ขมน้ำตาล หวานบอระเพ็ด : หูฟัง ระวังภัย : โดย...พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ
หูฟัง คืออุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อมระหว่างเครื่องบันทึกเสียงชนิดต่างๆ มาสู่หูของผู้ที่ต้องการฟังเสียง ซึ่งส่วนใหญ่คือเสียงเพลง โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ป้องกันไม่ให้เสียงเพลงไปรบกวนผู้อื่นที่อยู่ในรัศมีของเสียง แต่ผู้ใช้ในปัจจุบันนี้ต่างใช้งานด้วยวัตถุประสงค์ที่สวนทาง กล่าวคือ มักจะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้มีเสียงอื่นๆจากภายนอก เข้ามารบกวนการฟังเพลงของตนเองมากกว่า
หูฟัง ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในยุคเดียวกันกับเครื่องบันทึกเสียงแบบพกพาหรือ ซาวนด์อะเบาท์ได้รับความนิยม โดยเฉพาะในยุคที่โด่งดังของเครื่องบันทึกเสียงที่เรียกกันว่า วอล์คแมน ของโซนี่ขายดิบขายดี และได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคของเครื่องบันทึกเสียงขนาดเล็กแบบดิจิตอลหรือ ไอพอด
จากยุคนั้นมาจนถึงยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ครองโลก หูฟังจึงแทบจะกลายเป็นอวัยวะเพิ่มเสริมจากอวัยวะปกติของคนทั่วไป เพราะไม่ว่าจะนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์, ระหว่างการเดินทางด้วยพาหนะในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการเดินเท้าบนท้องถนน หรือแม้แต่ขณะที่ออกกำลังกายอยู่ก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีอุปกรณ์ที่ เรียกว่าหูฟังเสียบจุกติดรูหูอยู่ตลอดเวลา ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเป็นการทำให้เพลิดเพลินและคลายเครียดได้ดี
แต่ในขณะเดียวกันก็มีคำเตือนออกมาตลอดเวลาถึงอันตรายจากการใช้หูฟัง เช่น การที่ใช้หูฟังและเปิดเสียงที่ดังเกินกว่าหูปกติจะรับได้ต่อเนื่องเป็นเวลา นานๆ ก็จะทำให้ประสาทหูเสื่อมจนถึงขั้นทำให้เกิดอาการหูตึงขึ้นมาได้ การใช้หูฟังจึงไม่ควรเปิดเสียงดังกินไป และเมื่อใช้ไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็ต้องถอดหูฟังออกเพื่อพักประสาทหูเอาไว้บ้าง
แต่อันตรายที่แท้จริงของการเสียบหูฟังติดเอาไว้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่ออยู่นอกสถานที่ส่วนตัวก็คือ การเสียสมาธิหรือทำให้ประสาทสัมผัสติดอยู่กับหูฟัง จนไม่สามารถรับรู้ว่ามีอันตรายหรือมีคนร้าย กำลังจ้องหาจังหวะเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์หรือร่างกายอยู่ในละแวกใกล้เคียง เพราะเสียงที่ได้รับจากหูฟังทำให้สัญชาตญาณระวังภัย ซึ่งมีอยู่ในทุกตัวคนหมดประสิทธิภาพลงไป ดังที่เคยเกิดขึ้นและเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง
ส่วนอันตรายอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผลมาจากการใช้หูฟังอย่างไม่ถูกต้อง คือ อันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นบนถนนหรือบนทางเท้า เพราะคนที่เสียบหูฟังอยู่จะไม่ได้ยินเสียงแตรรถหรือเสียงคนตะโกนเตือน รวมทั้งอาจจะเพลิดเพลินกับสิ่งที่รับฟังจนเหม่อลอยเดินลงไปในเขตพื้นที่ อันตราย
หูฟังในปัจจุบันนี้มีประสิทธิภาพดีมาก ทั้งในด้านของประสิทธิภาพการกระจายเสียง และมีขีดความสามารถในการป้องกันไม่ให้เสียงจากภายนอกเข้ามารบกวนการฟังได้ดี แต่คนที่ใช้หูฟัง ไม่ว่าจะเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความบันเทิงอื่นใด ก็ควรศึกษาวิธีการใช้หูฟังที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยแก่ประสาทหู และแก่ร่างกาย รวมทั้งทรัพย์สินของตัวเองด้วย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
พัฒนเดช อาสาสรรพกิจ หูฟัง คืออุปกรณ์ที่ใช้ต่อเชื่อมระหว่างเครื่องบันทึกเสียงชนิดต่างๆ มาสู่หูของผู้ที่ต้องการฟังเสียง ซึ่งส่วนใหญ่คือเสียงเพลง โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ป้องกันไม่ให้เสียงเพลงไปรบกวนผู้อื่นที่อยู่ในรัศมีของเสียง แต่ผู้ใช้ในปัจจุบันนี้ต่างใช้งานด้วยวัตถุประสงค์ที่สวนทาง กล่าวคือ มักจะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้มีเสียงอื่นๆจากภายนอก เข้ามารบกวนการฟังเพลงของตนเองมากกว่า หูฟัง ได้รับความนิยมแพร่หลายมากในยุคเดียวกันกับเครื่องบันทึกเสียงแบบพกพาหรือ ซาวนด์อะเบาท์ได้รับความนิยม โดยเฉพาะในยุคที่โด่งดังของเครื่องบันทึกเสียงที่เรียกกันว่า วอล์คแมน ของโซนี่ขายดิบขายดี และได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคของเครื่องบันทึกเสียงขนาดเล็กแบบดิจิตอลหรือ ไอพอด จากยุคนั้นมาจนถึงยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ครองโลก หูฟังจึงแทบจะกลายเป็นอวัยวะเพิ่มเสริมจากอวัยวะปกติของคนทั่วไป เพราะไม่ว่าจะนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์, ระหว่างการเดินทางด้วยพาหนะในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการเดินเท้าบนท้องถนน หรือแม้แต่ขณะที่ออกกำลังกายอยู่ก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีอุปกรณ์ที่ เรียกว่าหูฟังเสียบจุกติดรูหูอยู่ตลอดเวลา ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะบอกว่าเป็นการทำให้เพลิดเพลินและคลายเครียดได้ดี แต่ในขณะเดียวกันก็มีคำเตือนออกมาตลอดเวลาถึงอันตรายจากการใช้หูฟัง เช่น การที่ใช้หูฟังและเปิดเสียงที่ดังเกินกว่าหูปกติจะรับได้ต่อเนื่องเป็นเวลา นานๆ ก็จะทำให้ประสาทหูเสื่อมจนถึงขั้นทำให้เกิดอาการหูตึงขึ้นมาได้ การใช้หูฟังจึงไม่ควรเปิดเสียงดังกินไป และเมื่อใช้ไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็ต้องถอดหูฟังออกเพื่อพักประสาทหูเอาไว้บ้าง แต่อันตรายที่แท้จริงของการเสียบหูฟังติดเอาไว้ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่ออยู่นอกสถานที่ส่วนตัวก็คือ การเสียสมาธิหรือทำให้ประสาทสัมผัสติดอยู่กับหูฟัง จนไม่สามารถรับรู้ว่ามีอันตรายหรือมีคนร้าย กำลังจ้องหาจังหวะเพื่อประสงค์ต่อทรัพย์หรือร่างกายอยู่ในละแวกใกล้เคียง เพราะเสียงที่ได้รับจากหูฟังทำให้สัญชาตญาณระวังภัย ซึ่งมีอยู่ในทุกตัวคนหมดประสิทธิภาพลงไป ดังที่เคยเกิดขึ้นและเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ส่วนอันตรายอีกรูปแบบหนึ่งที่มีผลมาจากการใช้หูฟังอย่างไม่ถูกต้อง คือ อันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นบนถนนหรือบนทางเท้า เพราะคนที่เสียบหูฟังอยู่จะไม่ได้ยินเสียงแตรรถหรือเสียงคนตะโกนเตือน รวมทั้งอาจจะเพลิดเพลินกับสิ่งที่รับฟังจนเหม่อลอยเดินลงไปในเขตพื้นที่ อันตราย หูฟังในปัจจุบันนี้มีประสิทธิภาพดีมาก ทั้งในด้านของประสิทธิภาพการกระจายเสียง และมีขีดความสามารถในการป้องกันไม่ให้เสียงจากภายนอกเข้ามารบกวนการฟังได้ดี แต่คนที่ใช้หูฟัง ไม่ว่าจะเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความบันเทิงอื่นใด ก็ควรศึกษาวิธีการใช้หูฟังที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยแก่ประสาทหู และแก่ร่างกาย รวมทั้งทรัพย์สินของตัวเองด้วย ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130625/161721/ขมน้ำตาลหวานบอระเพ็ด:หูฟังระวังภัย.html#.UclKANhHWzs
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)