กอดมหัศจรรย์แห่งสัมผัส (Health Plus)
คุณรู้ไหมการกอดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยผู้ป่วยโรคต่างๆ ให้หายได้ การกอดนำมาซึ่งความสุข ความรัก และช่วยผ่อนคลายความเครียดดีต่อสุขภาพด้วย ในยามที่รู้สึกเหงา โดดเดี่ยว ท้อแท้ สิ้นหวัง หรือแม้แต่หวาดกลัว แค่สัมผัสอันอ่อนโยนจากคนที่รักเราและปรารถนาดีต่อเรา ก็กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล สัมผัสและอ้อมกอดที่อบอุ่นนี้ สามารถทำให้คนคนหนึ่งสามารถลุกขึ้นมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อีกครั้ง ลองมองดูที่ตัวเรา ในยามที่เรารู้สึกแย่ ๆ คุณเคยโหยหาอ้อมกอดจากใครสักคนที่คุณรักหรือไม่ แล้วยามที่คุณอยู่ในอ้อมกอด คุณรู้สึกอย่างไร…นั่นละ พลังแห่งการกอดที่ให้มากกว่าความอบอุ่น
กอดเป็นการสัมผัสรูปแบบหนึ่งที่มีความพิเศษ จนมีผู้กล่าวว่า การกอดไม่เพียงแต่เป็นสัมผัสที่ดี แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ซึ่งมีทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนแนวคิดนี้มากมาย ว่าการกระตุ้นโดยการสัมผัส เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสรีระร่างกายและจิตใจ
การบำบัดด้วยการกอด เรารู้ว่าการกอดเป็นสัมผัสที่ดี แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า สามารถใช้เป็นวิธีการเยียวยาผู้ป่วยได้ โดยมีการนำการสัมผัสด้วยการกอดมาใช้ในหน่วยงานทางการแพทย์ใหญ่ ๆ ในต่างประเทศหลายแห่ง กว่า 20 ปีมาแล้ว และยังมีศูนย์ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการสัมผัสอีกด้วย วิธีนี้คือการใช้สัมผัสถ่ายทอดกำลังใจ ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใยไปสู่ผู้ป่วยประกอบกับการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ช่วยหายเร็วขึ้นและมีกำลังใจสูงขึ้นอีกด้วย
Dolores Krieger R.N. Ph.D. ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการบำบัดด้วยการสัมผัสแห่ง New York University กล่าวว่า บุคคล ที่ได้รับการกอด หรือกอดผู้อื่น จะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ทำให้การลำเลียงของออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างทั่วถึงทำให้สดชื่น มีชีวิตชีวา ส่วน ประเทศแถบเอเชียอย่างอินเดีย ที่ศูนย์ Delhi Sanjivini ศูนย์รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตใจที่มีชื่อเสียงของอินเดีย ได้ใช้วิธีการรักษาผู้ป่วยจิตเภทด้วยการกอด โดยจัดหาอาสาสมัครที่จะมาบำบัดผู้ป่วยที่เป็นเพศเดียวกันกับผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยจิตเภทจะมีลักษณะของการถดถอย จึงนำวิธีการรักษาที่เป็นธรรมชาติมาใช้ เช่น ถ้าเด็ก 2 ขวบร้องไห้ ก็นำเด็กมานั่งตัก แล้วโอบกอดไว้ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ง่าย ๆ ไม่ต้องอาศัยหลักการใด ๆ ให้ยุ่งยาก
เวอร์จิเนีย ซาเทียร์ นักบำบัดจิตวิทยาครอบครัวกล่าวว่า คนเราต้องการการกอดวันละ 4 ครั้ง เพื่อการดำรงชีวิต คนเราต้องการการกอดวันละ 8 ครั้ง เพื่อการดำเนินชีวิต และคนเราต้องการกอดวันละ 12 ครั้ง เพื่อการเจริญเติบโตอีกด้วย
ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/55756.html
teenee.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
หนุ่ม สาว สวมกอดด้วยความอบอุ่น คุณรู้ไหมการกอดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยผู้ป่วยโรคต่างๆ ให้หายได้ การกอดนำมาซึ่งความสุข ความรัก และช่วยผ่อนคลายความเครียดดีต่อสุขภาพด้วย ในยามที่รู้สึกเหงา โดดเดี่ยว ท้อแท้ สิ้นหวัง หรือแม้แต่หวาดกลัว แค่สัมผัสอันอ่อนโยนจากคนที่รักเราและปรารถนาดีต่อเรา ก็กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล สัมผัสและอ้อมกอดที่อบอุ่นนี้ สามารถทำให้คนคนหนึ่งสามารถลุกขึ้นมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อีกครั้ง ลองมองดูที่ตัวเรา ในยามที่เรารู้สึกแย่ ๆ คุณเคยโหยหาอ้อมกอดจากใครสักคนที่คุณรักหรือไม่ แล้วยามที่คุณอยู่ในอ้อมกอด คุณรู้สึกอย่างไร…นั่นละ พลังแห่งการกอดที่ให้มากกว่าความอบอุ่น กอดเป็นการสัมผัสรูปแบบหนึ่งที่มีความพิเศษ จนมีผู้กล่าวว่า การกอดไม่เพียงแต่เป็นสัมผัสที่ดี แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ซึ่งมีทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนแนวคิดนี้มากมาย ว่าการกระตุ้นโดยการสัมผัส เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับสรีระร่างกายและจิตใจ การบำบัดด้วยการกอด เรารู้ว่าการกอดเป็นสัมผัสที่ดี แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า สามารถใช้เป็นวิธีการเยียวยาผู้ป่วยได้ โดยมีการนำการสัมผัสด้วยการกอดมาใช้ในหน่วยงานทางการแพทย์ใหญ่ ๆ ในต่างประเทศหลายแห่ง กว่า 20 ปีมาแล้ว และยังมีศูนย์ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการสัมผัสอีกด้วย วิธีนี้คือการใช้สัมผัสถ่ายทอดกำลังใจ ความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใยไปสู่ผู้ป่วยประกอบกับการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ช่วยหายเร็วขึ้นและมีกำลังใจสูงขึ้นอีกด้วย Dolores Krieger R.N. Ph.D. ผู้เชี่ยวชาญในสาขาการบำบัดด้วยการสัมผัสแห่ง New York University กล่าวว่า บุคคล ที่ได้รับการกอด หรือกอดผู้อื่น จะทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของฮีโมโกลบิน ทำให้การลำเลียงของออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างทั่วถึงทำให้สดชื่น มีชีวิตชีวา ส่วน ประเทศแถบเอเชียอย่างอินเดีย ที่ศูนย์ Delhi Sanjivini ศูนย์รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตใจที่มีชื่อเสียงของอินเดีย ได้ใช้วิธีการรักษาผู้ป่วยจิตเภทด้วยการกอด โดยจัดหาอาสาสมัครที่จะมาบำบัดผู้ป่วยที่เป็นเพศเดียวกันกับผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยจิตเภทจะมีลักษณะของการถดถอย จึงนำวิธีการรักษาที่เป็นธรรมชาติมาใช้ เช่น ถ้าเด็ก 2 ขวบร้องไห้ ก็นำเด็กมานั่งตัก แล้วโอบกอดไว้ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ง่าย ๆ ไม่ต้องอาศัยหลักการใด ๆ ให้ยุ่งยาก เวอร์จิเนีย ซาเทียร์ นักบำบัดจิตวิทยาครอบครัวกล่าวว่า คนเราต้องการการกอดวันละ 4 ครั้ง เพื่อการดำรงชีวิต คนเราต้องการการกอดวันละ 8 ครั้ง เพื่อการดำเนินชีวิต และคนเราต้องการกอดวันละ 12 ครั้ง เพื่อการเจริญเติบโตอีกด้วย ขอบคุณ... http://variety.teenee.com/foodforbrain/55756.html teenee.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ย.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)