6 วิธี...ห่างหนี้นอกระบบ
1.วางแผนการเงินล่วงหน้า คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เช่น ค่าเล่าเรียนลูก และออมเงินเผื่อยามฉุกเฉิน
2.คิดให้ดีก่อนตัดสินใจ “ก่อหนี้” ลองทบทวนดูว่าจำเป็นใช้เงินจริงๆ หรือไม่ และจะสามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้หรือไม่
3.หยุด “ใช้เงินเกินตัว” และเรียนรู้ที่จะจกบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวัน เพื่อวางแผนการใช้เงินอย่างเหมาะสมกับรายได้และความจำเป็น
4.ศึกษารายละเอียดผู้ให้กู้ดีๆ หากต้องกู้ควรดูว่า ผู้ให้กู้นั้นน่าเชื้อถือหรือไม่ มีเงื่อนไขการชำระเงินหรืออัตราดอกเบี้ยที่เข้าข่ายเป็นเงินกู้นอกระบบหรือไม่
5.เลือกกู้เงินในระบบ จะดีกว่าหากจำเป็นต้องกู้จริงๆ เพราะนอกจากจะมีหน่วยงานภาครัฐคอยดูแลแล้ว ยังระบุดอกเบี้ยในสัญญาชัดเจนและเป็นธรรมกว่า
6.ใส่ใจรายละเอียดสัญญาเงินกู้ให้มาก
- ไม่เซ็นสัญญาเงินกู้ที่ยังไม่กรอกข้อความหรือจำนวนเงินเด็ดขาด
- วงเงินกู้ที่ระบุในสัญญาต้องตรงกับความเป็นจริงและเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้เสมอ
- ควรมีสัญญาคู่ฉบับอีก 1 ฉบับเก็บไว้กับตัวเพื่อเป็นหลักฐานการกู้
- หากต้องนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกัน ควรทำสัญญาจำนวนแทนการทำสัญญาขายฝาก เพราะการขายฝาก ถ้าผู้กู้ไม่มาไถ่คืนหลักประกันภายในเวลาที่ตกลงกัน กรรมสิทธิ์จะตกไปยังเจ้าหนี้ทันที
ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)
ขอบคุณ...คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
1.วางแผนการเงินล่วงหน้า คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น เช่น ค่าเล่าเรียนลูก และออมเงินเผื่อยามฉุกเฉิน 2.คิดให้ดีก่อนตัดสินใจ “ก่อหนี้” ลองทบทวนดูว่าจำเป็นใช้เงินจริงๆ หรือไม่ และจะสามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้หรือไม่ 3.หยุด “ใช้เงินเกินตัว” และเรียนรู้ที่จะจกบันทึกรายรับ รายจ่ายประจำวัน เพื่อวางแผนการใช้เงินอย่างเหมาะสมกับรายได้และความจำเป็น 4.ศึกษารายละเอียดผู้ให้กู้ดีๆ หากต้องกู้ควรดูว่า ผู้ให้กู้นั้นน่าเชื้อถือหรือไม่ มีเงื่อนไขการชำระเงินหรืออัตราดอกเบี้ยที่เข้าข่ายเป็นเงินกู้นอกระบบหรือไม่ 5.เลือกกู้เงินในระบบ จะดีกว่าหากจำเป็นต้องกู้จริงๆ เพราะนอกจากจะมีหน่วยงานภาครัฐคอยดูแลแล้ว ยังระบุดอกเบี้ยในสัญญาชัดเจนและเป็นธรรมกว่า 6.ใส่ใจรายละเอียดสัญญาเงินกู้ให้มาก - ไม่เซ็นสัญญาเงินกู้ที่ยังไม่กรอกข้อความหรือจำนวนเงินเด็ดขาด - วงเงินกู้ที่ระบุในสัญญาต้องตรงกับความเป็นจริงและเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือกำกับไว้เสมอ - ควรมีสัญญาคู่ฉบับอีก 1 ฉบับเก็บไว้กับตัวเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ - หากต้องนำทรัพย์สินไปเป็นหลักประกัน ควรทำสัญญาจำนวนแทนการทำสัญญาขายฝาก เพราะการขายฝาก ถ้าผู้กู้ไม่มาไถ่คืนหลักประกันภายในเวลาที่ตกลงกัน กรรมสิทธิ์จะตกไปยังเจ้าหนี้ทันที ที่มา : ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ขอบคุณ...คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)