สร้างสายใยรักเพื่อพัฒนาครอบครัวผู้บกพร่องทางสติปัญญา ประจำปี 2566
สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย สร้างสายใยรักเพื่อพัฒนาครอบครัวผู้บกพร่องทางสติปัญญา ประจำปี 2566
วันที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. ที่โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์เมาท์เทน รีสอร์ท อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย นางสาวชนัญภรณ์ จันทะวัน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดโครงการสายใยรักเพื่อพัฒนาครอบครัวผู้บกพร่องทางสติปัญญา ประจำปี 2566 โดยมี นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย ครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา วิทยากร คณะทำงานและเครือข่าย จากภาคอีสาน เข้าร่วมกิจกรรม
นางสาวชนัญภรณ์ จันทะวัน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเลย กล่าวว่า การพัฒนาคนพิการทางสติปัญญาได้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านร่างกายให้มีความแข็งแรง ได้พัฒนาด้านภาษาและการสื่อสาร มีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ อารมณ์ และทักษะการเข้าร่วมสังคม และมีโอกาสได้แสดงออก มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ ได้แสดงศักยภาพและความสามารถในฐานะคนธรรมดาผู้ดูแลคนพิการเกิดแรงบันดาลใจ มีพลังในการพัฒนาคนพิการทางสติปัญญา และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการคนพิการทางสติปัญญาให้สามารถอยู่ร่วมในสังคมคนปกติและชุมชนได้อย่างมีความสุข
นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยมีบทบาทหน้าที่หลักในการดูแลและส่งเสริมให้คนพิการทางสติปัญญาและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อให้คนพิการทางสติปัญญา ได้เข้าถึงบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน โดยจัดตั้งเป็นชมรมต่างๆ ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทางสติปัญญาแนวทางการดูแลในแต่ละชมรม จึงเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ สุขภาพเป็นมิติหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตคน พิการทางสติปัญญา การพัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ การดูแลด้านสุขภาพจิต ( psychosocial Health) เป็นการส่งเสริมให้ได้รับการผ่อนคลายอย่างเหมาะสม เสริมสร้างวุฒิภาวะทางอารมณ์ด้านสังคม ( social Health) เป็นการรับรู้ถึงบทบาทของตนเองในสังคมและอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข แนวคิดมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวคนพิการให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ให้บริการความช่วยเหลือในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน สนับสนุนด้านการฝึกพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถนะภาพคนพิการทางสติปัญญา กลุ่มเป้าหมายจากภาคอีสาน จำนวน 150 คน ประกอบด้วย ครอบครัวคนพิการทางสติปัญญา จำนวน 50 ครอบครัว วิทยากร คณะทำงานและเครือข่าย จำนวน 50 ครอบครัว
ขอบคุณ... https://shorturl.asia/yDJ3B