ชงโอนกองทุนกอช.รวมสปช.ลดซ้ำซ้อนเพิ่มคุ้มครองอาชีพอิสระ-ดูแลคนชราภาพ
นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วย รมว.แรงงาน(รง.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการบูรณาการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เข้ากับกองทุนประกันสังคม ตาม พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 40 ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 มิถุนายน การรวงแรงงานจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทประโยชน์ทดแทน หลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่...พ.ศ....ให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบการเพิ่มการเลือกที่ 3 ในมาตรา 40 แก่แรงงานนอกระบบ (อาชีพอิสระ) ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพอย่างเดียว (แบบ กอช.) เพื่อให้เป็นหลักประกันผู้ประกันตนอย่างยั่งยืน)
สำหรับกรณีสิทธิประโยชน์มาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3) ให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีชราภาพเท่านั้น ผู้สมัครอายุ 15-60 ปี แต่ปีแรกจะออกบทเฉพาะกาลให้ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี เข้าสู่ระบบได้ รวมทั้งกำหนดให้ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน และรัฐจ่ายสมทบ 100 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ กรณีชราภาพผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญหรือบำเหน็จเมื่ออายุ 60 ปี และยุติการเป็นผู้ประกันตน แต่กรณีสมาชิกเสียชีวิต การจ่ายเงินสมทบทั้งหมดพร้อมดอกผล คืนให้สามี ภรรยา บิดา มารดา หรือบุตรผู้ประกันตนเป็นบำเหน็จ
ปัจจุบันการส่งเงินสมทบแนวทางแรก เงินเข้ากองทุน 100 บาทต่อคนต่อเดือน (ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐ จ่าย 30 บาท ) ได้สิทธิ 3 กรณี มี 1.เงินทดแทนการขาดรายได้ 2.เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ และ3.ค่าทำศพ แนวทางที่2 เก็บเงินสมทบ 150 บาท (ผู้ประกันตน 100 บาท รัฐ 50 บาท) คุ้มครอง 4 กรณีคือ 3 กรณีเหมือนแนวทางแรก แต่เพิ่มบำเหน็จชราภาพ ถ้าตามมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3) ผ่าน ครม.ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองเพิ่ม
ตาม พ.ร.บ.กองทุนแห่งชาติ พ.ศ.2554 ให้สมาชิก กอช.จ่ายเงินออกไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50 บาท และรัฐจ่ายเงินตามระดับอายุของสมาชิก แต่ไม่เกินปีละ 600-1,200 บาท คาดว่าภายใน 5 ปี (2557-2561) จะมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ทั้ง 3 ทางเลือก จำนวน 21.4 ล้านคน และรัฐต้องส่งเงินอุดหนุนกองทุนจำนวน 6.1 หมื่นล้านบาท
คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มิ.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วย รมว.แรงงาน(รง.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการบูรณาการกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เข้ากับกองทุนประกันสังคม ตาม พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 40 ว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 มิถุนายน การรวงแรงงานจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทประโยชน์ทดแทน หลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคล ซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่...พ.ศ....ให้ ครม. พิจารณาเห็นชอบการเพิ่มการเลือกที่ 3 ในมาตรา 40 แก่แรงงานนอกระบบ (อาชีพอิสระ) ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพอย่างเดียว (แบบ กอช.) เพื่อให้เป็นหลักประกันผู้ประกันตนอย่างยั่งยืน) สำหรับกรณีสิทธิประโยชน์มาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3) ให้ความคุ้มครองเฉพาะกรณีชราภาพเท่านั้น ผู้สมัครอายุ 15-60 ปี แต่ปีแรกจะออกบทเฉพาะกาลให้ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี เข้าสู่ระบบได้ รวมทั้งกำหนดให้ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน และรัฐจ่ายสมทบ 100 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ กรณีชราภาพผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญหรือบำเหน็จเมื่ออายุ 60 ปี และยุติการเป็นผู้ประกันตน แต่กรณีสมาชิกเสียชีวิต การจ่ายเงินสมทบทั้งหมดพร้อมดอกผล คืนให้สามี ภรรยา บิดา มารดา หรือบุตรผู้ประกันตนเป็นบำเหน็จ ปัจจุบันการส่งเงินสมทบแนวทางแรก เงินเข้ากองทุน 100 บาทต่อคนต่อเดือน (ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐ จ่าย 30 บาท ) ได้สิทธิ 3 กรณี มี 1.เงินทดแทนการขาดรายได้ 2.เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ และ3.ค่าทำศพ แนวทางที่2 เก็บเงินสมทบ 150 บาท (ผู้ประกันตน 100 บาท รัฐ 50 บาท) คุ้มครอง 4 กรณีคือ 3 กรณีเหมือนแนวทางแรก แต่เพิ่มบำเหน็จชราภาพ ถ้าตามมาตรา 40 (ทางเลือกที่ 3) ผ่าน ครม.ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองเพิ่ม ตาม พ.ร.บ.กองทุนแห่งชาติ พ.ศ.2554 ให้สมาชิก กอช.จ่ายเงินออกไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50 บาท และรัฐจ่ายเงินตามระดับอายุของสมาชิก แต่ไม่เกินปีละ 600-1,200 บาท คาดว่าภายใน 5 ปี (2557-2561) จะมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ทั้ง 3 ทางเลือก จำนวน 21.4 ล้านคน และรัฐต้องส่งเงินอุดหนุนกองทุนจำนวน 6.1 หมื่นล้านบาท คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มิ.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)