รู้จัก ‘สายรัดข้อมือคุมประพฤติ’แยกผู้คึกคะนองจากอาชญากรอาชีพ

แสดงความคิดเห็น

‘สายรัดข้อมือคุมประพฤติ’

หากใครเคยชมภาพยนตร์ฝรั่งเรื่อง Disturbia ที่ Shia LaBeouf (นักแสดงนำจาก Transformers) แสดงเป็นเด็กหนุ่มมีปัญหาไปก่อเรื่องแล้วก็โดนศาลสั่งคุมประพฤติ ด้วยการใส่กำไลข้อเท้า ซึ่งหากออกนอกเขตบ้านของตน กำไลดังกล่าวจะส่งสัญญาณไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาจับกุม ซึ่งขณะนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวที่เรียกว่า Electronic Monitoring หรือ EM ได้ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศ เช่น ที่สหรัฐอเมริกา หรือในเอเชีย เช่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้ โดยเน้นที่กลุ่มผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชน และผู้ต้องหาที่มีความผิดไม่ร้ายแรง ซึ่งมีอัตราโทษน้อยเป็นหลัก

สำหรับประเทศไทย เคยมีการเสนอแนวคิดดังกล่าวมาหลายครั้ง เพื่อหวังจะแยก “หน้าใหม่” หรือผู้ที่เพิ่งกระทำผิด ในข้อหาเล็กๆ น้อยๆ ออกจาก “อาชญากรอาชีพ” หรือคนที่กระทำผิดซ้ำซ้อน หรือก่อคดีอุกฉกรรจ์ร้ายแรง เพราะที่ผ่านมา ผู้ต้องหาหน้าใหม่เหล่านี้ เมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำ ก็จะไปเรียนรู้ “วิชาโจร” จากบรรดาอาชญากรรุ่นพี่ทั้งหลาย ทำให้เป้าหมายในการ “คืนคนดีสู่สังคม” ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรวันนี้สกู๊ปหน้า 5 จะพาไปรู้จักเทคโนโลยีดังกล่าว ว่าเพราะเหตุใดจึงได้รับความนิยมในหลายประเทศ และเหตุใดประเทศไทยสมควรต้องมีใช้บ้าง

เมื่อนักโทษล้นคุก เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้กระทำความผิดต้องโทษจำคุกมากกว่า 2 แสนคน ทำให้สภาพความเป็นอยู่นั้นเต็มไปด้วยความแออัด ดังจะเห็นได้จากเรื่องเล่าจากผู้ที่พ้นโทษว่าแม้แต่การนอนก็ต้องนอนตะแคง เพราะพื้นที่เรือนนอนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียด และอาจก่อเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้ต้องขังด้วยกัน ซึ่งเป็นการทำผิดซ้ำ และถือว่าไม่ตรงกับจุดประสงค์ของงานราชทัณฑ์สมัยใหม่ ที่ต้องการให้ผู้กระทำผิดเกิดความสำนึก ในขณะที่ชดใช้กรรมอยู่ในเรือนจำ

นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีนักโทษอยู่ในเรือนจำไทยทั่วประเทศประมาณ 247,000 คนซึ่งเทียบจำนวนเรือนจำถือว่าแออัดกว่ามาตรฐานสากล 4 เท่าตัว

“ทุกวันนี้อยู่กันแบบครึ่งคน ครึ่งสัตว์จริงๆ ทั้งนี้ เราเป็นเมืองพุทธไม่ควรปล่อยให้มีสภาพแบบนี้ หากนำเครื่องมือ EM มาใช้ ถือว่าเราลงทุน เพื่อลดต้นทุน เพราะจะลดปัญหาเจ้าหน้าที่เรือนจำไม่พอ และลดปัญหาสร้างเรือนจำเพิ่ม ซึ่งราคาไม่ต่ำกว่าหลักร้อยล้าน ก็จะตัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้ ซึ่งคดีที่ควรนำมาใช้ คือคดีที่มีความผิดไม่ร้ายแรง ซึ่งอาจเป็นนักโทษคดีเศรษฐกิจ หรือนักโทษสตรี เพราะไม่ใช่อาชญากร” ประธาน คอ.นธ. กล่าว

ขณะที่ นายดล บุนนาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมาเรือนจำ กลายเป็นเหมือนแดนสนธยา ผู้ที่เข้าไปแล้วก็เข้าไปเรียนรู้วิธีกระทำผิดเพิ่ม และยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้มีอิทธิพลจากในเรือนจำอีกด้วย

“จากปัญหาดังกล่าว ถือว่าคุ้มค่าที่จะนำเครื่องมือ EM มาใช้กับผู้กระทำผิด เพื่อป้องกันปัญหาผู้ต้องขัง ที่แทนที่จะสำนึกผิด กลับจะยิ่งเรียนรู้การทำผิดจากในเรือนจำเพิ่มเติม และเมื่อเข้าไปอยู่ในที่คุมขังจะมีสัมพันธ์กันเมื่อพ้นโทษ จึงกลายเป็นเครือข่ายให้คนในเรือนจำ รวมทั้งปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน”

เช่นเดียวกับ น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมคุมประพฤติ ผู้ริเริ่มแนวคิดดังกล่าว ที่ตั้งใจนำมาใช้กับเยาวชนและสตรีก่อน ในข้อหาเกี่ยวกับการจราจร “เบื้องต้นที่พิจารณานำอุปกรณ์ EM มาใช้เป็นโทษเกี่ยวกับพ.ร.บ.การจราจร เพื่อเป็นทางเลือกเสริมให้ศาลใช้ดุลพินิจ แต่ยืนยันว่าต้องมีการปรับพฤติกรรมของผู้กระทำผิดทั้งด้านกาย จิตและสังคมควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ มีการกำหนดหลักเกณฑ์กำกับไว้ว่าด้วยความสมดุลสิทธิของเหยื่อ คำนึงถึงภัยและอาชญากรรมที่จะเกิดกับชุมชน ตลอดจนสิทธิผู้กระทำผิดด้วย”

เทคโนโลยี EM ทำงานอย่างไร? “สำหรับอุปกรณ์ EM ในสหรัฐอเมริกา มีการนำมาใช้กับผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้นำมาใช้กับนักโทษซึ่งสามารถทำให้มีน้ำหนักเท่ากับนาฬิกาที่มี น้ำหนักเบาสุดได้ โดยอายุของแบตเตอรี่ จะอยู่ได้ 5 ปี ส่วนการชาร์จแบตเตอรี่สายรัดข้อมือที่เชื่อม GPRS นั้นจะต้องมีการชาร์จทุกๆ 7 วันซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ถูกคุมประพฤติ จะต้องปฏิบัติอยู่แล้วมิฉะนั้นหากการขาดติดต่อไปยังเครื่องตัวอ่านข้อมูล ที่เชื่อมไปยังกรมคุมประพฤติ ก็จะเกิดการแจ้งเตือนเช่นเดียวกัน หากปล่อยแบตเตอรี่สายรัดข้อมูลหมด ซึ่งอยู่ในกติกาของการละเมิด จะถือว่าผู้ถูกควบคุมละเมิด จึงเป็นการกระทำผิดเงื่อนไข”

เป็นคำอธิบายของ น.ส.วรลักษณ์ หลาพรหมผู้ช่วยผู้ขัดการแผนกวิศวกรรม บริษัท FACILITY MANAGEMENT จำกัด (FM) ถึงวิธีการทำงานของอุปกรณ์ EM ซึ่งการตั้งค่าต่างๆ จะคล้ายกับการปรับจูนคลื่นวิทยุสื่อสาร (Walky-Talky) ซึ่งระยะทางกำหนดบริเวณจะตั้งค่าไว้ในซอฟต์แวร์ โดยจะส่งข้อมูลเหตุการณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อกับตัวอ่าน โดยจะขึ้นอยู่กับการตั้งข้อมูลไว้ว่าสิ่งไหนจะเป็นการแจ้งเตือนหรือห้าม เช่น 1.กระชากสาย EM ออก 2.การออกนอกระยะบริเวณที่กำหนดไว้ โดยสายรัดข้อมือ EMจะส่งข้อมูลทั้งหมดที่ทำเข้าเครื่องอ่าน

ขณะที่ นางภาวิณี สุทธิวุฒินฤเบศร์ ผู้จัดการแผนกระบบความปลอดภัยของบริษัท 3M ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางกรมคุมประพฤติต้องการนำมาใช้กับผู้ต้องหารถซิ่งกวนเมือง (เด็กแว้น) เป็นกลุ่มแรก ซึ่งที่ผ่านมา เทคโนโลยี EM ของ บ.3M เคยใช้ในหลายประเทศมาแล้ว เช่นสวีเดน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และสวิตเซอร์แลนด์ ในความผิดกรณีทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว ซึ่งศาลจะเป็นผู้ออกคำสั่งว่าเหยื่อกับผู้กระทำผิดจะต้องอยู่ห่างกันในระยะ เท่าใด

“เด็กเยาวชนก่อเหตุก่อกวน ไม่ใช่โทษรุนแรงเหมือนโทษคดีฆ่าคนตาย ลักขโมย แต่บางครั้งเมื่อเข้าไปอยู่ในสถานที่คุมขังคุก เมื่อออกมาแล้วปรากฏว่าเขาได้วิชาชีพบางอย่างออกมาด้วย ซึ่งหากผู้ถูกคุมประพฤติพยายามทำลายเครื่องมือดังกล่าว อุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณเตือนไปยังศูนย์ที่ทำหน้าที่ควบคุมบุคคลดังกล่าวทันที และบุคคลที่ถูกควบคุมจะได้รับอัตราโทษเพิ่มมากขึ้น จึงคิดว่าไม่น่าจะเกิดการทำลายอุปกรณ์นี้ได้ง่ายๆ” คุณภาวิณี กล่าว

เช่นเดียวกับ นายศุภรา สุวรรณรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัทAES กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า อุปกรณ์เหล่านี้มีราคาขายขาดอยู่ที่ราวๆ 25,000 บาทต่อชุด โดยเครื่องควบคุมจะทำงานเชื่อมกับสัญญาณดาวเทียม (GPS) เพื่อส่งพิกัดของผู้สวมใส่ผ่านสัญญาณอินเตอร์เนตไร้สายบนมือถือ (GPRS หรือ EDGE) ไปยังเครื่องรับข้อมูลของกรมคุมประพฤติ

“สำหรับแบตเตอรี่ อุปกรณ์นี้ผู้ถูกควบคุมต้องชาร์จทุก 2 วัน โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีอายุใช้งานนานประมาณ 3 ปี ซึ่งจะเสื่อมไปพร้อมแบตเตอรี่และตัวเครื่องสายควบคุม แต่ตัวเครื่องมีระบบป้องกันฝุ่นและระดับแรงดันน้ำลึกด้วย ดังนั้น ผู้สวมใส่สามารถใส่อาบน้ำและทำกิจกรรมต่างๆ ได้” ตัวแทนจาก บริษัท AES กรุ๊ป กล่าว

ข้อกังวลบางประการ แม้จะมีหลายประเทศ ที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ แต่สำหรับประเทศไทย อาจต้องหาข้อสรุปกันอีกหลายประการ โดยคุณดล กล่าวว่า สำหรับความผิดบางอย่างที่เป็นเรื่องอ่อนไหวของสังคม เช่น มาตรา 112 ยาเสพติดหรือข่มขืนกระทำชำเรา หรือกรณีผู้ต้องหาบางราย อาจไปข่มขู่พยานหรือทำลายหลักฐานได้ ทำให้ยังต้องมีการพูดคุย และได้รับการยินยอมจากหลายฝ่าย ทั้งสังคม เหยื่อหรือผู้เสียหาย แม้กระทั่งตัวผู้ถูกควบคุมเองด้วย

ขณะที่ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กล่าวแสดงความกังวลเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยระบบ เพราะอาจถูกบุกรุก (Hack) เข้าไปได้แต่ทั้งนี้หากมีความพร้อมมากพอ กระบวนการยุติธรรมย่อมสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้เช่นกัน

“ในกระบวนยุติธรรม สามารถที่นำเครื่องมือ EM มาใช้ได้ แต่ขอว่าให้มีกติกาที่ชัดเจนก่อน โดยต้องมีการออกกฎระเบียบและเงื่อนไข ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ใครจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ควบคุมผู้กระทำผิด” พ.ต.อ.ญาณพล กล่าวทิ้งท้าย

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้ให้อำนาจศาลในการสั่งคุมประพฤติผู้กระทำผิดในข้อหาที่อัตราโทษไม่ร้ายแรง โดยไม่ต้องส่งตัวไปเข้าเรือนจำ และที่ผ่านมา ผู้ที่ถูกคุมประพฤติส่วนใหญ่มักเป็นเยาวชนที่ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่นทะเลาะวิวาท หรือเป็นเด็กแว้นซิ่งมอเตอร์ไซค์บนถนน เพียงแต่ยังไม่มีเครื่องมือใดมาควบคุม นอกจากการไปรายงานตัวเป็นครั้งคราวต่อเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบ

ซึ่งทำให้ผู้ถูกคุมประพฤติ ยังมีโอกาสออกไปกระทำผิดซ้ำ ขณะที่การส่งตัวเข้าเรือนจำหรือสถานพินิจ ก็อาจทำให้เด็กเหล่านี้ ที่ทำความผิดเพียงเพราะความคึกคะนอง กลายเป็นอาชญากรมืออาชีพในอนาคต เพราะได้รับการถ่ายทอดวิชาโจรมาจากสถานที่เหล่านั้น ดังนั้นเทคโนโลยีตัวนี้ ถือว่าน่าสนใจไม่น้อย : สิริพร พานทองถาวร SCOOP@NAEWNA.COM

ขอบคุณ... http://www.naewna.com/scoop/41438

ที่มา: แนวหน้าออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 29/03/2556 เวลา 03:59:02 ดูภาพสไลด์โชว์ รู้จัก ‘สายรัดข้อมือคุมประพฤติ’แยกผู้คึกคะนองจากอาชญากรอาชีพ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

‘สายรัดข้อมือคุมประพฤติ’ หากใครเคยชมภาพยนตร์ฝรั่งเรื่อง Disturbia ที่ Shia LaBeouf (นักแสดงนำจาก Transformers) แสดงเป็นเด็กหนุ่มมีปัญหาไปก่อเรื่องแล้วก็โดนศาลสั่งคุมประพฤติ ด้วยการใส่กำไลข้อเท้า ซึ่งหากออกนอกเขตบ้านของตน กำไลดังกล่าวจะส่งสัญญาณไปยังสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาจับกุม ซึ่งขณะนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวที่เรียกว่า Electronic Monitoring หรือ EM ได้ถูกนำไปใช้ในหลายประเทศ เช่น ที่สหรัฐอเมริกา หรือในเอเชีย เช่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้ โดยเน้นที่กลุ่มผู้ต้องหาที่เป็นเยาวชน และผู้ต้องหาที่มีความผิดไม่ร้ายแรง ซึ่งมีอัตราโทษน้อยเป็นหลัก สำหรับประเทศไทย เคยมีการเสนอแนวคิดดังกล่าวมาหลายครั้ง เพื่อหวังจะแยก “หน้าใหม่” หรือผู้ที่เพิ่งกระทำผิด ในข้อหาเล็กๆ น้อยๆ ออกจาก “อาชญากรอาชีพ” หรือคนที่กระทำผิดซ้ำซ้อน หรือก่อคดีอุกฉกรรจ์ร้ายแรง เพราะที่ผ่านมา ผู้ต้องหาหน้าใหม่เหล่านี้ เมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำ ก็จะไปเรียนรู้ “วิชาโจร” จากบรรดาอาชญากรรุ่นพี่ทั้งหลาย ทำให้เป้าหมายในการ “คืนคนดีสู่สังคม” ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรวันนี้สกู๊ปหน้า 5 จะพาไปรู้จักเทคโนโลยีดังกล่าว ว่าเพราะเหตุใดจึงได้รับความนิยมในหลายประเทศ และเหตุใดประเทศไทยสมควรต้องมีใช้บ้าง เมื่อนักโทษล้นคุก เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้กระทำความผิดต้องโทษจำคุกมากกว่า 2 แสนคน ทำให้สภาพความเป็นอยู่นั้นเต็มไปด้วยความแออัด ดังจะเห็นได้จากเรื่องเล่าจากผู้ที่พ้นโทษว่าแม้แต่การนอนก็ต้องนอนตะแคง เพราะพื้นที่เรือนนอนไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเครียด และอาจก่อเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้ต้องขังด้วยกัน ซึ่งเป็นการทำผิดซ้ำ และถือว่าไม่ตรงกับจุดประสงค์ของงานราชทัณฑ์สมัยใหม่ ที่ต้องการให้ผู้กระทำผิดเกิดความสำนึก ในขณะที่ชดใช้กรรมอยู่ในเรือนจำ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีนักโทษอยู่ในเรือนจำไทยทั่วประเทศประมาณ 247,000 คนซึ่งเทียบจำนวนเรือนจำถือว่าแออัดกว่ามาตรฐานสากล 4 เท่าตัว “ทุกวันนี้อยู่กันแบบครึ่งคน ครึ่งสัตว์จริงๆ ทั้งนี้ เราเป็นเมืองพุทธไม่ควรปล่อยให้มีสภาพแบบนี้ หากนำเครื่องมือ EM มาใช้ ถือว่าเราลงทุน เพื่อลดต้นทุน เพราะจะลดปัญหาเจ้าหน้าที่เรือนจำไม่พอ และลดปัญหาสร้างเรือนจำเพิ่ม ซึ่งราคาไม่ต่ำกว่าหลักร้อยล้าน ก็จะตัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้ ซึ่งคดีที่ควรนำมาใช้ คือคดีที่มีความผิดไม่ร้ายแรง ซึ่งอาจเป็นนักโทษคดีเศรษฐกิจ หรือนักโทษสตรี เพราะไม่ใช่อาชญากร” ประธาน คอ.นธ. กล่าว ขณะที่ นายดล บุนนาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมาเรือนจำ กลายเป็นเหมือนแดนสนธยา ผู้ที่เข้าไปแล้วก็เข้าไปเรียนรู้วิธีกระทำผิดเพิ่ม และยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้มีอิทธิพลจากในเรือนจำอีกด้วย “จากปัญหาดังกล่าว ถือว่าคุ้มค่าที่จะนำเครื่องมือ EM มาใช้กับผู้กระทำผิด เพื่อป้องกันปัญหาผู้ต้องขัง ที่แทนที่จะสำนึกผิด กลับจะยิ่งเรียนรู้การทำผิดจากในเรือนจำเพิ่มเติม และเมื่อเข้าไปอยู่ในที่คุมขังจะมีสัมพันธ์กันเมื่อพ้นโทษ จึงกลายเป็นเครือข่ายให้คนในเรือนจำ รวมทั้งปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน” เช่นเดียวกับ น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมคุมประพฤติ ผู้ริเริ่มแนวคิดดังกล่าว ที่ตั้งใจนำมาใช้กับเยาวชนและสตรีก่อน ในข้อหาเกี่ยวกับการจราจร “เบื้องต้นที่พิจารณานำอุปกรณ์ EM มาใช้เป็นโทษเกี่ยวกับพ.ร.บ.การจราจร เพื่อเป็นทางเลือกเสริมให้ศาลใช้ดุลพินิจ แต่ยืนยันว่าต้องมีการปรับพฤติกรรมของผู้กระทำผิดทั้งด้านกาย จิตและสังคมควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ มีการกำหนดหลักเกณฑ์กำกับไว้ว่าด้วยความสมดุลสิทธิของเหยื่อ คำนึงถึงภัยและอาชญากรรมที่จะเกิดกับชุมชน ตลอดจนสิทธิผู้กระทำผิดด้วย” เทคโนโลยี EM ทำงานอย่างไร? “สำหรับอุปกรณ์ EM ในสหรัฐอเมริกา มีการนำมาใช้กับผู้สูงอายุที่เป็นอัลไซเมอร์ แต่ยังไม่ได้นำมาใช้กับนักโทษซึ่งสามารถทำให้มีน้ำหนักเท่ากับนาฬิกาที่มี น้ำหนักเบาสุดได้ โดยอายุของแบตเตอรี่ จะอยู่ได้ 5 ปี ส่วนการชาร์จแบตเตอรี่สายรัดข้อมือที่เชื่อม GPRS นั้นจะต้องมีการชาร์จทุกๆ 7 วันซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ถูกคุมประพฤติ จะต้องปฏิบัติอยู่แล้วมิฉะนั้นหากการขาดติดต่อไปยังเครื่องตัวอ่านข้อมูล ที่เชื่อมไปยังกรมคุมประพฤติ ก็จะเกิดการแจ้งเตือนเช่นเดียวกัน หากปล่อยแบตเตอรี่สายรัดข้อมูลหมด ซึ่งอยู่ในกติกาของการละเมิด จะถือว่าผู้ถูกควบคุมละเมิด จึงเป็นการกระทำผิดเงื่อนไข” เป็นคำอธิบายของ น.ส.วรลักษณ์ หลาพรหมผู้ช่วยผู้ขัดการแผนกวิศวกรรม บริษัท FACILITY MANAGEMENT จำกัด (FM) ถึงวิธีการทำงานของอุปกรณ์ EM ซึ่งการตั้งค่าต่างๆ จะคล้ายกับการปรับจูนคลื่นวิทยุสื่อสาร (Walky-Talky) ซึ่งระยะทางกำหนดบริเวณจะตั้งค่าไว้ในซอฟต์แวร์ โดยจะส่งข้อมูลเหตุการณ์ทั้งหมดเชื่อมต่อกับตัวอ่าน โดยจะขึ้นอยู่กับการตั้งข้อมูลไว้ว่าสิ่งไหนจะเป็นการแจ้งเตือนหรือห้าม เช่น 1.กระชากสาย EM ออก 2.การออกนอกระยะบริเวณที่กำหนดไว้ โดยสายรัดข้อมือ EMจะส่งข้อมูลทั้งหมดที่ทำเข้าเครื่องอ่าน ขณะที่ นางภาวิณี สุทธิวุฒินฤเบศร์ ผู้จัดการแผนกระบบความปลอดภัยของบริษัท 3M ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางกรมคุมประพฤติต้องการนำมาใช้กับผู้ต้องหารถซิ่งกวนเมือง (เด็กแว้น) เป็นกลุ่มแรก ซึ่งที่ผ่านมา เทคโนโลยี EM ของ บ.3M เคยใช้ในหลายประเทศมาแล้ว เช่นสวีเดน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ และสวิตเซอร์แลนด์ ในความผิดกรณีทำร้ายร่างกายกันในครอบครัว ซึ่งศาลจะเป็นผู้ออกคำสั่งว่าเหยื่อกับผู้กระทำผิดจะต้องอยู่ห่างกันในระยะ เท่าใด “เด็กเยาวชนก่อเหตุก่อกวน ไม่ใช่โทษรุนแรงเหมือนโทษคดีฆ่าคนตาย ลักขโมย แต่บางครั้งเมื่อเข้าไปอยู่ในสถานที่คุมขังคุก เมื่อออกมาแล้วปรากฏว่าเขาได้วิชาชีพบางอย่างออกมาด้วย ซึ่งหากผู้ถูกคุมประพฤติพยายามทำลายเครื่องมือดังกล่าว อุปกรณ์นี้จะส่งสัญญาณเตือนไปยังศูนย์ที่ทำหน้าที่ควบคุมบุคคลดังกล่าวทันที และบุคคลที่ถูกควบคุมจะได้รับอัตราโทษเพิ่มมากขึ้น จึงคิดว่าไม่น่าจะเกิดการทำลายอุปกรณ์นี้ได้ง่ายๆ” คุณภาวิณี กล่าว เช่นเดียวกับ นายศุภรา สุวรรณรัตน์ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัทAES กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า อุปกรณ์เหล่านี้มีราคาขายขาดอยู่ที่ราวๆ 25,000 บาทต่อชุด โดยเครื่องควบคุมจะทำงานเชื่อมกับสัญญาณดาวเทียม (GPS) เพื่อส่งพิกัดของผู้สวมใส่ผ่านสัญญาณอินเตอร์เนตไร้สายบนมือถือ (GPRS หรือ EDGE) ไปยังเครื่องรับข้อมูลของกรมคุมประพฤติ “สำหรับแบตเตอรี่ อุปกรณ์นี้ผู้ถูกควบคุมต้องชาร์จทุก 2 วัน โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีอายุใช้งานนานประมาณ 3 ปี ซึ่งจะเสื่อมไปพร้อมแบตเตอรี่และตัวเครื่องสายควบคุม แต่ตัวเครื่องมีระบบป้องกันฝุ่นและระดับแรงดันน้ำลึกด้วย ดังนั้น ผู้สวมใส่สามารถใส่อาบน้ำและทำกิจกรรมต่างๆ ได้” ตัวแทนจาก บริษัท AES กรุ๊ป กล่าว ข้อกังวลบางประการ แม้จะมีหลายประเทศ ที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ แต่สำหรับประเทศไทย อาจต้องหาข้อสรุปกันอีกหลายประการ โดยคุณดล กล่าวว่า สำหรับความผิดบางอย่างที่เป็นเรื่องอ่อนไหวของสังคม เช่น มาตรา 112 ยาเสพติดหรือข่มขืนกระทำชำเรา หรือกรณีผู้ต้องหาบางราย อาจไปข่มขู่พยานหรือทำลายหลักฐานได้ ทำให้ยังต้องมีการพูดคุย และได้รับการยินยอมจากหลายฝ่าย ทั้งสังคม เหยื่อหรือผู้เสียหาย แม้กระทั่งตัวผู้ถูกควบคุมเองด้วย ขณะที่ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กล่าวแสดงความกังวลเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยระบบ เพราะอาจถูกบุกรุก (Hack) เข้าไปได้แต่ทั้งนี้หากมีความพร้อมมากพอ กระบวนการยุติธรรมย่อมสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้เช่นกัน “ในกระบวนยุติธรรม สามารถที่นำเครื่องมือ EM มาใช้ได้ แต่ขอว่าให้มีกติกาที่ชัดเจนก่อน โดยต้องมีการออกกฎระเบียบและเงื่อนไข ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ใครจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์ควบคุมผู้กระทำผิด” พ.ต.อ.ญาณพล กล่าวทิ้งท้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ได้ให้อำนาจศาลในการสั่งคุมประพฤติผู้กระทำผิดในข้อหาที่อัตราโทษไม่ร้ายแรง โดยไม่ต้องส่งตัวไปเข้าเรือนจำ และที่ผ่านมา ผู้ที่ถูกคุมประพฤติส่วนใหญ่มักเป็นเยาวชนที่ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่นทะเลาะวิวาท หรือเป็นเด็กแว้นซิ่งมอเตอร์ไซค์บนถนน เพียงแต่ยังไม่มีเครื่องมือใดมาควบคุม นอกจากการไปรายงานตัวเป็นครั้งคราวต่อเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบ ซึ่งทำให้ผู้ถูกคุมประพฤติ ยังมีโอกาสออกไปกระทำผิดซ้ำ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...