“สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์” แชร์ปัญหาชีวิตช่วยบำบัดจิตใจ
หากมีคนแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา คำพูดแรกที่คนส่วนใหญ่ตอบมักจะเป็นเชิง “ฉันไม่ได้บ้า ทำไมต้องไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา” แต่ความคิดความเชื่อที่ว่านี้กำลังเปลี่ยนไป เมื่อคนเริ่มเปิดใจให้กับสองอาชีพนี้มากขึ้น
“ทุกวันนี้เทรนด์เปลี่ยนไป คนเข้าใจอะไรหลายอย่างมากขึ้น รวมถึงการมาปรึกษาปัญหาชีวิตกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งเดิมทีจะคิดว่าเมื่อป่วยทางจิตแล้วจึงมาหา ไม่บ้าก็ไม่มา แต่หลังๆ มานี้มีคนเดินเข้ามาปรึกษากับพวกเราเยอะขึ้น อาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์ที่ดีทำให้คนเข้าใจมากขึ้นว่า การมาหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยานั้นจะได้รับการเยียวยาจิตใจ” น.ส.สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวช สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และนักจิตวิทยาประจำคลินิกคลายเครียด รพ.ศิริราช อธิบายด้วยใบหน้าที่เปื้อนยิ้มอยู่ตลอดเวลา ซึ่งชวนให้รู้สึกไว้วางใจหากจะต้องเปิดเผยปัญหาชีวิตให้อาจารย์รับฟัง
อ.สร้อยสุดา ยังเล่าด้วยว่า นอกจากการเยียวยาจิตใจแล้ว การมาพบนักจิตวิทยาจะยังได้รับคำปรึกษา ได้รู้จักตัวตนมากขึ้น เพื่อดึงเอาศักยภาพของคนที่เข้ามาปรึกษาออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ การฝึกการบำบัดทางจิต รวมไปถึงการจัดการกับอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธ ความเหงา ซึ่งทุกวันนี้พบว่า คนมีปัญหาความเหงามากขึ้น ซึ่งเป็นอารมณ์โดดเดี่ยว ไม่มีใครเข้าใจเรา สับสนกับสถานการณ์ของชีวิต อาจเป็นเพราะทุกวันนี้เราเปิดเผยตัวตนมากขึ้น อย่างโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าเราต้องการคนที่เห็น ด้วยกับเรา มากดถูกใจ แต่สุดท้ายก็เกิดคำถามกลับมาว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครเข้าใจเรา ไม่มีใครรู้จักตัวตนแท้จริงของเรา เขาคบที่ตัวเราเพราะอะไร เลยเกิดความรู้สึกลังเลสับสน ตรงนี้ต้องแก้ด้วยการเพิ่มความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดและครอบครัวมากขึ้น
ตลอดการเล่าที่เต็มไปด้วย รอยยิ้มที่บ่งบอกถึงความสุขในการทำงาน เลยทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า การเป็นนักจิตวิทยาที่ต้องรับฟังปัญหาชีวิตที่หนักหนา เรื่องราวที่เครียดขึง รองรับอารมณ์ด้านลบของผู้คน ทำไมจึงยังสามารถยิ้มได้อย่างมีความสุข ซึ่ง อ.สร้อยสุดา เล่าย้อนกลับไปถึงสมัยตั้งแต่เริ่มเรียนว่า ที่เลือกเรียนด้านจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เพราะรู้สึกว่าเรื่องของจิตใจ คนเรามีหลากหลายมาก คิดว่าคงสนุกหากได้รู้จักบุคลิกอารมณ์ของคนที่หลากหลายขึ้น เพราะแต่ละคนจะมีความเปลี่ยนแปลงไปทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งเมื่อมาเรียนแล้วก็พบว่านอกจากเรียนรู้ด้านบุคลิก อารมณ์ และจิตใจคนแล้ว เรายังสามารถช่วยคนได้ทุกเพศและทุกวัยอีกด้วย… โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000102783 (ขนาดไฟล์: 164)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น.ส.สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ หากมีคนแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา คำพูดแรกที่คนส่วนใหญ่ตอบมักจะเป็นเชิง “ฉันไม่ได้บ้า ทำไมต้องไปหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา” แต่ความคิดความเชื่อที่ว่านี้กำลังเปลี่ยนไป เมื่อคนเริ่มเปิดใจให้กับสองอาชีพนี้มากขึ้น “ทุกวันนี้เทรนด์เปลี่ยนไป คนเข้าใจอะไรหลายอย่างมากขึ้น รวมถึงการมาปรึกษาปัญหาชีวิตกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งเดิมทีจะคิดว่าเมื่อป่วยทางจิตแล้วจึงมาหา ไม่บ้าก็ไม่มา แต่หลังๆ มานี้มีคนเดินเข้ามาปรึกษากับพวกเราเยอะขึ้น อาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์ที่ดีทำให้คนเข้าใจมากขึ้นว่า การมาหาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยานั้นจะได้รับการเยียวยาจิตใจ” น.ส.สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวช สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และนักจิตวิทยาประจำคลินิกคลายเครียด รพ.ศิริราช อธิบายด้วยใบหน้าที่เปื้อนยิ้มอยู่ตลอดเวลา ซึ่งชวนให้รู้สึกไว้วางใจหากจะต้องเปิดเผยปัญหาชีวิตให้อาจารย์รับฟัง อ.สร้อยสุดา ยังเล่าด้วยว่า นอกจากการเยียวยาจิตใจแล้ว การมาพบนักจิตวิทยาจะยังได้รับคำปรึกษา ได้รู้จักตัวตนมากขึ้น เพื่อดึงเอาศักยภาพของคนที่เข้ามาปรึกษาออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ การฝึกการบำบัดทางจิต รวมไปถึงการจัดการกับอารมณ์ต่างๆ เช่น ความโกรธ ความเหงา ซึ่งทุกวันนี้พบว่า คนมีปัญหาความเหงามากขึ้น ซึ่งเป็นอารมณ์โดดเดี่ยว ไม่มีใครเข้าใจเรา สับสนกับสถานการณ์ของชีวิต อาจเป็นเพราะทุกวันนี้เราเปิดเผยตัวตนมากขึ้น อย่างโซเชียลมีเดียก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้รู้ว่าเราต้องการคนที่เห็น ด้วยกับเรา มากดถูกใจ แต่สุดท้ายก็เกิดคำถามกลับมาว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครเข้าใจเรา ไม่มีใครรู้จักตัวตนแท้จริงของเรา เขาคบที่ตัวเราเพราะอะไร เลยเกิดความรู้สึกลังเลสับสน ตรงนี้ต้องแก้ด้วยการเพิ่มความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดและครอบครัวมากขึ้น ตลอดการเล่าที่เต็มไปด้วย รอยยิ้มที่บ่งบอกถึงความสุขในการทำงาน เลยทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า การเป็นนักจิตวิทยาที่ต้องรับฟังปัญหาชีวิตที่หนักหนา เรื่องราวที่เครียดขึง รองรับอารมณ์ด้านลบของผู้คน ทำไมจึงยังสามารถยิ้มได้อย่างมีความสุข ซึ่ง อ.สร้อยสุดา เล่าย้อนกลับไปถึงสมัยตั้งแต่เริ่มเรียนว่า ที่เลือกเรียนด้านจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เพราะรู้สึกว่าเรื่องของจิตใจ คนเรามีหลากหลายมาก คิดว่าคงสนุกหากได้รู้จักบุคลิกอารมณ์ของคนที่หลากหลายขึ้น เพราะแต่ละคนจะมีความเปลี่ยนแปลงไปทุกช่วงวัย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งเมื่อมาเรียนแล้วก็พบว่านอกจากเรียนรู้ด้านบุคลิก อารมณ์ และจิตใจคนแล้ว เรายังสามารถช่วยคนได้ทุกเพศและทุกวัยอีกด้วย… โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000102783 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)