10 เหตุผลถกให้ขาด ทำไมต้องเลี่ยงอาหารจีเอ็ม
เรื่องของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ถกกันมายาวนาน ผู้นิยมก็จะให้เหตุผลว่า เมื่อนำวัตถุดิบที่มากมายไปเป็นอาหารก็จะแก้ปัญหาความยากคนจน และสร้างผลประโยชน์ให้แก่เกษตรกร แถมยังไม่บ่งชี้อันตรายชัดแจ้ง แล้วฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยควรจะเตรียมเหตุผลซักค้านอย่างไรดี
10 เหตุผลสำคัญในการโต้เถียง เพื่อจะเลี่ยงการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ผ่านหนังสือขายดีของ เจฟฟรีย์ สมิธ (Jeffrey Smith) จากสถาบันการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ "ไออาร์ที" (The Institute for Responsible Technology : IRT) ไปดูกันว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านจีเอ็มโอได้แนะนำให้เราตอบโต้อย่างไรบ้าง 1.สิ่งที่ตัดแต่งพันธุกรรมไม่ดีต่อสุขภาพ สถาบันอนามัยสิ่งแวดล้อมอเมริกัน (American Academy of Environmental Medicine : AAEM) ได้ขอให้แพทย์สั่งอาหารปลอดจีเอ็มโอให้แก่ผู้ป่วย โดยอ้างถึงการทดลองในสัตว์ที่แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารจีเอ็มทำลายอวัยวะภายใน ทำให้ระบบทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกันบกพร่อง อีกทั้งยังเร่งอายุ และเกิดภาวะการมีบุตรยาก นอกจากนี้ผลการศึกษาในมนุษย์ก็ยังชี้ให้เห็นว่า อาหารจีเอ็มที่บริโภคเข้าไปนั้น อาจมีวัตถุแปลกปลอมหลงเหลือไว้ในร่างกาย และจะเกิดปัญหาในระยะยาว ซึ่งเคยพบสารพิษฆ่าแมลงจากข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมในเลือดของหญิงมีครรภ์ และยังพบสารเดียวกันนี้ที่ทารกในครรภ์ของพวกเธออีกด้วย ปัญหาสุขภาพจำนวนมาก ปรากฏเพิ่มขึ้นหลังจากเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตได้นำมาใช้ ตั้งแต่ปี 1996 หลังจากนั้น ชาวอเมริกันเกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้นจากเดิม 7% เป็น 13% ในระยะเวลาเพียง 9 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพ้อาหารที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ออทิสติก ปัญหาการสืบพันธุ์ และการย่อยอาหาร แม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาชี้ว่า ต้นเหตุของอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมาจากอาหารตัดต่อพันธุกรรม แต่ทีมแพทย์จาก AAEM ก็ไม่รีรอผลสรุป พวกเขาต้องการให้เราเริ่มปกป้องตัวเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่เสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ สมาคมสาธารณสุขอเมริกัน (American Public Health Association) และ สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American Nurses Association) ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ กลุ่มที่ออกมาประนามการใช้จีเอ็มโอเพื่อสร้างโกรว์ธฮอร์โมนในวัว เพราะทำให้ได้นมที่มีฮอร์โมน IGF-1 มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมน IGF-1 นี้เกี่ยวข้องกับมะเร็งในร่างกายมนุษย์ 2. จีเอ็มโอทำพันธุกรรม "ปนเปื้อน"ตลอดกาล ละอองเรณูและเมล็ดของพืชตัดต่อพันธุกรรมสามารถปลิวไปปะปนกับสิ่งมี ชีวิตอื่นๆ ได้ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำความสะอาด จนไม่เกิดการปนเปื้อนในระบบดับยีน ซึ่งการแพร่พันธุ์ด้วยตัวพืชชนิดนั้นๆ จะเกิดขึ้น และมลพิษดังกล่าวจะอยู่ยาวนานทนทานกว่าภาวะโลกร้อน หรือกากนิวเคลียร์ ดังนั้นผลเสียจะเกิดขึ้นต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในอนาคต เพราะการปนเปื้อนของพืชจีเอ็ม จะส่งผลต่อการเกษตรอินทรีย์และการเกษตรกรที่ไม่ต้องการพืชจีเอ็มโอ นั่นจะกระทบถึงเศรษฐกิจโลกโดยตรง 3. การเกษตรจีเอ็มโอเพิ่มการใช้ยาฆ่าหญ้า พืชจีเอ็มที่พัฒนาขึ้นมาส่วนใหญ่ก็เพื่อให้ทนทานต่อการใช้สารกำจัด วัชพืช อย่างเช่น มอนซานโต้ ที่จำหน่ายพืชราวน์ดอัพ เรดี (Roundup Ready crops) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้อยู่รอดจากสารฆ่าวัชพืชยี่ห้อเดียวกัน ในช่วงปี 1996 - 2008 เกษตรกรสหรัฐฯ ฉีดสารฆ่าวัชพืชในแปลงปลูกพืชจีเอ็มเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบถึง 2 แสนตัน ที่เกิดการใช้มากเกินไปเช่นนี้ก็เพราะพืชจีเอ็มที่ต้านทานสารฆ่าหญ้าของรา วนด์อัพ ทำให้เกษตรกรกล้าฉีดสารเหล่านี้หนักขึ้นเพื่อกำจัดวัชพืชให้หมดเกลี้ยง การใส่สารกำจัดวัชพืชมากมายกว่าเดิม ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงตกค้างในพืชต่างๆ ดังนั้น เมื่อนำมาปรุงอาหาร สารเหล่านี้ก็ติดตามมาด้วยในจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่อฮอร์โมน ระบบการสืบพันธุ์ และมะเร็งตามมาในที่สุด 4. พันธุวิศวกรรมสร้างผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ด้วยการผสมยีนจากสายพันธุ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่คำนึงถึงประเภทของยีนที่นำมาใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิด รวมทั้งกระบวนการแทรกยีนเข้าแทนที่ อาจสร้างสารพิษชนิดใหม่ หรือสารก่อภูมิแพ้ สารก่อมะเร็ง และภาวะการขาดสารอาหาร 5. การกำกับดูแลของรัฐบาลหละหลวมเป็นอันตราย รัฐบาลส่วนใหญ่เพิกเฉยต่อประเด็นความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ของจีเอ็มโอ ไม่ว่าจะเป็นข้อบังคับหรือกฎหมายที่ไม่เท่าทัน นั่นอาจเป็นเพราะเหตุผลด้านการเมือง อย่างองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration : FDA) ก็ไม่ได้เรียกหาผลการศึกษาทางด้านความปลอดภัยของอาหารจีเอ็ม หรือแม้แต่การบังคับให้ติดฉลาก แต่ปล่อยให้ผู้ผลิตอาหารจีเอ็มต่างๆ สามารถวางขายได้ ซึ่งทางเอฟดีเอเห็นว่า ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะชี้ว่า อาหารจีเอ็มนั้นต่างจากอาหารปลอดจีเอ็ม หรืออินทรีย์อย่างไร อย่างไรก็ดี แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ของเอฟดีเอเอง ก็ยังบอกว่า อาหารจีเอ็มนั้นสามารถก่อผลที่ไม่อาจคาดเดาได้ รวมทั้งยังยากที่จะตรวจสอบผลข้างเคียง แม้พวกเขาจะถกเถียงและศึกษาถึงผลความปลอดภัยในระยะยาว แต่ทางทำเนียบขาวมีนโยบายส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีบริษัทพัฒนาเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่หนุนหลัง จึงทำให้เอฟดีเอสนับสนุนอาหารจีเอ็ม 6. ใช้กลวิธีเดียวกับ "วิทยาศาสตร์ยาสูบ" ย้ำความปลอดภัย บริษัท เทคโนโลยีชีวภาพบอก ชาวโลกว่า ฝนเหลือง (Orange Agent) , พีซีบี (PCBs) และยาฆ่าแมลง (ดีดีที) มีความปลอดภัย โดยพูดแบบผิวเผิน ใช้อุบายเป็นงานวิจัย เหมือนเช่นที่กลุ่มอุตสาหกรรมยาสูบทำ โดยตั้งกองทุนศึกษาเรื่องของจีเอ็มโอ แสดงถึงผลดี ออกแบบงานวิจัยที่หลีกเลี่ยงการค้นหาปัญหา หรือผลไม่พึงประสงค์ของการพัฒนาพืชตัดต่อพันธุกรรม ทั้งหมดเพื่อจะทำให้เราเชื่อว่า จีเอ็มโอมีความปลอดภัย 7.การวิจัยและรายงานอิสระถูกโจมตี นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบปัญหาเกี่ยวกับการตัดแต่งพันธุกรรมได้ถูกโจม ตี ขมขู่ และปฏิเสธการให้ทุน แม้แต่วารสารเนเจอร์เองก็ยอมรับว่า มีอุปสรรคขนาดใหญ่ขวางกั้นนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ทั้งการใส่ร้ายป้ายสีงานวิจัย และทำให้เสียชื่อเสียง เล่นพรรคเล่นพวก ซึ่งการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลเหล่านี้ ไม่ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในทางวิชาการ อีกทั้งสื่อที่จะเข้าไปเผยแพร่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังถูกเซ็นเซอร์อีกด้วยซ้ำ 8. การตัดแต่งพันธุกรรมเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม พืชจีเอ็มและสารเคมีกำจัดวัชพืชที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นอันตรายต่อ นก แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวมถึงระบบนิเวศทางทะเล และสิ่งมีชีวิตในดิน การทำเช่นนี้ลดความหลากหลายทางชีวภาพ, ก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำ และไม่ยั่งยืน ตัวอย่างเช่น พืชจีเอ็มได้กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของผีเสื้อจักรพรรดิ ซึ่งทำให้จำนวนประชากรของผีเสื้อดังกล่าวลดลง 50% ในสหรัฐฯ นอกจากนี้ สารกำจัดวัชพืชราวนด์อัพยังถูกชี้ว่า เป็นต้นเหตุให้เกิดความผิดปกติของการสืบพันธุ์สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นตัวอ่อนตายและต่อมไร้ท่อหยุดชะงัก ยังมีความเสียหายในอวัยวะสัตว์ ที่แม้จะมีปริมาณที่ต่ำมาก เช่น มีการพบคาโนลาตัดต่อพันธุกรรมในป่าที่นอร์ท ดาโกตา และแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมียีนทนสารฆ่าวัชพืชปนเปื้อน 9. จีเอ็มโอไม่เพิ่มผลผลิต และไม่ช่วยแก้ปัญหาปากท้องในขณะที่การเกษตรยั่งยืนแบบปลอดจีเอ็มโอในประเทศกำลังพัฒนามีผลแน่ ชัดว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้น 79% และสูงกว่าการปลูกพืชจีเอ็ม ซึ่งเป็นข้อมูลจากกลุ่มสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความห่วงใยต่อสังคม (Union of Concerned Scientists) เมื่อปี 2009 ที่ได้รายงานถึงความล้มเหลวของผลผลิตพืชจีเอ็ม นอกจากนี้ รายงานของกลุ่มการประเมินความรู้ทางการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสากล (International Assessment of Agricultural Knowledge, Science and Technology for Development : IAASTD) ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมกันเขียนกว่า 400 คน จากการสนับสนุนของรัฐบาลอีก 58 ประเทศ ยืนยันว่า พืชจีเอ็มมีผลผลิตสูงในบางกรณี และในบางกรณีก็มีผลผลิตลดลง รายงานฉบับดังกล่าว ระบุว่า การประเมินเทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรมนั้นล่าช้า ยังขาดเรื่องการพัฒนาข้อมูล และความขัดแย้ง รวมถึงความผลประโยชน์ที่ไม่ชัดเจน และความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในรายงานฉบับนั้น เชื่อว่า เทคโนโลยีจีเอ็มโอในปัจจุบัน ยังไม่ใช่ตัวช่วยแก้ลดปัญหาความหิวโหยและขาดอาหาร รวมถึงยังไม่สามารถปรับปรุงสารอาหาร สุขภาพ และชีวิตในชนบทได้ อีกทั้งไม่ได้อำนวยความสะดวกให้แก่สังคม และไม่ได้สร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ในทางตรงกันข้าม จีเอ็มโอใช้เงินและทรัพยากรมากยิ่ขึ้น เพื่อสร้างให้เห็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าว ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ 10. จีเอ็มโอไม่มีประโยขน์ต่อผู้บริโภค เราสามารถหลีกเลี่ยงจีเอ็มโอได้ โดยการปฏิเสธ ผลักดันให้ออกไปจากห่วงโซ่อาหาร เพราะจีเอ็มโอไม่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค แม้ว่าจะมีการปฏิเสธอยู่น้อยนิด แต่ในที่สุดส่วนผสมที่เป็นจีเอ็มในท้องตลาดก็จะกลายเป็นสิ่งที่ผิด บริษัทอาหารก็จะนำออกไป ในยุโรป เมื่อปี 1999 หลังจากมีการตีพิมพ์งานวิจัยถึงความผิดพลาดของจีเอ็มโอ ก็ส่งผลให้ประชาชนผู้บริโภค ตื่นตัวกับอันตรายดังกล่าว ขณะที่ในสหรัฐฯ เมื่อมีกรณีการใช้โกรว์ทฮอร์โมนตัดต่อพันธุกรรมในวัว ก็ส่งผลให้เกิดการผลักดันให้เลิกใช้วัวประเภทนี้ผลิตนม โดยมีวอลมาร์ท สตาร์บักส์ ดานนอน และบริษัทผลิตนมส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ร่วมกันผลักดัน เจฟฟรีย์ สมิท เป็นผู้อำนวยการสถาบันการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ และเป็นหนึ่งในผู้นำหลักในการต้านอาหารจีเอ็ม หนังสือของเขา "Seed of Deception" (เมล็ดพันธุ์แห่งการหลอกลวง) จัดอยู่ในอันดับหนึ่งของหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ที่สำคัญของประชาชน และแม้กระทั่งการออกกฎหมาย และเขายังได้เขียน "Genetic Roulette" สารคดีความเสี่ยงของอาหารตัดต่อพันธุกรรมต่อสุขภาพอีกด้วย
ขอบคุณ... http://manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000069934 (ขนาดไฟล์: 168)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
มะเขือเทศจำนวนหลายลูก เรื่องของพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ถกกันมายาวนาน ผู้นิยมก็จะให้เหตุผลว่า เมื่อนำวัตถุดิบที่มากมายไปเป็นอาหารก็จะแก้ปัญหาความยากคนจน และสร้างผลประโยชน์ให้แก่เกษตรกร แถมยังไม่บ่งชี้อันตรายชัดแจ้ง แล้วฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยควรจะเตรียมเหตุผลซักค้านอย่างไรดี 10 เหตุผลสำคัญในการโต้เถียง เพื่อจะเลี่ยงการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ผ่านหนังสือขายดีของ เจฟฟรีย์ สมิธ (Jeffrey Smith) จากสถาบันการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ "ไออาร์ที" (The Institute for Responsible Technology : IRT) ไปดูกันว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านจีเอ็มโอได้แนะนำให้เราตอบโต้อย่างไรบ้าง 1.สิ่งที่ตัดแต่งพันธุกรรมไม่ดีต่อสุขภาพ สถาบันอนามัยสิ่งแวดล้อมอเมริกัน (American Academy of Environmental Medicine : AAEM) ได้ขอให้แพทย์สั่งอาหารปลอดจีเอ็มโอให้แก่ผู้ป่วย โดยอ้างถึงการทดลองในสัตว์ที่แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารจีเอ็มทำลายอวัยวะภายใน ทำให้ระบบทางเดินอาหารและภูมิคุ้มกันบกพร่อง อีกทั้งยังเร่งอายุ และเกิดภาวะการมีบุตรยาก นอกจากนี้ผลการศึกษาในมนุษย์ก็ยังชี้ให้เห็นว่า อาหารจีเอ็มที่บริโภคเข้าไปนั้น อาจมีวัตถุแปลกปลอมหลงเหลือไว้ในร่างกาย และจะเกิดปัญหาในระยะยาว ซึ่งเคยพบสารพิษฆ่าแมลงจากข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมในเลือดของหญิงมีครรภ์ และยังพบสารเดียวกันนี้ที่ทารกในครรภ์ของพวกเธออีกด้วย ปัญหาสุขภาพจำนวนมาก ปรากฏเพิ่มขึ้นหลังจากเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตได้นำมาใช้ ตั้งแต่ปี 1996 หลังจากนั้น ชาวอเมริกันเกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มขึ้นจากเดิม 7% เป็น 13% ในระยะเวลาเพียง 9 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพ้อาหารที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ออทิสติก ปัญหาการสืบพันธุ์ และการย่อยอาหาร แม้ว่าจะยังไม่มีการศึกษาชี้ว่า ต้นเหตุของอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นมาจากอาหารตัดต่อพันธุกรรม แต่ทีมแพทย์จาก AAEM ก็ไม่รีรอผลสรุป พวกเขาต้องการให้เราเริ่มปกป้องตัวเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่เสี่ยงจะได้รับผลกระทบจากอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ สมาคมสาธารณสุขอเมริกัน (American Public Health Association) และ สมาคมพยาบาลอเมริกัน (American Nurses Association) ก็เป็นหนึ่งในหลายๆ กลุ่มที่ออกมาประนามการใช้จีเอ็มโอเพื่อสร้างโกรว์ธฮอร์โมนในวัว เพราะทำให้ได้นมที่มีฮอร์โมน IGF-1 มากเกินไป ซึ่งฮอร์โมน IGF-1 นี้เกี่ยวข้องกับมะเร็งในร่างกายมนุษย์ 2. จีเอ็มโอทำพันธุกรรม "ปนเปื้อน"ตลอดกาล ละอองเรณูและเมล็ดของพืชตัดต่อพันธุกรรมสามารถปลิวไปปะปนกับสิ่งมี ชีวิตอื่นๆ ได้ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำความสะอาด จนไม่เกิดการปนเปื้อนในระบบดับยีน ซึ่งการแพร่พันธุ์ด้วยตัวพืชชนิดนั้นๆ จะเกิดขึ้น และมลพิษดังกล่าวจะอยู่ยาวนานทนทานกว่าภาวะโลกร้อน หรือกากนิวเคลียร์ ดังนั้นผลเสียจะเกิดขึ้นต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในอนาคต เพราะการปนเปื้อนของพืชจีเอ็ม จะส่งผลต่อการเกษตรอินทรีย์และการเกษตรกรที่ไม่ต้องการพืชจีเอ็มโอ นั่นจะกระทบถึงเศรษฐกิจโลกโดยตรง 3. การเกษตรจีเอ็มโอเพิ่มการใช้ยาฆ่าหญ้า พืชจีเอ็มที่พัฒนาขึ้นมาส่วนใหญ่ก็เพื่อให้ทนทานต่อการใช้สารกำจัด วัชพืช อย่างเช่น มอนซานโต้ ที่จำหน่ายพืชราวน์ดอัพ เรดี (Roundup Ready crops) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้อยู่รอดจากสารฆ่าวัชพืชยี่ห้อเดียวกัน ในช่วงปี 1996 - 2008 เกษตรกรสหรัฐฯ ฉีดสารฆ่าวัชพืชในแปลงปลูกพืชจีเอ็มเพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบถึง 2 แสนตัน ที่เกิดการใช้มากเกินไปเช่นนี้ก็เพราะพืชจีเอ็มที่ต้านทานสารฆ่าหญ้าของรา วนด์อัพ ทำให้เกษตรกรกล้าฉีดสารเหล่านี้หนักขึ้นเพื่อกำจัดวัชพืชให้หมดเกลี้ยง การใส่สารกำจัดวัชพืชมากมายกว่าเดิม ไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงตกค้างในพืชต่างๆ ดังนั้น เมื่อนำมาปรุงอาหาร สารเหล่านี้ก็ติดตามมาด้วยในจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลต่อฮอร์โมน ระบบการสืบพันธุ์ และมะเร็งตามมาในที่สุด 4. พันธุวิศวกรรมสร้างผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ด้วยการผสมยีนจากสายพันธุ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่คำนึงถึงประเภทของยีนที่นำมาใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิด รวมทั้งกระบวนการแทรกยีนเข้าแทนที่ อาจสร้างสารพิษชนิดใหม่ หรือสารก่อภูมิแพ้ สารก่อมะเร็ง และภาวะการขาดสารอาหาร 5. การกำกับดูแลของรัฐบาลหละหลวมเป็นอันตราย รัฐบาลส่วนใหญ่เพิกเฉยต่อประเด็นความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ของจีเอ็มโอ ไม่ว่าจะเป็นข้อบังคับหรือกฎหมายที่ไม่เท่าทัน นั่นอาจเป็นเพราะเหตุผลด้านการเมือง อย่างองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (US Food and Drug Administration : FDA) ก็ไม่ได้เรียกหาผลการศึกษาทางด้านความปลอดภัยของอาหารจีเอ็ม หรือแม้แต่การบังคับให้ติดฉลาก แต่ปล่อยให้ผู้ผลิตอาหารจีเอ็มต่างๆ สามารถวางขายได้ ซึ่งทางเอฟดีเอเห็นว่า ยังไม่มีข้อมูลมากพอที่จะชี้ว่า อาหารจีเอ็มนั้นต่างจากอาหารปลอดจีเอ็ม หรืออินทรีย์อย่างไร อย่างไรก็ดี แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ของเอฟดีเอเอง ก็ยังบอกว่า อาหารจีเอ็มนั้นสามารถก่อผลที่ไม่อาจคาดเดาได้ รวมทั้งยังยากที่จะตรวจสอบผลข้างเคียง แม้พวกเขาจะถกเถียงและศึกษาถึงผลความปลอดภัยในระยะยาว แต่ทางทำเนียบขาวมีนโยบายส่งเสริมเทคโนโลยีชีวภาพ ที่มีบริษัทพัฒนาเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่หนุนหลัง จึงทำให้เอฟดีเอสนับสนุนอาหารจีเอ็ม 6. ใช้กลวิธีเดียวกับ "วิทยาศาสตร์ยาสูบ" ย้ำความปลอดภัย บริษัท เทคโนโลยีชีวภาพบอก ชาวโลกว่า ฝนเหลือง (Orange Agent) , พีซีบี (PCBs) และยาฆ่าแมลง (ดีดีที) มีความปลอดภัย โดยพูดแบบผิวเผิน ใช้อุบายเป็นงานวิจัย เหมือนเช่นที่กลุ่มอุตสาหกรรมยาสูบทำ โดยตั้งกองทุนศึกษาเรื่องของจีเอ็มโอ แสดงถึงผลดี ออกแบบงานวิจัยที่หลีกเลี่ยงการค้นหาปัญหา หรือผลไม่พึงประสงค์ของการพัฒนาพืชตัดต่อพันธุกรรม ทั้งหมดเพื่อจะทำให้เราเชื่อว่า จีเอ็มโอมีความปลอดภัย 7.การวิจัยและรายงานอิสระถูกโจมตี นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบปัญหาเกี่ยวกับการตัดแต่งพันธุกรรมได้ถูกโจม ตี ขมขู่ และปฏิเสธการให้ทุน แม้แต่วารสารเนเจอร์เองก็ยอมรับว่า มีอุปสรรคขนาดใหญ่ขวางกั้นนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ทั้งการใส่ร้ายป้ายสีงานวิจัย และทำให้เสียชื่อเสียง เล่นพรรคเล่นพวก ซึ่งการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลเหล่านี้ ไม่ช่วยให้เกิดความก้าวหน้าในทางวิชาการ อีกทั้งสื่อที่จะเข้าไปเผยแพร่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังถูกเซ็นเซอร์อีกด้วยซ้ำ 8. การตัดแต่งพันธุกรรมเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม พืชจีเอ็มและสารเคมีกำจัดวัชพืชที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นอันตรายต่อ นก แมลง สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ รวมถึงระบบนิเวศทางทะเล และสิ่งมีชีวิตในดิน การทำเช่นนี้ลดความหลากหลายทางชีวภาพ, ก่อให้เกิดมลพิษในแหล่งน้ำ และไม่ยั่งยืน ตัวอย่างเช่น พืชจีเอ็มได้กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของผีเสื้อจักรพรรดิ ซึ่งทำให้จำนวนประชากรของผีเสื้อดังกล่าวลดลง 50% ในสหรัฐฯ นอกจากนี้ สารกำจัดวัชพืชราวนด์อัพยังถูกชี้ว่า เป็นต้นเหตุให้เกิดความผิดปกติของการสืบพันธุ์สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ไม่ว่าจะเป็นตัวอ่อนตายและต่อมไร้ท่อหยุดชะงัก ยังมีความเสียหายในอวัยวะสัตว์ ที่แม้จะมีปริมาณที่ต่ำมาก เช่น มีการพบคาโนลาตัดต่อพันธุกรรมในป่าที่นอร์ท ดาโกตา และแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมียีนทนสารฆ่าวัชพืชปนเปื้อน 9. จีเอ็มโอไม่เพิ่มผลผลิต และไม่ช่วยแก้ปัญหาปากท้องในขณะที่การเกษตรยั่งยืนแบบปลอดจีเอ็มโอในประเทศกำลังพัฒนามีผลแน่ ชัดว่า ผลผลิตเพิ่มขึ้น 79% และสูงกว่าการปลูกพืชจีเอ็ม ซึ่งเป็นข้อมูลจากกลุ่มสหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้มีความห่วงใยต่อสังคม (Union of Concerned Scientists) เมื่อปี 2009 ที่ได้รายงานถึงความล้มเหลวของผลผลิตพืชจีเอ็ม นอกจากนี้ รายงานของกลุ่มการประเมินความรู้ทางการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสากล (International Assessment of Agricultural Knowledge, Science and Technology for Development : IAASTD) ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ร่วมกันเขียนกว่า 400 คน จากการสนับสนุนของรัฐบาลอีก 58 ประเทศ ยืนยันว่า พืชจีเอ็มมีผลผลิตสูงในบางกรณี และในบางกรณีก็มีผลผลิตลดลง รายงานฉบับดังกล่าว ระบุว่า การประเมินเทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรมนั้นล่าช้า ยังขาดเรื่องการพัฒนาข้อมูล และความขัดแย้ง รวมถึงความผลประโยชน์ที่ไม่ชัดเจน และความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในรายงานฉบับนั้น เชื่อว่า เทคโนโลยีจีเอ็มโอในปัจจุบัน ยังไม่ใช่ตัวช่วยแก้ลดปัญหาความหิวโหยและขาดอาหาร รวมถึงยังไม่สามารถปรับปรุงสารอาหาร สุขภาพ และชีวิตในชนบทได้ อีกทั้งไม่ได้อำนวยความสะดวกให้แก่สังคม และไม่ได้สร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ในทางตรงกันข้าม จีเอ็มโอใช้เงินและทรัพยากรมากยิ่ขึ้น เพื่อสร้างให้เห็นว่าเทคโนโลยีดังกล่าว ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ 10.
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)