เตือนวัยรุ่น โทรศัพท์ดึกๆ เพิ่มความเสี่ยงป่วยทางจิต
ผลการศึกษาของทีมศึกษาวิจัยจากญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร “พีเดียทริคไซโคโลยี” ฉบับประจำเดือนตุลาคมนี้ระบุว่าบรรดาวัยรุ่นที่ใช้โทรศัพท์พูดคุยนานๆ จนเลยเวลานอนไปมากแล้ว อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการป่วยทางจิต สภาพจิตใจโดยรวมย่ำแย่ นอนไม่หลับและคิดฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็ทำลายตัวเอง เมื่อเทียบกับกลุ่มวัยรุ่นทั่วๆไปที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว
ทีมศึกษาวิจัยญี่ปุ่น ใช้วิธีการสำรวจเพื่อศึกษาวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นจำนวนเกือบ ๑๘,๐๐๐ คน ทั้งที่เรียนอยู่ในระดับ “จูเนียร์ไฮสกูล” และระดับ “ไฮสกูล” ในประเทศญี่ปุ่น โดยให้ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในการประเมินอาการทางจิต เช่น การกระวนกระวายใจ และความหดหู่ เรื่อยไปจนถึงระดับรุนแรง เช่นการคิดทำร้ายตัวเอง หรือคิดฆ่าตัวตาล นอกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามยังรายงานจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับ ความถี่ในการพูดคุยโทรศัพท์หรือการส่งอีเมล์หลังเวลาที่ควรจะเป็นเวลานอนแล้วด้วย
ทีมวิจัยพบว่า แม้จะต้องเอาปัจจัยอื่นทีรู้กันดีว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างเช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติดออกไปแล้ว ความเชื่อมโยงระหว่างการใช้โทรศัพท์กับการเกิดอาการทางจิตก็ยังเห็นได้ชัดเจนเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเตือนว่า ผลการวิจัยเพียงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่าง ๒ ประการนี้เท่านั้น โดยไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดว่า การใช้โทรศัพท์หลังเวลานอนนั้น จะเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาทางจิตหรืออาการนอนไม่หลับ เพราะอาจมีความเป็นไปได้ว่า กลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มเฉพาะที่มีคุณลักษณะเอื้อต่อการเกิดปัญหาทางจิตอยู่ก่อนแล้ว
แต่ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับวิจัยก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าอาการนอนน้อย หลับยาก เชื่อมโยงกับปัญหาทางจิตในกลุ่มวัยรุ่น และคนที่หลับยากเสี่ยงต่อการคิดฆ่าตัวตายกับทำร้ายตัวเองเพิ่มมากขึ้น
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หญิงวัยรุ่น นอนคุยโทรศัพท์ผลการศึกษาของทีมศึกษาวิจัยจากญี่ปุ่นที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร “พีเดียทริคไซโคโลยี” ฉบับประจำเดือนตุลาคมนี้ระบุว่าบรรดาวัยรุ่นที่ใช้โทรศัพท์พูดคุยนานๆ จนเลยเวลานอนไปมากแล้ว อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการป่วยทางจิต สภาพจิตใจโดยรวมย่ำแย่ นอนไม่หลับและคิดฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็ทำลายตัวเอง เมื่อเทียบกับกลุ่มวัยรุ่นทั่วๆไปที่ไม่มีพฤติกรรมดังกล่าว ทีมศึกษาวิจัยญี่ปุ่น ใช้วิธีการสำรวจเพื่อศึกษาวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นจำนวนเกือบ ๑๘,๐๐๐ คน ทั้งที่เรียนอยู่ในระดับ “จูเนียร์ไฮสกูล” และระดับ “ไฮสกูล” ในประเทศญี่ปุ่น โดยให้ผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในการประเมินอาการทางจิต เช่น การกระวนกระวายใจ และความหดหู่ เรื่อยไปจนถึงระดับรุนแรง เช่นการคิดทำร้ายตัวเอง หรือคิดฆ่าตัวตาล นอกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามยังรายงานจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับ ความถี่ในการพูดคุยโทรศัพท์หรือการส่งอีเมล์หลังเวลาที่ควรจะเป็นเวลานอนแล้วด้วย ทีมวิจัยพบว่า แม้จะต้องเอาปัจจัยอื่นทีรู้กันดีว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างเช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติดออกไปแล้ว ความเชื่อมโยงระหว่างการใช้โทรศัพท์กับการเกิดอาการทางจิตก็ยังเห็นได้ชัดเจนเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเตือนว่า ผลการวิจัยเพียงแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่าง ๒ ประการนี้เท่านั้น โดยไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดว่า การใช้โทรศัพท์หลังเวลานอนนั้น จะเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาทางจิตหรืออาการนอนไม่หลับ เพราะอาจมีความเป็นไปได้ว่า กลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มเฉพาะที่มีคุณลักษณะเอื้อต่อการเกิดปัญหาทางจิตอยู่ก่อนแล้ว แต่ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับวิจัยก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าอาการนอนน้อย หลับยาก เชื่อมโยงกับปัญหาทางจิตในกลุ่มวัยรุ่น
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)