วิธีการล้างผักผลไม้ให้ปลอดภัย

แสดงความคิดเห็น

การล้างผักโดยใช้น้ำจากก็อกล้างผ่านผัก

ในขณะที่มีการรณรงค์ให้ผู้คนรับประทานผักและผลไม้เพื่อสุขภาพ และในขณะเดียวกันที่มีข่าวของสารตกค้างที่มีอยู่ในผักและผลไม้ไม่ว่าจะเป็น สารเคมีจากยาฆ่าแมลง เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือสารโลหะหนักอื่น ๆ ที่ปะปนมากับผักและผลไม้ ซึ่งสารเหล่านี้จะสามารถก่ออันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่จะได้รับประโยชน์เสียด้วยซ้ำไป

โรคที่มากับผักและผลไม้ที่มีสารพิษปะปน อยู่มีได้ทั้งโรคชนิดเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง อาการเฉียบพลัน เช่น อาเจียน คลื่นไส้ ปวดหัว หน้ามืด หายใจไม่ออก ปวดท้อง เป็นไข้ ชา หรือแม้แต่หมดสติไป เช่นบางคนไปกินราดหน้าที่มีผักคะน้าเป็นส่วนประกอบจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือเรียกว่าอาหารเป็นพิษเป็นต้น ส่วนโรคเรื้อรังของการได้รับสารพิษที่มาจากผักและผลไม้ ส่วนมากจะมาจากการได้รับสารจากยากำจัดศัตรูพืช เช่น การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การเกิดโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ การเจริญเติบโตผิดปกติในเด็กและการเกิดความเครียด

จากข้อมูลการสำรวจของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อทำการสุ่มตรวจผัก 7 ชนิด ประกอบด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา ที่ขายในตลาดสดทั่วไปและรถเร่ พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 38.1% และ ผัก 3 ชนิดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด คือ ผักชี ถั่วฝักยาว พริกจินดา และ จากการสุ่มตัวอย่างตรวจของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าผักสดที่สุ่มเก็บจากตลาดสดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำดอก และต้นหอม ส่วนตัวอย่างที่สุ่มเก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า มะเขือพวง และพริกไทย เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าผักเหล่านี้เป็นผักที่เราคุ้นเคยและกินอยู่เป็น ประจำ ดังนั้นเราจึงเสี่ยงต่อการที่จะได้รับสารพิษตกค้างที่มีอยู่ในผักได้

ดัง นั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการรับประทานผักให้ปลอดภัย ก่อนนำไปรับประทานหรือปรุงประกอบอาหาร ต้องล้างผักให้สะอาดเสียก่อน ในปัจจุบันมีวิธีการล้างผักอยู่หลายวิธีเพื่อลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างมากับ ผักให้ลดน้อยลง แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ซึ่งจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

การใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5%ของกรดน้ำส้ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 แช่นาน 10-15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดปริมาณสารพิษลงร้อยละ 60-84 ข้อจำกัดคือผักอาจมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดมา และผักบางอย่างเช่นผักกาดขาว ผักกาดเขียว อาจมีการดูดรสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูทำให้รสชาติเปลี่ยนไป และภาชนะที่ใส่ผักล้างไม่ควรเป็นพลาสติก

การใช้ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) มีลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง สีม่วง สามารถละลายได้ในน้ำ ให้สีชมพูหรือม่วงเข้ม เป็นสารประกอบประเภทเกลือ โดยใช้ปริมาณ 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 35-43 ข้อจำกัดคือการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบทาง เดินอาหาร และหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา ได้ รวมถึงหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้

ล้างผักโดยน้ำไหลผ่าน โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้นานประมาณ 2 นาที สามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 25-63 วิธีนี้เป็นวิธีที่เรียกได้ว่าดีมากวิธีหนึ่งแต่มีข้อเสียอยู่ว่าใช้เวลานานในการล้างและใช้น้ำปริมาณมาก

ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 27-38 วิธีการนี้ลดปริมาณได้ไม่มากและอาจมีเกลือและรสเค็มไปอยู่ในผักหรือผลไม้

ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่นาน 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารพิษลงได้ถึงร้อยละ 90-95 ข้อจำกัดของการใช้เบกกิ้งโซดาคือมีส่วนผสมของโซเดียมอยู่และอาจดูดซึมเข้า สู่ผักหรือผลไม้ และหากล้างไม่สะอาดการได้รับเบกกิ้งโซดาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสีย ได้

วิธีการต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษได้ ประมาณร้อยละ 50 วิธีการนี้เป็นอีกวิธีที่ดีและปลอดภัยแต่จะทำให้ผักหรือผลไม้ เสียคุณค่าทางอาหารไปกับน้ำและความร้อน เช่น วิตามินซี วิตามินบี1 ไนอะซิน

การปอกเปลือกหรือการลอกชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72

วิธี การแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวาง ขายอยู่โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร แช่ผักนานประมาณ 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ร้อยละ 25-70 แต่วิธีนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังต้องดูให้ดีว่าน้ำยาล้างผักมีส่วนประกอบ ด้วยอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งน้ำยาล้างผักจะแทรกซึมเข้าไปในผักซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

จะได้เห็นแล้วว่าแต่ละวิธีสามารถช่วยลดปริมาณของสารตกค้างที่อยู่ ในผักและผลไม้ได้แต่ว่าจะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ปริมาณและชนิดของผัก-ผลไม้ที่ต้องการจะล้าง และเวลาที่มีอยู่ และที่สำคัญคือพยายามรับประทานผัก-ผลไม้ให้หลากหลายอย่ากินซ้ำๆกันเกินไป และเปลี่ยนร้านที่ซื้อผัก-ผลไม้บ้าง เนื่องจากหากมีพิษหรือสารตกค้างในผักก็จะได้ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย มากนัก

ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/52909.html

ที่มา: ที่นี่ดอทคอม/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 พ.ค.2556
วันที่โพสต์: 23/05/2556 เวลา 02:58:37 ดูภาพสไลด์โชว์ วิธีการล้างผักผลไม้ให้ปลอดภัย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การล้างผักโดยใช้น้ำจากก็อกล้างผ่านผัก ในขณะที่มีการรณรงค์ให้ผู้คนรับประทานผักและผลไม้เพื่อสุขภาพ และในขณะเดียวกันที่มีข่าวของสารตกค้างที่มีอยู่ในผักและผลไม้ไม่ว่าจะเป็น สารเคมีจากยาฆ่าแมลง เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส หรือสารโลหะหนักอื่น ๆ ที่ปะปนมากับผักและผลไม้ ซึ่งสารเหล่านี้จะสามารถก่ออันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่จะได้รับประโยชน์เสียด้วยซ้ำไป โรคที่มากับผักและผลไม้ที่มีสารพิษปะปน อยู่มีได้ทั้งโรคชนิดเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง อาการเฉียบพลัน เช่น อาเจียน คลื่นไส้ ปวดหัว หน้ามืด หายใจไม่ออก ปวดท้อง เป็นไข้ ชา หรือแม้แต่หมดสติไป เช่นบางคนไปกินราดหน้าที่มีผักคะน้าเป็นส่วนประกอบจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือเรียกว่าอาหารเป็นพิษเป็นต้น ส่วนโรคเรื้อรังของการได้รับสารพิษที่มาจากผักและผลไม้ ส่วนมากจะมาจากการได้รับสารจากยากำจัดศัตรูพืช เช่น การเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การเกิดโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ การเจริญเติบโตผิดปกติในเด็กและการเกิดความเครียด จากข้อมูลการสำรวจของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN : Thailand Pesticide Alert Network) ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อทำการสุ่มตรวจผัก 7 ชนิด ประกอบด้วย กะหล่ำปลี คะน้า ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน ผักชี และพริกจินดา ที่ขายในตลาดสดทั่วไปและรถเร่ พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน 38.1% และ ผัก 3 ชนิดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด คือ ผักชี ถั่วฝักยาว พริกจินดา และ จากการสุ่มตัวอย่างตรวจของคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าผักสดที่สุ่มเก็บจากตลาดสดที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า กะหล่ำดอก และต้นหอม ส่วนตัวอย่างที่สุ่มเก็บจากซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีสารพิษตกค้างมากที่สุด ได้แก่ คะน้า มะเขือพวง และพริกไทย เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าผักเหล่านี้เป็นผักที่เราคุ้นเคยและกินอยู่เป็น ประจำ ดังนั้นเราจึงเสี่ยงต่อการที่จะได้รับสารพิษตกค้างที่มีอยู่ในผักได้ ดัง นั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการรับประทานผักให้ปลอดภัย ก่อนนำไปรับประทานหรือปรุงประกอบอาหาร ต้องล้างผักให้สะอาดเสียก่อน ในปัจจุบันมีวิธีการล้างผักอยู่หลายวิธีเพื่อลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างมากับ ผักให้ลดน้อยลง แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ซึ่งจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5%ของกรดน้ำส้ม ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 แช่นาน 10-15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดปริมาณสารพิษลงร้อยละ 60-84 ข้อจำกัดคือผักอาจมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดมา และผักบางอย่างเช่นผักกาดขาว ผักกาดเขียว อาจมีการดูดรสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูทำให้รสชาติเปลี่ยนไป และภาชนะที่ใส่ผักล้างไม่ควรเป็นพลาสติก การใช้ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) มีลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง สีม่วง สามารถละลายได้ในน้ำ ให้สีชมพูหรือม่วงเข้ม เป็นสารประกอบประเภทเกลือ โดยใช้ปริมาณ 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 35-43 ข้อจำกัดคือการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบทาง เดินอาหาร และหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา ได้ รวมถึงหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้ ล้างผักโดยน้ำไหลผ่าน โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้นานประมาณ 2 นาที สามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 25-63 วิธีนี้เป็นวิธีที่เรียกได้ว่าดีมากวิธีหนึ่งแต่มีข้อเสียอยู่ว่าใช้เวลานานในการล้างและใช้น้ำปริมาณมาก ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 27-38 วิธีการนี้ลดปริมาณได้ไม่มากและอาจมีเกลือและรสเค็มไปอยู่ในผักหรือผลไม้ ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่นาน 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารพิษลงได้ถึงร้อยละ 90-95 ข้อจำกัดของการใช้เบกกิ้งโซดาคือมีส่วนผสมของโซเดียมอยู่และอาจดูดซึมเข้า สู่ผักหรือผลไม้ และหากล้างไม่สะอาดการได้รับเบกกิ้งโซดาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสีย ได้ วิธีการต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษได้ ประมาณร้อยละ 50 วิธีการนี้เป็นอีกวิธีที่ดีและปลอดภัยแต่จะทำให้ผักหรือผลไม้ เสียคุณค่าทางอาหารไปกับน้ำและความร้อน เช่น วิตามินซี วิตามินบี1 ไนอะซิน การปอกเปลือกหรือการลอกชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72 วิธี การแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวาง ขายอยู่โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร แช่ผักนานประมาณ 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ร้อยละ 25-70 แต่วิธีนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังต้องดูให้ดีว่าน้ำยาล้างผักมีส่วนประกอบ ด้วยอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งน้ำยาล้างผักจะแทรกซึมเข้าไปในผักซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ จะได้เห็นแล้วว่าแต่ละวิธีสามารถช่วยลดปริมาณของสารตกค้างที่อยู่ ในผักและผลไม้ได้แต่ว่าจะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ปริมาณและชนิดของผัก-ผลไม้ที่ต้องการจะล้าง และเวลาที่มีอยู่ และที่สำคัญคือพยายามรับประทานผัก-ผลไม้ให้หลากหลายอย่ากินซ้ำๆกันเกินไป และเปลี่ยนร้านที่ซื้อผัก-ผลไม้บ้าง เนื่องจากหากมีพิษหรือสารตกค้างในผักก็จะได้ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย มากนัก ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/52909.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...