จากชายร่างพิการสู่งานศิลป์ 'บุดุนโลหะ' ชุบชีวิตคนติดล้อ...โดยมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย
“อายมาก ไม่มีความมั่นใจ ยิ่งคนมองยิ่งไม่กล้าสบตา ใครมาคุยมาถามอะไรก็ไม่อยากคุย” ความน้อยเนื้อต่ำใจในโชคชะตาหลังได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจต่อสายตาของผู้คนที่มองมาด้วยความสงสัยในตัวเขาที่ ตกอยู่ในสภาพของผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว สำหรับ "อรุณ สุวิไลย" ชายร่างพิการแห่งเมืองนครศรีธรรมราช ผู้ผลิตและจำหน่ายศิลปะดุนโลหะ ที่วันนี้ความรู้สึกดังกล่าวเป็นเพียงความทรงจำในอดีตที่เขาก้าวข้ามพ้นอุปสรรคทางร่างกายด้วยหัวใจอันแกร่งกล้าที่จะยืนหยัดสร้างรายได้ด้วยมันสมอง และสองมือของตนเอง
แม้จะไร้ลำแข้งพยุงร่างดั่งเช่นคนอื่นๆ แต่เขาก็เชื่อมั่นในสองล้อพาหนะคู่ใจว่าสามารถพาเขาไปไหนต่อไหนได้ทุกทิศที่ใจเขาต้องการจะไป เพื่อสร้างโอกาสเปิดโลกกว้างให้ตนเองโดยผ่านผลงานทางศิลปะที่ชื่อ "ศิลปะบุดุนโลหะ" เป็นใบเบิกทางสู่การสร้างอาชีพ มีรายได้ในปัจจุบัน
อรุณเล่าว่า เริ่มทำงานบุดุนโลหะในปี 2545 เนื่องจากได้เห็นการประกาศรับคนพิการที่มีใจรักในงานศิลปะเข้าเรียนงานช่าง สิบหมู่ที่โรงเรียนกาญจนาภิเษก จ.นครปฐม ของมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย (มพพท.) จึงไปสมัครและติด 1 ใน 12 คนที่ได้รับคัดเลือก โดยใช้เวลาเรียนในสาขาช่างบุเป็นเวลา 3 เดือนจนสามารถเริ่มทำงานบุดุนโลหะได้ หลังจากที่จบการฝึกอบรมแล้ว จึงเริ่มหันมาทำเป็นอาชีพอย่างจริงๆ จังๆ โดยหัดทำเพิ่มเติมด้วยตนเองที่บ้านจนชำนาญ สามารถทำเป็นอาชีพและขายงานบุดุนโลหะได้
"งานดุนโลหะ หรือบุดุนโลหะ เป็นงานช่างประณีตศิลป์ที่ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญ ช่างในอดีตนิยมใช้ทองคำ เงิน ทองแดง และดีบุก หลังๆ มีการประยุกต์ให้ร่วมสมัยโดยใช้อะลูมิเนียมมาสร้างเป็นชิ้นงาน"
อรุณเผยต่อว่า เหตุผลที่เลือกใช้ทองแดง เพราะเมื่อผลิตเป็นชิ้นงานจะมีความโดดเด่น สอดคล้องกับรูปแบบที่ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับศาสตร์ความเชื่อ เทพประจำวันเกิด หรือรูปบูชาต่างๆ อาทิ พระพุทธรูป พระพิฆเนศ ซึ่งเป็นที่นิยมและตรงกับความต้องการของตลาดค่อนข้างกว้าง โดยมีราคาจำหน่ายตั้งแต่ 400-5,000 บาท ตามขนาดและความยากง่ายของชิ้นงาน
“การเลือกยึดอาชีพงานบุดุนโลหะด้วยมือเพราะมีคนทำน้อย แต่ตลาดเปิดกว้าง ส่วนมากที่เห็นจำหน่ายทั่วไปเป็นงานปั๊ม พอเราทำตรงนี้และแสดงให้เห็นขั้นตอนการทำเวลาไปออกบูธที่ไหนได้รับความสนใจ ได้ดีทีเดียว เราก็ได้ทำงานชิ้นใหม่ไปด้วย แสดงผลงานพร้อมจำหน่ายไปด้วย ตระเวนไปกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศ มีโอกาสที่ไหนผมไปทั้งนั้น ใช้บริการรถไฟฟรีไปได้ทุกทิศทั่วไทย”
ทั้งนี้ ต้องมีการวางแผนการทำงานในแต่ละวันด้วยตนเองวันละ 8-10 ชั่วโมง โดยกำหนดค่าแรงเฉลี่ยวันละ 200 บาท เมื่อบวกต้นทุนวัตถุดิบ ค่าเดินทาง ต้องตั้งราคาขายให้ได้กำไรร้อยละ 30 ต่อชิ้นงาน ดังนั้นการกำหนดระยะเวลาการทำงานแต่ละชิ้นจะทำให้เราคำนวณต้นทุนที่แท้จริง ได้ชัดเจนขึ้น อาทิ สินค้าราคาขาย 1200 บาท ต้องเสร็จภายใน 4 วัน ถ้าเกินจากนั้นเราก็ขาดทุน แต่ทั้งนี้งานศิลปะมีคุณค่าความพึงพอใจของลูกค้าเป็นตัวช่วยสร้างมูลค่า เพิ่มให้ชิ้นงานที่มีรายละเอียดและความยากในการทำงานด้วยเช่นกัน
"ที่มีวันนี้ได้เพราะการมีวินัยทางการเงิน ทำให้สามารถดูแลตนเองได้ ขณะเดียวกันสามารถรับงานของเพื่อนผู้พิการด้วยกันไปจำหน่ายในงานต่างๆ เพื่อช่วยสร้างโอกาสให้ผู้พิการให้มีรายได้และมีเงินลงทุนในการพัฒนาผลงานตน เองอย่างต่อเนื่องแม้จะเป็นงานต่างชนิดกัน"
เจ้าของผลิตภัณฑ์เด่นย้ำด้วยว่า สำหรับการแสวงหาโอกาสให้ตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น ทำให้ได้รับโอกาสดีๆ จากคนรอบข้าง คอยช่วยเหลือและเชิญชวนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในสถานที่ต่างๆ อาทิ ตลาดน้ำ 4 ภาคพัทยา งานภูมิปัญญาผู้สูงวัย นำไทยสู่อาเซียน 2556 ของ กทม.และเอนชัวร์ ตลาดนัดภูมิปัญญาสร้างอาชีพ เป็นต้น ประกอบกับปัจจุบันผู้พิการได้รับโอกาสทางสังคมพอสมควร เมื่อเราเปิดใจ ค่อยๆ พัฒนาความคิด และหมั่นติดตามข่าวสาร หาข้อมูล มีงานที่ไหน เสนอตัวเองเข้าไปร่วม แม้บางครั้งอาจมีสถานการณ์ที่กระทบจิตใจบ้าง ได้รับการปฏิเสธอาจจะน้อยใจบ้าง แต่พอเปลี่ยนทัศนคติตนเองได้ โอกาสต่างๆ จะเข้ามาเอง พร้อมฝากเตือนใจผู้ที่ต้องเผชิญชะตากรรมจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเช่นเดียวกับ เขาได้มีกำลังใจที่จะสู้ชีวิตต่อไป
ศิลปะบุดุนโลหะ นับเป็นผลิตภัณฑ์ฝีมือชายร่างพิการที่มีความมุ่งมั่นสนใจในงานศิลปะที่ตัวเองรักอย่างบุดุนโลหะ ล่าสุดได้นำผลิตภัณฑ์ที่ออกบูธในงาน "โอท็อป มิดเยียร์ 2556" ที่อาคารฮอลล์ 1-8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม-2 มิถุนายน หรือสนใจผลิตภัณฑ์เด่นติดต่อ อรุณ สุวิไลย โดยตรง 08-6070-3927 ได้ตลอดเวลา...โดย...สุรัตน์ อัตตะ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
อรุณ สุวิไลย กำลังทำงาน\'บุดุนโลหะ\' “อายมาก ไม่มีความมั่นใจ ยิ่งคนมองยิ่งไม่กล้าสบตา ใครมาคุยมาถามอะไรก็ไม่อยากคุย” ความน้อยเนื้อต่ำใจในโชคชะตาหลังได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจต่อสายตาของผู้คนที่มองมาด้วยความสงสัยในตัวเขาที่ ตกอยู่ในสภาพของผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว สำหรับ "อรุณ สุวิไลย" ชายร่างพิการแห่งเมืองนครศรีธรรมราช ผู้ผลิตและจำหน่ายศิลปะดุนโลหะ ที่วันนี้ความรู้สึกดังกล่าวเป็นเพียงความทรงจำในอดีตที่เขาก้าวข้ามพ้นอุปสรรคทางร่างกายด้วยหัวใจอันแกร่งกล้าที่จะยืนหยัดสร้างรายได้ด้วยมันสมอง และสองมือของตนเอง แม้จะไร้ลำแข้งพยุงร่างดั่งเช่นคนอื่นๆ แต่เขาก็เชื่อมั่นในสองล้อพาหนะคู่ใจว่าสามารถพาเขาไปไหนต่อไหนได้ทุกทิศที่ใจเขาต้องการจะไป เพื่อสร้างโอกาสเปิดโลกกว้างให้ตนเองโดยผ่านผลงานทางศิลปะที่ชื่อ "ศิลปะบุดุนโลหะ" เป็นใบเบิกทางสู่การสร้างอาชีพ มีรายได้ในปัจจุบัน อรุณเล่าว่า เริ่มทำงานบุดุนโลหะในปี 2545 เนื่องจากได้เห็นการประกาศรับคนพิการที่มีใจรักในงานศิลปะเข้าเรียนงานช่าง สิบหมู่ที่โรงเรียนกาญจนาภิเษก จ.นครปฐม ของมูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย (มพพท.) จึงไปสมัครและติด 1 ใน 12 คนที่ได้รับคัดเลือก โดยใช้เวลาเรียนในสาขาช่างบุเป็นเวลา 3 เดือนจนสามารถเริ่มทำงานบุดุนโลหะได้ หลังจากที่จบการฝึกอบรมแล้ว จึงเริ่มหันมาทำเป็นอาชีพอย่างจริงๆ จังๆ โดยหัดทำเพิ่มเติมด้วยตนเองที่บ้านจนชำนาญ สามารถทำเป็นอาชีพและขายงานบุดุนโลหะได้ "งานดุนโลหะ หรือบุดุนโลหะ เป็นงานช่างประณีตศิลป์ที่ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญ ช่างในอดีตนิยมใช้ทองคำ เงิน ทองแดง และดีบุก หลังๆ มีการประยุกต์ให้ร่วมสมัยโดยใช้อะลูมิเนียมมาสร้างเป็นชิ้นงาน" อรุณเผยต่อว่า เหตุผลที่เลือกใช้ทองแดง เพราะเมื่อผลิตเป็นชิ้นงานจะมีความโดดเด่น สอดคล้องกับรูปแบบที่ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับศาสตร์ความเชื่อ เทพประจำวันเกิด หรือรูปบูชาต่างๆ อาทิ พระพุทธรูป พระพิฆเนศ ซึ่งเป็นที่นิยมและตรงกับความต้องการของตลาดค่อนข้างกว้าง โดยมีราคาจำหน่ายตั้งแต่ 400-5,000 บาท ตามขนาดและความยากง่ายของชิ้นงาน “การเลือกยึดอาชีพงานบุดุนโลหะด้วยมือเพราะมีคนทำน้อย แต่ตลาดเปิดกว้าง ส่วนมากที่เห็นจำหน่ายทั่วไปเป็นงานปั๊ม พอเราทำตรงนี้และแสดงให้เห็นขั้นตอนการทำเวลาไปออกบูธที่ไหนได้รับความสนใจ ได้ดีทีเดียว เราก็ได้ทำงานชิ้นใหม่ไปด้วย แสดงผลงานพร้อมจำหน่ายไปด้วย ตระเวนไปกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศ มีโอกาสที่ไหนผมไปทั้งนั้น ใช้บริการรถไฟฟรีไปได้ทุกทิศทั่วไทย” ทั้งนี้ ต้องมีการวางแผนการทำงานในแต่ละวันด้วยตนเองวันละ 8-10 ชั่วโมง โดยกำหนดค่าแรงเฉลี่ยวันละ 200 บาท เมื่อบวกต้นทุนวัตถุดิบ ค่าเดินทาง ต้องตั้งราคาขายให้ได้กำไรร้อยละ 30 ต่อชิ้นงาน ดังนั้นการกำหนดระยะเวลาการทำงานแต่ละชิ้นจะทำให้เราคำนวณต้นทุนที่แท้จริง ได้ชัดเจนขึ้น อาทิ สินค้าราคาขาย 1200 บาท ต้องเสร็จภายใน 4 วัน ถ้าเกินจากนั้นเราก็ขาดทุน แต่ทั้งนี้งานศิลปะมีคุณค่าความพึงพอใจของลูกค้าเป็นตัวช่วยสร้างมูลค่า เพิ่มให้ชิ้นงานที่มีรายละเอียดและความยากในการทำงานด้วยเช่นกัน "ที่มีวันนี้ได้เพราะการมีวินัยทางการเงิน ทำให้สามารถดูแลตนเองได้ ขณะเดียวกันสามารถรับงานของเพื่อนผู้พิการด้วยกันไปจำหน่ายในงานต่างๆ เพื่อช่วยสร้างโอกาสให้ผู้พิการให้มีรายได้และมีเงินลงทุนในการพัฒนาผลงานตน เองอย่างต่อเนื่องแม้จะเป็นงานต่างชนิดกัน" เจ้าของผลิตภัณฑ์เด่นย้ำด้วยว่า สำหรับการแสวงหาโอกาสให้ตนเองนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น ทำให้ได้รับโอกาสดีๆ จากคนรอบข้าง คอยช่วยเหลือและเชิญชวนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในสถานที่ต่างๆ อาทิ ตลาดน้ำ 4 ภาคพัทยา งานภูมิปัญญาผู้สูงวัย นำไทยสู่อาเซียน 2556 ของ กทม.และเอนชัวร์ ตลาดนัดภูมิปัญญาสร้างอาชีพ เป็นต้น ประกอบกับปัจจุบันผู้พิการได้รับโอกาสทางสังคมพอสมควร เมื่อเราเปิดใจ ค่อยๆ พัฒนาความคิด และหมั่นติดตามข่าวสาร หาข้อมูล มีงานที่ไหน เสนอตัวเองเข้าไปร่วม แม้บางครั้งอาจมีสถานการณ์ที่กระทบจิตใจบ้าง ได้รับการปฏิเสธอาจจะน้อยใจบ้าง แต่พอเปลี่ยนทัศนคติตนเองได้ โอกาสต่างๆ จะเข้ามาเอง พร้อมฝากเตือนใจผู้ที่ต้องเผชิญชะตากรรมจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเช่นเดียวกับ เขาได้มีกำลังใจที่จะสู้ชีวิตต่อไป ศิลปะบุดุนโลหะ นับเป็นผลิตภัณฑ์ฝีมือชายร่างพิการที่มีความมุ่งมั่นสนใจในงานศิลปะที่ตัวเองรักอย่างบุดุนโลหะ ล่าสุดได้นำผลิตภัณฑ์ที่ออกบูธในงาน "โอท็อป มิดเยียร์ 2556" ที่อาคารฮอลล์ 1-8 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม-2 มิถุนายน หรือสนใจผลิตภัณฑ์เด่นติดต่อ อรุณ สุวิไลย โดยตรง 08-6070-3927 ได้ตลอดเวลา...โดย...สุรัตน์ อัตตะ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130601/159725/บุดุนโลหะชุบชีวิตคนติดล้อ.html#.UcfNHtikPZ4
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)