบไปเชียงใหม่ เพื่อไปนั่งมองหลินปิง - (หัวเราะ) นาติดตามหลินปิงมาตั้งแต่แรกเกิด ตัวเท่าลูกหนู ตอนนี้น้ำหนัก ๑๐๔ กิโลกรัมแล้ว และอายุครบ ๔ ปีไปเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม รักมาก หลินปิงทำให้นารักสัตว์ทุกชนิด ช้าง หมา แมว รักหมด แต่ข่าวจะออกเฉพาะหลินปิง นาชอบมองลึกลงไปในตาของพวกเขา ทำให้เรารู้สึกว่าเขาเองคือเพื่อน คือลูก คือญาติ และมีสิทธิ์อยู่ร่วมโลกใบนี้เหมือนกับพวกเรา มนุษย์เราเองไม่ได้เป็นเจ้าของทุกอย่างของโลก กัญจนา ศิลปอาชา เข้าเที่ยวชมหมีแพนด้า 'หลินปิง' เพื่อให้อาหารที่เชียงใหม่เราอาจช่วยอะไรได้ไม่มาก แต่มีอะไรทำได้ก็ทำ เช่น การบริจาคเงินเข้ากองทุนที่ช่วยเหลือหมา ซึ่งเงินร่อยหรอลงทุกที พยายามบอกกับอธิบดีกรมปศุสัตว์ให้สร้างศูนย์พักพิงสุนัข เพราะทางจังหวัดเองเขารับไม่ไหวแล้ว และร่วมผลักดันให้ไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ เพื่อลงโทษผู้ที่กระทำทารุณต่อสัตว์ เมืองนอกเขามีแล้ว แต่บ้านเราใครฆ่าหมาข้างถนนไม่มีความผิด เหมือนเขาไม่มีตัวตน ตอนนี้ทราบว่า พ.ร.บ. ผ่านวาระที่ ๒ แล้ว อยากให้ พ.ร.บ. ผ่านวาระ ๓ และประกาศใช้เสียที สัตว์ต่าง ๆ จะได้ไม่ถูกทารุณกรรมเหมือนปัจจุบัน ส่วนที่หลินปิงจะอยู่ไทยหรือไปจีนนั้น นาอยากให้ทุกฝ่ายมองสวัสดิภาพและความสุขของแพนด้าเป็นหลัก อย่าเอาความต้องการของคนเป็นที่ตั้ง แต่ยังแอบกังวลอยู่บ้างว่าที่จีนแผ่นดินไหวบ่อย แล้วเขาค่อนข้างตกใจง่าย แต่ถ้าต้องกลับจีนก็ไม่อยากให้เขาไปตอนอายุมาก เพราะช่วงที่เหมาะสม คือ ๒ ขวบ ตอนนี้หลินปิง ๔ ขวบแล้ว ถ้าช้ากว่านี้จะปรับตัวลำบาก หลินปิงทำหน้าที่ทูตสันถวไมตรีมายาวนานแล้ว อยากให้เขามีความสุขในที่ทางที่เหมาะสมกับชีวิตที่เหลือของเขา ในขณะที่เราพยายามแยกพูดคุยเรื่องส่วนตัวในวันสบาย ๆ ของเธอ แต่ก็ดูเหมือนว่ากิจกรรมยามว่างเหล่านั้น จะเป็นกิจกรรมเพื่อคนอื่น ๆ รวมถึงสัตว์ร่วมโลกก่อนตัวเองเสียส่วนใหญ่ จนทำให้เราเชื่อได้ในดวงตาคู่นั้นว่า แม้จะไม่ใช่ผู้ให้กำเนิด แต่ความรู้สึกเป็นแม่นั้นเกิดขึ้นได้จริง ๆ และมันเกิดขึ้นอย่างงดงามในหัวใจของหญิงเก่งที่ชื่อกัญจนา ศิลปอาชา หมายเหตุโค้ทคำพูด : “พ่อก็แสนใจดียินดีสร้างห้องให้น้อง และปรับทางเดินในบ้านให้เป็นทางลาดทั้งหมด แล้วรับน้องเข้ามาอยู่ตั้งแต่บัดนั้น” จริยา ชูช่วย...เรื่อง ชคัทพล ใจน้อม...ภาพ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...