มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตพิการ รุ่นที่ 7 เพื่อรับใช้สังคมเพิ่มอีก 9 ราย

แสดงความคิดเห็น

นายวิทยา ศิริพร บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ พิการทางการเคลื่อนไหว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2555 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนักศึกษาผู้พิการที่สำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวน 9 ราย ซึ่งนับว่าเป็นบัณฑิตพิการรุ่นที่ 7 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ไปทำประโยชน์และรับใช้สังคม ตรงตามเจตนารมณ์ในการเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน” และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม

แม้ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาผู้พิการ ที่มีมาตรฐานเดียวกันกับนักศึกษาผู้มีร่างกายปกติพร้อมจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาผู้พิการ สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด แต่ในความเป็นผู้พิการย่อมต้องใช้ความอดทน ความเพียรพยายาม อีกทั้งต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่ออนาคตของตนเอง ส่วนหนึ่งของบัณฑิตผู้พิการได้สะท้อนความรู้สึกและความภาคภูมิใจที่ได้เป็นบัณฑิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามที่ตนเองใฝ่ฝันไว้

นายวิทยา ศิริพร บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ พิการทางการเคลื่อนไหว หนึ่งในบัณฑิตพิการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพอันดับต้นๆ ของประเทศ ในการสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถมีคุณธรรมและคุณภาพออกสู่สังคม และได้เปิดโอกาสให้ผู้พิการอีกหลายคนได้มีโอกาสเรียนในระดับอุดมศึกษา ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่นี่ได้รับการช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่จากทางมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี มีสิ่งอำนวย ความสะดวกให้นักศึกษาผู้พิการ อาทิ ทางลาด ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ และที่สำคัญมีศูนย์บริการนักศึกษาพิการ ที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการเรียน การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาพิการ นับว่า โชคดีมากที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโครงการแบบนี้ให้ผู้พิการ ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้แล้วก็ยังให้การช่วยเหลือสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาพิการอีกด้วย

ในฐานะผู้พิการ น้องวิทยาได้ฝากไปถึงสังคมว่า อยากให้สังคมปรับเรื่องทัศนคติเกี่ยวกับผู้พิการให้มีความคิดเชิงบวกให้มองผู้พิการเหมือนคนปกติ และอยากให้สังคมได้เปิดโอกาส ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพให้กับผู้พิการมากกว่าการให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งการติดตามประเมินผล และในฐานะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดกว้างรับผู้พิการให้เข้ามาเรียนได้ก็อยากฝากน้องรุ่นหลังว่า เมื่อเรามีโอกาสที่จะเข้ามาศึกษา ก็อยากจะให้ใช้โอกาสที่ได้เข้ามาศึกษาไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ไหนก็ตาม อยากให้ใช้โอกาสอย่างเต็มที่ ไม่ต้องคิดว่าจะทำได้หรือไม่ เพียงแต่ขอให้ทุ่มเทและทำสิ่งนั้น อย่างเต็มที่ อย่างตั้งใจ และการเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ใช่เข้ามาเรียนแล้วจะเป็นเพียงผู้รับอย่างเดียว ขณะเดียวกันควรที่จะเป็นผู้ให้บ้างตามสมควรและโอกาส และเชื่อว่าความสำเร็จก็จะมาสู่ความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้อย่างแน่นอน

สำหรับปีการศึกษา 2555 มีบัณฑิตพิการสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 9 คน จาก 6 คณะ ดังนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวนิธินันท์ มีนสุข (พิการทางการได้ยิน) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2 ราย คือ นายภานุพงศ์ ก้อนกาศ (พิการทางการมองเห็น) นางสาวจุฑารัตน์ ปราบไกรศรี (พิการทางการมองเห็น) คณะศิลปศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวณัฐรดา บุญยืน (พิการทางการเคลื่อนไหว) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 1 ราย คือ นางสาวหทัยรัตน์ รัตนจงกล (พิการทางการเคลื่อนไหว) คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 ราย คือ นางสาวสุชาดา เหล่าศรีวิจิตร (พิการทางการเคลื่อนไหว) นางสาวพรศรี ลีลาพัฒนาวงศ์ (พิการทางการได้ยิน) นายวิทยา ศิริพร (พิการทางการเคลื่อนไหว) และคณะศิลปกรรมศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวธนพรรณ พุทธานุภาพ (พิการทางการได้ยิน) นอกจากนี้ ผลสำเร็จตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ซึ่งเป็นปีแรกของโครงการจนถึงปีการศึกษา 2555 พบว่า นักศึกษา ผู้พิการที่สำเร็จการศึกษาทุกคนสามารถประกอบอาชีพตามวุฒิและศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาคิดอัตราส่วนร้อยละ 100 จากจำนวนผู้สำเร็จการ ศึกษา ซึ่งนับเป็นความพึงพอใจของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ให้โควตาแก่ผู้พิการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นสถาบันอุดมศึกษานำร่องด้านการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการ โดยเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบในการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการให้สามารถเรียนร่วมกับนักศึกษาผู้มีร่างกายปกติ และได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาในโครงการนักศึกษาผู้พิการ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา มีหลักเกณฑ์ในการรับผู้พิการที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.00 และสำหรับ ผู้พิการทางการมองเห็นจะต้องมีความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องขยายจอภาพ โดยมีระบบการสอบแข่งขันระหว่างผู้พิการเท่านั้น ซึ่งในแต่ละปีจัดสรรโควตาแก่ผู้พิการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 56 คน เข้าศึกษาในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จำนวน 15 คณะ ประกอบด้วย คณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์

ต่อมาในปี 2548 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายให้นักศึกษาผู้พิการได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงจัดตั้ง “ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ” ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางสำหรับนักศึกษาผู้พิการ อาทิ จัดสิ่งอำนวยความสะดวก อบรม ให้คำปรึกษา จัดหางานให้แก่นักศึกษาผู้พิการ และให้บริการด้านต่างๆ อย่างครบวงจร ตลอดจนเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านผู้พิการด้วยการจัดทำงานวิจัย โดยปัจจุบันในปีการศึกษา 2556 มีนักศึกษาผู้พิการระดับปริญญาตรี จำนวน 73 คน (พิการทางการมองเห็น 36 คน พิการทางการเคลื่อนไหว 27 คน พิการทางการได้ยิน 9 คน ออทิสติกส์ 1 คน) ระดับปริญญาโท จำนวน 6 คน และระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน

ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/education/494630

thaipr.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ส.ค.56

ที่มา: thaipr.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ส.ค.56
วันที่โพสต์: 14/08/2556 เวลา 03:57:40 ดูภาพสไลด์โชว์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตพิการ รุ่นที่ 7 เพื่อรับใช้สังคมเพิ่มอีก 9 ราย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายวิทยา ศิริพร บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ พิการทางการเคลื่อนไหว มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดประกอบพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2555 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนักศึกษาผู้พิการที่สำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวน 9 ราย ซึ่งนับว่าเป็นบัณฑิตพิการรุ่นที่ 7 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ไปทำประโยชน์และรับใช้สังคม ตรงตามเจตนารมณ์ในการเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อประชาชน” และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม แม้ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาผู้พิการ ที่มีมาตรฐานเดียวกันกับนักศึกษาผู้มีร่างกายปกติพร้อมจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาผู้พิการ สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด แต่ในความเป็นผู้พิการย่อมต้องใช้ความอดทน ความเพียรพยายาม อีกทั้งต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็งที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ เพื่ออนาคตของตนเอง ส่วนหนึ่งของบัณฑิตผู้พิการได้สะท้อนความรู้สึกและความภาคภูมิใจที่ได้เป็นบัณฑิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามที่ตนเองใฝ่ฝันไว้ นายวิทยา ศิริพร บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ พิการทางการเคลื่อนไหว หนึ่งในบัณฑิตพิการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพอันดับต้นๆ ของประเทศ ในการสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถมีคุณธรรมและคุณภาพออกสู่สังคม และได้เปิดโอกาสให้ผู้พิการอีกหลายคนได้มีโอกาสเรียนในระดับอุดมศึกษา ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่นี่ได้รับการช่วยเหลือ ดูแลเอาใจใส่จากทางมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดี มีสิ่งอำนวย ความสะดวกให้นักศึกษาผู้พิการ อาทิ ทางลาด ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ และที่สำคัญมีศูนย์บริการนักศึกษาพิการ ที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการเรียน การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาพิการ นับว่า โชคดีมากที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ ของประเทศอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโครงการแบบนี้ให้ผู้พิการ ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนี้แล้วก็ยังให้การช่วยเหลือสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาพิการอีกด้วย ในฐานะผู้พิการ น้องวิทยาได้ฝากไปถึงสังคมว่า อยากให้สังคมปรับเรื่องทัศนคติเกี่ยวกับผู้พิการให้มีความคิดเชิงบวกให้มองผู้พิการเหมือนคนปกติ และอยากให้สังคมได้เปิดโอกาส ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพให้กับผู้พิการมากกว่าการให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งการติดตามประเมินผล และในฐานะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดกว้างรับผู้พิการให้เข้ามาเรียนได้ก็อยากฝากน้องรุ่นหลังว่า เมื่อเรามีโอกาสที่จะเข้ามาศึกษา ก็อยากจะให้ใช้โอกาสที่ได้เข้ามาศึกษาไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ไหนก็ตาม อยากให้ใช้โอกาสอย่างเต็มที่ ไม่ต้องคิดว่าจะทำได้หรือไม่ เพียงแต่ขอให้ทุ่มเทและทำสิ่งนั้น อย่างเต็มที่ อย่างตั้งใจ และการเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยไม่ใช่เข้ามาเรียนแล้วจะเป็นเพียงผู้รับอย่างเดียว ขณะเดียวกันควรที่จะเป็นผู้ให้บ้างตามสมควรและโอกาส และเชื่อว่าความสำเร็จก็จะมาสู่ความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้อย่างแน่นอน สำหรับปีการศึกษา 2555 มีบัณฑิตพิการสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 9 คน จาก 6 คณะ ดังนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวนิธินันท์ มีนสุข (พิการทางการได้ยิน) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2 ราย คือ นายภานุพงศ์ ก้อนกาศ (พิการทางการมองเห็น) นางสาวจุฑารัตน์ ปราบไกรศรี (พิการทางการมองเห็น) คณะศิลปศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวณัฐรดา บุญยืน (พิการทางการเคลื่อนไหว) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 1 ราย คือ นางสาวหทัยรัตน์ รัตนจงกล (พิการทางการเคลื่อนไหว) คณะวิศวกรรมศาสตร์ 3 ราย คือ นางสาวสุชาดา เหล่าศรีวิจิตร (พิการทางการเคลื่อนไหว) นางสาวพรศรี ลีลาพัฒนาวงศ์ (พิการทางการได้ยิน) นายวิทยา ศิริพร (พิการทางการเคลื่อนไหว) และคณะศิลปกรรมศาสตร์ 1 ราย คือ นางสาวธนพรรณ พุทธานุภาพ (พิการทางการได้ยิน) นอกจากนี้ ผลสำเร็จตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ซึ่งเป็นปีแรกของโครงการจนถึงปีการศึกษา 2555 พบว่า นักศึกษา ผู้พิการที่สำเร็จการศึกษาทุกคนสามารถประกอบอาชีพตามวุฒิและศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาคิดอัตราส่วนร้อยละ 100 จากจำนวนผู้สำเร็จการ ศึกษา ซึ่งนับเป็นความพึงพอใจของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ให้โควตาแก่ผู้พิการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นสถาบันอุดมศึกษานำร่องด้านการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการ โดยเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบในการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการให้สามารถเรียนร่วมกับนักศึกษาผู้มีร่างกายปกติ และได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้พิการที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาในโครงการนักศึกษาผู้พิการ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา มีหลักเกณฑ์ในการรับผู้พิการที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.00 และสำหรับ ผู้พิการทางการมองเห็นจะต้องมีความสามารถทางการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องขยายจอภาพ โดยมีระบบการสอบแข่งขันระหว่างผู้พิการเท่านั้น ซึ่งในแต่ละปีจัดสรรโควตาแก่ผู้พิการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 56 คน เข้าศึกษาในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จำนวน 15 คณะ ประกอบด้วย คณะนิติศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ ต่อมาในปี 2548 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายให้นักศึกษาผู้พิการได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงจัดตั้ง “ศูนย์บริการนักศึกษาพิการ” ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางสำหรับนักศึกษาผู้พิการ อาทิ จัดสิ่งอำนวยความสะดวก อบรม ให้คำปรึกษา จัดหางานให้แก่นักศึกษาผู้พิการ และให้บริการด้านต่างๆ อย่างครบวงจร ตลอดจนเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านผู้พิการด้วยการจัดทำงานวิจัย โดยปัจจุบันในปีการศึกษา 2556 มีนักศึกษาผู้พิการระดับปริญญาตรี จำนวน 73 คน (พิการทางการมองเห็น 36 คน พิการทางการเคลื่อนไหว 27 คน พิการทางการได้ยิน 9 คน ออทิสติกส์ 1 คน) ระดับปริญญาโท จำนวน 6 คน และระดับปริญญาเอก จำนวน 1 คน ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/education/494630 thaipr.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ส.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...