สื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพจิต
เทคโนโลยีการพิมพ์มีส่วนช่วยการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเป็นอย่างยิ่ง โดยพัฒนาการเรียนรู้สุขภาพจิตของคนไทยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมอีกแนวทางหนึ่ง จนปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์ของงานสุขภาพจิตมีมากมายที่ประชาชนทั่วไป ผู้ปฏิบัติ และนักวิชาการสามารถเข้าถึงได้
3 มิถุนายน วันการพิมพ์ไทย ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบเหมือน พระบิดาแห่งการพิมพ์ไทย ที่ให้โอกาสนำเทคโนโลยีการพิมพ์มาใช้ในราชการจากต่างประเทศ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงชื่อ โรงพิมพ์อักษรพิมพ์การ ออกหนังสือที่ยังมีใช้จนถึงทุกวันนี้ คือ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ข่าวราชการ และกฎหมายต่าง ๆ แก่ประชาชนให้ทราบโดยทั่วถึงกันและถูกต้อง ทั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการฟื้นฟูและจัดตั้งโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ผู้วางรากฐานการพิมพ์ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการหล่อตัวพิมพ์ การเรียงพิมพ์อักษรไทย รวมทั้งยังเป็นการสอนการพิมพ์ และได้รับการยกย่องให้เป็นครูการพิมพ์คนแรกของวงการ นั่นคือประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำรำลึกถึงคุณูปการของหมอบรัดเลย์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์นั้นมีส่วนช่วยการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพ จิตเป็นอย่างยิ่ง โดยการให้ความรู้สุขภาพจิตจากการอ่าน ช่วยพัฒนาการเรียนรู้สุขภาพจิตของคนไทยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมอีกแนวทาง หนึ่ง จนปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์ของงานสุขภาพจิตมีมากมายที่ประชาชนทั่วไป ผู้ปฏิบัติ และนักวิชาการสามารถเข้าถึงความรู้ได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัด สาม ประการ หนึ่ง คือ นิสัยการอ่านของประชาชนที่ปลูกฝังยังมีอยู่ในระดับน้อยมาก สอง ที่ว่าสื่อดี ผลิตยังไงก็ไม่เพียงพอแจกจ่ายได้ครบทุกคนนั่นเองต้องอาศัยการเผยแผ่ความรู้ต่อ ๆ กันไป และสาม ยังต้องเป็นสื่อที่ถูกนำพาหรือมีสิ่งขนส่งไปให้ถึงตัวบุคคลอยู่ดี โดยเฉพาะระยะทางไกล ๆ ข้อจำกัดเหล่านี้ต้องดำเนินการร่วมกันจากหลายฝ่ายและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้าช่วยด้วย
ถึงกระนั้นความจำเป็นของสื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่ โดยเฉพาะงานสุขภาพจิตที่มองเป็นเรื่องนามธรรม ต้องอาศัยกระบวนการคิดอ่าน ช่วยให้การดำเนินงานสุขภาพจิตก้าวหน้ามาได้ถึงปัจจุบัน เกิดความเข้าใจในหมู่ชนและสังคมในแง่มุมสุขภาพจิต เพื่อปรับตัวให้อยู่ร่วมกันได้
ขอบคุณ... http://www.klb.dmh.go.th/index.php?m=news&op=detail&news_id=357
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รวมภาพสื่อสิ่งพิมพ์ของงานสุขภาพจิต เทคโนโลยีการพิมพ์มีส่วนช่วยการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเป็นอย่างยิ่ง โดยพัฒนาการเรียนรู้สุขภาพจิตของคนไทยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมอีกแนวทางหนึ่ง จนปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์ของงานสุขภาพจิตมีมากมายที่ประชาชนทั่วไป ผู้ปฏิบัติ และนักวิชาการสามารถเข้าถึงได้ 3 มิถุนายน วันการพิมพ์ไทย ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปรียบเหมือน พระบิดาแห่งการพิมพ์ไทย ที่ให้โอกาสนำเทคโนโลยีการพิมพ์มาใช้ในราชการจากต่างประเทศ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงพิมพ์หลวงชื่อ โรงพิมพ์อักษรพิมพ์การ ออกหนังสือที่ยังมีใช้จนถึงทุกวันนี้ คือ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์ข่าวราชการ และกฎหมายต่าง ๆ แก่ประชาชนให้ทราบโดยทั่วถึงกันและถูกต้อง ทั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากการฟื้นฟูและจัดตั้งโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ผู้วางรากฐานการพิมพ์ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการหล่อตัวพิมพ์ การเรียงพิมพ์อักษรไทย รวมทั้งยังเป็นการสอนการพิมพ์ และได้รับการยกย่องให้เป็นครูการพิมพ์คนแรกของวงการ นั่นคือประวัติศาสตร์ที่น่าจดจำรำลึกถึงคุณูปการของหมอบรัดเลย์ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์นั้นมีส่วนช่วยการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพ จิตเป็นอย่างยิ่ง โดยการให้ความรู้สุขภาพจิตจากการอ่าน ช่วยพัฒนาการเรียนรู้สุขภาพจิตของคนไทยให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมอีกแนวทาง หนึ่ง จนปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์ของงานสุขภาพจิตมีมากมายที่ประชาชนทั่วไป ผู้ปฏิบัติ และนักวิชาการสามารถเข้าถึงความรู้ได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัด สาม ประการ หนึ่ง คือ นิสัยการอ่านของประชาชนที่ปลูกฝังยังมีอยู่ในระดับน้อยมาก สอง ที่ว่าสื่อดี ผลิตยังไงก็ไม่เพียงพอแจกจ่ายได้ครบทุกคนนั่นเองต้องอาศัยการเผยแผ่ความรู้ต่อ ๆ กันไป และสาม ยังต้องเป็นสื่อที่ถูกนำพาหรือมีสิ่งขนส่งไปให้ถึงตัวบุคคลอยู่ดี โดยเฉพาะระยะทางไกล ๆ ข้อจำกัดเหล่านี้ต้องดำเนินการร่วมกันจากหลายฝ่ายและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้าช่วยด้วย ถึงกระนั้นความจำเป็นของสื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่ โดยเฉพาะงานสุขภาพจิตที่มองเป็นเรื่องนามธรรม ต้องอาศัยกระบวนการคิดอ่าน ช่วยให้การดำเนินงานสุขภาพจิตก้าวหน้ามาได้ถึงปัจจุบัน เกิดความเข้าใจในหมู่ชนและสังคมในแง่มุมสุขภาพจิต เพื่อปรับตัวให้อยู่ร่วมกันได้ ขอบคุณ... http://www.klb.dmh.go.th/index.php?m=news&op=detail&news_id=357
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)