เครื่องดื่ม ใส่น้ำตาล แต่งกลิ่นและสี..คิดดีๆก่อนเลือกดื่ม!!
ในบรรดาเครื่องดื่มที่มีขายตามท้องตลาดบ้านเรา เชื่อไหมว่า เกินกว่าครึ่ง เป็นเครื่องดื่มชนิดที่อุดมไปด้วยน้ำตาล ตกแต่งให้ดูน่าดื่มด้วยสีกลิ่น และทำให้อายุการเก็บรักษานาน ๆด้วยการใส่วัตถุกันเสีย พูดอย่างนี้แล้ว คอน้ำอัดลมคงร้อน ๆ หนาว ๆ กันใช่ไหม ใช่ค่ะ..ผู้เขียนกำลังหมายถึง เครื่องดื่มตั้งแต่น้ำอัดลม รวมไปจนถึงสารพัดเครื่องดื่มดับกระหาย คลายร้อนต่าง ๆ นานา ที่แทบจะไม่มีส่วนผสมของวัตถุดิบทางธรรมชาติ ในการให้รสชาติเลย ยิ่งกระแสชาเพื่อสุขภาพ ก็ได้ถูกนำมาแอบอ้าง กลายเป็นเครื่องดื่มทั้ง ๆ ที่ ผู้บริโภคแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากเครื่องดื่มนั้น ๆ เลยนอกจากพลังงานที่เกินความจำเป็น จากปริมาณน้ำตาลที่มากเกินความพอดี พูดมาเสียขนาดนี้ ผู้เขียนมิได้มีเจตนาให้ร้ายบริษัทผู้ผลิตน้ำอัดลม หรือ เครื่องดื่มรายใดเลยนะคะ เพียงแค่ต้องการให้ใช้เป็นข้อมูลทางเลือก สำหรับผู้ที่รักและใส่ใจสุขภาพควรเลือกเครื่องดื่มที่มีตามท้องตลาด ให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกายกันอย่างแท้จริง
น้ำตาล หรือ ไซรัป - ส่วนประกอบหลักที่ขาดไม่ได้ การได้น้ำตาลที่เกินความพอดีเข้าสู่ร่างกาย เป็นที่มาของโรคร้ายหลายโรคและอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพ เช่น ฟันผุ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะโรคเบาหวานนั้นเป็นอันตรายมาก ทำให้ผู้ป่วยลำบากหากไม่มีการควบคุมอาหารการกินอย่างจริงจัง จะทำให้เกิดอาการหัวใจวาย ไตล้มเหลว ตาบอด เนื้อเยื่อเน่า เท้าบวม หมดสติและอาจตายได้
สารเคมีแต่งสี - ส่วนใหญ่สารเคมีที่ใช้ในเครื่องดื่ม กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มสีสังเคราะห์ ซึ่งเป็นสารแปลกปลอม เมื่อผสมอาหารและรับประทานเข้าไปในร่างกาย ก็จะเกิดอันตรายได้ และยังเป็นสาเหตุ ของมะเร็งที่อวัยวะอื่น ๆ อีกด้วย จะเห็นได้ว่าสีผสมอาหารนั้นไม่ให้คุณค่าอะไรแก่ร่างกาย และก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องใช้เลย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง การบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มที่มีการใส่สีสังเคราะห์ในส่วนผสมกันดีกว่า
สารเคมีแต่งกลิ่น ซึ่งแต่งกลิ่น รสชาติอาหาร ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์มีการแบ่งประเภทโดยผู้บริโภคสามารถอ่านดูได้ที่ฉลาก โภชนาการ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 วัตถุแต่งกลิ่นรสธรรมชาติ เป็นการนำพืชหรือวัตถุจากธรรมชาติมาสกัด ประเภทที่ 2 วัตถุแต่งกลิ่นรส เลียนธรรมชาติ เป็นการสกัด กลิ่น รส จากพืชหรือวัตถุธรรมชาติโดยวิธีทางเคมี ประเภทที่ 3 วัตถุแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ ซึ่งวัตถุแต่งกลิ่นสังเคราะห์นั้นเกิดจากส่วนผสมสารเคมี ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และหากขบวนการสังเคราะห์ไม่ดี ก็อาจมีสารโลหะหนักตกค้างได้ ไม่ต่างกับสารเคมีแต่งสี
วัตถุกันเสีย - เป็นสารที่ใช้ใส่ลงในอาหารเพื่อช่วยให้ อาหารคงสภาพ รส กลิ่น ไว้ได้นานเหมือนเมื่อแรกผลิต สารประเภทนี้ได้แก่ สารกันหืน สารกันบูด หรือสารป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งวัตถุกันเสียที่มักใช้ในกลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ กลุ่มเบนโซเอท หรือสารเคมีกลุ่มอื่น ๆ ในทางกฏหมายก็มีการกำหนดปริมาณในการใช้ทุก ๆ ชนิด นั่นหมายความว่าเจ้าสารเหล่านี้ จะมีอันตรายต่อสุขภาพเราได้ ซึ่งหากในแต่ละวัน เราได้รับสารกันบูดในปริมาณน้อย ร่างกายจะสามารถกำจัดออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ แต่หากได้รับในปริมาณมากทุกวัน ตับและไตจะต้องทำงานหนักขึ้น และหากกำจัดออกไปไม่หมด ก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของตับและไตในการกำจัดสารเคมีเหล่านี้ลดลง และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่อตับและไตได้
ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/article/825/221718 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เครื่องดื่มประเภท น้ำอัดลม ในบรรดาเครื่องดื่มที่มีขายตามท้องตลาดบ้านเรา เชื่อไหมว่า เกินกว่าครึ่ง เป็นเครื่องดื่มชนิดที่อุดมไปด้วยน้ำตาล ตกแต่งให้ดูน่าดื่มด้วยสีกลิ่น และทำให้อายุการเก็บรักษานาน ๆด้วยการใส่วัตถุกันเสีย พูดอย่างนี้แล้ว คอน้ำอัดลมคงร้อน ๆ หนาว ๆ กันใช่ไหม ใช่ค่ะ..ผู้เขียนกำลังหมายถึง เครื่องดื่มตั้งแต่น้ำอัดลม รวมไปจนถึงสารพัดเครื่องดื่มดับกระหาย คลายร้อนต่าง ๆ นานา ที่แทบจะไม่มีส่วนผสมของวัตถุดิบทางธรรมชาติ ในการให้รสชาติเลย ยิ่งกระแสชาเพื่อสุขภาพ ก็ได้ถูกนำมาแอบอ้าง กลายเป็นเครื่องดื่มทั้ง ๆ ที่ ผู้บริโภคแทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากเครื่องดื่มนั้น ๆ เลยนอกจากพลังงานที่เกินความจำเป็น จากปริมาณน้ำตาลที่มากเกินความพอดี พูดมาเสียขนาดนี้ ผู้เขียนมิได้มีเจตนาให้ร้ายบริษัทผู้ผลิตน้ำอัดลม หรือ เครื่องดื่มรายใดเลยนะคะ เพียงแค่ต้องการให้ใช้เป็นข้อมูลทางเลือก สำหรับผู้ที่รักและใส่ใจสุขภาพควรเลือกเครื่องดื่มที่มีตามท้องตลาด ให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกายกันอย่างแท้จริง น้ำตาล หรือ ไซรัป - ส่วนประกอบหลักที่ขาดไม่ได้ การได้น้ำตาลที่เกินความพอดีเข้าสู่ร่างกาย เป็นที่มาของโรคร้ายหลายโรคและอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพ เช่น ฟันผุ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะโรคเบาหวานนั้นเป็นอันตรายมาก ทำให้ผู้ป่วยลำบากหากไม่มีการควบคุมอาหารการกินอย่างจริงจัง จะทำให้เกิดอาการหัวใจวาย ไตล้มเหลว ตาบอด เนื้อเยื่อเน่า เท้าบวม หมดสติและอาจตายได้ สารเคมีแต่งสี - ส่วนใหญ่สารเคมีที่ใช้ในเครื่องดื่ม กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มสีสังเคราะห์ ซึ่งเป็นสารแปลกปลอม เมื่อผสมอาหารและรับประทานเข้าไปในร่างกาย ก็จะเกิดอันตรายได้ และยังเป็นสาเหตุ ของมะเร็งที่อวัยวะอื่น ๆ อีกด้วย จะเห็นได้ว่าสีผสมอาหารนั้นไม่ให้คุณค่าอะไรแก่ร่างกาย และก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องใช้เลย ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยง การบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มที่มีการใส่สีสังเคราะห์ในส่วนผสมกันดีกว่า สารเคมีแต่งกลิ่น ซึ่งแต่งกลิ่น รสชาติอาหาร ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์มีการแบ่งประเภทโดยผู้บริโภคสามารถอ่านดูได้ที่ฉลาก โภชนาการ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 วัตถุแต่งกลิ่นรสธรรมชาติ เป็นการนำพืชหรือวัตถุจากธรรมชาติมาสกัด ประเภทที่ 2 วัตถุแต่งกลิ่นรส เลียนธรรมชาติ เป็นการสกัด กลิ่น รส จากพืชหรือวัตถุธรรมชาติโดยวิธีทางเคมี ประเภทที่ 3 วัตถุแต่งกลิ่นรสสังเคราะห์ ซึ่งวัตถุแต่งกลิ่นสังเคราะห์นั้นเกิดจากส่วนผสมสารเคมี ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และหากขบวนการสังเคราะห์ไม่ดี ก็อาจมีสารโลหะหนักตกค้างได้ ไม่ต่างกับสารเคมีแต่งสี วัตถุกันเสีย - เป็นสารที่ใช้ใส่ลงในอาหารเพื่อช่วยให้ อาหารคงสภาพ รส กลิ่น ไว้ได้นานเหมือนเมื่อแรกผลิต สารประเภทนี้ได้แก่ สารกันหืน สารกันบูด หรือสารป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ซึ่งวัตถุกันเสียที่มักใช้ในกลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ กลุ่มเบนโซเอท หรือสารเคมีกลุ่มอื่น ๆ ในทางกฏหมายก็มีการกำหนดปริมาณในการใช้ทุก ๆ ชนิด นั่นหมายความว่าเจ้าสารเหล่านี้ จะมีอันตรายต่อสุขภาพเราได้ ซึ่งหากในแต่ละวัน เราได้รับสารกันบูดในปริมาณน้อย ร่างกายจะสามารถกำจัดออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ แต่หากได้รับในปริมาณมากทุกวัน ตับและไตจะต้องทำงานหนักขึ้น และหากกำจัดออกไปไม่หมด ก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของตับและไตในการกำจัดสารเคมีเหล่านี้ลดลง และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่อตับและไตได้ ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/article/825/221718 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)