ขอบคุณแม่-พ่อที่ทำให้มีวันนี้…(น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด.
ขอบคุณแม่-พ่อที่ทำให้มีวันนี้'นงนภา ศรีวิไลเจริญ'เกียรตินิยมอันดับ 1 มสด. : คอลัมน์ท่องโลกเรียนรู้ : โดย...ปภาวรินทร์ สังฆพรหม ประชาสัมพันธ์ มสด.
"ทุกวันนี้ ภูมิใจในตัวเองมาก เพราะสามารถหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว และรับผิดชอบตัวเองได้อย่างดี ไม่เป็นภาระของครอบครัว ขอขอบคุณคุณพ่อ-แม่ ที่สนับสนุนและให้กำลังใจเสมอมา และขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และขอบคุณสังคมไทย ที่มอบโอกาสในการด้านการศึกษและขอบคุณบริษัท บอส เอาท์ซอร์สซิ่ง เซอร์วิส จำกัด ที่ให้โอกาสทำงาน" นงนภา ศรีวิไลเจริญ (น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด. ซึ่งเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษาประจำปี 2554-2555 ที่ผ่านมา กล่าว
น้องภา เป็นลูกคนสุดท้องในพี่น้อง 5 คน ของกฤษดา และอุษณีษ์ ศรีวิไลเจริญ เป็นเจ้าของกิจการขายของ เช่น สีทาบ้าน ตะปู ก๊อกน้ำ เกี่ยวกับอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นคนเดียวที่บกพร่องทางการได้ยิน ทั้งที่เกิดมาเป็นเด็กปกติ เรียนอนุบาลที่โรงเรียนบ้านท่าเสด็จ แต่ตอนอายุ 5 ขวบ น้องภาไม่สบายมากและเป็นหวัด รับประทานยาแก้หวัดจนแพ้ยาทำให้หูไม่ได้ยินเสียงอะไร ตอนนั้นแม่ตกใจมากร้องไห้ แม่และพี่ช่วยพาไปหาหมอหลายโรงพยาบาลมาก แต่ไม่สามารถรักษาหายได้ กระทั่งพ่อแม่พาไปเรียนฝึกพูดที่โรงพยาบาลศิริราชและช่วยกันหาโรงเรียนที่ รับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียน ได้พบโรงเรียนวัดโพคอย น้องภาเรียนที่โรงเรียนวัดโพคอย ป.1-ป.6 ด้วยความที่แม่เป็นห่วงไม่อยากให้ไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่ กทม.เพราะยังเด็ก ครูที่โรงเรียนวัดโพคอยแนะนำให้ไปเรียนมัธยมตอนต้น (กศน.โรงเรียนอำเภอบางปลาม้า) และช่วยสอนจนเรียนจบมัธยมตอนต้น
จากนั้นไปเรียนต่อ ม.4 ที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ที่สอนคนหูหนวกตามรุ่นพี่ เริ่มต้นเรียน ม.1 ใหม่ เรียนฝึกภาษามือและเรียนฝึกพูดที่ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์และที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เพื่อฝึกพูดและฝึกอ่านริมฝีปาก เพราะจะไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำและมักเขียนสลับ
จบ ม.6 จึงเรียนต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เรียนคณะครุศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาพิเศษ หลักสูตร 5 ปี เพราะมีครูล่าม แรกๆ เรียนยากมาก เพราะภาษามือแต่ละโรงเรียนแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกัน แต่พยายามสู้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ฝึกเรียนรู้ภาษามือจนชินภาษามือของมหาวิทยาลัยแล้ว สามารถเรียนรู้ได้เท่าเพื่อนปกติและพี่ช่วยพาไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษใกล้บ้าน
พอจบเทอม 1 ได้เกรด 3.5 แต่ไม่ได้ที่ 1 ของห้อง พอเข้าเทอม 2 ตั้งใจเรียน พยายามอ่านหนังสือและฝึกเขียนหนังสือมากกว่าเพื่อนปกติเป็น 2 เท่า เป็น 3 เท่า เวลาไม่เข้าใจถามครูล่ามให้ช่วยถามครูสอน เวลาไม่เข้าใจงานที่ครูสอน ครูสั่ง จะไปห้อง DSS เพื่อถามครูล่ามช่วยอธิบายขั้นตอนทำรายงานเพิ่มเติม พอเรียนปี 3-5 สนิทกับเพื่อนปกติ เวลาไม่เข้าใจว่าครูสั่งงานอะไร ถามเพื่อนปกติช่วยอธิบายงานให้ฟัง จนสามารถเรียนจบหลักสูตร 5 ปี
"ขอบคุณพ่อ แม่ พี่น้อง ครูและเพื่อนทุกคนที่ช่วยสนับสนุนและช่วยเหลือให้หนูเรียนรู้และสามารถเรียน ได้จบ มสด. ทุกคนพยายามเข้าใจ และช่วยเหลือทุกอย่าง โดยเฉพาะฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ DSS ถือเป็นแรงผลักดันที่ช่วยเหลือให้ประสบความสำเร็จ เพราะมีล่ามมือคอยคอยแปลเนื้อหาการเรียนให้ จนทำให้ไม่รู้สึกแปลกแยกไปจากนักศึกษาปกติทั่วไป และพยายามทำทุกอย่างด้วยสมอง และสองมือของตนเอง อย่างสุดความสามารถ ต้องกล้าที่จะถามเมื่อไม่เข้าใจ อดทน และมุ่งมั่น ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในวันนี้" น้องภา กล่าว
ขณะที่ อาจารย์สิริลักษณ์ มณีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ Disability Support Services : DSS คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า ฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ DSS มีหน้าที่หลักในการช่วยเหลือนักศึกษาพิการเรียนร่วมกว่า 127 คน แบ่งเป็นนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น, บกพร่องทางการได้ยิน, บกพร่อง ออทิสติก และแอลดี และนักศึกษาบกพร่องทางร่างกาย เรียนทั้งหมด 7 หลักสูตร ตามศักยภาพของนักศึกษา อาทิ หลักสูตรภาษาไทย, หลักสูตรคหกรรมศาสตร์, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์, หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลามีนักเรียนพิการเข้าเรียนร่วมภายในชั้นเรียน DSS จะส่งอาจารย์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ล่ามภาษามือแปลเนื้อหาไปนักศึกษา เอื้ออำนวยการจัดทำหนังสืออักษรเบรลล์ หรือแม้กระทั่งการช่วยอ่านข้อสอบ ทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ หวังให้นักศึกษาพิการเรียนร่วมประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาและดำรงชีวิตใน สังคม
น้องภา นักศึกษาพิการเรียนร่วมคนแรกที่คว้าเกียรตินิยมมาครอง ฝากถึงน้องๆ ที่มีความบกพร่อง ขอให้คิดเสมอว่า เราเกิดมาพิการเพียงร่างกาย แต่ใจเราไม่ได้พิการ ถ้าทุกอย่างที่คนปกติส่วนใหญ่ทำได้ ก็คิดว่าตัวเองทำได้เช่นกัน ถ้าเราไม่ดูถูกตัวเอง คนอื่นก็จะเกิดศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวเราเช่นกัน
คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
…(น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด. กับคุณพ่อคุณแม่ ขอบคุณแม่-พ่อที่ทำให้มีวันนี้'นงนภา ศรีวิไลเจริญ'เกียรตินิยมอันดับ 1 มสด. : คอลัมน์ท่องโลกเรียนรู้ : โดย...ปภาวรินทร์ สังฆพรหม ประชาสัมพันธ์ มสด. "ทุกวันนี้ ภูมิใจในตัวเองมาก เพราะสามารถหาเงินเลี้ยงดูครอบครัว และรับผิดชอบตัวเองได้อย่างดี ไม่เป็นภาระของครอบครัว ขอขอบคุณคุณพ่อ-แม่ ที่สนับสนุนและให้กำลังใจเสมอมา และขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และขอบคุณสังคมไทย ที่มอบโอกาสในการด้านการศึกษและขอบคุณบริษัท บอส เอาท์ซอร์สซิ่ง เซอร์วิส จำกัด ที่ให้โอกาสทำงาน" นงนภา ศรีวิไลเจริญ (น้องภา) บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มสด. ซึ่งเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษาประจำปี 2554-2555 ที่ผ่านมา กล่าว น้องภา เป็นลูกคนสุดท้องในพี่น้อง 5 คน ของกฤษดา และอุษณีษ์ ศรีวิไลเจริญ เป็นเจ้าของกิจการขายของ เช่น สีทาบ้าน ตะปู ก๊อกน้ำ เกี่ยวกับอุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นคนเดียวที่บกพร่องทางการได้ยิน ทั้งที่เกิดมาเป็นเด็กปกติ เรียนอนุบาลที่โรงเรียนบ้านท่าเสด็จ แต่ตอนอายุ 5 ขวบ น้องภาไม่สบายมากและเป็นหวัด รับประทานยาแก้หวัดจนแพ้ยาทำให้หูไม่ได้ยินเสียงอะไร ตอนนั้นแม่ตกใจมากร้องไห้ แม่และพี่ช่วยพาไปหาหมอหลายโรงพยาบาลมาก แต่ไม่สามารถรักษาหายได้ กระทั่งพ่อแม่พาไปเรียนฝึกพูดที่โรงพยาบาลศิริราชและช่วยกันหาโรงเรียนที่ รับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียน ได้พบโรงเรียนวัดโพคอย น้องภาเรียนที่โรงเรียนวัดโพคอย ป.1-ป.6 ด้วยความที่แม่เป็นห่วงไม่อยากให้ไปเรียนต่อชั้นมัธยมที่ กทม.เพราะยังเด็ก ครูที่โรงเรียนวัดโพคอยแนะนำให้ไปเรียนมัธยมตอนต้น (กศน.โรงเรียนอำเภอบางปลาม้า) และช่วยสอนจนเรียนจบมัธยมตอนต้น จากนั้นไปเรียนต่อ ม.4 ที่โรงเรียนเศรษฐเสถียร ที่สอนคนหูหนวกตามรุ่นพี่ เริ่มต้นเรียน ม.1 ใหม่ เรียนฝึกภาษามือและเรียนฝึกพูดที่ศูนย์บริการเครื่องช่วยฟัง อินทิเม็กซ์และที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เพื่อฝึกพูดและฝึกอ่านริมฝีปาก เพราะจะไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำและมักเขียนสลับ จบ ม.6 จึงเรียนต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) เรียนคณะครุศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาพิเศษ หลักสูตร 5 ปี เพราะมีครูล่าม แรกๆ เรียนยากมาก เพราะภาษามือแต่ละโรงเรียนแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกัน แต่พยายามสู้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ฝึกเรียนรู้ภาษามือจนชินภาษามือของมหาวิทยาลัยแล้ว สามารถเรียนรู้ได้เท่าเพื่อนปกติและพี่ช่วยพาไปเรียนพิเศษภาษาอังกฤษใกล้บ้าน พอจบเทอม 1 ได้เกรด 3.5 แต่ไม่ได้ที่ 1 ของห้อง พอเข้าเทอม 2 ตั้งใจเรียน พยายามอ่านหนังสือและฝึกเขียนหนังสือมากกว่าเพื่อนปกติเป็น 2 เท่า เป็น 3 เท่า เวลาไม่เข้าใจถามครูล่ามให้ช่วยถามครูสอน เวลาไม่เข้าใจงานที่ครูสอน ครูสั่ง จะไปห้อง DSS เพื่อถามครูล่ามช่วยอธิบายขั้นตอนทำรายงานเพิ่มเติม พอเรียนปี 3-5 สนิทกับเพื่อนปกติ เวลาไม่เข้าใจว่าครูสั่งงานอะไร ถามเพื่อนปกติช่วยอธิบายงานให้ฟัง จนสามารถเรียนจบหลักสูตร 5 ปี "ขอบคุณพ่อ แม่ พี่น้อง ครูและเพื่อนทุกคนที่ช่วยสนับสนุนและช่วยเหลือให้หนูเรียนรู้และสามารถเรียน ได้จบ มสด. ทุกคนพยายามเข้าใจ และช่วยเหลือทุกอย่าง โดยเฉพาะฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ DSS ถือเป็นแรงผลักดันที่ช่วยเหลือให้ประสบความสำเร็จ เพราะมีล่ามมือคอยคอยแปลเนื้อหาการเรียนให้ จนทำให้ไม่รู้สึกแปลกแยกไปจากนักศึกษาปกติทั่วไป และพยายามทำทุกอย่างด้วยสมอง และสองมือของตนเอง อย่างสุดความสามารถ ต้องกล้าที่จะถามเมื่อไม่เข้าใจ อดทน และมุ่งมั่น ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในวันนี้" น้องภา กล่าว ขณะที่ อาจารย์สิริลักษณ์ มณีรัตน์ หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ Disability Support Services : DSS คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า ฝ่ายสนับสนุนนักศึกษาพิการเรียนร่วม หรือ DSS มีหน้าที่หลักในการช่วยเหลือนักศึกษาพิการเรียนร่วมกว่า 127 คน แบ่งเป็นนักศึกษาบกพร่องทางการมองเห็น, บกพร่องทางการได้ยิน, บกพร่อง ออทิสติก และแอลดี และนักศึกษาบกพร่องทางร่างกาย เรียนทั้งหมด 7 หลักสูตร ตามศักยภาพของนักศึกษา อาทิ หลักสูตรภาษาไทย, หลักสูตรคหกรรมศาสตร์, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์, หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เวลามีนักเรียนพิการเข้าเรียนร่วมภายในชั้นเรียน DSS จะส่งอาจารย์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ล่ามภาษามือแปลเนื้อหาไปนักศึกษา เอื้ออำนวยการจัดทำหนังสืออักษรเบรลล์ หรือแม้กระทั่งการช่วยอ่านข้อสอบ ทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ หวังให้นักศึกษาพิการเรียนร่วมประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาและดำรงชีวิตใน สังคม น้องภา นักศึกษาพิการเรียนร่วมคนแรกที่คว้าเกียรตินิยมมาครอง ฝากถึงน้องๆ ที่มีความบกพร่อง ขอให้คิดเสมอว่า เราเกิดมาพิการเพียงร่างกาย แต่ใจเราไม่ได้พิการ ถ้าทุกอย่างที่คนปกติส่วนใหญ่ทำได้ ก็คิดว่าตัวเองทำได้เช่นกัน ถ้าเราไม่ดูถูกตัวเอง คนอื่นก็จะเกิดศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวเราเช่นกัน ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130804/164947/ขอบคุณแม่พ่อที่ทำให้มีวันนี้.html#.Uf3Cl6yegtU คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)