เด็กที่เป็นออทิสติกจากการเลี้ยงดู
พวกเราชาว 108.com ได้ตามมาพูดคุยกับ ดร.วัลยา ภูมิภักดีพรรณ (ครูผึ้ง) อีกครั้ง เพราะมีเรื่องราวที่เราอยากรู้เกี่ยวกับเด็กที่เป็นออทิสติกจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง แต่ก่อนจะคุยกันเรื่องนี้คงต้องแสดงความยินดีกับโรงเรียนอนุบาลภักดีพรรณ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ) ในระดับดีมากในทุกตัวบ่งชี้ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ชลบุรีมีโรงเรียนดีดี สำหรับกล่อมเกลาลูกหลานที่รักของเราได้อย่างมีคุณภาพ
ครูผึ้งเล่าให้ฟังว่า ประมาณช่วงที่ผ่านมามีผู้ปกครองนำลูก (4 ขวบ) มาสมัครเข้าที่โรงเรียนอนุบาลภักดีพรรณ จึงต้องมีการคุยกันเพื่อทำความเข้าใจพื้นฐานของเด็กเพราะว่าจะช่วยให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้และปรับพฤติกรรมต่างๆที่เห็นพ้องกันได้อย่างเหมาะสม คุณแม่เล่าว่าลูกไม่ได้เป็นออทิสติกมาตั้งแต่เด็กแต่เพิ่งจะสังเกตเห็น (ไปปรึกษาคุณหมอมาแล้ว) แต่คุณแม่ก็ไม่หนักใจอะไรเพราะลูกสามารถสื่อสารให้คุณแม่เข้าใจได้ บางครั้งคุณแม่ยังคุยกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ
สำหรับคุณครูสังเกตเห็นว่า เด็กสามารถที่จะนั่งอยู่เฉยๆได้นานมาก มีโลกส่วนตัวของตัวเองสูง มีอาการเหม่อลอยเป็นพักๆ การสื่อสารก็เป็นภาษาของเขาเอง (เหมือนภาษาที่ตัวการ์ตูนคุยกัน) ซึ่งคุณแม่จะคอยแปลให้คุณครูฟัง พร้อมกับชื่นชมความน่ารักของลูก
ลูกคนนี้เป็นลูกคนแรกของบ้านอยู่กับ พ่อ แม่ และพี่เลี้ยงเด็กเท่านั้น คุณพ่อต้องทำงานนอกบ้าน ส่วนพี่เลี้ยงกับคุณแม่ก็ทำหน้าที่แม่บ้านและเลี้ยงดูลูกชาย ด้วยความรักมาก ห่วงมาก กลัวลูกจะไม่สบาย เป็นโรคติดต่ออันตราย หรือได้รับอุบัติเหตุจากการเล่น ก็พยายามปกป้องลูกทุกอย่าง วิธีการในการปกป้องก็คือ ให้ลูกทำกิจกรรมทั้งหมดในห้อง(แอร์) ดูการ์ตูน การ์ตูนที่เลือกก็เป็นการ์ตูนที่คุณแม่คัดเลือกมาแล้วมีทั้งเพลงไทยและเพลง ภาษาต่างประเทศ รวมทั้งที่สอน ABC และตัวอักษรไทยผ่านทางตัวการ์ตูนต่างๆ เล่นก็จะเป็นแบบที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก แต่เป็นแบบที่ต้องใช้ความคิดแทน อนุญาตให้ลูกออกมาเล่นนอกบ้านได้ประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ลูกก็ไม่เคยป่วยเป็นอะไรที่ร้ายแรงหรือน่าตกใจ แต่ตอนนี้คุณแม่เริ่มเป็นกังวลใจ เพราะลูกเริ่มมีพัฒนาการที่ดูจะต่างหรือด้อยจากเด็กในวัยเดียวกันมาก
จากประสบการณ์ที่ครูผึ้งมีกับเด็กๆ รวมทั้งจากที่ได้ศึกษาหรืออ่านจากหนังสือ ก็ยืนยันตรงกันว่าพัฒนาการของเด็กแรกเกิด ถึง หกขวบ ควรพัฒนาผ่าน รูป รส กลิ่น สียง สัมผัส การเคลื่อนไหว ทั้งร่างกาย รวมถึงการบริหารกล้ามเนื้อตาด้วย สังคม และจิตใจ เพราะการทำงานของร่างกายเกิดจากการสั่งการของสมองจึงเสมือนหนึ่งการพัฒนา เส้นใยของสมองด้วย ส่วนการเข้าสังคมก็จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การแบ่งปัน การช่วยเหลือตัวเอง ฯลฯ ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของเด็กที่เขาจะรู้สึกสนุกและมีความสุข ความภูมิใจจากความสำเร็จของการปฏิบัติได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อการเปิดโลกการเรียนรู้ของเด็ก การให้เด็กพัฒนาแต่เฉพาะอย่าง จึงเหมือนกับเป็นการปิดกั้นศักยภาพของเขา เช่น ถ้าพัฒนาแต่ส่วนของสมอง แต่ลืมร่างกาย ก็จะทำให้พัฒนาการของเด็กไม่สมดุลหรือไม่ดีเท่าที่ศักยภาพของเขาสามารถทำได้ เพราะทุกอย่างเอื้อต่อกัน เด็กๆ ควรจะเรียนรู้ความผิดหวังบ้าง อดทน รอได้ รู้จักแบ่งปัน ควบคุมอารมณ์ได้ตามวัย มีความกล้า เขาก็จะเป็นคนที่มีบุคลิกที่น่าดึงดูด ใครเห็นก็รัก แบบนี้ก็จะเป็นเด็กที่มีแต่ความโชคดีตลอด แม้จะมีปัญหาก็จะมีแต่คนคอยช่วยเหลือ ครูผึ้งฝากไว้ค่ะ
ขอบคุณ… http://www.pakdeepan.com/index.php?option=com_content&view=article&id=91&Itemid=108 (ขนาดไฟล์: 166)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พวกเราชาว 108.com ได้ตามมาพูดคุยกับ ดร.วัลยา ภูมิภักดีพรรณ (ครูผึ้ง) อีกครั้ง เพราะมีเรื่องราวที่เราอยากรู้เกี่ยวกับเด็กที่เป็นออทิสติกจากการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง แต่ก่อนจะคุยกันเรื่องนี้คงต้องแสดงความยินดีกับโรงเรียนอนุบาลภักดีพรรณ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ) ในระดับดีมากในทุกตัวบ่งชี้ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ชลบุรีมีโรงเรียนดีดี สำหรับกล่อมเกลาลูกหลานที่รักของเราได้อย่างมีคุณภาพ ครูผึ้งเล่าให้ฟังว่า ประมาณช่วงที่ผ่านมามีผู้ปกครองนำลูก (4 ขวบ) มาสมัครเข้าที่โรงเรียนอนุบาลภักดีพรรณ จึงต้องมีการคุยกันเพื่อทำความเข้าใจพื้นฐานของเด็กเพราะว่าจะช่วยให้โรงเรียนจัดการเรียนรู้และปรับพฤติกรรมต่างๆที่เห็นพ้องกันได้อย่างเหมาะสม คุณแม่เล่าว่าลูกไม่ได้เป็นออทิสติกมาตั้งแต่เด็กแต่เพิ่งจะสังเกตเห็น (ไปปรึกษาคุณหมอมาแล้ว) แต่คุณแม่ก็ไม่หนักใจอะไรเพราะลูกสามารถสื่อสารให้คุณแม่เข้าใจได้ บางครั้งคุณแม่ยังคุยกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับคุณครูสังเกตเห็นว่า เด็กสามารถที่จะนั่งอยู่เฉยๆได้นานมาก มีโลกส่วนตัวของตัวเองสูง มีอาการเหม่อลอยเป็นพักๆ การสื่อสารก็เป็นภาษาของเขาเอง (เหมือนภาษาที่ตัวการ์ตูนคุยกัน) ซึ่งคุณแม่จะคอยแปลให้คุณครูฟัง พร้อมกับชื่นชมความน่ารักของลูก ลูกคนนี้เป็นลูกคนแรกของบ้านอยู่กับ พ่อ แม่ และพี่เลี้ยงเด็กเท่านั้น คุณพ่อต้องทำงานนอกบ้าน ส่วนพี่เลี้ยงกับคุณแม่ก็ทำหน้าที่แม่บ้านและเลี้ยงดูลูกชาย ด้วยความรักมาก ห่วงมาก กลัวลูกจะไม่สบาย เป็นโรคติดต่ออันตราย หรือได้รับอุบัติเหตุจากการเล่น ก็พยายามปกป้องลูกทุกอย่าง วิธีการในการปกป้องก็คือ ให้ลูกทำกิจกรรมทั้งหมดในห้อง(แอร์) ดูการ์ตูน การ์ตูนที่เลือกก็เป็นการ์ตูนที่คุณแม่คัดเลือกมาแล้วมีทั้งเพลงไทยและเพลง ภาษาต่างประเทศ รวมทั้งที่สอน ABC และตัวอักษรไทยผ่านทางตัวการ์ตูนต่างๆ เล่นก็จะเป็นแบบที่ไม่ต้องออกกำลังมากนัก แต่เป็นแบบที่ต้องใช้ความคิดแทน อนุญาตให้ลูกออกมาเล่นนอกบ้านได้ประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ลูกก็ไม่เคยป่วยเป็นอะไรที่ร้ายแรงหรือน่าตกใจ แต่ตอนนี้คุณแม่เริ่มเป็นกังวลใจ เพราะลูกเริ่มมีพัฒนาการที่ดูจะต่างหรือด้อยจากเด็กในวัยเดียวกันมาก จากประสบการณ์ที่ครูผึ้งมีกับเด็กๆ รวมทั้งจากที่ได้ศึกษาหรืออ่านจากหนังสือ ก็ยืนยันตรงกันว่าพัฒนาการของเด็กแรกเกิด ถึง หกขวบ ควรพัฒนาผ่าน รูป รส กลิ่น สียง สัมผัส การเคลื่อนไหว ทั้งร่างกาย รวมถึงการบริหารกล้ามเนื้อตาด้วย สังคม และจิตใจ เพราะการทำงานของร่างกายเกิดจากการสั่งการของสมองจึงเสมือนหนึ่งการพัฒนา เส้นใยของสมองด้วย ส่วนการเข้าสังคมก็จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การแบ่งปัน การช่วยเหลือตัวเอง ฯลฯ ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของเด็กที่เขาจะรู้สึกสนุกและมีความสุข ความภูมิใจจากความสำเร็จของการปฏิบัติได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อการเปิดโลกการเรียนรู้ของเด็ก การให้เด็กพัฒนาแต่เฉพาะอย่าง จึงเหมือนกับเป็นการปิดกั้นศักยภาพของเขา เช่น ถ้าพัฒนาแต่ส่วนของสมอง แต่ลืมร่างกาย ก็จะทำให้พัฒนาการของเด็กไม่สมดุลหรือไม่ดีเท่าที่ศักยภาพของเขาสามารถทำได้ เพราะทุกอย่างเอื้อต่อกัน เด็กๆ ควรจะเรียนรู้ความผิดหวังบ้าง อดทน รอได้ รู้จักแบ่งปัน ควบคุมอารมณ์ได้ตามวัย มีความกล้า เขาก็จะเป็นคนที่มีบุคลิกที่น่าดึงดูด ใครเห็นก็รัก แบบนี้ก็จะเป็นเด็กที่มีแต่ความโชคดีตลอด แม้จะมีปัญหาก็จะมีแต่คนคอยช่วยเหลือ ครูผึ้งฝากไว้ค่ะ ขอบคุณ… http://www.pakdeepan.com/index.php?option=com_content&view=article&id=91&Itemid=108
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)