'สปสช' เบรกถกรับภาระร่วมจ่าย
เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.ประดิษฐ สินธณรงค์ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกล่าวหลังการประชุมเรื่อง “ข้อเสนอแนวทางการรับภาระค่าใช้จ่ายร่วมกันระหว่างรัฐและผู้ป่วย ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วยหน้า” ว่า การนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา เพราะทราบจากฝ่ายเลขานุการว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มีการนำเสนอข้อเสนอแนะเรื่องระบบการเงินการคลังเมื่อ 2 ปีก่อนแล้ว และมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) มอบหมายให้ สปสช.นำเรื่องนี้ไปพิจารณา จึงบรรจุเข้าสู่การพิจารณาในครั้งนี้ ทั้งนี้งบประมาณในเรื่องการดุแลสุขภาพประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยไม่ค่อยพอเพียงที่จะดูแลให้ทั่วถึง
“เรื่องที่จะมีการร่วมจ่ายก็เป็นเรื่องพิเศษที่เพิ่มขึ้นจากสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่ประชาชนต้องได้รับ เช่น การขอเข้าพักฟื้นในห้องพิเศษ เป็นต้น โดยได้คิดมาตลอดว่าจะทำอย่างไรให้ระบบมีความมั่นคง เงินของประชาชนที่ให้มา 1.5 แสนล้านบาทก็ต้องได้คืนไปทั้งหมดไม่ใช่ ใช้จ่ายไปกับเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์กับประชาชนหากจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงก็อยากจะพัฒนาเรื่องที่มีประโยชน์กับผู้สูงอายุและคนพิการ เนื่องจากในอนาคตประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเช่นเดียวกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นอยากให้เห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การประชุมบอร์ดในครั้งนี้เป็นเพียงวาระรับทราบเท่านั้น ยังไม่มีข้อสรุป หลังจากนี้ต้องมีการนำประเด็นเหล่านี้ไปหารือร่วมกับภาคประชาชนเสียก่อน จึงจะนำกลับมาเสนออีกครั้งต่อไป นพ.ประดิษฐ์ กล่าว”
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นพ.ประดิษฐ สินธณรงค์ รมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกล่าวหลังการประชุมเรื่อง “ข้อเสนอแนวทางการรับภาระค่าใช้จ่ายร่วมกันระหว่างรัฐและผู้ป่วย ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วยหน้า” ว่า การนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา เพราะทราบจากฝ่ายเลขานุการว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มีการนำเสนอข้อเสนอแนะเรื่องระบบการเงินการคลังเมื่อ 2 ปีก่อนแล้ว และมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) มอบหมายให้ สปสช.นำเรื่องนี้ไปพิจารณา จึงบรรจุเข้าสู่การพิจารณาในครั้งนี้ ทั้งนี้งบประมาณในเรื่องการดุแลสุขภาพประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศไทยไม่ค่อยพอเพียงที่จะดูแลให้ทั่วถึง “เรื่องที่จะมีการร่วมจ่ายก็เป็นเรื่องพิเศษที่เพิ่มขึ้นจากสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่ประชาชนต้องได้รับ เช่น การขอเข้าพักฟื้นในห้องพิเศษ เป็นต้น โดยได้คิดมาตลอดว่าจะทำอย่างไรให้ระบบมีความมั่นคง เงินของประชาชนที่ให้มา 1.5 แสนล้านบาทก็ต้องได้คืนไปทั้งหมดไม่ใช่ ใช้จ่ายไปกับเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์กับประชาชนหากจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงก็อยากจะพัฒนาเรื่องที่มีประโยชน์กับผู้สูงอายุและคนพิการ เนื่องจากในอนาคตประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเช่นเดียวกับหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นอยากให้เห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การประชุมบอร์ดในครั้งนี้เป็นเพียงวาระรับทราบเท่านั้น ยังไม่มีข้อสรุป หลังจากนี้ต้องมีการนำประเด็นเหล่านี้ไปหารือร่วมกับภาคประชาชนเสียก่อน จึงจะนำกลับมาเสนออีกครั้งต่อไป นพ.ประดิษฐ์ กล่าว”
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)