ทีโอที ผนึก สพฉ.ปัดฝุ่นคอลเซ็นเตอร์ 1669 บันทึกพิกัดบ้านผู้สูงวัย-พิการ ลดอัตราการเสียชีวิต

แสดงความคิดเห็น

พนักงานหญิง call center ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุและผู้พิการมีอัตราเพิ่มมากขึ้น จากฐานข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า กลุ่มคนอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมี 15,925,000 คน ในขณะที่ทะเบียนกลางคนพิการของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แห่งชาติ พบว่า มีผู้พิการโดยรวมจำนวน1,374,133คนแบ่งเป็นคนพิการทางการได้ยินและสื่อความหมายจำนวน221,199คน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงานที่ดูแลให้ความช่วยเหลือและออกมาตรการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ และผู้พิการอยู่แล้วก็ตาม แต่ความช่วยเหลือดังกล่าวก็ยังไม่สามารถครอบคลุมและมีประสิทธิภาพพอ เพราะด้วยสภาพร่างกายที่เสียเปรียบกลุ่มคนธรรมดาส่งผลให้ศักยภาพในการดำเนิน ชีวิตประจำวันก็ต้องลดน้อยลงไปด้วย และหากต้องเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่สบายการเดินทางไปโรงพยาบาลถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญ

ล่าสุด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ และผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูดเพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้บกพร่องทางการ ได้ยินและการพูดสามารถขอความช่วยเหลือจากศูนย์ร้องเรียนของ สพฉ.ผ่านสายด่วน 1669 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยจะเน้นให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ และผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูดให้สามารถได้รับการบริการทางการแพทย์ได้ทันในเวลาอันรวดเร็ว

นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ทีโอที ได้มีการพัฒนานวัตกรรม ทีโอที เฮลท์ คอลเซ็นเตอร์ (TOT Help Call Center) เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบโทรศัพท์พื้นฐาน พร้อมระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐานและระบบแสดงผลอัตโนมัติเกี่ยวกับข้อมูล ประวัติผู้สูงอายุ ประวัติรักษาพยาบาลและสำคัญที่สุดคือตำแหน่งของบ้านพักอาศัยของผู้สูงอายุบนแผนที่ดาวเทียม

โดยข้อมูลดังกล่าว จะไปเชื่อมโยงกับระบบรับแจ้งเหตุของสายด่วน 1669 ประจำจังหวัดต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการแจ้งเหตุ และการรับรู้สถานที่เกิดเหตุของผู้ป่วยที่ถูกต้องและรวดเร็ว ถือเป็นการเพิ่มโอกาสการให้บริการกับผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงทีมาก ยิ่งขึ้น สำหรับโครงการนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับบริการโทรศัพท์ประจำที่ ยังเป็นการช่วยเหลือสังคมในด้านสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุอีกด้วย

ทั้งนี้ ลูกค้า ทีโอที ทั่วประเทศปัจจุบันมีประมาณ 1.6 ล้านเลขหมาย จะสามารถใช้บริการในเบื้องต้นได้ฟรี โดยขณะนี้จะเปิดให้ใช้งานนำร่อง 7 จังหวัดก่อน คือ จังหวัดชลบุรี ระยอง ขอนแก่น หนองบัวลำภูอุดรธานีกาฬสินธุ์และอุบลราชธานีก่อนจะเปิดให้บริการในจังหวัดอื่นๆต่อไป

ขณะเดียวกัน มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้คนพิการทางการได้ยินได้มีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง โดยจัดตั้งศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อให้บริการถ่ายทอดการสื่อสารแก่คนพิการทางการได้ยินและการพูดกับคนอื่นๆในสังคม

แพทย์กำลังพูดคุยกับผู้ป่วยนอนเตียง โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เช่น โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา พิกัดของสถานที่บ้านพัก หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานหรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ และข้อมูลอื่นๆ ที่คนพิการทางการได้ยินได้ลงทะเบียนไว้กับมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ และจะนำไปเชื่อมโยงต่อกับระบบการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน1669ของสพฉ.เช่นกัน

ถือเป็นสิ่งดีที่หน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูดให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และหวังว่าจะพัฒนาระบบการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บกพร่องในด้านอื่นๆ อีกกว่า 1,152,934 คน.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/214436 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 27/06/2556 เวลา 03:23:38 ดูภาพสไลด์โชว์ ทีโอที ผนึก สพฉ.ปัดฝุ่นคอลเซ็นเตอร์ 1669 บันทึกพิกัดบ้านผู้สูงวัย-พิการ ลดอัตราการเสียชีวิต

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พนักงานหญิง call centerปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุและผู้พิการมีอัตราเพิ่มมากขึ้น จากฐานข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า กลุ่มคนอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมี 15,925,000 คน ในขณะที่ทะเบียนกลางคนพิการของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แห่งชาติ พบว่า มีผู้พิการโดยรวมจำนวน1,374,133คนแบ่งเป็นคนพิการทางการได้ยินและสื่อความหมายจำนวน221,199คน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงานที่ดูแลให้ความช่วยเหลือและออกมาตรการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ และผู้พิการอยู่แล้วก็ตาม แต่ความช่วยเหลือดังกล่าวก็ยังไม่สามารถครอบคลุมและมีประสิทธิภาพพอ เพราะด้วยสภาพร่างกายที่เสียเปรียบกลุ่มคนธรรมดาส่งผลให้ศักยภาพในการดำเนิน ชีวิตประจำวันก็ต้องลดน้อยลงไปด้วย และหากต้องเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่สบายการเดินทางไปโรงพยาบาลถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ล่าสุด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ และผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูดเพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้บกพร่องทางการ ได้ยินและการพูดสามารถขอความช่วยเหลือจากศูนย์ร้องเรียนของ สพฉ.ผ่านสายด่วน 1669 ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยจะเน้นให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ และผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูดให้สามารถได้รับการบริการทางการแพทย์ได้ทันในเวลาอันรวดเร็ว นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ทีโอที ได้มีการพัฒนานวัตกรรม ทีโอที เฮลท์ คอลเซ็นเตอร์ (TOT Help Call Center) เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบโทรศัพท์พื้นฐาน พร้อมระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐานและระบบแสดงผลอัตโนมัติเกี่ยวกับข้อมูล ประวัติผู้สูงอายุ ประวัติรักษาพยาบาลและสำคัญที่สุดคือตำแหน่งของบ้านพักอาศัยของผู้สูงอายุบนแผนที่ดาวเทียม โดยข้อมูลดังกล่าว จะไปเชื่อมโยงกับระบบรับแจ้งเหตุของสายด่วน 1669 ประจำจังหวัดต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการแจ้งเหตุ และการรับรู้สถานที่เกิดเหตุของผู้ป่วยที่ถูกต้องและรวดเร็ว ถือเป็นการเพิ่มโอกาสการให้บริการกับผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงทีมาก ยิ่งขึ้น สำหรับโครงการนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับบริการโทรศัพท์ประจำที่ ยังเป็นการช่วยเหลือสังคมในด้านสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุอีกด้วย ทั้งนี้ ลูกค้า ทีโอที ทั่วประเทศปัจจุบันมีประมาณ 1.6 ล้านเลขหมาย จะสามารถใช้บริการในเบื้องต้นได้ฟรี โดยขณะนี้จะเปิดให้ใช้งานนำร่อง 7 จังหวัดก่อน คือ จังหวัดชลบุรี ระยอง ขอนแก่น หนองบัวลำภูอุดรธานีกาฬสินธุ์และอุบลราชธานีก่อนจะเปิดให้บริการในจังหวัดอื่นๆต่อไป ขณะเดียวกัน มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อให้คนพิการทางการได้ยินได้มีโอกาสใช้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง โดยจัดตั้งศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อให้บริการถ่ายทอดการสื่อสารแก่คนพิการทางการได้ยินและการพูดกับคนอื่นๆในสังคม แพทย์กำลังพูดคุยกับผู้ป่วยนอนเตียง โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เช่น โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา พิกัดของสถานที่บ้านพัก หมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานหรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ และข้อมูลอื่นๆ ที่คนพิการทางการได้ยินได้ลงทะเบียนไว้กับมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ และจะนำไปเชื่อมโยงต่อกับระบบการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน1669ของสพฉ.เช่นกัน ถือเป็นสิ่งดีที่หน่วยงานต่างๆ ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ และผู้บกพร่องทางการได้ยินและการพูดให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และหวังว่าจะพัฒนาระบบการสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บกพร่องในด้านอื่นๆ อีกกว่า 1,152,934 คน. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/214436

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...