พลังประชาชน...กทม.สั่งรื้อป้ายโฆษณาบนทางเดินเท้า
เมื่อ วันที่ 20 ส.ค. 56 นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักงานเขต 50 เขต สำรวจป้ายโฆษณาบนทางเท้าในพื้นที่ เนื่องจากขณะนี้มีประชาชนร้องเรียนว่าป้ายโฆษณากีดขวางทางเท้า และได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง ตรวจสอบสัญญาที่เอกชนได้รับสัมปทานจาก กทม.ในการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางเท้า ที่เพิ่งประมูลเมื่อปี 2555 จำนวน 4 ฉบับ ที่ติดตั้งบริเวณศาลาที่พักผู้โดยสารรถเมล์จำนวน 950 ป้าย และบนทางเท้าทั่วไปอีกกว่า 1,000 ป้าย เป็นไปอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสัญญาหรือไม่ และได้สั่งการให้ชะลอการติดตั้งป้ายโฆษณาใหม่แล้วด้วย จนกว่าจะมีการตรวจสอบแล้วเสร็จ
ทั้งนี้ ป้ายโฆษณาบนทางเท้ามี 2 แบบ คือ 1)แบบเสาเตี้ย อยู่ใกล้ป้ายรถเมล์ มีไฟฟ้าส่องสว่างภายในป้าย สามารถเปิดไฟได้ในตอนกลางคืน โดยมีข้อความประชาสัมพันธ์ 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นข้อความของกทม.ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนอีกด้านเป็นข้อความโฆษณา และ 2)แบบเสาสูง ซึ่งจะติดตั้งบนทางเท้าห่างจากป้ายรถเมล์ออกมาอีก
นายอมร กล่าวว่า หากสำนักงานเขตสำรวจพบว่าป้ายที่ติดตั้งไปแล้วกีดขวางทางเท้า ก็ให้เจ้าหน้าที่รื้อป้ายออกทันที รวมทั้งให้ตรวจสอบสัญญาป้ายโฆษณาที่มีอยู่แล้ว 13 ฉบับ ซึ่งเป็นป้ายบนทางเท้า อาคาร และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่ามีการติดตั้งป้ายถูกต้องตามที่ กทม.กำหนดหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ให้รื้อออกทันทีเช่นกัน
“ส่วนใหญ่ที่ร้องเรียนเข้ามาจะเป็นป้ายเตี้ย เพราะบางพื้นที่ทางเท้าแคบ ประมาณ 2 เมตรเท่านั้น จึงขีดขวางทางเท้า โดยทั่วไปทางเท้าจะมีพื้นที่ประมาณ 6 เมตร ดังนั้นจะมีการพิจารณาปรับปรุงให้เป็นป้ายสูงขึ้นแทน” นายอมร กล่าว
ด้านนายมานิต เตชอภิโชค รองปลัด กทม.กล่าวว่า ได้เชิญผู้ประกอบการติดตั้งป้ายโฆษณาซึ่งเป็นคู่สัญญาของ กทม.ในการดำเนินการดูแลและบำรุงรักษาป้ายดังกล่าว และผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้สั่งการให้ระงับการติดตั้งป้ายที่เหลือไว้ก่อน พร้อมทั้งให้ตรวจสอบป้ายที่ติดตั้งไปแล้วว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการหารือในวันที่ 20 ส.ค. 2556 ผู้ประกอบการยินดีแก้ไขป้ายทั้งหมด โดยให้ประสานสำนักงานเขตพื้นที่เพื่อเข้ารื้อถอนป้ายโฆษณาที่มีปัญหาภายในคืนวันที่ 20 สิงหาคม เพื่อคืนทางเท้าให้กับประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักการจราจรและขนส่งรายงาน รายงานว่า ขณะนี้มีป้ายโฆษณาบนทางเท้าประมาณ 2,000 ป้าย อยู่ระหว่างรอการติดตั้งประมาณ 1,200 ป้าย และเบื้องต้นสำรวจพบว่ามีป้ายโฆษณาแบบเตี้ยที่กีดขวางทางเท้าต้องได้รับการปรับปรุง 30-40 ป้าย
รายงานข่าวแจ้งว่า ได้มีผู้เปิดหน้าเว็บรณรงค์ เรียกร้องให้ย้ายป้ายโฆษณาบนทางเท้า และทางจักรยาน ของ เว็บ www.change.org (ขนาดไฟล์: 104) ระบุถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายธนา วิชัยสาร ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง ขอให้สั่งการให้ย้ายป้ายที่กีดขวางบนทางเดินเท้า จนเหลือทางเดินน้อยกว่า 1.5 เมตร ขวางทางจักรยานบนทางเท้า หรือบดบังทัศนวิสัยบริเวณป้ายรถโดยสาร และให้ปรับสภาพทางเท้าให้กลับมาเหมือนเดิมตามแบบอารยะสถาปัตย์ของเมืองน่าอยู่และเมืองท่องเที่ยวระดับโลกที่ดี ทั้งนี้ เนื่องจากมีป้ายโฆษณาจำนวนหนึ่งติดตั้งกีดขวางทางเดินเท้า ทางจักรยานและบัดบังทัศนวิสัย อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ใช้จักรยาน โดยป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นของเอกชนที่ได้รับสัมปทานจาก กทม. โดยทางกลุ่มรณรงค์ระบุว่า จะรวบรวมข้อมูลป้ายโฆษณา (และอื่นๆ ) ที่กีดขวางทางเดินเท้า ทางจักรยาน และบดบังทัศนวิสัยทำเป็นรายงานเพื่อเสนอผู้ว่าฯ ในวันคาร์ฟรีเดย์ ( Car Free Day) 22 กันยายน 2556
กลุ่มรณรงค์ระบุด้วยว่า กทม.มีนโยบาย คืนทางเท้าแก่คนเดินเท้า จัดให้ทางเท้ามีสภาพที่ดี เรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีความกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร เพื่อเพียงพอสำหรับคนพิการ คนชราที่ใช้วีลแชร์ ทั้งเพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้รถหันมาใช้จักรยานและรถเมล์เพื่อลดความคับคั่งของการจราจร และลดภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
อนึ่ง เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2556 มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ได้รับข้อมูลทางเฟสบุกจากนายอนรรฆ พิทักษ์ธานินทร์ และนายวิโรจน์ ณ ระนอง ว่า ได้ตั้งกระทู้บนเว็บไซต์ของพันทิปร้องเรียนกรุงเทพมหา นคร เรื่อง ติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางเท้าบังการดูรถโดยสารประจำทางที่จะเข้าป้าย และกีดขวางทางเดิน มูลนิธิฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่า ป้ายโฆษณาดังกล่าวกีดขวางคนที่ใช้เก้าอี้เข็น รวมถึงคนพิการทางการเคลื่อนไหว และคนตาบอดที่ใช้ไม้เท้านำทางด้วย ดังนั้น วันที่ 16 ส.ค. 2556 มูลนิธิฯ จึงได้นำส่งหนังสือทั้งทางโทรสารและไปรษณีย์ด่วนเพื่อขอความอนุเคราะห์ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จ จริง และเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็ว (สำเนาหนังสือส่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตลาดพร้าว
มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ขอแสดงความชื่นชมผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่ใส่ใจต่อข้อร้องเรียนของประชาชน และได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาโดยไม่ชักช้า พร้อมกันนี้ ขอชื่นชม กลุ่มรณรงค์บน www.change.org (ขนาดไฟล์: 104) และผู้ร่วมร้องเรียน/แสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์/เฟสบุกต่างๆ นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการสนับสนุนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเพื่อ “ร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเท่าเทียมกัน”
ขอบคุณ… http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000103793 (ขนาดไฟล์: 164)
ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/bkk/227214 (ขนาดไฟล์: 167)
ASTVผู้จัดการ/เดลินิวส์/คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ส.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ป้ายโฆษณาขวางทางเท้า เมื่อ วันที่ 20 ส.ค. 56 นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักงานเขต 50 เขต สำรวจป้ายโฆษณาบนทางเท้าในพื้นที่ เนื่องจากขณะนี้มีประชาชนร้องเรียนว่าป้ายโฆษณากีดขวางทางเท้า และได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง ตรวจสอบสัญญาที่เอกชนได้รับสัมปทานจาก กทม.ในการติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางเท้า ที่เพิ่งประมูลเมื่อปี 2555 จำนวน 4 ฉบับ ที่ติดตั้งบริเวณศาลาที่พักผู้โดยสารรถเมล์จำนวน 950 ป้าย และบนทางเท้าทั่วไปอีกกว่า 1,000 ป้าย เป็นไปอย่างถูกต้องตามที่ระบุในสัญญาหรือไม่ และได้สั่งการให้ชะลอการติดตั้งป้ายโฆษณาใหม่แล้วด้วย จนกว่าจะมีการตรวจสอบแล้วเสร็จ ป้ายโฆษณาขวางทางเท้า ทั้งนี้ ป้ายโฆษณาบนทางเท้ามี 2 แบบ คือ 1)แบบเสาเตี้ย อยู่ใกล้ป้ายรถเมล์ มีไฟฟ้าส่องสว่างภายในป้าย สามารถเปิดไฟได้ในตอนกลางคืน โดยมีข้อความประชาสัมพันธ์ 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นข้อความของกทม.ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนอีกด้านเป็นข้อความโฆษณา และ 2)แบบเสาสูง ซึ่งจะติดตั้งบนทางเท้าห่างจากป้ายรถเมล์ออกมาอีก ป้ายโฆษณาขวางทางเท้า นายอมร กล่าวว่า หากสำนักงานเขตสำรวจพบว่าป้ายที่ติดตั้งไปแล้วกีดขวางทางเท้า ก็ให้เจ้าหน้าที่รื้อป้ายออกทันที รวมทั้งให้ตรวจสอบสัญญาป้ายโฆษณาที่มีอยู่แล้ว 13 ฉบับ ซึ่งเป็นป้ายบนทางเท้า อาคาร และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ว่ามีการติดตั้งป้ายถูกต้องตามที่ กทม.กำหนดหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ให้รื้อออกทันทีเช่นกัน “ส่วนใหญ่ที่ร้องเรียนเข้ามาจะเป็นป้ายเตี้ย เพราะบางพื้นที่ทางเท้าแคบ ประมาณ 2 เมตรเท่านั้น จึงขีดขวางทางเท้า โดยทั่วไปทางเท้าจะมีพื้นที่ประมาณ 6 เมตร ดังนั้นจะมีการพิจารณาปรับปรุงให้เป็นป้ายสูงขึ้นแทน” นายอมร กล่าว ด้านนายมานิต เตชอภิโชค รองปลัด กทม.กล่าวว่า ได้เชิญผู้ประกอบการติดตั้งป้ายโฆษณาซึ่งเป็นคู่สัญญาของ กทม.ในการดำเนินการดูแลและบำรุงรักษาป้ายดังกล่าว และผู้เกี่ยวข้องเข้าหารือแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยก่อนหน้านี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ได้สั่งการให้ระงับการติดตั้งป้ายที่เหลือไว้ก่อน พร้อมทั้งให้ตรวจสอบป้ายที่ติดตั้งไปแล้วว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งการหารือในวันที่ 20 ส.ค. 2556 ผู้ประกอบการยินดีแก้ไขป้ายทั้งหมด โดยให้ประสานสำนักงานเขตพื้นที่เพื่อเข้ารื้อถอนป้ายโฆษณาที่มีปัญหาภายในคืนวันที่ 20 สิงหาคม เพื่อคืนทางเท้าให้กับประชาชน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักการจราจรและขนส่งรายงาน รายงานว่า ขณะนี้มีป้ายโฆษณาบนทางเท้าประมาณ 2,000 ป้าย อยู่ระหว่างรอการติดตั้งประมาณ 1,200 ป้าย และเบื้องต้นสำรวจพบว่ามีป้ายโฆษณาแบบเตี้ยที่กีดขวางทางเท้าต้องได้รับการปรับปรุง 30-40 ป้าย ป้ายโฆษณาขวางทางเท้า รายงานข่าวแจ้งว่า ได้มีผู้เปิดหน้าเว็บรณรงค์ เรียกร้องให้ย้ายป้ายโฆษณาบนทางเท้า และทางจักรยาน ของ เว็บ www.change.org ระบุถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายธนา วิชัยสาร ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง ขอให้สั่งการให้ย้ายป้ายที่กีดขวางบนทางเดินเท้า จนเหลือทางเดินน้อยกว่า 1.5 เมตร ขวางทางจักรยานบนทางเท้า หรือบดบังทัศนวิสัยบริเวณป้ายรถโดยสาร และให้ปรับสภาพทางเท้าให้กลับมาเหมือนเดิมตามแบบอารยะสถาปัตย์ของเมืองน่าอยู่และเมืองท่องเที่ยวระดับโลกที่ดี ทั้งนี้ เนื่องจากมีป้ายโฆษณาจำนวนหนึ่งติดตั้งกีดขวางทางเดินเท้า ทางจักรยานและบัดบังทัศนวิสัย อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่ใช้จักรยาน โดยป้ายโฆษณาดังกล่าวเป็นของเอกชนที่ได้รับสัมปทานจาก กทม. โดยทางกลุ่มรณรงค์ระบุว่า จะรวบรวมข้อมูลป้ายโฆษณา (และอื่นๆ ) ที่กีดขวางทางเดินเท้า ทางจักรยาน และบดบังทัศนวิสัยทำเป็นรายงานเพื่อเสนอผู้ว่าฯ ในวันคาร์ฟรีเดย์ ( Car Free Day) 22 กันยายน 2556 กลุ่มรณรงค์ระบุด้วยว่า กทม.มีนโยบาย คืนทางเท้าแก่คนเดินเท้า จัดให้ทางเท้ามีสภาพที่ดี เรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีความกว้างอย่างน้อย 1.5 เมตร เพื่อเพียงพอสำหรับคนพิการ คนชราที่ใช้วีลแชร์ ทั้งเพื่อรณรงค์ให้ผู้ใช้รถหันมาใช้จักรยานและรถเมล์เพื่อลดความคับคั่งของการจราจร และลดภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อม อนึ่ง เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2556 มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ได้รับข้อมูลทางเฟสบุกจากนายอนรรฆ พิทักษ์ธานินทร์ และนายวิโรจน์ ณ ระนอง ว่า ได้ตั้งกระทู้บนเว็บไซต์ของพันทิปร้องเรียนกรุงเทพมหา นคร เรื่อง ติดตั้งป้ายโฆษณาบนทางเท้าบังการดูรถโดยสารประจำทางที่จะเข้าป้าย และกีดขวางทางเดิน มูลนิธิฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่า ป้ายโฆษณาดังกล่าวกีดขวางคนที่ใช้เก้าอี้เข็น รวมถึงคนพิการทางการเคลื่อนไหว และคนตาบอดที่ใช้ไม้เท้านำทางด้วย ดังนั้น วันที่ 16 ส.ค. 2556 มูลนิธิฯ จึงได้นำส่งหนังสือทั้งทางโทรสารและไปรษณีย์ด่วนเพื่อขอความอนุเคราะห์ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จ จริง และเร่งแก้ไขปัญหาโดยเร็ว (สำเนาหนังสือส่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตลาดพร้าว มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ขอแสดงความชื่นชมผู้บริหารกรุงเทพมหานครที่ใส่ใจต่อข้อร้องเรียนของประชาชน และได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาโดยไม่ชักช้า พร้อมกันนี้ ขอชื่นชม กลุ่มรณรงค์บน www.change.orgและผู้ร่วมร้องเรียน/แสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์/เฟสบุกต่างๆ นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการสนับสนุนประชาชนให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเพื่อ “ร่วมสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างเท่าเทียมกัน” ขอบคุณ… http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000103793 ขอบคุณ… http://www.dailynews.co.th/bkk/227214 ขอบคุณ… http://www.komchadluek.net/detail/20130820/166236/กทม.สั่งรื้อป้ายโฆษณาขวางทางเท้า.html ASTVผู้จัดการ/เดลินิวส์/คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ส.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)